การปะติลูบคลำ "การศึกษาไทย" ที่ยุ่งเหยิงมานานนับสิบปีไม่ไปไหน เพราะพวกเรา (เสนาบดีเจ้ากระทรวง ข้าราชการ นักวิชาการ สื่อสารมวลชน และรวมทั้งนักวิชาเกินอย่างผมด้วย) ต่างก็พุ่งเป้าชี้มือโทษไปที่ "ครูและโรงเรียน" เป็นจำเลยที่ไม่พัฒนาไปถึงไหน ต้องปรับปรุง พัฒนา อบรม สร้างความตระหนักให้มาก ลงทุนทุ่มลงไปมากมายมหาศาล ตั้งแต่ แท็ปเล็ต (น้ำตาเล็ดเพราะจิ้มไม่ไป ตอนนี้กลายเป็นขยะอยู่หลังห้อง) ห้องเรียนเทคโนโลยีวิเศษ (ชื่อแปลกๆ) สื่ออิเล็กโทรนิกส์ ยางรถยนตร์ทาสีสันแสบตา และอื่นๆ อีกมากมาย จนมาปีนี้ทุ่มทุนสร้างจัดตลาดนัดวิชาแจกทุนคนละหมื่นให้ไปอบรมตามใจชอบ ก็มีข่าวเหม็นๆ เรื่องเงินทอน จนหลายสถาบันผู้จัดขอระงับการจัดอบรมไปนับร้อย นี่เป็นหนทางที่ถูกต้องแล้วหรือ? พวกเรากำลังลงโทษโรงเรียนและครูมากไปหรือเปล่า? เราชี้หน้าด่าคนผิดไปใช่ไหม.... บลาๆๆๆ
ผมว่า "เราโทษคนผิดไปจริงๆ เราลืมความจริงที่ว่า โรงเรียนไม่ใช่โรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถผลิตสินค้าที่ดี ไม่มีตำหนิได้ทุกชิ้น แม้ว่า วัสดุตัวป้อนจะมีตำหนิ รูปร่าง สมองที่แตกต่างกัน สัมฤทธิผลจากโรงเรียนจึงไม่อาจออกมาได้เริ่ดเลอ สมดังความตั้งใจของผู้กำหนดนโยบาย ไม่ว่าจะนำมาตรวัด O-net, A-net, NT, PISA มาวัดอย่างไรก็ไม่เป็นผล" พวกเราลืม "ตัวป้อน" ซึ่งก็คือนักเรียน และ "สภาพแวดล้อม" คือครอบครัว พ่อ-แม่ ผู้ปกครองและสังคมรอบข้าง ที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ไปเสียสิ้น เราจะปฏิรูปการศึกษาแต่ดันไปเข้าเกียร์ R ให้ถอยหลังซะงั้น ได้โปรดคืนเวลาให้คุณครูได้อยู่ดูแลครอบครัวในวันหยุดที่ไม่เคยได้หยุด ได้เตรียมการสอนเพื่อสอนนักเรียนจริงๆ เสียทีเถิด ใบงาน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และครูตู้มันช่วยอะไรไม่ได้มากหรอกครับ
ผมได้อ่านข้อความที่แชร์กันในโลกออนไลน์ (Facebook) เมื่อหลายวันก่อน เกี่ยวกับสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของจีน นางเผิง ลี่หยวน (ภริยาของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง (Xí Jìnpíng)) ดังที่ลอกมาให้ท่านได้อ่านและพิจารณา ดังนี้
ภรรยาประธานาธิบดี สี จิ้นผิง (เผิง ลี่หยวน) ได้กล่าวแสดงความคิดเห็นต่อเรื่อง "คะแนนสอบเอ็นทรานซ์" ได้สร้างความสั่นสะเทือนไปทั่วทั้งวงการศึกษาของประเทศจีน
