foto1
ความงดงามการศึกษาไทย
foto1
เพื่อ?
foto1
ไม่เข้าใจ?
foto1
วิทยากรที่กระทรวงศึกษาธิการ สปป.ลาว
foto1
ท่องทะเลทรายที่ดูไบ UAE


Friendly Links

เรียนรู้ภาษา html
isangate banner
easyhome banner
ipst banner
sakdibhornssup foundation
13 Thai free fonts
speedtest
e mil

Facebook Likebox

No. of Page View

Learning process 21th Century(ตอนที่ 4)

โดย สุทัศน์ เอกา

Take Action.. ลงมือปฏิบัติ ขั้นที่ 6. ลงมือปฏิบัติ

take action 01นี้เป็นขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21.สำคัญยิ่ง เพราะเป็นการ “ลงสนามรบ The Battlefield” ในการเรียนการสอนอย่างแท้จริง ดังนี้

Take Action..ลงมือปฏิบัติการสอนจริง

มีท่านผู้อ่านหลายท่าน ได้แสดงความกังวลว่า Learning by Doing ได้ผลดีจริงหรือ เกรงว่าจะทำให้นักเรียนตกต่ำ เหลวไหล ไร้ระเบียบแบบแผนมากกว่า สู้ออกคำสั่งให้ตั้งใจฟังครูสอน บังคับให้อยู่ในระเบียบ ฟังเงียบๆ ดีกว่า และมีไม่น้อยเลยที่เห็นว่า Learning by Doing คือ การให้นักเรียนทำงานเองเงียบๆ และ “ครูว่างเกินไป” จึงขนงานจากข้างนอก และหน่วยเหนือ ซึ่ง “มิใช่หน้าที่โดยตรงของครู” มาให้ทำจนล้า และในที่สุด “งานนอกหน้าที่จึงต้องทำก่อนงานในหน้าที่ซึ่งหาเวลาแทบไม่ได้เลย” นี่เป็น ความ “ไม่เข้าใจ” และ “เข้าใจผิด” อย่างแรง.....

ที่ถูกต้อง และได้ผลดีมาก.. The best way to “DO.!” ..

คุณครู-อาจารย์ ลองดู “บรรยากาศ การเรียนการสอน แบบ Learning by Doing” ที่ถูกต้อง และได้ผลดี ลองพิจารณาดูนะครับ

Objective Learning วัตถุประสงค์การเรียนรู้... "เพื่อให้ผู้เรียนมีความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะเรียน เรียกว่า Engagement

Instructional Design การออกแบบการเรียนการสอน

โดยใช้ Learning Approach แบบ PBL หรือ Problem Based Learning คือใช้ วัตถุสิ่งของ เหตุการณ์ต่างๆ หรือ คำถาม เพื่อผูกใจผู้เรียน Object, event or question used to engage students โดยวิธีเชื่อมโยงสิ่งที่นักเรียนรู้แล้ว กับ สิ่งที่นักเรียนสามารถทำได้ Connections facilitated between what students know and can do. เพื่อมีส่วนร่วมในสถานการณ์สร้างประสบการณ์ในการแก้ปัญหา To participate the Experience in problem solving...

take action 03

Learning Plan แผนการเรียน

ทำให้ผู้เรียน “ต้องการรู้อย่างจริงจัง” Learner has a need to know, จึงกำหนดประเด็นคำถามtherefore, defines questions, เรื่องราว หรือ ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับโลกของผู้เรียน Issues or Problems that relate to his/her world. ซึ่งเป็นโลกแห่งความจริง Real World. ดังนี้...

