คำแนะนำสำหรับทุกท่านท่านสามารถ "ค้นหา" บทความย้อนหลังด้วยคำภาษาไทยจากเว็บไซต์นี้ได้ง่ายๆ อ่านที่นี่ครับ |
โดย รศ. ยืน ภู่วรวรรณ ที่ปรึกษา สสวท.
หากย้อนอดีตไป ตั้งแต่การปฏิรูปการศึกษาครั้งที่ 1 ในรัฐธรรมนูญปี 2540 มีการร่าง พรบ. การศึกษาแห่งชาติ แบ่งส่วนราชการในกระทรวงศึกษาใหม่ และ ปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาพื้นฐาน โดยแบ่งเป็น 8 กลุ่มสาระ ขณะนั้น สสวท. มีความพยายามและชี้ให้เห็นว่า "เทคโนโลยี" มีความสำคัญ และจะต้องอยู่ในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ แต่กรมวิชาการในขณะนั้นไม่เห็นด้วย และเป็นผู้ดูแลหลักสูตรทั้งหมด จึงนำเทคโนโลยีไปอยู่ใน กลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี
เหตุผลสำคัญที่ "เทคโนโลยี" ควรอยู่กับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพราะเทคโนโลยีมีความหมายถึงการประยุกต์ และนำความรู้จากวิทยาศาสตร์ มาช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่างๆ อันก่อให้เกิดวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร แม้กระทั่ง กระบวนการทำงาน หรือระบบต่างๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น
ยิ่งในการศึกษาวันนี้ เน้นการบูรณาการ และการสร้างสมรรถนะ การลงมือทำ การบูรณาการ เช่น STEM เทคโนโลยียิ่งมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์
ไปพักผ่อนสมองที่ต่างประเทศมาช่วงหลังสงกรานต์ สนุกสนานตามประสาครอบครัว (อ่านเพิ่มเติมในบล็อกนี้ครับ) แล้วกลับมานอนเอาแรงชดเชยที่ กทม. กับลูกอีกสัปดาห์หนึ่ง พอมีพลังงานที่ถูกชาร์ทกลับคืนเข้าแบตเตอรี่ชีวิต ให้ส่องแสงวาบในสมองอีกหน่อย ก็ยังอดคิดไม่ได้กับเรื่องการจัดการศึกษาบ้านเรา ที่ยังคงวนเวียนพายเรือในอ่างกันอยู่ ทุกฝ่ายยังคงยึดติดกับตัวเลขชี้วัดในผลการเรียน ผลการสอบโน่นนั่นนี่กันอยู่ ยังคิดว่าเด็กไทยอ่อนด้อยสู้ชาวโลก หรือแม้แต่ในกลุ่มอาเซียนด้วยกันยังไม่ได้ จริงหรือ?
ปรัชญาการศึกษาที่เคยเรียนเคยบอกต่อกันมาบอกว่า เราควรจัดการศึกษาตามหลักสูตร ให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทั้งความรู้ ความสามารถ ความคิด ให้นำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตได้ ให้นำเอาความเป็นอยู่ อาชีพในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนเป็นหลักสูตรสนองตอบต่อความต้องการของชุมชน ครูเราก็ทำกันจนสุดความสามารถ เชิญวิทยากรในท้องถิ่นมาให้ความรู้ สร้างองค์ความรู้ให้ผู้เรียนดำรงชีวิตได้ เรียกว่า เก่งตามแบบฉบับของชุมชน พอตอนปลายปีดันกลับไปหยิบเอาแบบทดสอบอะไรก็ไม่รู้มาถาม เพื่อการวัดให้เป็นแนวเดียวกัน แบบเดียวกันทั้งประเทศ ผลเหรอ... ก็รู้ๆ กันอยู่ใช่ไหมครับ...
โดย : รองศาสตราจารย์ ยืน ภู่วรวรรณ
วันนี้ได้มีโอกาสมาสรุป แนวคิด ของหลักสูตรวิทยาการคำนวณ ซึ่งหลักสูตรเดิม เราใช้ชื่อสาระว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ แต่คราวนี้ มีการปรับปรุงค่อนข้างมาก ย้ายมาสู่กลุ่มวิทยาศาสตร์ ซึ่งการใช้เวลา หน่วยกิต ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลง แต่ปรับปรุงเนื้อหาให้เป็นวิทยาการ ใช้แนวคิดทางด้านการพัฒนาทักษะ และความคิด การสร้างจินตนาการจากรูปธรรมให้สู่นามธรรม เพื่อสามารถคิดและวางลำดับขั้นตอน การแก้ปัญหาได้
วิชานี้จึงมาอยู่ในกลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ใน ว 4.1 4.2 ซึ่งเกี่ยวโยงกับการนำความรู้ วิชาการมาปฏิบัติและประยุกต์ เพื่อช่วยในการทำงานหรือช่วยแก้ปัญหาต่างๆ อันก่อให้เกิดงาน วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร
โดย : รองศาสตราจารย์ ยืน ภู่วรวรรณ
อยากทำความเข้าใจกับคุณครู ที่จะมีบทบาทในวิชานี้สักเล็กน้อย การศึกษาใน K12 จากเกรดหนึ่งถึงสิบสอง เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐาน เหมือนที่เราเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย พละ เรียนภาษาที่สอง หรือวิชาอื่นๆ ที่มีในหลักสูตร การศึกษาพื้นฐานใน K12 ต้องการสร้างความพร้อมของคน ที่จะไปมีชีวิตอย่างมีความสุขในอนาคต หรือพร้อมที่จะประกอบอาชีพอะไรก็ได้
แม้แต่ PISA ของ OECD ก็ต้องการวัดความพร้อมของคน โดยใช้เกณฑ์อายุ 15 ปี ซึ่งถือว่าผ่านการศึกษาพื้นฐานสำหรับเด็กไทย ก็อยู่ที่ เกรด 11 การวัดความพร้อมที่จะออกไปประกอบอาชีพ หรือเรียนทางสายอาชีพ ซึ่ง PISA เน้น ในเรื่อง Analytical skill (การคิดวิเคราะห์ ) Reading skill (ความสามารถในการอ่าน) และ Science literacy (ความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์) ลองนึกดูว่า ทำไม OECD ให้ความสนใจในเรื่องเหล่านี้ และถือเป็นการศึกษาพื้นฐานของทุกคน
Computing ในหลักสูตร ว.4.2 ประกอบด้วย สามโดเมนความรู้ คือ กระบวนการคิด แก้ปัญหา (Computing) พื้นฐานความรู้ (Digital technology) และ พื้นฐานรู้เท่าทันสื่อ และข่าวสาร (Media and Information literacy)
ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)