คะแนนสอบของลูก ไม่ได้มีความสำคัญเทียบเท่ากับการสอนให้ลูกรู้จักสำนึกในบุญคุณ รู้จักเรียนรู้การดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ลูกจะมีทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับทรัพย์สินเงินทอง ผู้ปกครองจะมีวิธีอบรมปลูกฝังอย่างไร การที่จะให้ทรัพย์สินแก่ลูกหลาน ทำไมไม่คิดจะสร้างลูกให้กลายเป็นทรัพย์สินล้ำค่าเล่า นั่นคือการเลี้ยงลูกให้เป็นคนดีของสังคม
ดังนั้นการเก็บสะสมทรัพย์สินมหาศาลให้กับลูกหลานไม่สามารถเทียบเท่ากับการให้ข้อคิดดีๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตดังต่อไปนี้
Cr : ผู้แปล แอม (สุวิไล) @ เจนบรรเจิด
ซึ่งสอดคล้องกับ ผลการศึกษาวิจัยชี้ว่า เด็กที่ "ทำงานบ้าน" เป็น มีแนวโน้มประสบความสำเร็จในชีวิตและมีนิสัยที่ดีมากกว่า!! เป็นผลของการสร้างวัตถุดิบ (ตัวป้อนที่ดี) จากบ้าน (ครอบครัว) ส่งไปยังโรงงานอุตสาหกรรมสร้างคนที่ดี (โรงเรียน)
Julie Lythcott-Haims นักเขียน และอดีตผู้นำนักศึกษาจากมหาวิทยาลัย Stanford University ที่ได้มากล่าวบนเวที TED Talk ในหัวข้อ “วิธีการเลี้ยงลูกให้เขาประสบความสำเร็จ โดยไม่บงการมากจนเกินพอดี”
สำหรับพ่อแม่ทั้งหลายแล้ว การได้เห็นลูกๆ ประสบความสำเร็จนั้นก็ถือเป็นการเติมเต็มความฝันอย่างหนึ่งเลยทีเดียวล่ะ แน่นอนว่าการจะทำให้ลูกๆ ประสบความสำเร็จได้นั้น พ่อแม่เองก็ถือเป็นส่วนหนึ่งที่คอยสนับสนุน และให้การช่วยเหลืออย่างเต็มกำลังเท่าที่จะสามารถทำได้ สำหรับวันนี้ ก็จะขอมาแนะนำวิธีในการที่จะช่วยให้ลูกๆ ประสบความสำเร็จในอนาคต เผื่อว่าจะเกิดประโยชน์กับคุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายไม่มากก็น้อย
จากการศึกษาพบว่า เด็กที่ทำงานบ้าน มาตั้งแต่ยังอายุน้อยๆ
ไม่ว่าจะเป็นการทิ้งขยะ การปัดกวาดบ้าน การซักผ้า การล้างจาน ทุกอย่างล้วนแล้วแต่เป็นส่วนหนึ่งของ ‘ครอบครัว’ และหากพวกเขาได้ทำงานบ้าน ก็เท่ากับว่าเขาได้ใกล้ชิดและเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว และทำให้เด็กรู้สึกภูมิใจในตัวเอง และรู้สีกว่าตัวเค้ามีคุณค่า ทำให้พวกเขามองเห็นความสำคัญและชอบที่จะช่วยงานบ้าน การทำงานบ้านเป็นการฝึกสติ (ให้มีความจดจ่อ ละเอียดในงานที่ทำ เช่น การล้างแก้วน้ำ ถ้วย จาน ช้อน หากมีสติย่อมไม่ทำให้แก้วน้ำ ถ้วย จาน ตกแตกหรือบิ่นได้) เป็นการสร้างปัญญา เพราะเมื่อทำงานบ้านจะได้พิจารณาถึงงานที่ทำว่ามีความยากง่ายอย่างไร ทำอย่างไรจึงจะสะอาด รวดเร็ว เป็นระเบียบเรียบร้อย และสร้างความภูมิใจในงานที่ทำยิ่งขึ้นเมื่อได้รับความชื่นชมจากพ่อ-แม่ ผู้ปกครอง
ในปัจจุบันนี้ เราจะได้ยินผู้คนทั่วไป นักการศึกษา กล่าวกันว่า...
