คำแนะนำสำหรับทุกท่านท่านสามารถ "ค้นหา" บทความย้อนหลังด้วยคำภาษาไทยจากเว็บไซต์นี้ได้ง่ายๆ อ่านที่นี่ครับ |
เห็นข่าวการศึกษาไทยแล้ว ก็หัวร่อมิได้ ร้องไห้ไม่ออกจริงๆ ที่บอกว่า ประเทศไทยปฏิรูปการศึกษามานานนับสิบปีนั้น มันเป็นเรื่องเสียเปล่า เสียทั้งเวลาและงบประมาณมากมายมหาศาล แน่นอนว่า "เงิน" งบประมาณที่หว่านลงไปนั้นล้วนผ่านตะแกรงร่อนสูญหายไปมากมายระหว่างทาง ไม่รู้ล่ะว่ามันไปเข้าพกเข้าห่อใครบ้าง ทิ้งไว้แต่ซากความเสียหายให้เห็นตำตาอยู่ทุกวัน ไม่เชื่อก็ลองไปดูเถอะครับ ไม่ว่าจะโรงเรียนบ้านนอก ในเมือง ที่ได้รับ "ครุภัณฑ์การศึกษา" ที่โรงเรียนไม่อยากได้ กองเป็นซากเต็มไปหมด ไม่รู้มันมาได้อย่างไร?
ดูข่าวเรื่องระดับมาตรฐานการศึกษาไทยที่มีการประเมินทั้งแบบจริงจัง แบบกวาดตาผ่านล้วนออกมาเป็นเสียงเดียวกันว่า "รูดทะราดต่ำเรี่ยติดดินในอาเซียน" อนาถใจจริงๆ ครับ ก่อนจะกล่าวถึงว่า "เราควรทำอย่างไรดีในสถานะการศึกษาไทยที่ตกต่ำเยี่ยงนี้?" ขอนำบทความเรื่องการศึกษาที่หลายคนอ่านแล้วน้ำตาซึม มีที่มาจากบทความในนิตยสารจีนฉบับหนึ่ง ที่เพื่อนผู้ปรารถนานีคัดลอกมาให้อ่าน เลยขอส่งต่อมายังที่นี่ด้วยครับ ตามหัวข้อเลย "พ่อที่ไม่รู้จักหนังสือสักตัว..."
วันนี้ขอลอก "บันทึก" ของตัวเองที่เขียนไว้ในเฟซบุ๊คส่วนตัวมานำเสนอ และเพิ่มเติมความคิดเข้าไปอีกบางส่วนนะครับ เพื่อให้ทุกท่านได้พิจารณาแก้ปัญหาช่วยกัน
ตอนนี้คงจะไม่มีใครปฏิเสธถึงความล้มเหลว ในการจัดการศึกษาไทยได้แล้วว่า "ต้นตอมาจากครู" อย่าเพิ่งเริ่มต้นด่าผมซิครับ ถ้ายังอ่านไม่จบ ลองอ่านและพิจารณากันดูนะครับ ไม่ตรง ๑๐๐% ก็ใกล้เคียงล่ะ ไม่น่าจะต่ำกว่าร้อยละ ๙๐ ด้วย
"ครู" นิยามนี้เหมารวมหมด ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงในกระทรวง ไล่เรียงลงมาจนถึงครูน้อย ครูอัตราจ้าง ครูที่ถูกจ้างสอนเลยทีเดียว
ในอดีตการก้าวเข้าสู่อาชีพ "ครู" นั้นคือ การคัดเลือกเอาหัวกระทิ คนเก่ง คนดี ไปร่ำเรียนในโรงเรียนฝึกหัดครูซึ่งมีอยู่ไม่กี่แห่งในประเทศ คั้นจนได้หัวกระทิ แล้วส่งออกไปทำงานในถิ่นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ เมื่อต้องการเพิ่มเติมความรู้ให้ครู ก็มีสถาบันในระดับอุดมศึกษาให้เข้าไปร่ำเรียนศึกษาต่อ เช่น วิทยาลัยวิชาการศึกษา หรือที่จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ได้ปริญญา (พร้อมภูมิรู้) มาจัดการศึกษาให้จำเริญรุ่งเรือง
ตอนที่ 2
