กลยุทธ์การสอน แบบ Active learning
คุณครูควรจัดการกับเนื้อหารายวิชา โดยนำเนื้อหาวิชาที่คุณครูรับผิดชอบ มาพิจารณา ดังนี้
1. เนื้อหารายวิชาส่วนใด ที่นักเรียนมีพื้นฐานความรู้เก่า ที่สามารถต่อยอด ไปสู่ความรู้ใหม่ “ด้วยตัวของนักเรียนเอง” คุณครูก็บอกวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้.. บอกมาตรฐานการเรียนรู้ บอกจุดเน้น..บอกตัวชี้วัดความรู้ และขั้นตอน และวิธีวัดผลความรู้ (Effect) แล้วมอบหมายให้นักเรียนทำกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active learning ได้เลย
2. เนื้อหารายวิชาส่วนใด “ที่ต้องต่อยอดด้วยการช่วยเหลือจากครู, สื่อ, และเพื่อน” คุณครูควรนำเนื้อหานั้นมา “พิจารณาสร้างกิจกรรม Active learning” โดย
- นำเข้าสู่บทเรียนด้วยสื่อ Clip VDO, รูปภาพ, และ PowerPoint
- บอกวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ มาตรฐาน จุดเน้น และตัวชี้วัด การดำเนินกิจกรรมของนักเรียน ตลอดจน “วิธีการวัดผล ประเมินผล” อย่างชัดเจน แล้วมอบหมาย “ใบงาน Worksheet” เช่น การค้นคว้า Researching งานโครงการในรายวิชาต่างๆ PBL หรือ Project or Problem Based Learning การฝึกทักษะทางภาษา ดนตรี กีฬา และอื่นๆ หรืออาจเป็นกิจกรรมเล็ก ๆ เช่น การถาม-ตอบ รายบุคคล หรือกลุ่ม ฯลฯ ตามความเหมาะสมตาม เวลา เนื้อหา และสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนรู้
- ใน Active learning ที่ขาดไม่ได้คือ นักเรียนแต่ละคนต้องมีบันทึกข้อมูลของตนเอง Own data record และหากเป็นงานกลุ่ม ก็ต้องมีรายงานข้อสรุปของกลุ่มอีกฉบับหนึ่งด้วย..
คุณครูครับ..
ก่อนจบบทความนี้ ขอเพิ่มเติม “บทเรียนจากประสบการณ์” อีกสักเล็กน้อย เพื่อให้การเรียนการสอนประสบความสำเร็จ สมดังเจตนาดังนี้..
- ทำตนเป็นแบบอย่างในเรื่อง “ทักษะชีวิต Life skill” ที่ดี รู้และเข้าใจในสิ่งที่ตนสอนอย่างดีที่สุด
- รู้ และเข้าใจ “ทักษะและความสามารถ” ของนักเรียนแต่ละคนดีพอ
- ส่งเสริมการทำงานกลุ่ม Encourage Group Work
- จงสอน “เพียงเพื่อ” ให้เขาสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และอย่าสอนจนผู้เรียนไม่ได้เรียนรู้อะไรเลย ให้โอกาสเขาเรียนรู้ด้วยตนเองจาก Active learning มากที่สุด ให้เขาได้เรียนรู้จากกลุ่ม และในที่สุดทำให้เขากล้าถาม กล้าแสดงความคิดเห็น ให้เขากล้าเผยความกังขาในใจออกมา เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากครู และ เพื่อน...
- คุณครู โปรดคิดเสียงดังๆ Think Aloud (เป็นสำนวนแนะวิธีคิดสู่นักเรียน) และให้นักเรียนคิดเสียงดังๆ (ให้สะท้อนวิธีคิดออกมา เพื่อครูได้มีโอกาสแก้ไข ปรับปรุง และทดลองแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกัน) เป็นการปลูกฝังแนวคิด (Mind map) และ การคิดวิเคราะห์ Critical thinking (เรียกว่าโยนิโสมนสิการ) ก็ได้ ครับ
ด้วยรักและ เคารพ..
สุทัศน์ เอกา บอกความ
ผมไม่มีอะไรเพิ่มเติมนะครับ เพราะ อาจารย์สุทัศน์ เอกา ท่านบอกไว้ในเรื่องเหล่านี้นานแล้ว ย้อนไปอ่านอีกทีดีไหมครับ ถ้ายังไม่กระจ่างว่าจะทำอย่างไร?
เป็นกำลังใจให้เพื่อนครูไทยทุกท่านผ่านวิกฤตโควิด-19 ไปด้วยความราบรื่นครับ