คำแนะนำสำหรับทุกท่านท่านสามารถ "ค้นหา" บทความย้อนหลังด้วยคำภาษาไทยจากเว็บไซต์นี้ได้ง่ายๆ อ่านที่นี่ครับ |
"ทิศทางการศึกษาไทยในวันนี้" คำถามที่ไม่มีคำตอบ (ที่ตรงกัน) แม้จะถามกับคนเดียวกันในต่างวันกัน คำตอบที่ได้ก็ไม่เหมือนเดิมด้วยเหตุผลต่างๆ นานา แม้แต่จะมาจากการตอบของเหล่าเสนาบดี ผู้มีอำนาจในการกำหนดทิศทางการศึกษา นักวิชาการ ผู้รู้ในแวดวงการศึกษาไทย เพราะอะไรหรือจึงเป็นเช่นนั้น? เพราะ "อัตตา" ไงครับเชื่อตามๆ กันมาบ้าง คิดว่ามันไม่ถูกต้องถ้าทำแบบนั้น ก็เลยมีนโยบายรายวันที่เปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนของผู้มีอำนาจในขณะนั้น คนทำไว้ก่อนแม้จะดีเพียงใดก็ไม่ใช่นโยบายของเรา เราต้องเปลี่ยน โดยลืมไปว่า "การจัดการศึกษาไม่สามารถทำให้เกิดผลได้ในเร็ววัน" อย่างน้อยๆ มันไม่ส่งผลให้เห็นได้ภายในปี หรือสองปี ที่ท่านเป็นผู้มีอำนาจกุมนโยบายดอก แล้วสิ่งที่ทำนั้นมันวุ่นวายสับสนจนคนปฏิบัติ (ครูในโรงเรียน) จะเป็นบ้าตายเสียก่อน ตายเพราะรายงานที่ท่านทั้งหลายต้องการนั่นแหละ
กล้วยไม้มีดอกช้า ฉันใด
การศึกษาเป็นไป เช่นนั้น
แต่ออกดอกคราวไร งามเด่น
การศึกษาปลูกปั้น เสร็จแล้วแสนงาม "มล.ปิ่น มาลากุล
ผมเจอข่าว "ครูทำร้ายเด็กนักเรียนอนุบาล" ตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน จากการมีผู้โพสท์ลงใน twitter ก็อ่านผ่านตาพร้อมนึกในใจว่า "ครู" อีกแล้วเหรอ? ไม่ได้คิดจะมาเขียนบทความเลย แต่พอเรื่องมันลุกลามและแชร์คลิปต่อๆ กันมา รวมทั้งมีการตีข่าวในสื่อออนไลน์ละสถานีโทรทัศน์ ก็เลยย้อนกลับไปดูรายละเอียดอีกครั้ง อ้าว! ไม่ใช่อย่างที่คิดแล้วนี่นา มันเลวร้ายเกินไปกับการกระทำเยี่ยงสัตว์เลี้ยง (จริงๆ แม้สัตว์เลี้ยงของผมๆ ก็รักเลี้ยงดูและรักษาเขายามเจ็บป่วยจนถึงวาระสุดท้าย จนเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสัตว์ยังพูดว่า "น้องจัมโบ้โชคดีนะ มีคนใส่ใจดูแลแม้ยามป่วยหนัก ถ้าเป็นคนอื่นเขาคงปล่อยให้ตายไปแล้ว" จะให้ทิ้งได้อย่างไรนะ เลี้ยงดูกันมา 8 ปี เขารักเราเหมือนเรารักเขา เพียงแต่เขาพูดบอกเราไม่ได้เท่านั้น) แต่นี่ "คน" เป็นเด็กตัวเล็กๆ อายุแค่ 3-4 ขวบ กับคนที่ได้ชื่อว่า "ครูอนุบาล" ที่ใครหลายๆ คนรวมทั้งพ่อ-แม่ของเด็กเหล่านั้นคงจะเชื่ออย่างสนิทใจว่า "จะดูแลลูกเขาเป็นอย่างดี ให้สมกับค่าเล่าเรียนที่จ่าย (ตามข่าวว่า อาจมีตัวเลข 5-6 หลัก)"
