โดย สุทัศน์ เอกา
ชี้แจงต่อ คสช. รัฐบาล ผู้บริหารการศึกษา คุณครู ผู้ปกครอง และประชาชนทุกภาคส่วนของประเทศไทย เพราะเรื่องการศึกษา เป็นเรื่องของประชาชนทุกคนในชาติ.. และผมขอยกตัวอย่าง..ทบทวน “คาบการเรียนการสอน” คาบหนึ่งๆ “คุณครูกับนักเรียน” มีงานที่ต้องทำร่วมกันดังนี้...
งานครูนั้น นอกเหนือจาก การสร้างสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ Creation of learning environment เพื่อเร้าใจให้อยากเรียน, การออกแบบการสอน Constructional Design การวางแผนการเรียนรู้ Learning Plan แล้ว.. ตลอดเวลาของคาบการเรียนการสอน แบบ Experience learning หรือ Learning by Doing นั้น คุณครูจะต้องสร้างแรงจูงใจให้เข้าสู่บทเรียน ที่เรียกว่า Motivation เชื่อมโยงความรู้เก่าให้เป็นสะพานไปหาประสบการณ์ ในการสร้างความรู้ใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นจากประสบการณ์การเรียนรู้ “ทั้งด้านวิชาการและอื่นๆ Both academic and other” อย่างง่ายๆ ย่อๆ สั้นๆ แต่ชัดเจน..
เพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้เวลาในการ Learning by Doing มากที่สุด.. และตลอดเวลานั้น คุณครูจะต้องสังเกตการเรียนแต่ละคน Observation.. ประเมินผลพฤติกรรมการเรียน Assessment learning behavior ควบคุมการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด และ ทำการ “เสริมศักยภาพ Scaffolding” สำหรับนักเรียนบางคน ที่มีศักยภาพไม่พอให้มีความสามารถพื้นฐานในการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์เรื่อง นั้นๆ โดยคุณครูจะใช้ความสามารถทุกทางในการออกแบบการเรียนรู้ สร้างแผนการสอน เพื่อให้นักเรียนในชั้นของตน “ทุกคน” สามารถ “เรียนรู้” ผ่านประสบการณ์นั้นๆ ไปให้ได้ และไม่สามารถทิ้งลูกศิษย์คนใดไว้เบื้องหลัง การเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ หรือ Experience Learning หรือ การเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงๆ Learning by Doing จึงไม่มีการตกซ้ำชั้นแต่ประการใด...
ขั้นตอนการเรียนรู้
- ให้ “นักเรียนทุกคน”สำรวจตรวจสอบและเก็บข้อมูลทุกด้านแล้วบันทึกไว้เป็นข้อๆ Collect data, Gather information
- ครูวิจารณ์ และเสนอแนะการสำรวจ Exploring ที่คลอบคลุมทุกดาน หรือการหาข้อมูล การจัดเก็บข้อมูล การจัดการข้อมูล
- แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มย่อย 3-5 คน เพื่อการ Brainstorming เรียนรู้จากกลุ่มด้วยวิธี Cooperative and Collaborative Learning มีการนำเสนอข้อมูลของตน สมาชิกของกลุ่มโต้แย้ง หรือยอมรับ และยืนยันความถูกต้อง เรียบเรียงใหม่ หลอมรวมข้อมูลของแต่ละคนเป็น “อันเดียวกัน” เรียกว่า การสร้าง “นวัตกรรม หรือ Innovation”ของกลุ่ม
- ทุกกลุ่มนำเสนอ Innovation หรือ ผลงานนวัตกรรมของกลุ่มตน
- ครู, นักเรียนในชั้น ทำหน้าที่ Feedback เพื่อความกระจ่างชัดถูกต้องตามความเป็นจริง
- คุณครูสรุปบทเรียน หรือ Summarizing
- นำไปสู่การแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป..
