คำแนะนำสำหรับทุกท่านท่านสามารถ "ค้นหา" บทความย้อนหลังด้วยคำภาษาไทยจากเว็บไซต์นี้ได้ง่ายๆ อ่านที่นี่ครับ |
กยศ. คือ มหากาพย์ของวงการศึกษาไทยเรื่องหนึ่ง เป็นทั้งเรื่องน่ายินดีที่เปิดให้คนที่ขาดแคลน มีโอกาสได้รับการศึกษาที่สูงขึ้น เป็นความหวังของเยาวชนผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียน รวมทั้งเป็นดราม่าของคนที่ไม่รู้จักพอ กู้ยืมเพื่อสนองความต้องการของตน ในสิ่งที่มันต้องมี(แม้ไม่จำเป็น) ยืมมาละลายลงขวดเหล้าเบียร์ หมูกระทะ เรียนไม่จบ หรือจบแบบขอไปที งานไม่มีหรือมีแต่ก็ไม่ชดใช้คืนเงินกู้ จนเกิดเป็นดราม่าถูกฟ้องร้องคนค้ำต้องสูญเสียทรัพย์สิน ที่ดิน บ้านช่องดังที่เป็นข่าว
ซึมเป็นหนี้ กยศ.แค่ 1.7 หมื่น ถูกยึดบ้าน 2ล. -ขายทอดตลาด "
ไม่ว่าจะพาดหัวข่าวว่าอย่างไร ความหมายก็เหมือนเดิมคือ "เป็นหนี้ไม่ชดใช้" เป็นคดีความขึ้นศาลไกล่เกลี่ยในส่วนที่คงค้าง 17,868 บาทพร้อมดอกเบี้ย ตั้งแต่ปี 2551 แต่ก็ชักดาบเมินไม่จ่าย อ้างว่าไปทำงานอยู่ไกล ทั้งๆ ที่การชำระคืนเงินกู้ทำได้ที่สาขาธนาคารกรุงไทยได้ทั่วประเทศ ปลายปี 2561 เจ้าหนี้ กยศ. ฟ้องศาลสืบทรัพย์เพื่อขายทอดตลาดชดใช้หนี้ ลูกหนี้ชดใช้เงินเพียงบางส่วน แล้วก็ละเลยอีกครั้ง สำนักงานบังคับคดีจึงขายทอดตลาดทรัพย์ถึง 11 ครั้ง ลูกหนี้ก็ไม่มาแสดงตนดูแล/คัดค้านการขายแม้สักครั้งเดียว จนขายได้ราคาเพียง 30,000 บาท เพราะทรัพย์ติดจำนองกับเจ้าหนี้รายอื่นอยู่ รายละเอียดอื่นๆ ท่านคงหาอ่านได้จากข่าวในสื่อต่างๆ
ผมเคยบ่นเรื่องนี้ไว้ตั้งแต่ปี 2547 ว่า ปัญหาอยู่ที่การวางเงื่อนไขให้กู้ยืมเงินนั้น ครอบคลุมรอบคอบมากเพียงใด? ผมมีกรณีศึกษาครับ เอาลูกน้องผมเป็นตัวละครแทนมนุษย์เงินเดือน และเพื่อนผมเป็นตัวละครชาวบ้าน ที่มีสถานะแตกต่างกัน ลูกน้องผมเป็นลูกจ้างประจำตำแหน่งพนักงานขับรถของหน่วยงานราชการ ส่วนเพื่อนเป็นพ่อค้าขายส่งสินค้าของชำในตัวอำเภอแห่งหนึ่ง ทั้งสองมีลูกในวัยเรียนเหมือนกัน ต่างก็ยื่นเรื่องกู้เงินตามโครงการนี้เหมือนกัน แต่ผลที่ได้แตกต่างกัน
หลังจากที่ต้องเลื่อนการเปิดเทอมมานานนับเดือน 1 กรกฎาคม 2563 นี้ก็จะเริ่มการเปิดเรียนปีการศึกษา 2563 เป็นวันแรก ซึ่งมีการตระเตรียมและสั่งการจากหน่วยบังคับบัญชาเบื้องบน ในการรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่อาจจะเกิดขึ้นอีกได้ เรียกว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบในการจัดการศึกษายุคใหม่ ซึ่งมักจะเรียกกันว่า New Normal หรือเหตุการณ์อุบัติใหม่ ตั้งแต่การรักษาความสะอาด การสวมหน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างทางสังคม