(4)
โดย สุทัศน์ เอกา
การระดมสมอง และ ปรึกษาหารือเรียนรู้ร่วมกัน Educational Brainstorming and Collaborative Online ข้อที่ 2 เพื่อนำเสนอ คสช. และรัฐบาล...
เรียน คสช. รัฐบาล และผู้บริหารการศึกษาในกระทรวงศึกษาธิการ กระผมขอทบทวนบทบาทของ “ครู” ที่เปลี่ยนแปลงไปตามความเป็นจริงของโลก Real world เพื่อที่ท่านจะได้ทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้งถูกต้องตรงกับความเป็นจริง และให้ความร่วมมือสนับสนุน “การเรียนการสอนที่เป็นรูปธรรม” ในการพัฒนาการศึกษาของชาติสืบไป...
เมื่อก่อนนี้ ครูเป็นผู้ให้ความรู้ เนื่องจาก “เป็นผู้รู้มาก่อน” คุณครูจึงเป็นผู้ยืน “บอก และอธิบายความรู้” ที่หน้าชั้นเรียน หรือ ยืน Lecture บนโพเดี้ยม โดยมีหนังสือเรียน textbooks เป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญที่สุด...
บุคลิกภาพของครู ความเอื้ออาทรต่อศิษย์ ความช่ำชองในเนื้อหาวิชา และกลเม็ดเด็ดพรายในการสอน เป็น Motivation โดยธรรมชาติ.. ผู้เรียนมีหน้าที่รับฟังอย่างตั้งใจ และทำความเข้าใจไปพร้อมๆกับคำสอนของครู และจดบันทึกความจำไว้ในสมุด.. การสอบเป็นการวัดความรู้ว่า ได้ไปจากครูมากน้อยเพียงใด ถ้าได้น้อยต่ำกว่า 50% ต้องไปเรียนซ้ำชั้นในปีการศึกษาถัดไป เรียกว่า “สอบตก” เพื่อฟังคำสอนเรื่องเก่าอีกครั้งหนึ่ง.. และเป็นที่อับอายขายหน้าทั้งตนเอง และวงศ์ตระกูล..
ข้อสอบจากส่วนกลางเป็นเครื่องวัด “ความรู้และความจำ” ของนักเรียนทั่วประเทศ เรียกว่า “ข้อสอบรวม” นักเรียน ม. 8 ที่ได้คะแนนสูงสุด 50 คนแรก มีการประกาศทางวิทยุกระจายเสียง เขาและเธอผู้นั้น จะหล่อและสวยไปตลอดชีวิต... แต่พอมาถึงยุคการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 นี้ เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ ข้อสอบจากส่วนกลาง “ไม่สามารถคงความยุติธรรมในการวัดภูมิปัญญา” นักเรียนในแต่ละภูมิภาคของประเทศได้อีกต่อไป... ดังนั้น ในการจัดการศึกษา และการวัดผลจึงควรเป็น “แบบผสมผสานอย่างเหมาะสมที่สุด” นั่นเอง
ต่อมา... พัฒนาการทางการศึกษาเปลี่ยนไป เนื่องจากสภาพความเจริญของโลก เป็น “โลกาภิวัตน์ Globalization” การไปมาหาสู่ของคนทั้งโลกง่ายขึ้น ความเจริญนี้ไม่หยุดยั้ง พัฒนาไปถึงขีดการติดต่อสื่อสารแบบ “โลกไร้พรมแดน Boundless World” เนื่องจากวิวัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ โลกทั้งโลกก้าวเข้าสู่ยุค “ไอที หรือ IT” Information Technology หรือ เทคโนโลยีสารสนเทศ และกลายเป็น ICT หรือ Information and Communication Technology ที่แปลว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร..
ปรากฏการณ์นี้คือ การติดต่อสือสารสรพวิทยาการ ข่าวสาร เรื่องราวต่างๆ หลั่งไหลมาจากทุกมุมโลก เข้าสู่เครื่องมือสื่อสาร เช่น อินเทอร์เนตคอมพิวเตอร์ ไอแพต ไอโฟน และโทรศัพท์มือถือ ที่หาซื้อได้ง่ายโดยทั่วไป...
