ขอได้โปรด..ทำความเข้าใจว่า
Knowledge, Understanding, and Wisdom.. ความรู้ ความเข้าใจ และปัญญา.. มีคุณค่าต่างกันอย่างไรอย่างไร
ความรู้ Knowledge ได้มาจาก “ประสาทสัมผัส Sensetion” ของคนเรา “ผัสสะ Contact” หรือปะทะกับสิ่งที่อยู่รอบตัว แล้วเกิดความจำได้หมายรู้ในสิ่งนั้นๆ เช่น ตาเห็นรูปหรือสิ่งของที่สวยงามต่างๆ ก็เกิดความรู้ว่าอะไรงาม อะไรไม่งาม หูได้ยินเสียงก็เกิดความรู้ว่าอย่างนี้ไพเราะ เช่น คำชมเชย ยกย่อง เอาส่วนดีมากล่าว น่าฟัง น่าเข้าใกล้และเสริมกำลังใจ ตรงกันข้าม การดุ ด่า ว่า กล่าวโทษ และประจาน อย่างนี้ไม่ไพเราะ ไม่น่าฟัง เกิดการ “ต่อต้านและเกลียดชัง Against and Hatred” ทางอื่นๆ ที่เหลือ เช่นจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจก็เกิดความรู้ได้ในลักษณะเดียวกัน
นี่เป็นการสร้างความรู้ตามธรรมชาติ ถูกต้องและดีที่สุด ในกระบวนการเรียนรู้ ด้วยความรู้ธรรมชาติเช่นนี้เอง จึงได้มีการออกแบบการเรียนการสอน หรือ Learning and Teaching Design ตามหลักทฤษฏีของกลุ่ม Constructivism Theory
การบอก การบรรยาย การสอนหน้าชั้น ประเภท Talk and Chalk เกิดความรู้ในตัวผู้เรียนน้อยที่สุด แต่ผู้มีความรู้ “วิชาครู” อย่างแท้จริง ย่อมมองเห็นคุณค่ามหาศาลหากรู้จักเลือกใช้ให้ถูกกาล เวลา และสถานการณ์.. อย่าปฏิเสธการสอนประเภทนี้ คุณครูบางท่าน Motivation นำเข้าสูบทเรียนได้ดีเยี่ยม ก็ด้วยการโน้มน้าวใจด้วย “ศิลปะ Talk and Chalk” นี้แหละ เพียงแต่ว่า “อย่ามากไป” ต้อง Teach less..Learn more เพราะต้องการเวลามากที่สุดเพื่อให้ผู้เรียน เรียนรู้ด้วยประสบการณ์ Experience learning หรือ Learning by Doing นั่นเอง
ท่านสามารถหาความรู้ได้จาก กรวยประสบการณ์ หรือ Dale’s Cone of Experience ของ ดร.Edgar Dale แห่งมหาวิทยาลัย Ohio State University USA เพื่อเลือกหาวิธีการสอนที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม และความจำเป็นของคุณครู แต่ละโรงเรียนและรัฐ จะต้องให้การสนับสนุนทั้งเรื่องงบประมาณ หลักสูตรที่ทันสมัย จำนวนครู นโยบายที่เอื้อต่อการพัฒนาการเรียนการสอน สวัสดิการ และขวัญ กำลังใจ เพราะครูคือ “แนวหน้าในการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ของชาติ”..
สูงขึ้นไปกว่า ความรู้ ก็คือ ความเข้าใจ หรือ Understanding เป็นการเริ่มต้นสร้าง “ความรู้เป็นของตนเอง Self-knowledge” ขึ้นมาบ้างแล้ว และความเข้าใจนี้ “เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นจากภายในของผู้เรียน The knowledge that arises from within the learner”
โปรดสังเกตว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีที่สุด “เมื่อประสาทสัมผัสทั้ง 6 ส่วน ได้สัมผัสกับแหล่งความรู้ และจะลดน้อยลงไปตามส่วนที่ได้สัมผัสนั้น..” ดังนั้นการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ตรง หรือ Active participation Learning หรือ Experience learning หรือ Learning by Doing จึงเป็นการเรียนที่ได้ผลที่สุด
ความเข้าใจ Understanding จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ คุณเอาสิ่งที่เรียนมาแล้วนั้น เข้ากระบวนการทดลองตามแนวทางวิทยาศาสตร์ซ้ำ แล้วซ้ำอีก.. จนมองเห็นที่มาที่ไป และผลที่เกิดจากการปฏิบัติจริงๆ “By Doing” หาข้อมูลเชิงสถิติ Data ซ้ำแล้วซ้ำอีก.. เพื่ออธิบายสิ่งต่างๆ ได้อย่างถูกต้องแจ่มแจ้ง แม่นยำ.. ชี้ถึงผลได้ และผลเสียที่จะตามมาจากสมมุติฐานต่างๆ วิเคราะห์ แยกแยะ analyze.. เอาไปปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ Apply.. รู้คุณค่า ยอมรับความจริง ฟังความคิดเห็นอย่างมี “วิจารณญาณ Thoughtfulness” ทั้งความคิดที่เหมือนและแตกต่างไปจากตน.. รับรู้ถึงประสบการณ์ที่แตกต่างกัน ของแต่ละคน....