มาต่อให้ครบชุดครับ ในญี่ปุ่นการเรียนภาคบังคับจัดให้ประชาชนทุกคน 9 ปีเช่นเดียวกับประเทศไทย ประถมศึกษาปีที่ 1-6 และมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ตอนที่แล้วเน้นที่ระดับก่อนประถมศึกษา ที่ชาวญี่ปุ่นเขาจะเน้นทักษะชีวิตกันในช่วงนี้มากที่สุด เพราะผ้าขาวเมื่อแต้มสีจะสดติดทนนาน พอมาถึงระดับประถมเขาก็จะสร้างการเรียนรู้ที่เน้นการช่วยเหลือตัวเอง ไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่นมากนักในการใช้ชีวิตประจำวัน ตั้งแต่การตื่นนอนทำความสะอาดร่างกาย แต่งตัว รับประทานอาหาร จัดข้าวของไปโรงเรียนด้วยตนเอง (นักเรียนบ้านใกล้) เรียนรู้จากสิ่งรอบข้าง
ตอนนี้จะตรงไปสู่การเรียนในระดับมัธยมศึกษา "มัธยมต้นค้นหาตนเอง 前期中等教育(中学)" นี่เป็นสิ่งที่แตกต่างจากการเรียนในเมืองไทย ที่พ่อแม่ช่างเอาอกเอาใจ ไม่ต้องทำอะไรนอกจากเรียนหนังสือ (แต่จริงๆ แล้วจะเรียนหรือไม่ก็ไม่รู้ล่ะ) ในขณะที่ญี่ปุ่นทั้งผู้ปกครองและครู ต่างก็เข้ามาช่วยสนับสนุนในการจัดกิจกรรม ไม่ใช่ด้วยเงินหรือทรัพย์สิน แต่ด้วยใจและแรงกายเป็นหนึ่งเดียว (ในขณะที่บ้านเรา สมาคมครูและผู้ปกครอง คือแหล่งหาเงินเข้าโรงเรียนเท่านั้น ประชุมทีก็ขอบริจาคที แต่ไม่มีคำตอบที่ชัดเจนว่าเงินที่ขอไปนั้น ได้ออกดอกผลทางพุทธิปัญญาบ้างหรือไม่
ช่วงนี้ข่าวในวงการครูก็ไม่มีอะไรมากมาย ส่วนใหญ่ก็เป็นนโยบายรายวันที่ออกมาจากเหล่าเสนาบดี เพื่อแสดงกึ๋น หรือแสดงการงับนโยบายจากฝ่ายการเมือง เพื่อคงไว้ซึ่งสถานะของเก้าอี้รองนั่ง ไม่ได้มีการใช้พุทธิปัญญาอะไรหรอก เรื่องดีๆ ก็ไม่กล้าคิดกล้าทำ กล้ากำหนดเป็นนโยบายไปสู่การปฏิบัติ เพื่อการพัฒนา รู้ทั้งรู้แต่ไม่ทำเพราะกลัวเก้าอี้สั่นคลอน พูดออกมาแต่ละเรื่องมันก็วนอยู่ในอ่างนั่นแหละ ปัญหาของการศึกษาไทยคือ นโยบายรายวันที่ไม่เคยผ่านการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ไม่มองในภาพรวม มีแต่การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า แล้วอยากให้เห็นผลใน 3 วัน 7 วัน ซึ่งมันไม่ใช่
วันนี้เลยขอนำแนวทางการจัดการศึกษาของญี่ปุ่น มาจากกรายการ "Dohiru : ดูให้รู้" ทางช่อง ThaiPBS เอามารวบรวมให้ชมกันเป็นชุดเลย การจัดการศึกษาในประเทศญี่ปุ่นน่าสนใจในแนวคิด การสร้างระเบียบวินัยตั้งแต่วัยเด็ก และน่าจะสามารถนำมาปรับใช้ในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี ถ้าเราคิดจะทำกันจริงจัง ไม่ใช่เอาแต่ยกย่องเด็กเก่งสอบโอเน็ตเต็มร้อย สอบเข้าเรียนที่นั่นที่นี่ได้ ใช่ว่าทุกคนต้องเป็นเช่นนั้น ทำไมเราไม่ยกย่องคนดีมีระเบียบวินัย มีสัมมาอาชีพ ช่วยเหลือผู้อื่นเล่า?
ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)