คำแนะนำสำหรับทุกท่านท่านสามารถ "ค้นหา" บทความย้อนหลังด้วยคำภาษาไทยจากเว็บไซต์นี้ได้ง่ายๆ อ่านที่นี่ครับ |
(ตอนที่ 1)
โดย สุทัศน์ เอกา
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21… The Learning Process in the 21st Century.
ขั้นที่ 1. เตรียมครู.. และ ขั้นที่ 2. การสำรวจชุมชน หาแรงบันดาลใจ......
บทบาท “ผู้นำสถานศึกษา” ก่อนการเปลี่ยนแปลง Before Changing
การเตรียมการก่อนที่จะมีการปฏิรูปการเรียนรู้ “ค่อนข้างเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญมาก” คนสำคัญที่จะต้องตื่นตัว และเรียนรู้เรื่อง “การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21” อย่างดีที่สุด และเข้าใจ Understanding มากที่สุด ก็คือ “ตัว ผู้อำนวยการโรงเรียน หรือ ผู้บริหารสถานศึกษา” นั่นเอง เพราะ ความเข้าใจเรื่องการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อย่างดีที่สุดนี้ ทำให้มองเห็นความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนแปลง หรือ The Need to Change.. ”วิธีสอนของครู และวีธีเรียนของนักเรียน Learning and Teaching Approach” เนื่องจากโลกแห่งความเป็นจริงเปลี่ยนแปลงไป The World of Reality Changed” ตัวการแห่งความเปลี่ยนแปลงนี้ คือ “การสื่อสารไร้พรมแดน Borderless Communication” ความรู้และสรรพวิทยาการหลั่งไหลมาจากทุกมุมโลก เข้าสูอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทุกคนสามารถเป็นเจ้าของได้ ทำให้คนทุกคน “เข้าถึงความรู้ได้เท่าทียมกัน Equal Access to Knowledge” การเรียนโดยรับความรู้จากที่ครูบอกให้ จึงไม่พอเพียงกับโลกแห่งความเป็นจริง Real World”
โดย ดร.สุพักตร์ พิบูลย์
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2557 ผมได้ไปร่วมอภิปรายเรื่อง "ทิศทางการจัดการศึกษาของประเทศไทย ในศตวรรษที่ 21 (ทศวรรษที่ 2-3)" ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กลุ่มผู้ฟังส่วนใหญ่น่าจะเป็นครู - อาจารย์ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักศึกษา ป.โท เอก ของ มสธ. ในการพูดคุย ผมได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับทิศทางการจัดการศึกษา (เน้นระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน) ซึ่งผมตั้งใจจะเสนอ ดังต่อไปนี้
1. บริบทการศึกษาไทย ศตวรรษที่ 21 ทศวรรษที่ 2 (พ.ศ. 2011-2020) : การจัดการศึกษาในปี 2554-2563 เราต้องเผชิญกับอะไรบ้าง มีภาวะคุกคามและเงื่อนไขโอกาส อย่างไรบ้าง
ปาฐกถาพิเศษเกี่ยวกับทิศทางการศึกษาไทยในอนาคต ของ นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี คนที่ 18 ของประเทศไทย เนื่องในโอกาสครบรอบ "๕๐ ปี โรงเรียนศรีวิกรม์" ใจความตอนหนึ่งว่า ประเทศไทยน่าสงสารมาก การศึกษาของไทยก็น่าสงสารมาก เรามีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ มีความโชคดีด้วยภูมิศาสตร์ แต่เป็นความโชคดีอย่างประหลาด ที่ประเทศไทยไม่มีภัยพิบัติร้ายแรง เหมือนหลายประเทศในโลก ไม่มีพายุทอร์นาโด ไม่มีแผ่นดินไหว อย่างมากก็น้ำท่วม แต่มองลึกๆ แล้วประเทศไทยมีกรรม เพราะ 70-80 ปีที่ผ่านมาไทยเผชิญกับภัยพิบัติที่มาจากคนไทยด้วยกันเอง
"ประเทศไทยเผชิญกับภัยพิบัติที่เกิดจากคนไทย มานานถึง 70-80 ปี คนไทยสร้างสึนามิทุกๆ วัน เพราะคนไทยไม่สนใจความจริง เชื่อข่าวลือ เล่นพระเครื่อง ไม่ว่าจะจับต้องอะไรก็ผิวเผิน ไม่มีความรู้ลึกลงไปถึงแก่สาร สาระที่สำคัญจริงๆ ส่วนหนึ่งที่คนไทยเป็นเช่นนี้ มาจากพ่อแม่ไม่ส่งเสริมสนับสนุนให้ลูกพูดความจริง พ่อแม่ไม่มีเวลาอบรมสั่งสอนลูก พ่อแม่บางคนก็ทำร้ายลูก ตบตีลูก
โดย ดร.ปัญญา เปรมปรีด์ิ
ในขณะที่ท่านนายกทักษิณพยายามขอให้ผู้บริหารของไทย ได้หันมาใช้นโยบาย "คิดใหม่ทำใหม่" ผมก็พบว่าหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจได้คิดตามสั่งจริง แต่ผลที่ได้คือ ของบประมาณเพิ่มขึ้น แต่เอาไปทำเรื่องเก่าๆ ที่เป็นอยู่ เรื่องนี้นอกจากจะเสียเวลาแล้ว มันยังจะทำให้สิ้นเปลืองยิ่งขึ้น ซึ่งทำให้ผมรู้สึกสงสารท่านนายกจริงๆ นโยบายที่ง่ายๆ ปฏิบัติกันได้ไม่ยาก แต่กลับถูกตีความไปในทางตรงกันข้าม แล้วชาติบ้านเมืองจะคืนสู่ความปรกติสุขได้อย่างไร วันนี้ผมจะขอเอาตัวอย่างมาให้ท่านดูสัก 2 เรื่อง แล้วเรามาดูกันว่าเราควรจะแก้ไขกันอย่างไร?
เรามาเริ่มกันที่ตัวอย่างอันแรกกันเสียก่อน หน่วยงานนี้เป็น รัฐวิสาหกิจที่จะต้องแปรรูปในเร็วๆ นี้ ดังนั้น ไม่ว่าท่านนายกจะสั่งมาหรือไม่สั่งมา เขาก็ต้องคิดที่จะทำอะไรบางอย่างอยู่แล้ว
ผลของการคิดใหม่ของเขาก็คือ ต้องการเปลี่ยนระบบงานคอมพิวเตอร์ทั้งหมดที่มีอยู่ เขาเริ่มด้วยการขอเปลี่ยน ซอฟท์แวร์ที่ทำงานด้านบัญชีและการบริหารทรัพยากร ซึ่งเป็นเงินประมาณ 215 ล้านบาท นี่เป็นค่าซอฟท์แวร์แต่เพียงอย่างเดียวนะครับ มันทำให้คนที่ต้องพิจารณาความเหมาะสมต้องสะดุ้ง ทั้งนี้เพราะไม่เคยมีซอฟท์แวร์อะไรที่แพงอย่างนี้ แต่ข้ออ้างของเขาก็ทำให้คณะกรรมการต้องยอมแพ้ คือมันเป็นการเปลี่ยนเวอร์ชั่น ซอฟท์แวร์เวอร์ชั่นเก่านั้นบริษัทบอกเลิกการให้การสนับสนุนแล้ว และถ้าไม่เปลี่ยนก็อาจเสียหายต่อหน่วยงานเป็นพันล้านบาทต่อปี ….ฯลฯ
ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)