คำแนะนำสำหรับทุกท่านท่านสามารถ "ค้นหา" บทความย้อนหลังด้วยคำภาษาไทยจากเว็บไซต์นี้ได้ง่ายๆ อ่านที่นี่ครับ |
จากกรณีข่าวบุกพังสนามสอบ GAT/PAT #โรงเรียนวัดสิงห์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (24 กุมภาพันธ์ 2562) จนเป็นข่าวโด่งดังท่วมท้นล้นทะลัก ทั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ สื่อสังคมออนไลน์ทั้งหลาย ทำให้เกิดความหดหู่ สะท้อนในหัวใจให้เห็นถึงความตกต่ำของสังคมไทย การขาดไร้การศึกษา การนับถือศาสนาที่เปลือกนอก และการมีกฎหมายดีๆ ที่หย่อนยานตรงการปฏิบัติตามกฎหมาย ที่จะเขียนถึง บ่นถึงในวันนี้ จึงไม่ใช่ปัญหาการพัฒนาการศึกษาอย่างเดียว แต่รวมถึงการวิพากษ์บ้านเมืองไทยเราโดยรวม มาช่วยกันมองถึงจุดเด่น จุดด้อย จุดที่ พรรคการเมือง ผู้บริหารประเทศ ข้าราชการทุกหน่วย และราษฎรทุกคนควรมาร่วมมือกันแก้อย่างจริงจัง
ประเทศไทยเกิดอะไรขึ้นในยุคสมัยนี้ นอกจะ "ปฏิรูปการศึกษาไทย" แล้วเราจะต้องปฏิรูปอะไรกันอีกบ้าง เพื่อให้สังคมอยู่เย็นเป็นสุข สงบร่มเย็น การเลือกตั้ง ระบอบประชาธิปไตยจะแก้ได้ขนาดไหน ใครเห็นอย่างไรมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันครับ อย่าเก็บไว้ในใจเลย
ไม่ได้อัพเดทข่าวสาร สาระความรู้อะไรเลยมานานนับปีแล้ว เพราะเบื่อๆ ไม่รู้จะเขียนอะไร เริ่มต้นตรงไหน เนื่องจากการศึกษาบ้านเรานั้นมันย่ำเท้า หรือจะบออกว่าวิ่งวน ปนถอยหลัง ไม่ไปไหนมาไหนเสียทีนั่นเอง ช่วงนี้ก็เปลี่ยนผ่านมาสู่ พ.ศ. ใหม่ ก็เลยขอบ่นปีใหม่จะทำให้ "การศึกษาไทย" อาจจะเปลี่ยนแปลงไปได้บ้าง ได้แต่หวังว่าจะเป็นเช่นนั้น และก็ขอโอกาสอำนวยอวยพรมายัง "เพื่อนครูทุกท่าน" ที่ยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่อย่างแข็งขันในระบบ ได้ทำงานการใดๆ ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี ลุล่วงตลอดปี 2562 ที่จะผ่านมาถึงนี้ด้ยเทอญ... สาธุ
เมื่อช่วงต้นปี 2562 ผมก็ยังต้องไปพบหมอตามนัด เพื่อรักษาสุขภาพร่างกายเป็นปรกติ ก็ได้พบเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ สว (สูงวัย) หลายคน ที่เดินทางมาโรงพยาบาลด้วยจุดประสงค์เดียวกัน (พบหมอตามนัด) ก่อนจะได้พบหมอผ่านขั้นตอนการซักประวัติจากเจ้าหน้าที่พยาบาล นั่งรอคิวก็ได้พูดคุยกันตามสาประชาชนเต็มขั้น ก็มีตั้งแต่เรื่อง "สุขภาพกาย สุขภาพเงินในกระเป๋า การเสี่ยงโชคงวดแรกรับขวัญโชคในปี พ.ศ. ใหม่ การเลือกตั้งที่จะมาถึงว่า ใครจะมาเป็นท่อนซุงให้กบได้เลือกบ้าง" รุ่นน้องที่ยังอยู่ในระบบราชการก็พูดถึงภาระหน้าที่มากมายที่ถาโถม สลัดไม่ออกเสียที ยกเว้นแต่ Logbook ที่มีสั่งการให้ยกเลิก โดยอ้างว่า "เพื่อลดภาระครูให้เป็นของขวัญปีใหม่"(แหม่ๆๆ แค่เอาแอกออกจากบ่าอันเดียว ก็ทวงบุญคุณกันแล้ว เมื่อไหล่จะปลดเชือกสนตะพายออกเสียทีละครับท่าน สงสัย...)