การเรียนการสอนแห่งศตวรรษที่ 21 นี้ “เป็นกระบวนการเรียนรู้ The process of Learning” ไม่สามารถลัดตัดขั้นตอน ช่วงใดช่วงหนึ่งไปได้ เพราะการลัดตัดขั้นตอน จะก่อให้เกิดความล้มเหลวในการสร้างองค์ความรู้แบบยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง Learner Centered อย่างสิ้นเชิง.. เปรียบเหมือนท่อประปาในบ้าน ที่ท่อน้ำถูกตัดขาดแม้เพียงที่เดียว น้ำย่อมไม่ไหลเข้าตุ่ม แต่กระบวนการเรียนรู้จะมีประสิทธิภาพ “อย่างยิ่ง” เมื่อคุณครูได้ “สำรวจตรวจตรา” รักษาขั้นตอนของการเรียนรู้ หรือ รักษา Process ให้อยู่ในสภาพใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เหตุแห่งความล้มเหลวที่ทำให้คุณภาพการศึกษาของไทย ตามหลังชาติอาเซียน มีสาเหตุใหญ่ๆดังนี้
- เรื่องนโยบายการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ มีการเปลี่ยนแปลง “นโยบาย และ คำสั่ง” ของผู้บริหารในกระทรวงศึกษาธิการ “อย่างขาดความรู้และความเข้าใจ เรื่องการบริหารการศึกษา ทฤษฎี จิตวิทยาการเรียนรู้ การเรียนการสอนแห่งศตวรรษที่ 21 อย่างแท้จริง จึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลง “นโยบาย และคำสั่ง” ตามความนึกฝัน และ ข้อมูลจากการประเมินที่ “ผิดแบบ ล้าสมัย” อยู่ตลอดปีการศึกษา และสวนกระแสการศึกษาของโลก และแม้แต่การสวนทางกับนโยบายของตนเองอยู่บ่อยๆ
”นโยบาย ที่ไม่อยู่กับร่อง กับรอย” แบบนี้ “มีความจำเป็น” ต้องเรียกครูไปอบรมชี้แจงอยู่บ่อยๆ มีการประเมินบ่อยๆ เพื่อให้ได้ทราบว่า “นโยบายที่ไม่เคยมีการพิสูจน์ที่สั่งการไปแล้วนั้นสามารถปฏิบัติเป็นรูปธรรม ได้หรือไม่?” และถ้าไม่สามารถทำให้เกิดผลขึ้นมาได้ ก็สั่งการใหม่ เรียกครูมาอบรมใหม่ ประเมินใหม่ เรื่อยไป... นี้คือเรื่อง “น่าเศร้า” สำหรับ ชะตากรรมของคุณภาพการศึกษาไทย
รัฐบาล และ กระทรวงศึกษาธิการ “ละเลยต่อการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้” โดยเฉพาะเรื่อง “สื่อโทรทัศน์” รัฐปล่อยให้สื่อนำเสนอเรื่องราวที่เป็นดาบสองคมในรายการบันเทิง จนกระทั่งวัฒนธรรมของชาติถูกทำลาย ด้วย “ตัณหาค้ากำไร” แต่ละเลยต่อการ “สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้” ทั้งๆที่มี DLTV และ ETV อยู่ในมือ แต่ไม่สามารถเอาเข้าสู่บ้านเรือนแบบดูได้ฟรี เป็นทางเลือกเช่นเดียวกับฟรีทีวีอื่นๆ
- เรื่องของ “โรงเรียน และ ครูผู้ปฏิบัติการสอน” คุณครูแทบทั้งหมด เป็น “ครูปริญญา” เรื่องทฤษฎีการศึกษา หลักการสอน และจิตวิทยาการเรียนรู้ ทุกคนเรียนจบมาหมดแล้ว รวมทั้งการฝึกสอนด้วย แต่ทำไม... ยิ่งสอน คุณภาพการศึกษายิ่งทรุด ทรุดจนกระทั่งต้องรั้งท้ายในกลุ่มประเทศอาเซียน.. มีสาเหตุดังนี้
- ครูสอนนักเรียนไม่ครบคาบการสอน ท่านที่เคารพ เพียงแค่การออกข้อสอบ พิมพ์ข้อสอบ ตรวจข้อสอบ กรอกคะแนน ทำสมุดพก ให้เป็นปัจจุบันทันเวลา ประกาศผลการสอบ 2 ครั้ง คือ สอบกลางภาค และปลายภาค ในขณะที่ต้องออกแบบการสอนให้ดีที่สุด Best Instructional Design และการวางแผนการเรียนการสอนที่น่า เร้าใจ Inspirational ซึ่งต้องยอมรับว่า “หนัก” เอาการ
แต่คุณครู “ที่เต็มไปด้วยวิญญาณความเป็นครู” ทุกคนก็ไม่เคยย่อท้อต่อมัน เพราะเป็นหน้าที่ ที่คุณครูจะต้อง “เอาชนะ” ให้ได้.. และถ้าคุณครูได้ทำหน้าที่นี้ “เต็มประสิทธิภาพ” ตามหน้าที่แล้ว.. คุณภาพการศึกษาไทย ไม่มีวันแพ้ชาติใดในโลก...
