foto1
ความงดงามการศึกษาไทย
foto1
เพื่อ?
foto1
ไม่เข้าใจ?
foto1
วิทยากรที่กระทรวงศึกษาธิการ สปป.ลาว
foto1
ท่องทะเลทรายที่ดูไบ UAE


Friendly Links

เรียนรู้ภาษา html
isangate banner
easyhome banner
ipst banner
sakdibhornssup foundation
13 Thai free fonts
speedtest
e mil

Facebook Likebox

No. of Page View

education 21th century

โดย ดร.สุพักตร์ พิบูลย์

Activity imgวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2557 ผมได้ไปร่วมอภิปรายเรื่อง "ทิศทางการจัดการศึกษาของประเทศไทย ในศตวรรษที่ 21 (ทศวรรษที่ 2-3)" ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  กลุ่มผู้ฟังส่วนใหญ่น่าจะเป็นครู - อาจารย์ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักศึกษา ป.โท เอก ของ มสธ. ในการพูดคุย ผมได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับทิศทางการจัดการศึกษา (เน้นระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน) ซึ่งผมตั้งใจจะเสนอ ดังต่อไปนี้

1. บริบทการศึกษาไทย ศตวรรษที่ 21 ทศวรรษที่ 2 (พ.ศ. 2011-2020) : การจัดการศึกษาในปี 2554-2563 เราต้องเผชิญกับอะไรบ้าง มีภาวะคุกคามและเงื่อนไขโอกาส อย่างไรบ้าง

  • การรวมตัวของประเทศอาเซียน(AC) : หลังรวมอาเซียน 5 ปี มีการทำนายว่าอุดมศึกษาไทยจะล่มสลาย 40 เปอร์เซนต์  ถ้ามีวิทยาลัยเทคนิคแห่งสิงค์โปร์มาตั้งในประเทศไทยจำนวนมาก  วิทยาลัยเทคนิคเราจะมีปัญหาทันที... โดยสรุป หากเราไม่เร่งปฏิรูปการศึกษาอย่างจริงจัง  คาดว่า  จากอันดับ 8 อาเซียน เราอาจกลายเป็นอันดับ 11 (เมื่อติมอร์ เข้ามาเป็นสมาชิกอาเซียน)
  • ความต้องการแรงงานด้านอาชีวศึกษา ที่สวนทางกับความต้องการศึกษาในสายนี้(ถ้าเราไม่สามารถสร้างค่านิยมด้าน อาชีวศึกษาได้ เราจะประสบปัญหาเรื่องแรงงานและการลงทุนในประเทศ)
  • ความเป็นประเทศน่าลงทุนของประเทศไทย(ยังติดอันดับน่าลงทุน 1 ใน 10 ของโลก) : เงื่อนไขโอกาส
  • ความเป็นประเทศเกษตรกรรมที่เป็นครัวโลก : ยังเป็นเงื่อนไขโอกาส

local child 05

2. ปัญหา จุดอ่อน ข้อจำกัด และสภาพปัจจุบันการศึกษาไทย : ในระยะ 10-15 ปี ที่ผ่านมา เราขับเคลื่อนด้วยกลยุทธ์อย่างไร มีประสิทธิภาพหรือไม่ มีจุดอ่อน ข้อจำกัดอย่างไร ส่งผลให้คุณภาพผู้เรียนด้อยคุณภาพอย่างไร

     2.1 ปัจจัยสนับสนุน

  1. ผูกขาดระบบหนังสือเรียน  พิมพ์ช้ามาก  เป็นประเทศที่แจกหนังสือหลังเปิดภาคเรียน (ประเทศเดียวในอาเซียน)
  2. ผลิตครูไม่ได้มาตรฐาน  จิตวิญญาณความเป็นครูลดลง   ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวนมาก(60-70%) สมรรถนะเชิงวิชาการต่ำมาก  ไม่แตกฉานในหลักสูตร หลักการในการจัดการเรียนการสอนและการวัด ประเมินผล(จริงจังเฉพาะเรื่องผิวเผิน เช่น การก่อสร้าง ปรับปรุงอาคารสถานที่ ฯลฯ)
  3. ระบบงบประมาณแบบรวมศูนย์ที่ "กำหนดโครงการไม่ตรงปัญหา เพราะคนคิดอยู่ส่วนกลาง คิดแบบทั่วๆไป  ส่งงบประมาณล่าช้า ส่งเงินให้ทำงานเพียง 3 เดือนสุดท้าย  ตลอด 70 ปี(กอดเงินไว้ 9 เดือน) และใช้เงินผิดเป้าหมาย ทุ่งเทงบประมาณกับโรงเรียนหรือเด็กเก่งจำนวนน้อย ทิ้งเด็กหรือโรงเรียนส่วนใหญ่"  งานศิลปหัตถกรรมแห่งชาติ(2-3 พันล้านบาท)  การล่ารางวัลโอลิมปิก(100 ล้านบาท)   โรงเรียน 500 โรวง(ที่พร้อมอยู่แล้ว) สู่มาตรฐานสากล เป็นต้น
  4. ครอบครัวสมรรถนะต่ำในการดูและนักเรียน การดูแลโดยครอบครัวจึงไม่มีมาตรฐาน (ประเทศคุณภาพการศึกษาชั้นนำ เช่น ฟินแลนด์  เยอรมัน  ครอบครัวมีความพร้อมและมีบทบาทสูงมากในการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน)
  5. แผนพัฒนา กลยุทธ์ระยะยาว ไม่มี หรือ ถูกล้างโดยระบบการเมืองที่เปลี่ยน รมต.บ่อยมาก  นโยบายทางการศึกษา ขึ้นกับนักการเมือง
  6. นักบริหารการศึกษา วิ่งตามนักการเมือง  ไม่สนใจงานประจำ