ผู้ที่มีความเข้าใจเช่นนี้ เป็นประโยชน์ยิ่ง จัดเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าต่อตนเอง และต่อประเทศชาติตามสมควร..
สูงขึ้นไปอีกคือ ปัญญา Wisdom ของตนเอง หรือ “Self Wisdom”...
การสร้างปัญญาของตนเอง เป็นสิ่งที่ผู้บริหารการศึกษาไทยทุกระดับ “ควรที่จะฝึกให้เกิดมีขึ้นในตน” จึงจะสามารถช่วยชาติบ้านเมืองของเรา ให้สามารถไต่เต้าขึ้นมาจากหุบเหวแห่งความตกต่ำทางการศึกษาได้ ด้วยการลงมาดูให้เห็นความเป็นจริงด้วยตาของตนเอง มาเรียนรู้ให้ได้ว่า คุณครูทั่วประเทศไทยนี้เขาอยู่กันอย่างไร เขาสอนอย่างไร สภาพสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนการสอนเอื้อต่อทุกฝ่ายมากน้อยแค่ไหน.. จนถึงในที่สุด ค้นหาให้ได้ว่า “เพราะเหตุใดคุณภาพการศึกษาของไทยถึงได้ตกต่ำลงเพียงนี้” อย่าเชื่อเพียงแค่ รายงานกระดาษที่มีตัวแปรมากมาย ซึงทำให้การแก้ปัญหายากเย็นเหมือนงมเข็มในมหาสมุทร และไม่เคยสำเร็จให้เห็นสักครั้งเดียว ในรอบหลายปีที่ผ่านมา เพราะชี้เป้าปัญหาไปที่ครูอย่างเดียว ไม่เคยได้เห็น “ตัวแปร” อย่างอื่นตามที่มันเป็นจริง..
อย่าทะนงตนนักเลยว่า ข้านี้เรียนจบขั้นสูงสุดของโลกมาแล้ว.. ข้านี้เป็นข้าราชการใหญ่.. ข้านี้เป็น ผู้ออกนโยบาย เป็นผู้บริหารนโยบาย ข้าต้องสั่งการตามตำแหน่งหน้าที่.. ”แล้วผลเป็นไง ?”.. หลับๆ ตื่นๆ ฟังรายงาน สั่งงานแบบคนละเมอ.. ทำไปตามปัญญาของคนอื่น.. การศึกษาของชาติถึงกับต้องดิ่งลงก้นเหว.. เพราะคิด ว่าตนเองฉลาดกว่าครูที่อยู่กับปัญหาที่เป็นจริง.. แต่ไม่เคยมีนักบริหารใหญ่โตคนใดฟังเสียงของพวกเขา..
คนมี “ปัญญาของตนเอง” จัดเป็นชั้นยอดคน ได้มาด้วยการเอาความรู้ความเข้าใจมา “พิจารณาอย่างแยบคายทุกๆ ด้าน” ทางพุทธศาสนาเรียกว่า “โยนิโสมนสิการ” ได้สิ่งวิเศษเกิดขึ้น เรียกว่า “ปัญญา” เป็นการเห็นแจ้งตลอดสายของเหตุที่เกิด และผลที่เกิดจากเหตุนั้น คนชนิดเช่นนี้ จะสร้างเหตุ เพื่อให้เกิดผลอย่างใดก็ย่อมสามารถทำได้.. และผู้มีปัญญา “ย่อมสามารถแยกแยะ” ออกได้ว่า “ส่วนไหนเป็นผักชีที่โรยหน้า” ... “ส่วนไหนเป็นการประจบสอพลอ”... และ “ส่วนไหนเป็นความจริงของปัญหาความตกต่ำทางการศึกษาของชาติ”
ขอได้โปรดเถิด...
ช่วยลงมาดู ลงมารู้ปัญหาตามความเป็นจริง ฟังเสียงครูผู้ปฏิบัติการในสนามการเรียนการสอนจริง มาเห็นกับตาว่า ปัญหามันเกิดจากความไม่เข้าใจในเรื่องการศึกษาของผู้บริหารชั้นสูง ที่บางท่าน หรือหลายๆ ท่าน หรือส่วนใหญ่ไม่เคยเป็นครูระดับล่างมาก่อน.. “เป็นพวกโอปะปาติกะ” ที่พอจบออกมาจากเมืองนอก ก็มีเก้าอี้ตัวใหญ่ให้นั่งทันที.. พวกนี้จึงบริหารงานตามตำรา.. ยึดตำราเป็นสรณะ ที่พึงที่หนุนหัวนอน..
แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง เรากำลังผจญอยู่กับปัญหาของปัจจุบันวันนี้.. และตำราทุกเล่มที่ท่านทั้งหลาย ยึดเป็นที่พึงที่อาศัยนั้น.. มันล้าสมัยไปนานแล้ว..
ขอได้โปรดลงมาเรียนรู้จากครูผู้สอน แล้วช่วยกันแก้ปัญหาอย่างจริงจัง การศึกษาของเราก็จะฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่.. ในเวลาไม่นานเกินรอ.. เราขอสัญญา
สุทัศน์ เอกา....บอกความ
ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)