โดย ศน.ดร.กอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
การเปิดเรียนในภาคเรียนที่ 1/2561 ใกล้เข้ามาทุกที หลายๆ โรงเรียนอาจเปิดเทอมแล้ว ในขณะที่หลักสูตรสถานศึกษา (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2561) ของหลายโรงเรียนยังแก้กันไปแก้กันมาไม่เสร็จสักที เพราะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด ถามใครก็ตอบไม่เหมือนกัน ตลอดจนยังคงมีคำถามที่คุณครูต้องการคำตอบอยู่หลายประเด็น อาทิเช่น
สาระวิทยาการคำนวณ ในระดับ ป.1-3 และ ป.4-6 จะจัดอย่างไร จัดได้กี่วิชา กี่หน่วยกิต แล้ววิทยาการคำนวณนี่ใครเป็นคนสอนครูวิทย์หรือครูคอมกันแน่ แล้วเปิดสอนเป็นวิชาเพิ่มเติมได้ไหม "
แล้วที่ว่าเอาหน่วยกิตมาจากกลุ่มสาระฯ การงาน เอามาเท่าไหร่ ยังไง จัดเหมือนเดิมได้ไหม ไม่แก้ได้รึเปล่า "
แล้ววิชาคอมพิวเตอร์ที่เป็นรายวิชาเพิ่มเติม รหัส ง ล่ะ ต้องเปลี่ยนเป็นรหัส ว หรือเปล่า "
คำถามเหล่านี้คงเป็นคำถามที่อาจยังคงค้างคาใจครูหลายๆ ท่าน ผมจึงอยากชวนคุณครูมาร่วมกันคิดพิจารณา โดยผมได้สรุปจากคำสั่งและประกาศของ สพฐ. เพื่อสร้างความเข้าใจและเป็นแนวทางที่คุณครูสามารถนำไปจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน
ก่อนอื่นขอให้ทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับสาระสำคัญในการปรับปรุงหลักสูตรกันก่อนนะครับ
1. การปรับปรุงโครงสร้างเวลาเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
ตามคำสั่ง สพฐ. ที่ 922/2561 สั่ง ณ วันที่ 3 พฤษภาคม 2561 อ้างอิง คำสั่ง ปรับปรุงโครงสร้างเวลาเรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ระดับประถมศึกษา
2. การจัดรายวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา
อ้างอิงจาก แนวทางการนิเทศการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
3. ยกเลิกมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดสาระที่ 2 การออกแบบและเทคโนโลยีและสาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 และเปลี่ยนชื่อกลุ่มสาระการเรียนรู้
ตามคำสั่ง สพฐ. ที่ 921/2561 สั่ง ณ วันที่ 3 พฤษภาคม 2561 อ้างอิง คำสั่งการยกเลิกมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
จากสาระสำคัญในการปรับปรุงหลักสูตรดังกล่าว จึงขอเสนอแนวทางจัดหลักสูตรสถานศึกษา สาระวิทยาการคำนวณ ในกลุ่มสาระฯ วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา ดังนี้
ตามหลักสูตรฯ 2551 กำหนดเวลาเรียนวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 80 ชั่วโมงต่อปี และเวลาเรียนการงานอาชีพและเทคโนโลยี 40 ชั่วโมงต่อปี ในหลักสูตรฯ 2560 เนื่องจากมีการยกเลิกมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด สาระที่ 2 การออกแบบและเทคโนโลยี และสาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในกลุ่มสาระการงานฯ ย้ายไปเป็นสาระที่ 4 เทคโนโลยี ในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์
ดังนั้น จะต้องลดเวลาเรียนกลุ่มการงานอาชีพ ลงครึ่งหนึ่ง จาก 40 ชั่วโมงต่อปี เหลือ 20 ชั่วโมงต่อปี และทำให้เวลาเรียนวิทยาศาสตร์พื้นฐานกลายเป็น 100 ชั่วโมงต่อปี ซึ่งในระดับประถมศึกษาได้กำหนดไว้ว่า 1 กลุ่มสาระฯ สามารถจัดได้เพียง 1 รายวิชาเท่านั้น ดังนั้นจะต้องจัดทำหน่วยการเรียนรู้ให้ครอบคลุมสาระที่ 1-4 ในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ ซึ่งเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ ขอแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้