  1. คุณครู.. Poses problems กำหนดประเด็นปัญหา และการโยงใยให้เห็นเป็นปัญหา โดยการกระตุ้นให้คิด จนสามารถร่วมกันตั้งหัวข้อขึ้นมาได้ แต่แรกๆ คุณครูอาจเป็นแกนนำในการตั้งหัวข้อก่อน เช่น “ทำไงดี..ที่จะเป็นที่รักของพ่อแม่" ส่งผลให้นักเรียน Calls up Prior Knowledge โดยธรรมชาติจะนึกย้อนหลัง และเรียกความรู้เก่าๆ คืนมา โดยการกระตุ้นของครูในปัญหาของพวกเขา
  2. คุณครู... Asks questions ตั้งคำถามง่ายๆ แบบ “จี้ใจ” ให้คิด ซึ่งคุณครูในขณะนี้ เป็นผู้นำเกมส์ที่แสนสนุกไปแล้ว ส่งผลให้นักเรียน Has an Interest ผู้เรียนเกิดความสนใจ และสนุกไปด้วย
  3. คุณครู... Reveals discrepancies เผยให้เห็นข้อขัดแย้งที่น่าเรียนรู้ “สักเล็กน้อย” พอเป็น “สะพาน Bridge” ให้คิดย้อนหลังหาเหตุ และ “เป็นสะพาน Bridge” คิดเชื่อมต่อจนเป็นผล คือตัวปัญหา ส่งผลให้นักเรียนเกิดอาการ Experiences Doubt or disequilibrium เกิดประสบการณ์ที่น่าสงสัย หรือ ความอยากรู้ในปัญหาที่ “เกี่ยวข้องกับพวกเขา” ว่า มันน่าจะมาจากอะไร และมันน่าจะเป็นอย่างไรต่อไปได้บ้าง
  4. คุณครู... Causes disequilibrium or doubt ครูทำให้เกิดความเสียสมดุลหรือข้อสงสัย ด้วยคำถามเล็กๆ “ชวนคิด สะกิดใจ” ในความน่าจะเป็นเช่นนั้นบ้างหรือไม่ เช่นนี้บ้างหรือไม่ มากมายหลายประเด็น ส่งผลให้นักเรียน Has question(s) ผู้เรียนเกิดคำถามในใจมากมาย
  5. คุณครู... Assess Prior Knowledge คุณครูได้ประเมินท่าทีจากการโต้ตอบ และอากัปกริยาที่แสดงออก และสามารถวัดพื้นฐานความรู้เก่า หรือความรู้เดิม หรือ Prior Knowledge ของนักเรียนได้แล้ว ส่งผลให้นักเรียนสามารถ Identifies Problems to Solve, Decisions to be made, Conflicts to be Resolved สามารถมองเห็นปัญหา และตัดสินใจในการที่จะแก้ปัญหา หรือข้อขัดแย้งนั้นๆ
  6. คุณครู... คุณครูบอกว่า..ค ำถามที่ “ค้างคาใจ ไล่มันออกมาให้เป็นตัวหนังสือ" ส่งผลให้นักเรียน Writes questions, Problems, etc. เขียนคำถาม หรือตัวปัญหาในใจ ฯ.
  7. คุณครู... คุณครูบอกว่า “มันน้อยเกินไป.. ยังไม่หมดไปจากใจของพวกเธอ” ส่งผลให้นักเรียน ได้ Develops a need to know ความอยากรู้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ภายใต้หัวข้อคำถามที่ตั้งขึ้นเป็นหัวข้อที่ร่วมกันตั้งขึ้นข้างต้นนั้น และเขียนมันออกมาเป็นข้อๆ ให้ได้มากที่สุด
  8. แล้วในที่สุด คุณครูก็สรรหาคำชม.. ทำนองว่า “เก่งจริงๆ ที่เขียนออกมาได้ส่วนหนึ่ง แม้จะมีความรู้อยู่ในสมองมากมาย” ส่งผลให้นักเรียนมีอาการ Self reflects and Evaluates รู้ตัวตน และวัดผลตนเองโดยธรรมชาติ

ระหว่างที่นักเรียนเขียนข้อคำถามนั้น ก็เป็นเวลาที่คุณครูสามารถเดินดูได้ทั่วห้อง สามารถแนะนำ หรือ Guide ไปได้เรื่อยๆ คุณครูอาจเพิ่มเติม ตักเตือน หรือ แม้กระทั่ง “สอนเล็กๆ” ในช่วงนี้ได้สบายมาก

take action 04

ขั้นตอนของการเรียนรู้ “ไม่จบลงพียงแค่นี้” ยังจะต้อง Cooperative และ Collaborative จนสามารถสร้าง Innovation และ Presentation จึงจบกระบวนการสร้างความรู้

take action 02หลังจากแบ่งกลุ่มๆ ละ 3-5 คนตามความสมัครใจแล้ว นักเรียนก็นำหัวข้อที่ได้นี้ มาระดมความคิด Brainstorming โดยใช้ “กระบวนการกลุ่ม Group Learning” แล้วนำหัวข้อคำถามที่ได้คนละหลายๆ ข้อจากขั้นตอนที่ 7 นั้นมา “เรียนร่วมกัน Collaborative” คือ นำเสนอ วินิจฉัย โต้แย้ง อภิปราย และตัดสินใจ แล้วนำมา “เรียบเรียงใหม่ Rewrite” เป็น “การแสดงความรู้ใหม่ The New Knowledge” ในทางการศึกษา เรียกความรู้ใหม่นี้ว่า “นวัตกรรม หรือ Innovation” นี้เป็นจุดมุ่งหมายทางการศึกษาแห่งศตวรรษที่ 21

เอานวัตกรรม หรือ Innovation นี้ไป “นำเสนอ Presentation” เพื่อรับการ “วิจารณ์ Feedback” เรานำ Feedback นี้ไป ปรับปรุง แก้ไข Improve และ พัฒนา Develop ต่อไป...

การพัฒนา หรือ Development ที่กล่าวถึงนี้ คือ การพัฒนา “วิธีการ และ กระบวนการ หรือ Methods and Processes ซึ่งจะได้กล่าวถึงในขั้นตอนต่อไป...

ท่านที่เคารพ จากตัวอย่างในคาบการเรียนการสอนแบบ Learning by Doing นี้ เป็นการ “เรียนเต็มเวลา และสอนเต็มเวลา” ตามหลักการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 ผมยังมองไม่เห็นว่า ช่วงเวลาไหนที่ “คุณครูมีเวลาว่าง” ที่จะทำงานอื่น ซึ่งไม่ใช่สาระของการเรียนการสอน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดๆ ที่เคยอ้างเพื่อ “ผลักภาระงาน” ไปเบียดบังการสอนของครู และพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก คุณครู “ยิ่งมีเวลา” ใส่ใจในการเรียนการสอนมากเท่าไร.. การศึกษาของชาติ จะยิ่งพัฒนามากขึ้นเท่านั้น...

 

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

Our Policy