ตั้งแต่ที่มีคลิป "ปฏิญญามหาสารคาม" ของกลุ่มครูที่เป็นลูกหนี้ธนาคารออมสินกลุ่มหนึ่ง ออกมาปรากฏบนสื่อสังคมออนไลน์ ก็เป็นที่ระทึกของบรรดาลูกหนี้ชั้นดีที่ส่งหนี้ตรงเวลาจนได้รับการผ่อนปรน กลัวว่าเหตุการณ์นี้จะทำให้บรรดาเจ้าหนี้ (ธนาคาร) จะไม่ให้ความไว้วางใจอีกต่อไป แล้วจะหาทางขึ้นดอกเบี้ยเพื่อป้องกันหนี้สูญ จนกระทบต่อลูกหนี้ธนาคารทุกคน รวมทั้งผู้ที่กำลังจะประสานติดต่อกับธนาคารเพื่อสานฝันต่างๆ จะสะดุดหยุดลงจนความฝันพังครืนก็เป็นได้ เหล่าสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ ก็เอาออกมาประโคมกันมากมายหลายช่อง ติดตามสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ก่อการในครั้งนี้ จนเกิดปรากฏการณ์ "เตะฟุตบอลอัดผนังปูน" จนทำให้ลูกบอลสะท้อนกลับไปยังกลุ่มก่อการนั้น ชนิดที่ผู้นำขบวนการก็ตั้งรับไม่ทัน จะป้องปัดไปทางไหนก็มีแต่เสียงแช่ง ไร้เสียงเชียร์
คนเป็น "ครู" ทั่วประเทศที่ไม่เกี่ยวข้องเลยสักนิด กับการประกาศนี้ก็ถูกลดศักดิ์ศรีจากสังคมไปด้วย ยิ่งเห็นทีวีช่องต่างๆ เข้าไปสัมภาษณ์แล้วมีคำตอบออกมา ก็ยิ่งน่าเวทนาเข้าไปอีก
นักข่าวถาม : "มีใครบังคับให้ครูกู้ปะคะ"
ตัวแทนครูตอบ : "ไม่มีใครบังคับให้เรากู้ แต่เรานึกว่าโครงการนี้มันจะช่วยครูไง ใครจะไปรู้ว่าผ่อนตั้งนานเงินต้นไม่หดเลย จะให้เราผ่อนไปจนวันตายรึไง" (ความเห็นของผู้ชมที่มาคอมเมนต์ใต้ข่าว : มึงผ่อนยี่สิบสามสิบปีมันก็แบบนี้แหละ)
โดย ศน.ดร.กอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
การเปิดเรียนในภาคเรียนที่ 1/2561 ใกล้เข้ามาทุกที หลายๆ โรงเรียนอาจเปิดเทอมแล้ว ในขณะที่หลักสูตรสถานศึกษา (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2561) ของหลายโรงเรียนยังแก้กันไปแก้กันมาไม่เสร็จสักที เพราะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด ถามใครก็ตอบไม่เหมือนกัน ตลอดจนยังคงมีคำถามที่คุณครูต้องการคำตอบอยู่หลายประเด็น อาทิเช่น
สาระวิทยาการคำนวณ ในระดับ ป.1-3 และ ป.4-6 จะจัดอย่างไร จัดได้กี่วิชา กี่หน่วยกิต แล้ววิทยาการคำนวณนี่ใครเป็นคนสอนครูวิทย์หรือครูคอมกันแน่ แล้วเปิดสอนเป็นวิชาเพิ่มเติมได้ไหม "
แล้วที่ว่าเอาหน่วยกิตมาจากกลุ่มสาระฯ การงาน เอามาเท่าไหร่ ยังไง จัดเหมือนเดิมได้ไหม ไม่แก้ได้รึเปล่า "
แล้ววิชาคอมพิวเตอร์ที่เป็นรายวิชาเพิ่มเติม รหัส ง ล่ะ ต้องเปลี่ยนเป็นรหัส ว หรือเปล่า "
คำถามเหล่านี้คงเป็นคำถามที่อาจยังคงค้างคาใจครูหลายๆ ท่าน ผมจึงอยากชวนคุณครูมาร่วมกันคิดพิจารณา โดยผมได้สรุปจากคำสั่งและประกาศของ สพฐ. เพื่อสร้างความเข้าใจและเป็นแนวทางที่คุณครูสามารถนำไปจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน
ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)