สิ่งนี้ “เกิดผลที่เป็นแรงผลักดัน” ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบการศึกษามากมาย ทั้งระบบการเรียนการสอน และการบริหารการศึกษา System of Instructional and Education Administration อยางมากมายมหาศาล เช่น
การเรียนที่ได้ผลดีที่สุด คือการเรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเอง เรียกว่า Experience Learning หรือ บางท่านเรียกว่า Learning by Doing แปลว่า “เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ” หมายความว่า คนเราจะรู้ซึ้งเข้าไปในจิตวิญญาณของตัวเองได้ ก็ต่อเมื่อได้ลงมือทำการนั้นๆ แล้ว ผิดก็ได้รู้ด้วยตัวเอง ถูกก็ได้รู้ด้วยตัวเอง แก้ไขจากผิดให้เป็นถูกได้อย่างไรก็ได้รู้ด้วยตัวเองทั้งสิ้น..
การเรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเอง เรียกว่า Experience Learning หรือ Learning by Doing มีกระบวนการ ดังนี้...
ท่านทั้งหลายจะเห็นได้ว่า ครูต้องเปลี่ยนบทบาทของตนเอง “และเพิ่มภาระในการเรียนการสอน Increase the burden of Instruction” จากที่เคยยืนสอน และบรรยายอยู่หน้าชั้นเรียน กลายเป็น “บอกความรู้แต่น้อยพอเป็นแนวทาง การหาประสบการณ์ด้วยตนเอง แต่ให้โอกาสผู้เรียน เรียนรู้ด้วยประสบการณ์ของตนเองให้มากที่สุด” จนเกิดเป็นประโยคทองว่า “Teach less, ..Learn more” นั่นคือ
ท่านที่เคารพ นอกเหนือจากการสร้างสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ Creation of learning environment เพื่อเร้าใจให้อยากเรียน, การออกแบบการสอน Constructional Design, การวางแผนการเรียนรู้ Learning Plan แล้ว.. ตลอดเวลาของคาบการเรียนการสอน แบบ Experience learning หรือ Learning by Doing นั้น คุณครูจะต้องสร้างแรงจูงใจให้เข้าสู่บทเรียน ที่เรียกว่า Motivation เชื่อมโยงความรู้เก่าให้เป็นสะพานไปหาประสบการณ์ ในการสร้างความรู้ใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นจากประสบการณ์การเรียนรู้ “ทั้งด้านวิชาการและอื่นๆ Both academic and other” อย่างง่ายๆ ย่อๆ สั้นๆ แต่ชัดเจน..
เพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้เวลาในการ Learning by Doing มากที่สุด และตลอดเวลานั้น คุณครูจะต้องสังเกตการเรียนแต่ละคน Observation ประเมินผลพฤติกรรมการเรียน Assessment learning behavior ควบคุมการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด และ ทำการ “เสริมศักยภาพ Scaffolding” สำหรับนักเรียนบางคน ที่มีศักยภาพไม่พอให้มีความสามารถพื้นฐานในการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์เรื่องนั้นๆ โดยคุณครูจะใช้ความสามารถทุกทางในการออกแบบการเรียนรู้ และไม่สามารถทิ้งลูกศิษย์คนใดไว้เบื้องหลัง...
ขอย้ำอีกครั้งว่า การเรียนการสอนที่เหมาะสมกับประเทศไทย ในช่วงทศวรรษที่ 2 ของการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 เป็นการเรียนการสอนที่ “ปรับใช้งาน Application” ให้เหมาะสมกับสภาพของการศึกษาประเทศไทย คือ
แต่การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 ตามที่กล่าวมานี้ “เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง หรือ Continuous learning process” ที่ไม่สามารถลัดขั้นตอนได้ เปรียบเหมือนกับท่อน้ำประปาที่บ้านของเรา ถ้าถูกตัดขาดตอนใดตอนหนึ่งไป แม้เพียงจุดเดียว น้ำก็ไม่ไหลเข้าตุ่ม และท่านก็ไม่มีน้ำใช้ นี้เป็นเรื่องเหตุและผลที่เกิดขึ้นตามธรรมดา
ดังนั้นผมจึง ”กล่าวโทษอย่างรุนแรง” ว่า การทำให้ครูออกจากการเรียนการสอน แม้เพียงเสี้ยวหนึ่งของคาบเรียน ก็เป็นอาชญากรรมต่อการศึกษาของชาติ..และเรามีวิธีอื่นที่ดีกว่าตั้งมากมาย หลายทาง ที่สามารถเลือกได้โดยไม่กระทบกระเทือนต่อการเรียนการสอนของคุณครู...
สุทัศน์ เอกา.....................บอกความ
ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)