รวมทั้งการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบใหม่ๆ ที่อาจจะเหมือนเดิม แต่เพิ่มเติมในเรื่องสื่อกับกรรมวิธีในการถ่ายทอดความรู้ของผู้สอน เท่าที่ติดตามดูจากในสื่อสังคมออนไลน์ที่มีเพื่อนๆ ครูได้โพสท์ถึงการเตรียมการด้านต่างๆ การประชุม-อบรม ในช่วงก่อนเปิดภาคเรียนก็ดูคึกคักกันดี แม้ว่าบางคนอาจจะหงุดหงิด วิตก กังวลกันมากอยู่ ก็ขอเป็นกำลังใจให้นะครับ
ก่อนจะพูดเรื่องการจัดการเรียนการสอน ก็ขอพูดถึงความทุกข์ของผู้ปกครองกันก่อน หลังจากที่ทุกข์ใจกับการเรียนออนไลน์ (ทดลองเรียน ท่านว่าอย่างนั้น แต่ทั้งผู้ปกครอง ครู และโรงเรียนดูจะเอาจริงจังกันมาก เห็นว่าให้มีรายงานด้วยนะ ก็รายงานทดลองไปขอรับไม่ต้องซีเรียส) ความทุกข์ตอนนี้ก็คือ เรื่องของทุนทรัพย์ในการจัดการศึกษาให้ลูก ด้วยความขัดสนจากสภาวะการตกงาน การไม่มีรายได้แบบไม่ทันตั้งตัว หลายคนโดนเลย์ออฟกระทันหัน จึงมีปัญหาในการจัดซื้อเครื่องแบบนักเรียน อุปกรณ์การเรียนให้กับลูกหลาน โดยเฉพาะคนที่ต้องเปลี่ยนระดับชั้น เปลี่ยนโรงเรียนใหม่ ต้องเปลี่ยนเครื่องแบบนักเรียนด้วยจะมีปัญหามากทีเดียว นอกจากนั้นยังต้องเตรียมตัวสำหรับความลอดภัยด้วย นับตั้งแต่หน้ากากผ้าให้นำไปใช้ได้ทุกวัน ความห่วงใยในการเดินทางที่ต้องคำนึงถึงความแออัด และการเว้นระยะห่างเพื่อป้องกันโรค
โกลาหลอลหม่านกันตั้งแต่เช้าตรู่วันแรก 18 พฤษภาคม 2563 กับการเริ่มใช้วิธีการเรียนออนไลน์วันแรก หรือจะเรียกว่า "การเรียนผ่านสื่อครูตู้ ครูคอมพิวเตอร์พีซี ครูโน้ตบุ๊ค ครูแท็ปเล็ต ครูโทรศัพท์สมาร์ทโฟน" ของนักเรียนไทยทั่วประเทศ ในสถานการณ์ระบาดของไวรัสโควิท-19 หรือจะเรียกกันเท่ๆ ว่า "Covid-19-Learning" ก็คงจะได้กระมัง ผมคงไม่ต้องกล่าวซ้ำว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างเพราะมีการรายงานผ่านสื่อโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ และสื่อสังคมออนไลน์ทั้งหลายมากมายเพียงพอแล้ว ที่ต้องเอามาเขียนวันนี้ก็เพื่อนำมาถอดบทเรียนร่วมกัน มาถกปัญหาเพื่อแสวงหาทางออกแห่งอนาคตกันดีกว่า ยังไงเราก็มีโอกาสที่จะต้องใช้ "การเรียนรู้วิถีใหม่ New Normal Learning" นี่ก้นอยู่แล้วในวันข้างหน้านี้
การระบาดของไวรัสโควิด-19 เกิดในจีนช่วงปลายปีที่แล้วในประเทศจีน และลุกลามออกไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งหลายๆ คน หลายๆ ประเทศก็ไม่ได้นึกว่า มันจะรุนแรงจนถึงขนาดที่เกิดการปิดเมือง ปิดประเทศ หยุดการดำเนินการทางเศรษฐกิจ การศึกษา ไปได้มากมายขนาดนี้ ประเทศไทยเรายังนับว่ามีทีมด้านสาธารณสุขที่ดีเด่นของโลก ที่สามารถต่อกรกับโรคนี้ได้ทันท่วงทีที่ทราบข่าวการระบาด และไม่ตกอยู่ในความประมาทดังที่เราทราบกันดี แต่กระนั้นก็ตาม ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับปฏิบัติการต่อสู้กับโรคภัยในครั้งนี้ก็ทำให้เราจำเป็นต้องหยุดกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันที่เคยสะดวกสบายไป รวมทั้งการจัดการศึกษาในโรงเรียนด้วย