     2.2 กระบวนการบริหารจัดการ

  1. การบริหารงานบุคคล ล้มเหลว  ระบบผลิต  คัดเลือก นิเทศ-พัฒนา ส่งเสริม  ควบคุมคุณภาพครู ไม่มีประสิทธิภาพ(ระบบ ก.ค.ศ. ไร้คุณภาพ ไม่มีแบบแผนในการส่งเสริม ควบคุมคุณภาพครู  มุ่งแก้ปัญหารายวัน  ไม่ให้ความสำคัญกับแผนระยะยาว  พอจะแก้ปัญหาเรื่องบุคลากรทีไร ก็เริ่มที่การสำรวจจำนวนที่มีปัญหา)
  2. การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ล้มเหลว  สถาบันอุดมศึกษาไม่ดูแลสถานศึกษาในเขตบริการใกล้เคียง อย่างเป็นระบบ จริงจัง  ระบบกรรมการ เช่น คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา   คณะกรรมการสถานศึกษา ยังไม่ทำงาน/ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ไม่มีปฏิทินการขับเคลื่อนคุณภาพ หรือยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนที่เป็นรูปธรรม
  3. กระบวนการสอนไม่มีมาตรฐาน ยังเน้น Content Based, ครูไม่มี PLC, ขาดการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม อย่างต่อเนื่อง
  4. ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับครอบครัว ระดับห้องเรียนประจำชั้น  ระดับชั้น  ระดับโรงเรียน  ระดับชุมชน ยังไม่สอดรับกัน/ไม่มีประสิทธิภาพ

     2.3 ผลผลิตทางการศึกษา

  1. ผลสัมฤทธิ์ตามหลักสูตรไทย (O-NET) และมาตรฐานสากล (PISA) ต่ำมาก
  2. เด็กจำนวนมาถูกทอดทิ้ง อ่านไม่ออกเมื่อจบ ป.6   ติด 0  ร. มส.  ตกออก  หมกมุ่นกับสิ่งเสพย์ติด
  3. เด็กไทยไม่เป็นนักอ่าน  นักคิด-วิเคราะห์ขาดความสามารถในการเผชิญปัญหา ขาดทักษะชีวิต

kroobannok 01

3. สิ่งที่ควรแก้ปัญหา หรือปรับทิศทางการทำงาน หรือประกาศจุดเน้นโดยด่วน : รายการเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการในระยะ 3-5 ปี

  1. กำหนดทิศทางนโยบาย กลยุทธ์ระยะ 10-15  ปี
  2. ปฏิรูประบบการผลิตครู  เลือกคนเข้าระบบ-พัฒนาสมรรถนะระหว่างเรียน  เสริมสมรรถนะช่วงเริ่มต้น 10 ปีแรก   ส่งเสริมการเป็นครูมืออาชีพ  สร้างระบบควบคุมคุณภาพ อย่างต่อเนื่อง
  3. การจะจายอำนาจทางการศึกษา  โรงเรียนมีอิสระในการบริหารจัดการมากขึ้น  เน้นต้นทุนเครือข่ายเพื่อการบริหารจัดการ
  4. หลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่เน้น Authentic learning , Problem-based learning

      สาระการเรียนรู้ และสมรรถนะสำคัญ ในศตวรรษที่ 21 :

        (1) เรียนรู้เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงของโลก/ภาวะเสี่ยงกับภัยภิบัติ  

        (2) Information literacy

        (3) Health Literacy

        (4) Economic Literacy/Economic for life

        (5) Democracy Literacy

        (6) ทักษะการวิเคราะห์ สังเคราะห์ แก้ปัญหา เผชิญปัญหา

        (7) ความมีวินัย  นิสัยใฝ่เรียนรู้ และมุ่งมั่นในการทำงาน

        (8) life Skill

        (9) ทักษะวิชาชีพเฉพาะทาง

  1. ระบบดูแลช่วยเหลือ ส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน บทบาทร่วม ครอบครัว ครูประจำชั้น ระดับชั้น ระดับโรงเรียน และระดับเครือข่าย ส่งเสริมการจัดทำแผนพัฒนาเด็กเป็นรายบุคคล
  2. ฯลฯ

4. การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน  : การใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศ

  1. กำหนดมาตรฐานสมรรถนะเด็กไทย คนไทย ในอีก 10-30 ปีข้างหน้า(ให้ครอบคลุม มาตรฐานความรู้  ทักษะ และคุณลักษณะ ทั้งเพื่อการเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก)
  2. กระจายอำนาจให้ท้องถิ่น เขตพื้นที่การศึกษาพัฒนาหลักสูตร เพื่อเสริมสมรรถนะเยาวชน(ภายใต้บทบาทร่วมของท้องถิ่น สถานบันอุดมศึกษาในท้องถิ่น)   โดย ส่วนกลางเน้นบทบาทการประเมินและรับรองมาตรฐานรายเขตพื้นที่การศึกษา
  3. ส่งเสริมให้โรงเรียนที่มีความพร้อมสูง ก้าวสู่การเป็นโรงเรียนในกำกับของรัฐ มีอิสระในการบริหารจัดการและการระดมทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษา ไม่มีเพดานค่าเล่าเรียน (เพื่อลดภาระของรัฐ และมีโอกาสดูแลโรงเรียนที่ไม่พร้อมมากขึ้น)

std bannok 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

Our Policy