แต่ “คุณภาพการศึกษาไทย” ไม่มีวันที่จะก้าวให้ทันกับ “กลุ่มประเทศอาเซียน”อย่างแน่นอน เพราะตัวอุปสรรคสำคัญดังที่กล่าวไว้แล้วใน ข้อ 1 และ
@ การรายงานตามแบบ ปพ. ต่างๆ สำหรับนักเรียนห้องละ 40 คนขึ้นไป ก็เป็นงานธุรการที่ “มากเกินพอ” สำหรับคุณครูแต่ละคน ที่รับภาระการสอน 25 คาบต่อสัปดาห์อยู่แล้ว ยังจะมีการประเมินจิปาถะของรัฐ และงาน “กดขี่ครู” ของนักการเมืองท้องถิ่น เรียกผู้อำนวยการไปรับมาให้เป็นภาระของครูอีกมากมาย
@ การปัดภาระ “การประเมินจากหน่วยเหนือ” สารพัดจิปาถะ ปัดโปะเข้ามาบนบ่าครูอีก “ส่วนใหญ่มักให้คุณให้โทษต่อโรงเรียนและครูอย่างทันตาเห็น” คุณครูจึงต้องจำใจทิ้งการสอนเป็นสัปดาห์ๆ เพื่อมาเตรียม “เอกสาร รอการประเมิน” และ “เตรียมการต้อนรับ ท่านผู้ประเมิน” ให้สมเกียรติยศ ปีการศึกษาหนึ่งๆประเมินกันมากมายหลายเรื่องที่หนุนเนื่องกันเข้ามาไม่ขาดสาย
@ การเรียกครูไปอบรมในเวลาราชการ เรื่อง “เทคนิคการสอนแบบต่างๆ” ที่โหมกระหน่ำกัน เรียกครูไปอบรมในวันเวลาที่ต้องสอน นักเรียน ทำให้ต้องหาครูสอนแทน การสอนแทนไม่เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ ตรงตามวัตถุประสงค์ และตัวชี้วัด เราเสียงบประมาณแผ่นดินไปกับการอบรมเชิงวิชาการนี้มากมาย แต่ผู้เข้าอบรมไม่ค่อยได้มีโอกาสนำมาใช้ และมักจะไม่กระจ่างแจ้งในการนำมา ประยุกต์ใช้ให้เกิดประประโยชน์แท้จริง
- ครูไม่เปลี่ยนวิธีสอน ครูยังคงยืนบรรยายอยู่หน้าชั้นเรียน สอนตามหนังสือ และนักเรียนก็รอรับความรู้ที่ครูบอกอย่างเดียว ความรู้ที่พวกเขาได้รับ “จึงคับแคบ” จำกักอยู่เพียงการถ่ายทอดจากความทรงจำของครู สู่ความทรงจำของนักเรียน “ไม่ใช่ความรู้ที่เปิดกว่าง Not worldwide knowledge” คุณภาพการศึกษาจึงสู้การเรียนแบบ Learner Centered ที่ใช้การเรียนแบบ Experience Learning หรือ Learning by Doing ที่ทั่วโลกประยุกต์ใช้อยู่ในขณะนี้ไม่ได้
- ใช้สื่อ และอุปกรณ์ การเรียนการสอน “ผิดวิธี” ผู้เขียนจะนำมากล่าวภายหลัง
- สอนผิดวิธี เช่น การสอนภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ท่านทราบหรือไม่ว่า การยกเลิกวิชา “ทักษะสำคัญ Key Skill” เช่น วิชาอ่านออกเสียงทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ, วิชา คัด และเขียน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ, วิชาเรียงความ ย่อความ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ,นั้น สร้างผลร้ายต่อคุณภาพการศึกษาไทย อย่างที่เห็นนี้แล้ว ซึ่งผู้เขียนจะนำมากล่าวภายหลัง
- ไม่ร่วมกันสร้าง “นวัตกรรม Innovation” ด้วยวิธี Brainstorming Cooperative and Collaborative.. โปรดติดตามในบอกความเรื่องต่อไป ในหัวข้อ “แนวทางการแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาการศึกษาไทย”
- ผู้บริหารสถานศึกษา ละเลยต่อการอบรมสั่งสอน เช่น อบรมหน้าเสาธง 5 นาที ทุกวันทำการ เป็นผู้ให้การอบรมในวันสุดสัปดาห์ ติดตามประเมินผลการอบรม ปรับปรุงแก้ไขวิธีการให้การฝึกอบรมโดยการปฏิบัติ เพราะถือว่าโรงเรียนเป็นเพียงที่พักข้างทาง พักเอาแรง แล้วก็หวังก้าวต่อไปในตำแหน่งที่มีผลตอบแทนมากกว่า ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษาส่วนหนึ่ง จึงเป็นเพียง “สัญลักษณ์แห่งอำนาจล้นเหลือประจำโรงเรียน” เท่านั้น
นี้คือเสี้ยวหนึ่งของปัญหาการศึกษาในประเทศไทย ที่ผู้เขียนตั้งใจจะหยิบยกมาบอกกล่าวทั้งหมด “แต่มันเป็นไปไม่ได้” ที่หนังสือเล่มหนึ่งจะกล่าวได้ครอบคลุมทุกเรื่อง แต่เราก็สามารถรู้เรื่อง ราวตามความเป็นจริงทั้งหมดได้ “ด้วยการประเมินตามความเป็นจริง ที่เรียกว่า Authentic Assessment” คือ การเอาตัวของเราเข้าร่วมซึมซับปัญหานั้นๆ “ด้วยกายและใจ Body and Mind” หรือที่เรียกตามหลักวิชาครูว่า Active Participation นั้นเอง..
สุทัศน์ เอกา......................บอกความ