นอกจากเรื่องทำร้ายร่างกายและจิตใจเด็กแล้ว ยังมีข่าวเรื่อง "อาหารกลางวัน" ซ้ำเติมมาอีกนะ นึกว่าจะหมดปัญหาไปแล้ว (แต่เป็นคนละโรงเรียนกัน) มันสะท้อนปัญหาให้เห็นแล้วล่ะว่า "มาตรฐานวิชาชีพครู" ที่สังคมเคยคาดหวัง มันกำลังหดหายไปจากระบบการจัดการศึกษาไทย ได้เวลาที่จะต้องมีการปฏิวัติ ปฏิรูปกันจริงจังเสียที เรื่องนี้สะเทือนไปถึงกระทรวงศึกษาธิการ ความเชื่อมั่นของผู้ปกครองที่มีต่อโรงเรียนในระบบการศึกษาไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็เลยอยากหยิบประเด็นนี้มาวิเคราะห์กันสักเล็กน้อย
ปรากฏการณ์ "ชู 3 นิ้ว" ของนักเรียนทั่วประเทศในครั้งนี้ เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ไม่ยาก ความอึดอัดมากมายต่างปะทุ พรั่งพรูออกมา บางเรื่องก็จริงพิสูจน์ได้ บางเรื่องก็เพราะความเข้าใจผิดที่ไม่มีใครอธิบาย หรือมีคนพยายามอธิบายแล้ว แต่ก็เป็นการเอาสีข้างเข้าถู (แถ-ลง) จนถลอกปอกเปิกก็ไม่มีใครเชื่อ แม้ใน "กลุ่มคุณครู" ด้วยกันเอง บทความที่จะนำเสนอต่อไปนี้ ไม่ได้มาเข้าข้างนักเรียน ไม่ได้มาเข้าข้างครู (เพราะเคยเป็นครู) แต่เพื่อมาทำความเข้าใจ หาเหตุผลว่าเกิดอะไรขึ้นในระบบการศึกษาของบ้านเราในวันนี้
สิ่งที่นักเรียนเรียกร้องหลายข้อนั้น แสดงให้เห็นว่า "การบริหารจัดการ การทำความเข้าใจในเรื่องหลักสูตรการเรียนในโรงเรียน ไม่กระจ่างชัดเพียงพอ จนทั้งครูและนักเรียนต่างก็ไม่เข้าใจว่า สิ่งที่ "นักวิชาการทางการศึกษา" ใส่ลงมาในหลักสูตรนั้นคืออะไรกันแน่ เพื่อประโยชน์อะไร และที่สำคัญที่สุด 'จะให้โรงเรียนและครูจัดการอย่างไร?' จึงจะได้ผลตามความต้องการที่แท้จริง" นี่คือสิ่งที่อยากอธิบายในวันนี้ ส่วนข้อเรียกร้องต่างๆ ทั้งหมดนั้น ท่านไปหาอ่านได้จากสื่อทั่วๆ ไปนะครับ มีเยอะ ส่วนที่ผมจะวิเคราะห์ให้ฟังมีเพียงด้านการจัดการเรียนการสอนเป็นหลัก
เอาตามป้ายในภาพประกอบหัวเรื่องข้างบน 3 เรื่อง คือ วิชา IS, กิจกรรมรักการอ่าน, กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ ที่พวกเขาอยากยกเลิก เพราะอะไร? ทำไม? จึงอยากยกเลิก
คุณครูควรจัดการกับเนื้อหารายวิชา โดยนำเนื้อหาวิชาที่คุณครูรับผิดชอบ มาพิจารณา ดังนี้
1. เนื้อหารายวิชาส่วนใด ที่นักเรียนมีพื้นฐานความรู้เก่า ที่สามารถต่อยอด ไปสู่ความรู้ใหม่ “ด้วยตัวของนักเรียนเอง” คุณครูก็บอกวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้.. บอกมาตรฐานการเรียนรู้ บอกจุดเน้น..บอกตัวชี้วัดความรู้ และขั้นตอน และวิธีวัดผลความรู้ (Effect) แล้วมอบหมายให้นักเรียนทำกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active learning ได้เลย
ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)