คำแนะนำสำหรับทุกท่านท่านสามารถ "ค้นหา" บทความย้อนหลังด้วยคำภาษาไทยจากเว็บไซต์นี้ได้ง่ายๆ อ่านที่นี่ครับ |
หลังจากปลุกปล้ำกับการกู้คืนข้อมูลของเว็บไซต์อยู่หลายวัน วันนี้พร้อมแล้วที่จะเดินหน้าต่อ ก็ไปเจอบันทึกจากการเป็นวิทยากร ของท่านอาจารย์ ดร.สุพักตร์ พิบูลย์ มาเห็นว่าน่าสนใจ ควรที่จะนำมาบอกกล่าวกัน เพื่อสร้างครูมืออาชีพ เป็นกำลังใจให้กับครูผู้มีอุดมการณ์ทั้งหลาย เพื่อการถ่ายทอดสู่ครูรุ่นใหม่ ให้ก้าวไปข้างหน้าเพื่อการพัฒนาการศึกษาไทยต่อไป
วันนี้ (22 ธันวาคม 2557) ผมได้ไปเสวนากับคณะผู้บริหาร สพม.1 ณ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล เรื่อง แนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูผู้ช่วย/ครูบรรจุใหม่ เพื่อก้าวสู่การเป็นครูมืออาชีพ จัดโดย สมาคมผู้บริหารสถานศึกษา กรุงเทพมหานคร นำโดยนายกสมาคม ผอ.สำเร็จ แก้วกระจ่าง ได้พูดคุยหลายเรื่อง อาทิ
จากข่าวการศึกษาข่าวนี้ "“กมล”ยอม รับ 1 ใน 3 ของเด็กป.3 อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ เตรียมตั้ง กก.ยกระดับการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนครบวงจร ดันฟื้นสอบตกเรียนซ้ำชั้น" เป็นที่ฮือฮา ถูกอกถูกใจบ้าง ขัดใจกันบ้าง จนมีประเด็นเอามาถกกันในรายการโทรทัศน์เมื่อวานนี้ รายการ "คมชัดลึก" ทางช่องเนชั่นทีวี ใครจะดูย้อนหลังก็คลิกที่ลิงก์ได้เลยนะครับ ดูจนจบก็มีส่วนหนึ่งที่ผู้ร่วมรายการตอบ เป็นหนทางที่ถูกต้อง แต่ก็ไม่ทั้งหมด เพราะบริบทในต่างถิ่นต่างที่ย่อมต้องมีวิธีการที่ต่างกันออกไป ส่วนพิธีกรคุณจอมขวัญ หลาวเพชร์ ต้องบอกว่าทำการบ้านมาไม่ดีพอ สิ่งที่เธอถามมันเป็นมุมมองของคนเมือง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นและยังเป็นปัญหานั้นส่วนใหญ่อยู่ในชนบท
การแก้ปัญหาการอ่านออกเขียนได้นั้น ต้องแก้หลายอย่าง ตั้งแต่โครงสร้างหลักสูตรที่ยัดเยียดทำระบบอุตสาหกรรมการศึกษา ต้องยกออก ครูต้องได้รับการกระตุ้นและพัฒนามากกว่านี้ หน่วยเหนือเลิกบ้านโยบายเหวี่ยงแหเสียที การศึกษาไม่ใช่การปลูกผักบุ้ง หรือเขาไม่เคยอ่านกล่อนของ มล.ปิ่น มาลากุล มาก่อนหรือไร?
ขอได้โปรด..ทำความเข้าใจว่า
Knowledge, Understanding, and Wisdom.. ความรู้ ความเข้าใจ และปัญญา.. มีคุณค่าต่างกันอย่างไรอย่างไร
ความรู้ Knowledge ได้มาจาก “ประสาทสัมผัส Sensetion” ของคนเรา “ผัสสะ Contact” หรือปะทะกับสิ่งที่อยู่รอบตัว แล้วเกิดความจำได้หมายรู้ในสิ่งนั้นๆ เช่น ตาเห็นรูปหรือสิ่งของที่สวยงามต่างๆ ก็เกิดความรู้ว่าอะไรงาม อะไรไม่งาม หูได้ยินเสียงก็เกิดความรู้ว่าอย่างนี้ไพเราะ เช่น คำชมเชย ยกย่อง เอาส่วนดีมากล่าว น่าฟัง น่าเข้าใกล้และเสริมกำลังใจ ตรงกันข้าม การดุ ด่า ว่า กล่าวโทษ และประจาน อย่างนี้ไม่ไพเราะ ไม่น่าฟัง เกิดการ “ต่อต้านและเกลียดชัง Against and Hatred” ทางอื่นๆ ที่เหลือ เช่นจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจก็เกิดความรู้ได้ในลักษณะเดียวกัน
นี่เป็นการสร้างความรู้ตามธรรมชาติ ถูกต้องและดีที่สุด ในกระบวนการเรียนรู้ ด้วยความรู้ธรรมชาติเช่นนี้เอง จึงได้มีการออกแบบการเรียนการสอน หรือ Learning and Teaching Design ตามหลักทฤษฏีของกลุ่ม Constructivism Theory
วันนี้ ระหว่างการปรับปรุงเว็บไซต์ที่เกิดอาการงอแงมาหลายวัน โดยไม่ทราบสาเหตุ เปิดไม่ขึ้น เพี้ยน นั่งแคะ แกะเกา เอาคืนมาได้บ้างบางส่วนแล้ว และกำลังจะหาทางป้องกันต่อไปไม่ให้ซ้ำรอยอีก (มืดแปดด้านทั้งคนทำเว็บ และแอดมินที่ดูแลโฮสท์) ใจเย็นๆ ค่อยๆ ทำ ตอนนี้เลยขอปิดส่วนเว็บบอร์ดไป รวมทั้งส่วนสมาชิกด้วย เพราะเดาเอาว่า น่าจะเป็นช่องทางเข้ามาของผู้ไม่หวังดี สมาชิกแฟนคลับก็ไปตามกันทางหน้าแฟนเพจเฟซบุ๊คแล้วกันนะครับ
ระหว่างที่ทำไปก็แอบเปิดดูนั่น ดูนี่ ไปด้วยคลายเครียด เจอสิ่งดีๆ ที่อยากให้เพื่อนครูได้ดูเป็นแบบอย่าง รวมทั้งบรรดาท่านผู้อาศัยบนหอคอยงาช้างได้ตระหนักและสำนึกว่า การปรับโครงสร้าง เล่นเก้าอี้ดนตรีกันบนตึกในรั้วเสมานั้น ไม่ได้ทำให้การศึกษาไทยหลุดพ้นจากลำดับท้ายๆ ไปได้หรอก นอกจากการจัดสรรงบประมาณให้กับ โรงเรียนและครู ได้สร้างกระบวนการเรียนรู้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ครูมีเวลาอยู่ที่โรงเรียนได้สอนนักเรียนอย่างจริงจังเสียที ไม่ใช่ไปอยู่ตามโรงแรมหรู รีสอร์ตบรรยากาศดีๆ อาหารอร่อยๆ ฟังใครก็ไม่รู้มาพล่ามทฤษฎีซ้ำแล้วซ้ำเล่าอยู่นั่น
ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)