(ตอนที่ 2)
โดย สุทัศน์ เอกา
Brainstorming..การระดมความคิด.. ขั้นตอนที่ 3 ของการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21.
ใน 2 ขั้นตอนแรก คือ การเตรียมตัวครู และ การสำรวจชุมชน เพื่อหาแรงบันดาลใจนั้น คุณครู-อาจารย์ทุกท่าน ได้ไป Exploring คือ “แต่ละท่าน” ได้มีการรวบรวมข้อมูล หรือ Data gathering มากพอที่จะกำเนินการ “ระดมความคิด หรือ Brainstorming” ได้แล้ว ดังนี้
คุณครูแบ่งกันออกเป็น “กลุ่มย่อย Subgroup” ตาม “รายวิชา และ ระดับชั้น” เช่น วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้น ม.1 มีครูสอน 2 คน คุณครูสามคนนี้ก็เป็นกลุ่มย่อยๆ กลุ่มหนึ่งเพื่อ Brainstorming หรือ ถ้าเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก มีครูวิทยาศาสตร์ทุกระดับทั้งโรงเรียน เพียง 3 คน ทั้ง 3 คนนี้ ก็เป็นกลุ่ม Brainstorming… ในรายวิชาอื่นๆ ก็ทำเช่นเดียวกัน
การ Brainstorming เป็นกลุ่มย่อย ที่เรียกว่า “ Group Brainstorming” จะได้ผลดีกว่ากลุ่มใหญ่ และ ดีกว่าการทำงานคนเดียว
Group Brainstorming หรือ กลุ่มระดมความคิดนี้ จะสามารถใช้ประโยชน์จาก “ประสบการณ์ Experience” ได้อย่างเต็มรูปแบบ เพราะ “ความคิดสร้างสรรค์ creativity” ของสมาชิกคนหนึ่งๆ จะได้รับการ “ปรับปรุง Reform” และ “ต่อยอด continuing” จากความคิดสร้างสรรค์ของสมาชิกคนอื่นๆ ทำให้คนเราสามารถ “พัฒนาความคิดในเชิงลึก develop ideas in greater depth” การระดมความคิดนี้ ทำให้สมาชิกแต่ละคน “รู้สึกว่า Feel that” ตนเองมี “ส่วนร่วม” ในการแก้ปัญหา และทำให้รู้สึกว่า “คนอื่นๆ ก็มีความคิดสร้างสรรค์ที่มีคุณค่าเช่นเดียวกัน Reminds people that others have creative ideas to offer” การระดมความคิดนี้ควรเป็นไปในทาง “สนุกสนาน Brainstorming is also fun” และสามารถนำไปปรับใช่ในการพัฒนาการเรียนรู้ได้อย่างดีที่สุด
วัตถุประสงค์ของ “การระดมความคิด หรือ Brainstorming” คือ การสร้างสิ่งใหม่ที่เรียกว่า Innovation ซึ่งอาจเป็น สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ความรู้ใหม่ แนวทางใหม่ๆ ในการเรียนการสอน ที่กำลังทำอยู่ในขณะนี้ หรือ “สิ่งใหม่อื่นๆ Other Innovation”
ขั้นตอนในการ “ระดมความคิด หรือ Brainstorming” ประกอยด้วยขั้นตอนต่อไปนี้คือ 1. Exploring Data การแสวงหาข้อมูล และการจัดการข้อมูลของสมาชิกทุกๆ คน... 2. การพึ่งพาอาศัยกันของสมาชิกในกลุ่ม เรียกว่า Cooperative การพึ่งพาอาศัยกันของสมาชิกในกลุ่ม…. และ 3. Collaborative การทำงานร่วมกัน เพื่อให้ได้ “สิ่งใหม่ Innovation” ซึ่งในแต่ละขั้นตอน ล้วนมีความสำคัญต่อ “การเรียนรู้ Learning” ทั้งสิ้น “การจัดกระบวนการเรียนรู้ Learning Process” จึงไม่ควรข้ามขั้นตอน คือ
คุณครูทุกท่าน นำข้อมูล Data ทีได้รวบรวมมาจากการ Exploring อย่างรอบด้าน เข้ากลุ่มย่อยของตน ชี้แจง อภิปราย โต้แย้ง นำเสนอ บนพื้นฐานของข้อมูลของแต่ละคน จนสามารถสรุปได้อย่างคลอบคลุมทุกด้านของเนื้อหาวิชา เพื่อทำเป็นกิจกรรมการเรียนการสอน Teaching and Aearning Activities หาแนวทางจัดประสบการณ์ หรือ Experimental Approaches และวิธีการเรียนรู้ How to Learn สำหรับผู้เรียน เพื่อการออกแบบการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ตามกระบวนการ Learning by Doing อย่างถูกวิธีต่อไป..
คุณครูควรทำการพิจารณาร่วมกัน หรือ Collaborative ดังนี้
เมื่อคุณครูในกลุ่มย่อยนี้ ได้ระดมความคิด Brainstorming จนถึงขั้น Collaborative และทำสรุป แยกเป็นหมวดหมู่ เรื่องใด ระดับชั้นใด และโดยเฉพาอย่างยิ่ง “รูปแบบการเรียนการสอน Form of instruction” ที่ได้จากการระดมความคิด ว่าเนื้อหาส่วนไหน จะเรียนรู้แบบไหน How to Learn ผู้เรียนจะได้มีส่วนร่วม หรือ Experience Participation วิธีไหน เพื่อจะได้นำไป “ออกแบบการเรียนการสอน Learning and Teaching Design” เพื่อการปฏิบัติอย่างได้ผลในการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 ต่อไป
ในกระบวนการเรียนรู้ของศตวรรษที่ 21 อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งยึดถือแนวทาง “การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง Constructivist Approach” อย่างเต็มรูปแบบนั้น ผู้เรียนจะเป็นผู้กำหนด “หัวข้อ และวิธีการเรียนรู้” เองทั้ง 3 ประการ แต่สำหรับประเทศไทยเราคงต้องการเวลาอีกสักระยะหนึ่งเป็นแน่
ในโลกแห่งการสื่อสารไร้พรมแดน และ เครื่องมือสื่อสารล้ำยุคนี้ การระดมความคิด Brainstorming ตลอดจนการทำงานร่วมกัน Collaborative สามารถทำได้ตลอดเวลา เรียกว่า Online Brainstorming และ Online Collaborative ที่ทุกคนไม่จำเป็นต้องอยู่ในที่เดียวกัน
ผมอยากให้คุณครู-อาจารย์ ทุกท่าน Online เรื่องการยกระดับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ให้มากกว่านี้ ครับ.....
ขั้นตอนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ตอนที่ 1 | ตอนที่ 2 | ตอนที่ 3 | ตอนที่ 4
ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)