foto1
ความงดงามการศึกษาไทย
foto1
เพื่อ?
foto1
ไม่เข้าใจ?
foto1
วิทยากรที่กระทรวงศึกษาธิการ สปป.ลาว
foto1
ท่องทะเลทรายที่ดูไบ UAE


Friendly Links

เรียนรู้ภาษา html
isangate banner
easyhome banner
ipst banner
sakdibhornssup foundation
13 Thai free fonts
speedtest
e mil

Facebook Likebox

No. of Page View

Science and Technolgy

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โดย รศ. ยืน ภู่วรวรรณ ที่ปรึกษา สสวท.

edthai aecากย้อนอดีตไป ตั้งแต่การปฏิรูปการศึกษาครั้งที่ 1 ในรัฐธรรมนูญปี 2540 มีการร่าง พรบ. การศึกษาแห่งชาติ แบ่งส่วนราชการในกระทรวงศึกษาใหม่ และ ปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาพื้นฐาน โดยแบ่งเป็น 8 กลุ่มสาระ ขณะนั้น สสวท. มีความพยายามและชี้ให้เห็นว่า  "เทคโนโลยี" มีความสำคัญ และจะต้องอยู่ในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ แต่กรมวิชาการในขณะนั้นไม่เห็นด้วย และเป็นผู้ดูแลหลักสูตรทั้งหมด จึงนำเทคโนโลยีไปอยู่ใน กลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี

เหตุผลสำคัญที่ "เทคโนโลยี" ควรอยู่กับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพราะเทคโนโลยีมีความหมายถึงการประยุกต์ และนำความรู้จากวิทยาศาสตร์ มาช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่างๆ อันก่อให้เกิดวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร แม้กระทั่ง กระบวนการทำงาน หรือระบบต่างๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น

ยิ่งในการศึกษาวันนี้ เน้นการบูรณาการ และการสร้างสมรรถนะ การลงมือทำ การบูรณาการ เช่น STEM เทคโนโลยียิ่งมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์

yuen poo 2

เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์กันมาก เทคโนโลยีเกิดจากพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ถ่ายทอดมาตั้งแต่โบราณ เช่น การเรียนรู้ เรื่องแม่เหล็ก สนามแม่เหล็ก การวางตัวแนวเหนือใต้ ทำให้สร้างเข็มทิศ เข็มทิศเป็นเทคโนโลยี การเดินเรือ อาศัยเข็มทิศนำทาง วิธีการเดินเรือในมหาสมุทรเป็นเทคโนโลยี ทำให้มีการค้นพบสิ่งใหม่ๆ ทางวิทยาศาสตร์อีก

ชาร์ล ดาวิน เดินทางสำรวจโลก ศึกษาความหลากหลาย มีการบันทึกข้อมูลจำนวนมาก ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ทำให้เกิดการประยุกต์ สร้างสรรค์ เทคโนโลยี อำนวยความสะดวกให้มนุษย์ อย่างมากมาย การศึกษาค้นคว้าทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์จึงก้าวหน้ามาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน สามารถประยุกต์การตรวจสอบทิศของสนามแม่เหล็กทำได้ในระดับโมเลกุล ดังเช่น "เซนเซอร์สนามแม่เหล็ก" ในไมโครบิต

micro bit 02

การสอนนักเรียนให้รู้จัก ทำความสะอาดบ้าน การถูบ้าน การกวาดบ้าน การใช้ไม้กวาด เป็นพื้นฐานการเรียนรู้แบบการงานอาชีพ แต่การออกแบบไม้กวาด การใช้หลักวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เรื่องคาน เรื่องการผ่อนแรง การสร้างไม้กวาดให้กวาดได้สะอาด ผ่อนแรง เป็นเรื่องของเทคโนโลยี

ยิ่งกรอบมาตรฐานการศึกษาชาติ Designed Outcomes of Education ที่ต้องการเน้นผลลัพธ์ของการศึกษา ให้ได้เป็นบุคคลผู้เรียนรู้ได้เอง มีปัญญา สร้างสรรค์นวัตกรรม และเป็นพลเมืองที่เข็มแข็งเพื่อสันติสุข ยิ่งต้องเน้นให้ความสำคัญของการคิดค้น สร้างสรรค์เทคโนโลยี ให้ผู้เรียน คิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา และนำเอาวิชาการมาใช้ประโยชน์ การเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ ในยุคนี้ เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ

micro bit 03

ช่วงปิดเทอมนี้ ผมมีโอกาสสอนนักเรียน หลากหลายระดับ ตั้งแต่ประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษา ในเรื่องที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี และวิทยาการคำนวณ ทำให้เห็นว่า มีเรื่องน่าสนุกที่นักเรียนจะได้เรียนรู้ คิด สร้างสรรค์ จำนวนมาก