ยกตัวอย่าง เช่น ถ้าโรงเรียนใช้หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.1 ของ สสวท. จะสามารถจัดหน่วยการเรียนรู้ได้ดังนี้
หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว เวลา 10 ชั่วโมง
หน่วยที่ 2 ตัวเรา สัตว์ และพืชรอบตัวเรา เวลา 20 ชั่วโมง
หน่วยที่ 3 สิ่งต่างๆ รอบตัวเรา เวลา 30 ชั่วโมง
หน่วยที่ 4 โลกและท้องฟ้าของเรา เวลา 20 ชั่วโมง
หน่วยที่ 5 วิทยาการคำนวณ เวลา 20 ชั่วโมง
รวม 100 ชั่วโมง
หน่วยที่ 1-4 สอนโดยครูวิทยาศาสตร์ 80 ชั่วโมงต่อปี (2 คาบ/สัปดาห์)
หน่วยที่ 5 สอนโดยครูคอมพิวเตอร์ (หรือจัดครูตามบริบทของ รร.) 20 ชั่วโมงต่อปี (ครึ่งคาบ/สัปดาห์)
ซึ่งถ้าจัดตามนี้ อาจจะเกิดปัญหาคาบสอนไม่ลงตัว เพราะมีเวลาเรียนวิทยาการคำนวณเพียงครึ่งคาบ/สัปดาห์ ที่ในความเป็นจริงนั้นอาจจัดได้ยากเพราะเวลาไม่ลงตัวเป็น 1 คาบ ในกรณีจะจัดเวลาเรียนโดยให้ครูวิทย์สอนไปก่อน 4 หน่วยให้จบจากนั้นค่อยให้ครูคอมสอนวิทยาการคำนวณในหน่วยที่ 5 ก็สามารถทำได้แต่จะจัดคาบสอนและอัตรากำลังยาก กลายเป็นว่าช่วงแรกๆ ที่ครูวิทย์ยังสอนไม่จบครูคอมจะว่างไม่มีคาบสอน และจะไปมีคาบสอนอีกทีช่วงปลายเทอมที่ครูวิทย์สอนจบแล้ว (หมายเหตุโดยครูมนตรี : ถ้าโรงเรียนขนาดใหญ่มีหลายห้องเรียน สามารถจัดการเรียการสอนสลับหน่วยการเรียนและห้องให้ครูทุกคนมีคาบสอนเฉลี่ยทั้งปีได้)
ดังนั้น จึงขึ้นอยู่กับโรงเรียนว่าจะบริหารจัดการอย่างไร เช่น ไปลดเวลาเรียนพื้นฐานวิชาอื่นมาโปะ จัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณเพียงเทอมเดียวหรือจัดสัปดาห์เว้นสัปดาห์ จัดการเรียนการสอนโดยเปิดเป็นรายวิชาเพิ่มเติม หรือไปใช้เวลาสอนเพิ่มเติมในกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้/กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เป็นต้น (วิชาการการงานอาชีพ 20 ชั่วโมงต่อปีหรือครึ่งคาบ/สัปดาห์ ก็อาจประสบปัญหาเช่นเดียวกัน) ทั้งนี้ควรคำนึงถึงการจัดอัตรากำลังครูผู้สอน และการจัดทำตารางสอนในระยะยาวเมื่อใช้หลักสูตรฯ 2560 นี้ครบทุกระดับชั้นตามบริบทของโรงเรียน
ตลอดจนมีสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการบริหารจัดการโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา ดังนี้
ตามหลักสูตรฯ 2551 กำหนดเวลาเรียนวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 80 ชั่วโมงต่อปี และเวลาเรียนการงานอาชีพและเทคโนโลยี 80 ชั่วโมงต่อปี ในหลักสูตรฯ 2560 เนื่องจากมีการยกเลิกมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด สาระที่ 2 การออกแบบและเทคโนโลยี และสาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในกลุ่มสาระการงานฯ ย้ายไปเป็นสาระที่ 4 เทคโนโลยี ในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์
ดังนั้น จะต้องลดเวลาเรียนการงานฯ ลงครึ่งหนึ่ง จาก 80 ชั่วโมงต่อปี เหลือ 40 ชั่วโมงต่อปี และทำให้เวลาเรียนวิทยาศาสตร์พื้นฐานกลายเป็น 120 ชั่วโมงต่อปี ซึ่งในระดับประถมศึกษาได้กำหนดไว้ว่า 1 กลุ่มสาระฯ สามารถจัดได้เพียง 1 รายวิชาเท่านั้น ดังนั้นจะต้องจัดทำหน่วยการเรียนรู้ให้ครอบคลุมสาระที่ 1-4 ในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ ซึ่งเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ ขอแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้
