คำแนะนำสำหรับทุกท่านท่านสามารถ "ค้นหา" บทความย้อนหลังด้วยคำภาษาไทยจากเว็บไซต์นี้ได้ง่ายๆ อ่านที่นี่ครับ |
โดย ดร.สุกรี เจริญสุข
การปฏิรูปการศึกษาของไทย เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมานานมาก สำหรับสถาบันการศึกษาไทย ไม่ว่าจะมองในมิติใด ก็กลายเป็นเรื่องที่ล้มเหลว และเหลวไหลในทุกๆ มิติ มองเห็นว่าเป็นเรื่องที่ล้าหลัง เป็นเรื่องของความด้อยพัฒนา เป็นเรื่องของการให้เสมียนบริหารการศึกษา เพราะว่า มีเสมียนเป็นใหญ่ พยายามที่จะทำให้นักวิชาการกลายเป็นเสมียน ความเหลวไหลนำการศึกษาไปผูกกับประเพณีและพิธีกรรม การศึกษาไทยมีรสนิยมต่ำ มิติของการศึกษาที่สร้างคนให้เป็นขอทาน มิติของการวิ่งตามโลก "ตามเขาว่าเก่ง ทำเองว่าโง่" สรุปรวมๆ แล้วเห็นว่าการปฏิรูปศึกษาไทยเป็นเรื่องที่เหลวไหลและเลื่อนลอย
สิ่งสำคัญก็คือ ผู้บริหารการศึกษาไม่รู้จักการศึกษาที่มีคุณภาพ ไม่รู้ว่าคุณภาพที่ดีนั้น จริงๆ แล้วเป็นอย่างไร เมื่อพูดถึงการปฏิรูปการศึกษา คนที่มีอำนาจกลับเป็นบุคคลที่ล้าหลัง อยู่ในโลกอดีต เชย ไม่มีรสนิยม ดังนั้น การปฏิรูปการศึกษาไทย จึงเป็นการสร้างปัญหา สร้างระเบียบมากกว่า เป็นการสร้างภาระต่อทุกคน และเป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลง พูดอีกกี่ครั้ง พูดอีกกี่ปี ก็ไม่สามารถปฏิรูปได้สำเร็จ
ตอนที่ 2.
โทษกันไปมาหลายปีแล้ว พยายามจะหาจำเลยให้ได้แต่ก็ไม่ชัดเจนเสียที ได้ยินแต่ว่าครูไม่มีประสิทธิภาพ ต้องอบรมเข้มข้น นี่ก็จะย่างเข้าสู่เทศกาลฝึกอบรมกันแล้ว อบและรมกันให้เกรียมพร้อมอากาศร้อนๆ ในเดือนเมษายน ผมก็ว่ามันไม่ช่วยให้ดีขึ้นมาสักเท่าไหร่ เพราะปัญหาการศึกษาไทยมันเริ่มมาจากครอบครัว และสังคมรอบข้างโน่น ไม่เคยอบรมสั่งสอนกันมา คิดแต่ว่า ส่งลูกเข้าโรงเรียนไปแล้วเดี๋ยวมันก็ดีเอง จริงหรือครับ?
