foto1
ความงดงามการศึกษาไทย
foto1
เพื่อ?
foto1
ไม่เข้าใจ?
foto1
วิทยากรที่กระทรวงศึกษาธิการ สปป.ลาว
foto1
ท่องทะเลทรายที่ดูไบ UAE


Friendly Links

เรียนรู้ภาษา html
isangate banner
easyhome banner
ipst banner
sakdibhornssup foundation
13 Thai free fonts
speedtest
e mil

Facebook Likebox

No. of Page View

ทบทวนกระบวนการจัดการเรียนการสอน :

"การปรับกระบวนการสอนให้ตรงกับลักษณะข้อสอบ"

ไม่ใช่การพัฒนาที่หวังผลสัมฤทธิ์แบบยั่งยืน

supak piboonโดย ดร.สุพักตร์ พิบูลย์

อ่านข่าวไทยรัฐ หน้าการศึกษา ฉบับเช้านี้ 15/09/57  ท่านเลขา สพฐ.ให้สัมภาษณ์ เรื่องให้เร่งรัดยกระดับคะแนนโอเน็ต  โดยแจ้งว่า ได้หารือกับ สทศ.แล้ว และเห็นควรให้ปรับกระบวนการสอนให้ตรงกับข้อสอบ และจะหารือกับเขตพื้นที่การศึกษาต่อไป (สาระโดยสรุป จับใจความได้เช่นนี้)

ผมเข้าใจความหวังดี ความมุ่งมั่นของท่านเลขาธิการ สพฐ.  แต่ผมคิดว่า เรากำลังวนเวียนอยู่ในวัฏจักรเดิมๆ คือ การสอนแบบติวข้อสอบ ในการนี้ ผมขอวิเคราะห์และเสนอแนวคิดเพื่อ สพฐ. ใช้ประกอบการพิจารณาในการพัฒนากระบวนการจัดการศึกษา ดังต่อไปนี้

1. การกำหนดภาพอนาคตของเด็กไทยและจริงจังกับการจัดการเรียนการสอนแบบอิงสมรรถนะ : ควรจริงจังกับการกำหนดมาตรฐานสมรรถนะเด็กไทย ให้เป็นที่เข้าใจและรับทราบตรงกันทั้งประเทศว่า เด็กไทยในอนาคต ควรมีความรู้ คุณลักษณะ หรือทักษะที่สำคัญอะไรบ้าง  พร้อมกำหนดบทบาทหน้าที่องครอบครัว  โรงเรียน และชุมชน ในการสวร้างเด็กไทย เพื่ออนาคตประเทศไทยอีก 20 ปีข้างหน้า

2. การจัดการกับปัญหา เด็กจบป.6 อ่านไม่ออก-อ่านไหม่คล่อง มากกว่า 30 % : ขณะนี้ สพฐ. ไม่ได้แก้ที่รากของปัญหา รายการนี้  สพฐ. ควรประกันคุณภาพการอ่านคล่อง-เขียนคล่อง เมื่อจบ ป.3 และประกันคุณภาพการเป็นนักอ่าน เมื่อจบชั้น ป.6

ท่านเลขา สพฐ. กำลังว้าเหว่ยิ่ง : หากสังเกตความพยายามของท่านเลขาในเรื่อง การยกระดับคุณภาพและการปฏิบัติของคนรอบข้าง ผมคิดว่าในขณะนี้ สพฐ.กำลังขาดคนที่มีความคมในเรื่องการจัดการศึกษา เลขาสพฐ. ไม่มีมีแขนซ้ายขวา (รองเลขาฯ  หรือผู้อำนวยการสำนัก) ที่คมเท่าที่ควร   ขณะนี้ สพฐ. ไปลุยเรื่อง การออกข้อสอบ การวัดผล-ประเมินผล โดยอบรมกันเป็นบ้าเป็นหลัง หมดเงินไปหลายร้อยล้าน (เหมือนกำลังจะทำผลงานเชี่ยวชาญ หรือเชี่ยวชาญพิเศษให้กับใครบางคน)   ทั้งๆ ที่รากของปัญหาการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