เคยสงสัยบ้างไหมว่า ทำไม เด็กสมัยนี้ ไม่ค่อยอดทนกับสิ่งใด เลย แม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยในชีวิต ทุกวันนี้เราเห็นเด็กถือแต่ Smartphone iPadไว้เล่นเกม ครอบครัวเองก็เลี้ยงลูกตามใจ จึงทำให้เด็กไทยมีโรคใหม่ติดตัวที่ชื่อว่า “โรคไม่รู้จักความลำบาก”
บทความจาก FB Basic-Skill for young children พูดถึง “โรคไม่รู้จักความลำบาก” เป็นโรคใหม่ที่เกิดขึ้นสำหรับเด็กๆ และจะกลายเป็นปัญหาต่อการเติบโต หากพ่อแม่ไม่ได้เลือกสร้างภูมิคุ้มกันของความลำบากให้ลูก ไม่เลือกให้ลูกได้ออกไปพบเจอโลกของความจริงที่ว่า ชีวิตแม้ว่าจะรวยหรือจนก็ไม่มีใครสบายได้ตลอดไป ต้องมีความลำบาก ความทุกข์ เกิดขึ้นปะปนกัน โดยสาเหตุที่เด็กถึงเป็นโรคไม่รู้จักความลำบาก
1. มีเทคโนโลยีครอบงำ
ปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีในปัจจุบันอย่างการใช้สมาร์ทโฟน แทปเล็ต ได้กลายมาเป็นสื่อที่มีบทบาทกับเด็กๆ ตั้งแต่ตัวเล็กๆ ในยุคดิจิตอล และมีอิทธิพลมากขึ้นกว่าในสมัยก่อน ซึ่งมีให้เลือกหลายแบบ หลายราคาที่จับต้องได้ ทำให้พ่อแม่ยุคใหม่หยิบยื่นให้ลูกใช้ง่ายๆ ทั้งๆ ที่ยังไม่ถึงเวลาอันสมควร และไม่พยายามปฏิเสธหรือเบี่ยงเบนความสนใจให้ลูกไปทำกิจกรรมอย่างอื่น ด้วยเหตุผลให้เล่นแล้วเงียบไม่กวนใจ
2. อยากให้ลูกสบายเป็นผลทำร้ายลูกโดยไม่รู้ตัว
การมีพี่เลี้ยงไว้คอยดูแลลูกน้อย เพื่อแบ่งเบาภาระหน้าที่อันเหนื่อยหนักของพ่อแม่ โดยไม่ยอมสอนลูกให้ลองทำอะไรด้วยตัวเอง จนลูกไม่สามารถทำอะไรเป็นได้ เมื่อเติบโตขึ้นในสังคม เช่น เริ่มต้นเข้าโรงเรียนก็จะกลายเป็นภาระให้กับบุคคลรอบข้างที่ต้องคอยช่วยเหลือ เรามักจะได้ยินพ่อแม่บางคนบอกลูกว่า "ไม่ต้องมาช่วยงานพ่อแม่หรอก มันเหนื่อย เอาเวลาไปเรียนหนังสือไป" ซึ่งไม่ถูกต้องเลย
3. ปกป้องลูกมากเกินไป
เพราะความกังวลเกรงว่าจะเกิดอันตรายกับลูกรัก จึงไม่หาโอกาสพาลูกออกไปเปิดประสบการณ์ต่อโลกภายนอก และจำกัดที่ทางให้ลูกอยู่ภายใน comfort zone ยอมให้ลูกนั่งดูทีวี เปิดยูทูป เล่นเกมในไอแพด ซึ่งเป็นการปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้กับสังคมภายนอก และไม่รู้จักกับการแยกแยะความแตกต่างระหว่างคนดีกับคนไม่ดี ขาดการสังเกตและเรียนรู้ เด็กจึงเข้าสังคมกับคนอื่นได้ยาก มีความเห็นแก่ตัว และบางคนถึงกับเป็นโรคซึมเศร้าอยู่แต่ในโลกส่วนตัว