เหลียวมองรอบตัวดูซิครับ ที่บ้านท่าน เพื่อนบ้านใกล้ๆ กัน ญาติ เพื่อนฝูงของท่าน ได้ดูแล อบรม สั่งสอนลูกหลานกันแบบไหน ใส่ใจ หรือแค่ไม่ปล่อยให้อดอยากเท่านั้น เด็กดีต้องเริ่มจากที่บ้าน จากชุมชน ก่อนส่งไปขัดเกลา เจียรนัยเพิ่มเติมที่โรงเรียน ก่อนส่งต่อเข้ามหาวิทยาลัย ทุกคนทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันให้มากกว่านี้
ตัวผมเองได้สอนนักเรียนมาก็หลายสิบรุ่น เท่าที่พบและสังเกตุเด็กในห้องที่ปรึกษา เด็กที่สอนในรายวิชาต่างๆ ในโรงเรียน และจากการไปเยี่ยมเยือนโรงเรียนอื่นๆ พอจะแยกเด็กนักเรียนให้ชัดๆ ได้อยู่ 3 แบบ
(ต่ออีกตอน)
วันนี้วันเด็กแห่งชาติ "ความรู้ คู่คุณธรรม นำสู่อนาคต" ไม่ได้ออกไปไหนเพราะไม่มีลูกหลานตัวเล็กๆ มาอ้อนให้ไปร่วมงานวันเด็ก วันนี้ก็จะเป็นวันรถติดแห่งชาติอีกวัน เพราะถนนทุกสายต่างก็มุ่งหน้าไปยังสถานที่จัดงานวันเด็กกัน ก็เลยขอบ่นต่อจากครั้งที่แล้วอีกสักนิด ก็แล้วกัน เป็นการย้อนเอาบทความเมื่อสิบปีก่อนมาเขียนใหม่อีกครั้ง เพิ่มเติมบริบทปัจจุบันเข้าไปหน่อย เพื่อยืนยันว่า สิ่งที่ผมบ่นๆ ไปนั้นมันยังคงอยู่ การพัฒนาการศึกษาที่ไม่มองในภาพกว้าง นักการเมืองที่มาเป็นเจ้ากระทรวงแต่ละคน ก็คิดแต่นโยบายหาเสียงเฉพาะหน้า (แฝงด้วยการคอรัปชั่นทางนโยบายกอบโกยกันไป) ข้าราชการ/นักวิชาการสอพลอจำนวนหนึ่ง ก็โดดงับสนองอย่างทันท่วงที ได้ดิบได้ดีบนหอคอยงาช้าง ความล้มเหลวจากโครงการต่างๆ โยนขี้ให้ครูรับกรรมไป โดยเฉพาะครูบ้านนอกไกลปืนเที่ยงเป็นจำเลยที่หนึ่งกันทีเดียว
คณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้รวบรวม และกลั่นกรองข้อมูล จนได้ประเด็นในการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใน 4 ประเด็น ดังนี้
คุ้นๆ ไหม เหล้าเก่าในขวดใหม่ดีกรีเจือจาง นานมากตั้งแต่ประกาศปฏิรูปการศึกษามาโน่นแหละ ก็มันมีประเด็นอยู่แค่นี้จะไปเพิ่มอีกให้หลายหัวข้อก็สรุปลงที่ 4 หัวข้อนี้แหละ อยากรู้แค่ว่า ท่านจะสั่งให้ครู "กลับหลังหัน หน้าเดิน!" อย่างไรมากกว่า
ผ่านไปไวเหมือนโกหก 12 ปีกับอีก 5 เดือนที่เว็บไซต์ชื่อ "ครูมนตรีดอทคอม" ปรากฏขึ้น จากการเขียนขึ้นเพราะอึดอัดคับข้องใจ อยากตะโกนออกไปให้ดังๆ เผื่อจะกระทบหูผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองบ้าง ผ่านการเปลี่ยนแปลงมาหลายยุค นับตั้งแต่การโค๊ดเขียนด้วยภาษา HTML ด้วยเครื่องมือเอดิเตอร์พื้นฐานอย่าง Notepad มาเป็นเครื่องมือช่วยอีกหลายตัวที่มีแจกให้ใช้กัน มาสู่ยุคการใช้ฐานข้อมูลกับเว็บไซต์สำเร็จรูปอย่าง Joomla 1.0 ผ่านร้อนหนาวมาจนถึงปัจจุบัน แต่เนื้อหาจุดหมายปลายทางไม่เคยเปลี่ยน "เว็บไซต์เพื่อนครูไทยหัวใจดอทคอม"
เอ่ยถึงวันวานเพราะอยากจะพูดถึงเรื่องเมื่อวานกับวันนี้ "เสียงบ่นครูมนตรี" ที่ดังมานานกว่า 12 ปีมาแล้ว ที่เคยคิดเคยบ่นไว้เพื่อช่วยหาทางออกให้กับการศึกษาไทย แต่ทุกอย่างก็ยังย่ำอยู่กับที่ แม้จะประกาศทำการปฏิรูปการศึกษามาแล้วกว่าทศวรรษก็ไม่มีอะไรดีขึ้นเลยจริงๆ เอาล่ะถ้ามันจะเดินหน้าไม่ได้ก็ลองถอยหลังไปดูซิ ไปดูว่าสิ่งดีๆ ในอดีตที่เราเคยใช้จะเอามาประยุกต์ใช้ในวันนี้ได้ไหม
ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)