โดยสรุป ต้องเน้น

   (1) เด็กอ่านคล่อง-เขียนคล่องตั้งแต่ ป.3  และเป็นนักอ่าน เมื่อขึ้น ป.4 เป็นต้นไป (อย่างน้อยร้อยละ 50 ของเด็ก ที่จบป.6 ต้องเป็นนักอ่าน...โอเน็ตป.6 จะสูงเอง)... รากของปัญหาขณะนี้ คือ เด็กเจ็บ ป.3 อ่านไม่ออก และอ่านไม่คล่องมากกว่าร้อยละ 50
   (2) เด็กร้อยละ  70 เป็นนักอ่าน เมื่อขึ้นชั้น ม.2 และ 80 % เป็นนักอ่านเมื่อขึ้น ม.3  หากเป็นเช่นนี้ นักอ่านเหล่านี้ จะมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์-คิดสังเคราะห์ ตีโจทย์แตก... จะมีผลทำให้โอเน็ต ม.และ และ ม.6 สูงขึ้น อย่างยั่งยืน... ปัญหาขณะนี้ คือ เด็กม.3 ยังอ่านไม่คล่อง ตีความ-ขยายความโจทย์โอเน็ตไม่ได้

child center 04

3. การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือเด็กกลุ่มอ่อน กลุ่มด้อยโอกาส  : ขณะนี้ ท่านเลขา สพฐ. เน้นเรื่องกระบวนการแนะแนว-ช่วยเหลือเด็ก ผมว่า โอ เค แล้ว แต่อย่าเน้น การพัฒนาระบบแนะแนวแบบโบราณ ที่ไปฝากความหวังไว้กับครูแนะแนว (ซึ่งมีจำนวนน้อย)  ต้องเน้น การสร้าง ให้จารย์ประจำชั้นเป็น "อาจารย์ประจำชั้นมืออาชีพ (2 คน ต่อเด็ก 40 คน)".. .ขณะนี้ โรงเรียนในเครือข่ายสวนกุหลาบฯ  กำลังทดลองมาตรฐานอาจารย์ประจำชั้น และมาตรฐานการร่วมมือจากผู้ปกครองในแต่ละห้องเรียน  น่าจะเป็นแนวทางที่เป็นกรณีศึกษาได้

4. การปรับกระบวนการเรียนการสอบแบบ Content-based learning อย่างในปัจจุบัน ไปเป็น Problem-based learning ที่เน้น
    4.1 ให้เด็ก แก้ปัญหา-พัฒนาตนเองในระดับประถมศึกษา  
    4.2 แก้ปัญหา-พัฒนาครอบครัวในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  และ
    4.3 แก้ปัญหา-พัฒนาสังคม ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

5. การบริหารจัดการแบบกระจายอำนาจ : ไม่ควรมีโครงการพัฒนาจากส่วนกลางอีกต่อไป ไม่มีโครงการอบรวมครูจากส่วนกลาง   สพฐ. ควรประกาศจุดเน้นและนโยบาย  แล้วกระจายงบประมาณทั้งหมดไปลงที่สถานศึกษา หรือเขตพื้นที่การศึกษา
    5.1 สพฐ.ควรจัดประชุม สัมมนา เพื่อการกำกับติดตามงานจาก ผอ.เขตพื้นที่การศึกษา หรือประธานกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา เป็นหลัก (ตลอด 15 ปี แทบจะไม่มีการเชิญประธานกรรมการเขตพื้นที่การศึกษามาประชุมร่วมกับ สพฐ. เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนคุณภาพเลย)
    5.2 สพฐ.ต้องจริงจังกับระบบประกันคุณภาพภายใน  มีการประเมิน และจัดระดับคุณภาพ เขตพื้นที่การศึกษา  เป็นเขตพื้นที่เกรด A-B-C (ตัดสินคุณภาพเขตพื้นที่ โดยพิจารณาจากร้อยละของโรงเรียนในเขตที่ มีพัฒนาการด้านโอเน็ตดีขึ้น หรือ มีคะแนนโอเน็ตเกิน 50 %   หรือ ผ่านการรับรองจาก สมศ.)

6. ลดการบริหารจัดการแบบล่ารางวัลหรือการทุ่มเทกับเด็กส่วนน้อย ละทิ้งเด็กส่วนใหญ่ ลดการล่ารางวัลระดับชาติทั้งหลาย   หากมีการแข่งขันระดับชาติ  ควรมอบรางวัล OBEC  Award ให้กับ ผอ.เขตพื้นที่เกรด A  โรงเรียน เกรด A   และโรงเรียนที่มีพัฒนาการดีเด่น (พัฒนาการระดับ A)(เพื่อกำลังใจสำหรับโรงเรียนที่ต้องรับผิดชอบเด็กที่พื้นฐานอ่อน)

7. ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม สรา้งความเข้มแข็งแก่ระบบกรรมการสถานศึกษา กรรมการเขตพื้นที่การศึกษา  หรือสมัชชาการศึกษาระดับจังหวัด เพื่อให้เป็นองค์กรเข้มแข็ง ที่สามารถเข้ามามีบทบาทร่วมในการพัมนาคุณภาพการศึกษาได้แบบยั่งยืน ในอนาคต

8.การบริหารจัดการในบทบาทเจ้าภาพหลักในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน : สพฐ. ต้องสนับสนุน พัฒนาคุณภาพการศึกษาในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ในฐานะองค์กรเข้าภาพหลัก ที่ดูแล-ส่งเสริม-สนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับโรงเรียนในทุกสังกัด (ผ่านเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพปฐมวัย  ประถมศึกษา  มัธยมศึกษาตอนต้น  และ มัธยมศึกษาตอนปลาย)

thai std 03

ผมขอนำเสนอแนวคิดเบื้อนต้น แค่นี้ก่อน  ผมกำลังจะเรียบเรียง และเตรียม ppt ประกอบการบรรยายสาระเหล่านี้ ภายใต้ชื่อเรื่อง "ทิศทางการบริหารจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในยุคปฏิรูปประเทศไทย" สมาคม ผู้บริหารสถานศึกษาจังหวัดเพชรบุรี เนื่องในโอกาสเกษียณอายุของผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาของจังหวัด ในวันที่ 18 กันยายน 2558 ณ โรงเรียนเบญจมเทพอุทิศ เพชรบุรี

ดร.สุพักตร์ พิบูลย์

ที่มา : https://www.facebook.com/notes/10201713713524515/

รบลก

เพิ่มเติมสำหรับวันนี้กับแนวคิดค่านิยม 12 ประการ

ถ้าจะปลูกฝังคุณลักษณะ/ค่านิยมอันพึงประสงค์

------------------------------------------------------

  1. วิเคราะห์ค่านิยม 12 ประการ 8 ประการ หรือ 20 ประการ ที่ได้มาจากหลายแหล่ง แล้วสกัดตัวที่สำคัญ ๆ ที่เห็นว่าจำเป็น (สมมติว่า สุดท้ายได้ 9 ตัว)
  2. "นิยามเชิงปฏิบัติการ" ให้เห็นเป็นรูปธรรมทั้ง 9 ตัว ว่า คืออะไร ("ซื่อสัตย์" "มีวินัย" คืออาการเป็นอย่างไร)
  3. ประชาพิจารณ์ ให้เห็นพ้องต้องกันทั้งประเทศ 2 เดือน(ประชาพิจารณ์ผ่านเว็บไซต์) เพื่อให้เข้าใจและเห็นตรงกัน ถ้าประชาชน อยากเติมอะไร ก็นำมาพิจารณาเพิ่มเติม(ถ้าจำเป็น)
  4. เมื่อเห็นพ้องต้องกันทั้งประเทศและจำได้แล้ว ก็ต้องกำหนดบทบาทของผู้เกี่ยวข้อง
    " ในแต่ละค่านิยม/คุณลักษณะ กำหนดบทบาทให้ชัดเจนว่า (1) เยาวชนเอง ต้องปฏิบัติอย่างไร (2) พ่อ-แม่ ต้องปลูกฝังอย่างไร(3) โรงเรียนต้องปฏิบัติอย่างไร และ (4) ท้องถิ่น ชุมชน ต้องปฏิบัติอย่างไร"
  5. มีการประเมินคุณลักษณะ หรือค่านิยมในตัวเยาวชน เป็นระยะ ๆ เช่นก่อนจบชั้น ป.3 ป.6 ม.3 ม.6

------------------------------------------------------

"การท่อง โดยไม่บริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ยากอย่างยิ่งที่จะประสบความสำเร็จ"

กลัวจะเป็นนกแก้วนกขุนทองที่ท่องแบบไม่เข้าใจความหมาย ท่องแล้วก็ไม่ทำอะไร เพราะท่องได้แล้วนี่ ศรีธนญชัยมันเยอะนา ประเทศสยามนามประเทืองนี่ ส่วนครูก็คงจะวัดแค่ "ไหนมาท่องให้ฟังซิ ได้กี่ข้อ 5 คะแนนเชียวนะที่ช่วยเธอนี่" ทำตามที่ท่านอาจารย์ ดร.สุพักตร์ บอกข้างบนเถอะครับ จะได้ผลจริงจัง...

 

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

Our Policy