ยกตัวอย่าง เช่น ถ้าโรงเรียนใช้หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.4 ของ สสวท. จะสามารถจัดหน่วยการเรียนรู้ได้ดังนี้
หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว เวลา 15 ชั่วโมง
หน่วยที่ 2 สิ่งมีชีวิต เวลา 10 ชั่วโมง
หน่วยที่ 3 แรงและพลังงาน เวลา 15 ชั่วโมง
หน่วยที่ 4 วัตถุและสสาร เวลา 20 ชั่วโมง
หน่วยที่ 5 โลกและอวกาศ เวลา 20 ชั่วโมง
หน่วยที่ 6 วิทยาการคำนวณ เวลา 40 ชั่วโมง
รวม 120 ชั่วโมง
หน่วยที่ 1-5 สอนโดยครูวิทยาศาสตร์ 80 ชั่วโมงต่อปี (2 คาบ/สัปดาห์)
หน่วยที่ 6 สอนโดยครูคอมพิวเตอร์ (หรือจัดครูตามบริบทของ รร.) 40 ชั่วโมงต่อปี (1 คาบ/สัปดาห์)
ซึ่งจะจัดง่ายกว่า ป.1-3 เพราะเวลาเรียนลงตัวพอดี ดังนั้นอาจสรุปได้ว่า ในหนึ่งสัปดาห์นักเรียนจะเรียนวิทยาศาสตร์ 2 คาบ กับครูวิทย์ และเรียนวิทยาการคำนวณ 1 คาบ กับครูคอมฯ นั่นเอง
อย่างไรก็ตามโรงเรียนสามารถบริหารจัดการโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาได้ตามความเหมาะสมโดยมีสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง ดังนี้
ขอย้ำว่า ในปีการศึกษา 2561 นี้ จัดการเรียนการสอนตามแนวทางนี้เพียงระดับชั้น ป.1 กับ ป.4 เท่านั้น ป.2, 3, 5, 6 ยังคงจัดการเรียนการสอนเหมือนเดิมตามหลักสูตรฯ 2551 แต่โรงเรียนควรจะต้องเตรียมหลักสูตรสถานศึกษาไว้ล่วงหน้า เมื่อเปิดการเรียนการสอนตามหลักสูตรฯ 2560 ครบทุกระดับชั้นในปีการศึกษา 2563 ด้วย
อย่างไรก็ตาม เวลาเรียนที่ระบุเป็นเพียงเวลาที่แนะนำตามที่ปรากฏใน Powerpoint การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ของ ดร.รัตนา แสงบัวเผื่อน เท่านั้น สถานศึกษาสามารถปรับเวลาเรียนพื้นฐานในแต่ละกลุ่มสาระฯ ได้ตามความเหมาะสม โดยจัดเวลาเรียนพื้นฐานรวม 840 ชม./ปี ไม่จำเป็นที่จะต้องจัดเวลาเรียนตามแนวทางที่แนะนำข้างต้นก็ได้
สุดท้ายนี้ ผมตั้งใจเขียนโพสต์นี้ เพื่อช่วยเป็นแนวทางให้คุณครูในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ด้วยความปรารถนาดีและด้วยเจตนาบริสุทธิ์ หากท่านใดมีคำถาม ข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็น หรือถ้าผมสรุปส่วนใดไม่ถูกต้อง ขอให้ท่านด้วยโปรดแจ้งหรือแสดงได้อย่างเต็มที่ ในเฟซบุ๊คนี้ เพื่อจะเป็นประโยชน์ต่อคุณครูและต่อการศึกษาต่อไป
ขอขอบพระคุณ
ที่ได้ให้ความกรุณาช่วยตรวจสอบความถูกต้อง
ศน.ดร.กอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
13 พฤษภาคม 2561
ผมนำเอามาเก็บไว้ที่เว็บไซต์นี้ เพราะต้องใช้อ้างอิงในการออกไปช่วยเหลือเพื่อนครูโรงเรียนต่างๆ ใน โครงการโรงเรียนคุณภาพวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ตามมาตรฐาน สสวท. ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกโรงเรียนใการจัดการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ 1/2561 เรื่อยไปจนถึง ปีการศึกษา 2563 จึงจะครบทุกช่วงชั้น ส่วนระดับชั้นมัธยมศึกษานั้นจะง่ายกว่าประถมศึกษา เพราะชั่วโมงเรียนมากกว่า ทำเป็นวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติมได้อิสระกว่ามาก สุดท้ายก็ขอขอบคุณ น้อง ศ.น.กอบวิทย์ แทนเพื่อนครูทุกคนครับ
ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)