ยิ่งเทคโนโลยี ก้าวเข้าสู่ยุค วิทยาศาสตร์ข้อมูล การค้นหาความรู้ Data Analytic จากข้อมูลขนาดใหญ่ Big data ถ้าได้ดูคลิบคีย์โน๊ต Google IO 2018 เห็นความก้าวหน้าการใช้ วิทยาศาสตร์ข้อมูลวินิจฉัยโรค เรื่องของ Machine learning Deep learning AI ก็ต้องกลับมาคิดว่า การศึกษาเราจะตอบโจทย์ Thailand 4.0 ได้อย่างไร

micro bit 04

หมายเหตุปิดท้าย

ผมขอเสริมข้อมูลของอาจารย์ยืน ภู่วรวรรณ เพิ่มเติมอีกนิดหนึ่ง ในฐานะที่เป็นครูอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านนั้นพอดี และทำงานเรื่อยมาทั้งในกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี กับอีกหน้าที่หนึ่งที่ได้รับมอบหมายจากทางโรงเรียนให้เป็น CIO (Chief of Infrmation Technology Officer) แปลเป็นไทยง่ายๆ ก็หัวหน้ากลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำหน้าที่รับผิดชอบบริหารจัดการในการวางระบบเครือข่าย การใช้งานอุปกรณ์เทคโนโลยีของโรงเรียนทั้งหมด ท้าทายและทำให้ผมได้สัมผัสกับประสบการณ์ใหม่ๆ ในด้านเทคโนโลยี จนได้ร่วมทำงานกับ สสวท. ในการเป็นวิทยากรแกนนำวิชาคอมพิวเตอร์ รุ่น 2 ได้ทำงานกับคณะทำงานด้านเทคโนโลยีใน สพฐ. จนเกษียณอายุราชการ

thai word processor

การที่กลุ่มงานเทคโนโลยี หรือพูดง่ายๆ กลุ่มครูคอมพิวเตอร์ ต้องไปอยู่ในกลุ่มการงานอาชีพ เพราะคณะทำงานด้านปรับปรุงหลักสูตรกลุ่มการงานอาชีพ มีหัวหน้าเป็น ศน. ระดับ 9 ด้านกลุ่มการงาน (กลุ่มกรรมๆ ทั้งหลายนี่แหละ จำไม่ได้ว่า คหกรรมหรือเกษตร) ท่านมองว่า ครูคอมพิวเตอร์ต้องมาอยู่กับกลุ่มการงานเพราะ เห็นแต่รับพิมพ์งาน (ช่วงนั้นเครื่องพิมพ์ดีดกำลังขาลง มีเครื่องพิมพ์ไฟฟ้ามาแทนสักพักก็สู้ คอมพิวเตอร์ ไม่ได้) ครูคอมพิวเตอร์ยุคนั้นก็ใช้งานและสอนกันในเรื่อง ระบบปฏิบัติการดอส (DOS 5.5, 6.0, 6.2) กับสอนการใช้โปรแกรมประมวลผลคำราชวิถี (RW) จุฬาเวิร์ด (CW) ตามมาด้วยรามา (Rama SpellChecker) กับมีสอนตารางทำงาน Lotus 123 บ้าง แต่ส่วนใหญ่ยุคนั้นมันยุครับจ้างพิมพ์ทำผลงาน (อาจารย์ 2 รุ่นตะลูด) ด้วย RW พิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์หัวเข็ม (Dot Mattrix) นี่แหละกับกระดาษเจาะรู ระบบปฏิบัติการวินโดว์ยังไม่บูม ไม่รู้จักกัน ก็เลยไม่มีใครไปเถียงแกได้ในยุคนั้น (ก็แกกันคนที่จะเถียงแกออกไปหมด ต่อหน้าผู้ใหญ่ในกระทรวงก็แบบหนึ่ง พอมาทำหลักสูตรก็อีกแบบหนึ่งนั่นเอง)

inex board

พอมายุคหลังปี พ.ศ. 2538 เริ่มมีการเขียนโปรแกรมกันมากขึ้น มีครูผู้สอนที่จบสายตรงด้านคอมพิวเตอร์มาทำงานในโรงเรียน มีสอนการเขียนโปรแกรมอย่างปาสคาล (Pascal) ดีเบสพลัส (dBase Plus) ฟ็อกซ์ โปร (Fox Pro) และเมื่อคอมพิวเตอร์ก้าวหน้ามากขึ้นมีโปรแกรมใหม่ๆ อุปกรณ์ที่รองรับการโปรแกรมอย่างพวก บอร์ดอิเล็กทรอนิกส์ทั้งของคนไทยผลิต (อย่าง INEX) และของต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายมากขึ้น มีการสอนการพัฒนาโปรแกรม การแข่งขันด้านหุ่นยนต์ การทำโครงงานสร้างสรรค์ด้านเทคโนโลยีมากขึ้น ก็ยิ่งมองเห็นว่า คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี ไม่ควรไปอยู่ในกลุ่มการงานอาชีพอีกต่อไป ดังที่ท่านอาจารย์ยืนกล่าวไว้ข้างต้น

computing4kids 2

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

Our Policy