(ตอนที่ 1)
โดย สุทัศน์ เอกา
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21… The Learning Process in the 21st Century.
ขั้นที่ 1. เตรียมครู.. และ ขั้นที่ 2. การสำรวจชุมชน หาแรงบันดาลใจ......
บทบาท “ผู้นำสถานศึกษา” ก่อนการเปลี่ยนแปลง Before Changing
การเตรียมการก่อนที่จะมีการปฏิรูปการเรียนรู้ “ค่อนข้างเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญมาก” คนสำคัญที่จะต้องตื่นตัว และเรียนรู้เรื่อง “การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21” อย่างดีที่สุด และเข้าใจ Understanding มากที่สุด ก็คือ “ตัว ผู้อำนวยการโรงเรียน หรือ ผู้บริหารสถานศึกษา” นั่นเอง เพราะ ความเข้าใจเรื่องการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อย่างดีที่สุดนี้ ทำให้มองเห็นความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนแปลง หรือ The Need to Change.. ”วิธีสอนของครู และวีธีเรียนของนักเรียน Learning and Teaching Approach” เนื่องจากโลกแห่งความเป็นจริงเปลี่ยนแปลงไป The World of Reality Changed” ตัวการแห่งความเปลี่ยนแปลงนี้ คือ “การสื่อสารไร้พรมแดน Borderless Communication” ความรู้และสรรพวิทยาการหลั่งไหลมาจากทุกมุมโลก เข้าสูอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทุกคนสามารถเป็นเจ้าของได้ ทำให้คนทุกคน “เข้าถึงความรู้ได้เท่าทียมกัน Equal Access to Knowledge” การเรียนโดยรับความรู้จากที่ครูบอกให้ จึงไม่พอเพียงกับโลกแห่งความเป็นจริง Real World”
คุณครูจึงต้องเปลี่ยนบทบาทตัวเอง จาก “ผู้สอนวิชา Knowledge Teaching” มาเป็น ผู้สอนวิธีเรียนรู้ Teach.. “How to Learn” และนักเรียนก็ต้องเปลี่ยนวิธีเรียน เป็น Learn..How to Learn เพื่อสร้างความรู้ให้กับตนเองในโลกแห่งความเป็นจริง ซึ่งเป็นการเรียนรู้จากประสบการของผู้เรียน เรียกว่า Experience Learning ยิ่งมีประสบการณ์มาก ก็ยิ่งสามารถสร้างองค์ความรู้มากขึ้น ครูผู้สอนเป็นผู้แนะแนวทาง คอยดูแล เอาใจใส่ ตลอดระยะเวลาที่ผู้เรียนกำลังแก้ปัญหา ที่พบจากประสบการณ์นั้น ให้เขาได้แก้ปัญหาด้วยตัวเองให้มากที่สุด จึงเป็นที่มาของคำว่า Teach Less..Learn More อีกประการหนึ่งผู้เรียนจะสามารถเรียนรู้ที่ไหนก็ได้ จากเครื่องมือสื่อสารต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ Ipad, Iphone แทบเล็ต ต่างๆ นี้คือความเข้าใจพื้นฐานที่ “ผู้นำสถานศึกษา” ควรทำให้กระจ่าง “ก่อนเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง หรือ Leadership for Change”....
1. เตรียมครู Teacher’s Preparation
ในที่ประชุมครู มีเอกสารสำคัญที่ต้องแจกคือ 1) Three Essential Learning Approach หรือ หลักการเรียนรู้ที่สำคัญ สามกลุ่ม คือ Behavioral Approach, Cognitive Approach, และ constructivist Approach 2) Chart ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 3) การควบคุมคุณภาพ PDCA…. และ 4) คำถาม 2 ข้อ คือ ข้อ 1. ท่านจะจัดการเรียนการสอนในวิชาที่ท่านรับผิดชอบอย่างไรในการปฏิรูปการ ศึกษาของศตวรรษที่ 21 และ ข้อ 2. ในชุมชนของท่านและบริเวณใกล้เคียงมี “แหล่งเรียนรู้” อะไรบ้าง ที่สามารถสร้างประสบการณ์ให้กับนักเรียนในความรับผิดชอบของท่าน
หลังจากผู้นำสถานศึกษา “กล่าวโน้มน้าวจิตใจ Convince” ถึงสาระสำคัญที่ต้องเปลี่ยนแปลง The Need to Change และ ทำความเข้าใจในเอกสารทั้งหมดแล้ว ก็ถึงขั้นตอนสำคัญ คือ “ตัวครูเอง” การเตรียมตัวครู หรือ Teacher’s Preparation ซึ่งหมายถึง คุณครูทุกท่าน ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้ช่วยทุกฝ่ายด้วย ดังนี้