4. ไม่ยอมปล่อยให้ลูกลำบาก เพราะพ่อแม่เคยลำบากมาก่อน
เพราะไม่อยากให้ลูกมีชีวิตเหมือนที่ตนเองเคยเป็นมาก่อน พอฐานะดีขึ้นจึงส่งเสริมและเลี้ยงลูกด้วยวัตถุ เงินทอง ฯลฯ เหล่านี้จะทำให้เด็กกลายเป็นคนขาดความอดทน ไม่มีความมั่นคงในจิตใจ อ่อนแอ และแข็งกระด้าง ไม่มองว่า ตนเองที่สำเร็จขึ้นมาได้เพราะความอดทน ต่อสู้กับความยากลำบากมาก่อนแท้ๆ
5. การใช้ชีวิตติดรูปแบบจากอิทธิพลของสื่อ
ด้วยเทคโนโลยีที่เข้าถึงอย่างรวดเร็ว และมีการนำเสนอรูปแบบการใช้ชีวิตที่ดูสวยหรูผ่านสื่อทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ หรือสื่อออนไลน์อย่างเฟซบุ๊ค อินสตาแกรม ทวิตเตอร์ มีการโชว์และแชร์ถ่ายภาพ อวดของหรู ชูของสวย ด้วยอิทธิพลของสื่อเองและการเลี้ยงลูกแบบตามใจมาก่อน ทำให้เด็กเกิดความอยากได้อยากมีตามกระแสสังคม นำไปสู่ก้าวที่พลาดมากมาย กระทำความผิดโดยไม่รู้ตัว จนหมดสิ้นอนาคต
ดังนั้น การเลือกสอนให้ลูกรู้จักกับความลำบาก ฝึกลูกให้มีหน้าที่รับผิดชอบ รู้การแบ่งปัน การให้ และเรียนรู้ หรือพยายามทำด้วยตัวเองได้ตั้งแต่เด็กย่อมเป็นสิ่งที่ดี
คำแนะสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองที่จะต้องดูแลเยาวชนในการใช้สื่อเทคโนโลยี ให้จำง่ายๆ ด้วยการใช้หลัก 2 ว. 2 น.
ว. ที่ 1 คือ วัย
ว. ที่ 2 คือ เวลา
และอีก 2 น
น. ที่ 1 คือ เนื้อหา
น. ที่ 2 คือแนะนำ
ขอฝากเนื้อหานี้ไปถึงผู้ปกครองทุกท่าน ลูกหลานจะดี ประสบผลสำเร็จ ล้วนมาจากการเอาใจใส่เลี้ยงดูที่ดีมาจากที่บ้าน โรงเรียนและครูเป็นเพียงแหล่งที่คอยปรับแต่ง ปรับปรุง ส่งเสริม ชี้แนะแนวทาง ให้นักเรียนได้เลือกเส้นทางที่ชอบ ที่ถูกต้องเหมาะสมกับพวกเขาในการก้าวเดินออกไปอย่างมั่นคงในสังคมยุค 4.0 นี้เท่านั้น ลูกหลานอยู่กับท่านมากกว่า 16 ชั่วโมงต่อวัน แต่อยู่ที่โรงเรียนเพียงไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์เท่านั้น ถ้าครอบครัวไม่ช่วยดูแลต่อให้ครูไปอบรมการสอนจนดำเป็นตอตะโกก็ไม่สามารถช่วยลูกหลานของท่านให้ดีขึ้นได้หรอกครับ ช่วยกันหน่อยนะ
ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)