จึงต้องคิดหาวิธีการที่จะทำให้การศึกษาของลูกหลายเราได้ดำเนินการไปได้ต่อเนื่อง ในระหว่างที่มีการเลื่อนการเปิดภาคเรียนออกไปเดือนเศษนี้ ด้วยการหาวิธีให้นักเรียนได้เรียนล่วงหน้าไปก่อน โดยใช้ "วิธีการสอนออนไลน์" ซึ่งเราก็รู้อยู่ว่า ประเทศไทยกับการใช้วิธีการเรียนแบบนี้นั้นยังไม่เคยทำเป็นเรื่องจริงจังมาก่อน เราเคยมีการใช้ "โทรทัศน์เพื่อการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม DLTV" มาก่อนก็จริง แต่นั่นเป็นการใช้เพื่อการแก้ปัญหาครูไม่ครบชั้นเรียน ในโรงเรียนชนบทห่างไกล ไม่ใช่การนำมาใช้กับทุกโรงเรียนในประเทศอย่างกรณีนี้
ปกติในทุกปีการศึกษา ช่วงนี้จะเป็นการจัดปฐมนิเทศนักเรียนใหม่ก่อนจะเปิดภาคเรียนกัน แต่ด้วยการระบาดของโรคพิษภัยที่คาดไม่ถึงของวายร้ายที่ชื่อ โควิด-19 (coronavirus disease starting in 2019) วันนี้เรายังไม่มีการรับนักเรียนใหม่กันเลย ซึ่งแน่นอนว่าบรรดาผู้ปกครองที่มีบุตรหลานที่ต้องเปลี่ยนช่วงชั้นเรียน ป. 1, ม. 1, ม. 4 และระดับอุดมศึกษา ย่อมมีความวิตกกังวลกันมากที่สุด ในขณะที่ทางด้านโรงเรียน สถาบันการศึกษาก็วิตกกังวลไม่ต่างกัน ว่าจะรับนักเรียนด้วยวิธีการอย่างไรจึงจะปลอดภัยจากโรคร้ายนี้ ตั้งแต่ขั้นตอนการสมัคร การคัดเลือก การสอบ และได้มาแล้วจะเริ่มต้นการจัดการเรียนการสอนอย่างไรดี? ทางกระทรวงก็มีแต่คำสั่งแนวปฏิบัติให้ทำ ส่วนจะเริ่มอย่างไรไปคิดกันเอาเอง
เอาที่เรื่องการรับนักเรียนก่อน แน่นอนล่ะ "หนทางที่ปลอดภัยคือ ออนไลน์" แต่มันก็ใช้กับทุกคนไม่ได้ ด้วยข้อจำกัดที่แตกต่างกันไปตั้งแต่การเข้าถึงระบบเครือข่าย การไม่เชี่ยวชาญในเทคโนโลยีทำให้สมัครกันไม่ได้ ทำไม่เป็น (เอาง่ายๆ แค่การลงทะเบียนรับสวัสดิการจากรัฐก็ยังด่ากันเอ็ดอึง) โรงเรียนจะทำอย่างไร โรงเรียนใหญ่ๆ มีชื่อเสียง ความต้องการจะเข้าเรียนมีเยอะคงไม่ยากสำหรับผู้ปกครองที่จะดิ้นรนสมัคร แต่คนที่ขาดโอกาสล่ะ ก็ยิ่งซ้ำเติมความขาดยิ่งขึ้นไปอีก โรงเรียนคงต้องหาทางออกแบบผสมผสาน ใช้การสมัครแบบปกติคู่กันไปด้วย เช่น มีใบสมัครให้รับได้ในที่ใดที่หนึ่ง เขียนใบสมัครแล้วส่งผ่านให้โรงเรียนในทางใดทางหนึ่ง ไม่ใช่ยึดแต่ระบบออนไลน์ทางอินเทอร์เน็ตอย่างเดียว
ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)