ที่กล่าวมาทั้ง 3.ประการนี้ ท่านผู้อำนวยการ ท่านรองผู้อำนวยการ และคุณครูทุกท่าน “ต้องไปหาความรู้ Exploring Data” ด้วยตัวของท่านเอง Self Learning จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ซึ่งมีอยู่มากมาย ทาง Internet ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญของโลก โดยอาศัยความช่วยเหลือจาก Google ช่วยหาข้อมูลที่ต้องการได้ทุกประเภท และเป็นผู้ช่วยเหลือด้านภาษาต่างประเทศ หรือ ไปค้นคว้าจากห้องสมุกต่างๆ ซึ่งตามความจริงแล้ว การอ่านหนังสือก็คือ การเรียนแบบ Exploring Data นั้น ผู้เรียน จะทำการ รวบรวมข้อมูล จัดระเบียบข้อมูล ตีความหมายของข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และการประเมินค่าข้อมูล หรือ Learner gathers, organizes, interprets, analyzes, evaluates data.. ตามแบบการเรียนของ Constructivist Learning ของศตวรรษที่ 21 นั่นเอง
นี้เป็นการเรียนที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง เหมาะสำหรับ การศึกษานอกโรงเรียน การศึกษาผู้ใหญ่ การศึกษาด้วยตนเอง Home School และการศึกษาสำหรับมหาวิทยาลัยเปิดต่างๆ เป็นการเรียนแบบ “Flipped Classroom หรือ ห้องเรียนกลับด้าน” ที่ผู้เรียนหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ภายนอก แล้วไป “เข้ากลุ่มการเรียน Group Learning” ตามนัดหมาย เพื่อ “ระดมความคิด หรือ Brainstorming” ด้วยวิธีการเรียนแบบ “ช่วยเหลือเกื้อกูล และ เรียนร่วมกัน Cooperative and Collaborative Learning” ในขั้นตอนที่ 3 ซึ่งเป็นขั้นระดมความคิดอีกครั้งหนึ่ง และผู้เขียนขอแสดงความยินดีที่คุณครูได้ “ทดลองเรียน Demonstrate” ก่อนใครๆ
2. การสำรวจชุมชน และหาแรงบันดาลใจ Community Survey And find Inspiration
เนื่องจากการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นการเรียนรู้กับโลกแห่งความเป็นจริง Real World และการซึมซับแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกลุ่มสังคม หรือ Social Negotiation ซึ่งเรียกว่า “สิ่งแวดลอ้มแห่งการเรียนรู้ Environment of Learning” คุณครูจะต้องทำการสำรวจ เพื่อนำทรัพยากรเหล่านี้มาเป็น “แหล่งเรียนรู้ หรือ Learning Resources” แหล่งประกอบการ เพื่อนักเรียนใช้เป็นที่ “ฝึกงาน Apprentice”
แหล่งภูมิปัญญาชาวบ้าน หรือ Folk Wisdom เพลงโคราช ลำตัด เพลงอีแซว ลิเก หมอลำ กันตรึม ฯลฯ เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งล้ำค่าน่าสืบสานมรดก “ทางปัญญาพื้นบ้าน” เช่นนี้ มีอยู่แต่ในประเทศไทยแห่งเดียวเท่านั้นในโลกนี้ หรือการทำเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง ภูมิปัญญาการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ น้ำส้มควันไม้ หมอดิน และการทำนาไร่แบบพอเพียงและยั่งยืน การทำสวนป่า ไร่นาสวนผสม ฯลฯ แหล่งเรียนรู้เหล่านี้ คุณครูสามารถนำมาทำ “กิจกรรม Activity” เพื่อสร้างประสบการณ์ Experience ให้แก่นักเรียนได้อย่างดีที่สุด ก็อยู่ที่คุณครูจะสำรวจตรวจพบ และสร้างแรงบันดาลใจ ทั้งตัวคุณครู เจ้าของกิจการ และนักเรียนอย่างไร เพื่อให้ทุกภาคส่วน เอื้อประโยชน์แก่การเรียนรู้ได้มากที่สุด
ข้อมูล และข้อเท็จจริง ตลอดจนความรู้ในการจัดการเรียนการสอน ทั้ง 2 ข้อ คือ การเตรียมตัวครู และ การสำรวจชุมชน เพื่อสร้างแรงบันดาลใจนี้ จะได้นำเข้าที่ประชุม เพื่อการ “ระดมความคิด Brainstorming” อันเป็นขั้นตอนที่ 3 เมื่อถึงเวลานัดหมายต่อไป....
ขั้นตอนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ตอนที่ 1 | ตอนที่ 2 | ตอนที่ 3 | ตอนที่ 4
ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)