คำแนะนำสำหรับทุกท่านท่านสามารถ "ค้นหา" บทความย้อนหลังด้วยคำภาษาไทยจากเว็บไซต์นี้ได้ง่ายๆ อ่านที่นี่ครับ |
หลังจากการนำเสนอบทความเกี่ยวกับการปรับตัวเพื่อสร้างกระบวนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มาหลายตอนแล้ว วันนี้เลยขอรวบรวมคลิปวีดิโอที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่น่าสนใจ แนวคิด วิธีการต่างๆ ที่หน่วยงาน/องค์กร/ผู้รู้ ในจัดทำและนำเสนอมาไว้ที่เดียวกัน สำหรับเพื่อนครูไทยหัวใจดอทคอมทุกท่านจะได้ศึกษา นำไปประยุกต์ใช้ได้ตามเหมาะสมกับบริบทของแต่ละท่าน ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนใหญ่ โรงเรียนเล็ก ในเมืองหรือในชนบท เชิญเลือกชมได้ตามความสนใจเลยครับ..
วิถีสร้างการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดย สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน
(ตอนที่ 4)
โดย สุทัศน์ เอกา
Take Action.. ลงมือปฏิบัติ ขั้นที่ 6. ลงมือปฏิบัติ
นี้เป็นขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21.สำคัญยิ่ง เพราะเป็นการ “ลงสนามรบ The Battlefield” ในการเรียนการสอนอย่างแท้จริง ดังนี้
Take Action..ลงมือปฏิบัติการสอนจริง
มีท่านผู้อ่านหลายท่าน ได้แสดงความกังวลว่า Learning by Doing ได้ผลดีจริงหรือ เกรงว่าจะทำให้นักเรียนตกต่ำ เหลวไหล ไร้ระเบียบแบบแผนมากกว่า สู้ออกคำสั่งให้ตั้งใจฟังครูสอน บังคับให้อยู่ในระเบียบ ฟังเงียบๆ ดีกว่า และมีไม่น้อยเลยที่เห็นว่า Learning by Doing คือ การให้นักเรียนทำงานเองเงียบๆ และ “ครูว่างเกินไป” จึงขนงานจากข้างนอก และหน่วยเหนือ ซึ่ง “มิใช่หน้าที่โดยตรงของครู” มาให้ทำจนล้า และในที่สุด “งานนอกหน้าที่จึงต้องทำก่อนงานในหน้าที่ซึ่งหาเวลาแทบไม่ได้เลย” นี่เป็น ความ “ไม่เข้าใจ” และ “เข้าใจผิด” อย่างแรง.....
ที่ถูกต้อง และได้ผลดีมาก.. The best way to “DO.!” ..
คุณครู-อาจารย์ ลองดู “บรรยากาศ การเรียนการสอน แบบ Learning by Doing” ที่ถูกต้อง และได้ผลดี ลองพิจารณาดูนะครับ
(ตอนที่ 3)
โดย สุทัศน์ เอกา
The process of “Distinguish the Data”, and “Instructional Design”...
ขั้นตอนที่ 4. การวิเคราะห์และจำแนกแยกแยะข้อมูล และ ขั้นตอนที่ 5. การออกแบบการเรียนการสอน ของขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21.
หลังจากการระดมความคิด Brainstorming จนถึงขั้น Collaborative และทำสรุป แยกเป็นหมวดหมู่ เรื่องใด ระดับชั้นใด และโดยเฉพาอย่างยิ่ง “รูปแบบการเรียนการสอน Form of instruction.” ที่ได้จากการระดมความคิด ว่าเนื้อหาส่วนไหน จะเรียนรู้แบบไหน How to Learn ผู้เรียนจะได้มีส่วนร่วม หรือ Experience Participation ได้อย่างไร เพื่อจะนำไป วิเคราะห์ จำแนกแยกแยะ หรือ Distinguish the Data และ “ออกแบบการเรียนการสอน Learning and Teaching Design” ในขั้นต่อไป
(ตอนที่ 2)
โดย สุทัศน์ เอกา
Brainstorming..การระดมความคิด.. ขั้นตอนที่ 3 ของการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21.
ใน 2 ขั้นตอนแรก คือ การเตรียมตัวครู และ การสำรวจชุมชน เพื่อหาแรงบันดาลใจนั้น คุณครู-อาจารย์ทุกท่าน ได้ไป Exploring คือ “แต่ละท่าน” ได้มีการรวบรวมข้อมูล หรือ Data gathering มากพอที่จะกำเนินการ “ระดมความคิด หรือ Brainstorming” ได้แล้ว ดังนี้
คุณครูแบ่งกันออกเป็น “กลุ่มย่อย Subgroup” ตาม “รายวิชา และ ระดับชั้น” เช่น วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้น ม.1 มีครูสอน 2 คน คุณครูสามคนนี้ก็เป็นกลุ่มย่อยๆ กลุ่มหนึ่งเพื่อ Brainstorming หรือ ถ้าเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก มีครูวิทยาศาสตร์ทุกระดับทั้งโรงเรียน เพียง 3 คน ทั้ง 3 คนนี้ ก็เป็นกลุ่ม Brainstorming… ในรายวิชาอื่นๆ ก็ทำเช่นเดียวกัน
การ Brainstorming เป็นกลุ่มย่อย ที่เรียกว่า “ Group Brainstorming” จะได้ผลดีกว่ากลุ่มใหญ่ และ ดีกว่าการทำงานคนเดียว
Group Brainstorming หรือ กลุ่มระดมความคิดนี้ จะสามารถใช้ประโยชน์จาก “ประสบการณ์ Experience” ได้อย่างเต็มรูปแบบ เพราะ “ความคิดสร้างสรรค์ creativity” ของสมาชิกคนหนึ่งๆ จะได้รับการ “ปรับปรุง Reform” และ “ต่อยอด continuing” จากความคิดสร้างสรรค์ของสมาชิกคนอื่นๆ ทำให้คนเราสามารถ “พัฒนาความคิดในเชิงลึก develop ideas in greater depth” การระดมความคิดนี้ ทำให้สมาชิกแต่ละคน “รู้สึกว่า Feel that” ตนเองมี “ส่วนร่วม” ในการแก้ปัญหา และทำให้รู้สึกว่า “คนอื่นๆ ก็มีความคิดสร้างสรรค์ที่มีคุณค่าเช่นเดียวกัน Reminds people that others have creative ideas to offer” การระดมความคิดนี้ควรเป็นไปในทาง “สนุกสนาน Brainstorming is also fun” และสามารถนำไปปรับใช่ในการพัฒนาการเรียนรู้ได้อย่างดีที่สุด
ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)