ภายใต้ภาวะที่สภาพการจ้างงานเปลี่ยนแปลงไป หลายภาคธุรกิจต้องการบุคลากรที่มีความรู้ มีทักษะแบบใหม่เข้าทำงาน แต่กลับประสบปัญหาในการหาแรงงานที่มีทักษะที่ตรงกับความต้องการ เพื่อการเติบโตของธุรกิจในโลกอนาคตไม่ได้ การศึกษาไทยไม่ตอบโจทยฺนี้หรือ?
จะมีบัณฑิตจบใหม่ปี '63 ว่างงานกว่า 340,000 คน เมื่อรวมกับคนตกงานเดิมๆ อีกกว่า 430,000 คน
ปีนี้จะมีคนว่างงานเพิ่มกว่า 700,000 คน โดยเป็นแรงงานเพศชายมากกว่าเพศหญิงร้อยละ 0.5 "
จึงมีคำถามไปยังภาคการจัดการศึกษาว่า "ประเทศไทยเราสร้างคนรุ่นใหม่ให้มีการศึกษามากขึ้นได้ถูกทางแล้วหรือยัง? หลักสูตรการศึกษาสนองตอบต่อภาคธุรกิจได้มากน้อยเพียงใด? เหตุใดจำนวนบัณฑิตตกงานจึงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ" ซึ่งสวนทางกับการสำรวจของ สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
ข้อมูลนี้แสดงให้เราเห็นอะไรบ้างนะ ถ้าตอบแบบกำปั้นทุบดินก็ต้องบอกว่า "คนต่างด้าวมาแย่งงานคนไทย" แต่ถ้าดูลึกๆ ในรายละเอียดกลับไม่ใช่เลย เพราะเมื่อผมไปดูรายงานของ สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กระทรวงแรงงาน พบว่า ในจำนวนแรงงานต่างด้าวสามล้านคนนั้น เป็น
จากข้อมูลดังกล่าวนั่นแสดงว่า "คนต่างด้าวไม่ได้มาแย่งอาชีพของบัณฑิตเหล่านั้นเลย แล้วทำไมบัณฑิตไทยที่จบการศึกษาในแต่ละปีจึงตกงานกันเป็นจำนวนมาก?"
ได้เวลาที่คนในวงการศึกษา ทั้งผู้กำหนดนโยบายจากส่วนกลาง ตั้งแต่ รัฐมนตรีเจ้ากระทรวง ผู้บริหารองค์กรการศึกษาในส่วนกลางทุกระดับ หน่วยงานในพื้นที่ รวมทั้งครู-อาจารย์ในสถาบันการศึกษา โรงเรียนขนาดใหญ่เล็ก ทั้งในเมืองและชนบทต้องหันกลับมาหยุดคิด และกำหนดแนวทางการจัดการศึกษากันใหม่ได้แล้ว ประเทศไทยในปัจจุบันต้องการคนมีทักษะในการทำงาน ทักษะในวิชาชีพที่รอบตัว ไม่ใช่ Pure Science อย่างในอดีตแล้ว เก่งในวิชาการอย่างเดียวไม่พอ ต้องมีทักษะปฏิบัตินำสิ่งรอบตัวมาใช้งานได้ เช่น
ในขณะที่ครูในโรงเรียนเรายังไม่เปลี่ยนโลกทัศน์กันเลย ยังคงแนะนำให้ลูกหลานเรียนในสายสามัญ วิทย์-คณิต เพื่อเรียนต่อในมหาวิทยาลัย แล้วก็ตกงานกันเยอะแยะไปหมด และที่สำคัญมากๆ คือ นักเรียน-นักศึกษาเหล่านี้มักจะเป็น "คุณหนู" คือตั้งหน้าตั้งตาเรียนอย่างเดียว ทั้งพ่อ-แม่ ผู้ปกครองก็ห่วงลูกกลัวว่าไม่ทันเพื่อน ให้เรียนพิเศษอย่างเดียว ไม่เคยได้สัมผัสกับการทำงาน การช่วยเหลือตนเองตั้งแต่ซักผ้า รีดผ้า ทำอาหาร ช่วยงานบ้านต่างๆ เรียนลูกเดียวพอจบออกมาทัศนคติก็เลยมีแต่ "แสวงหางานดีๆ เงินเยอะๆ ไม่ต้องออกแรงมาก ไม่ต้องสัมผัสเปลวแดด ต้องอยู่ในห้องแอร์เท่านั้น" แล้วมันจะมีไหมล่ะพ่อคุณ(แม่คุณ)งานแบบนี้???
ผมไม่ปฏิเสธนะว่า "เด็กสมัยนี้ปรับตัวกับเทคโนโลยีได้ไว" แต่... เป็นการปรับตัวเพื่อให้ตัวเองสะดวกสบาย หรือเพื่อความสุกสนานในกลุ่มเพื่อนๆ เพื่อนมีฉันก็ต้องมี ผู้ปกครองก็ปรนเปรอให้เต็มที่ไม่ว่าจะเป็นมือถือ คอมพิวเตอร์ แต่มันก็ถูกใช้งานเพียงเพื่อความบันเทิง ความสนุกสนานเท่านั้น ไม่อาจนำมาใช้เพื่อการประกอบอาชีพในอนาคตแต่อย่างใด แม้กระทั่งเมื่อเข้าไปทำงานหลายคนที่บอกตอนไปสมัครงานว่า "ผม(หนู)ใช้คอมพิวเตอร์เป็นครับ" แต่พอได้ทำงานด้านเอกสาร บัญชี หรือการนำเสนอสินค้า ทำไม่เป็นเอาเสียเลย
สถานการณ์แรงงานโลกกำลังปรับตัวตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี แรงงานซึ่งเป็นที่ต้องการในโลกอนาคตจำเป็นต้องเป็น “แรงงานทักษะสูง” รองรับการทำงานที่ควบคู่ไปกับเทคโนโลยีได้ ส่งผลให้ภาวะการจ้างงานนั้นเปลี่ยนแปลงไป หลายภาคธุรกิจต้องการบุคลากรที่มีความรู้มีทักษะแบบใหม่เข้าทำงาน แต่ก็ประสบปัญหาในการหาแรงงานที่มีทักษะที่ตรงกับความต้องการ ซึ่งปัญหาดังกล่าว ส่วนหนึ่งมาจากแรงงานไม่สามารถจะใช้โอกาสที่เกิดขึ้นจาก technological disruption ได้อย่างเต็มที่ เพราะขาดการเรียนรู้ ขาดทักษะใหม่
แต่ทว่า ทักษะที่จำเป็นและเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานนั้น ก็อาจจะเปลี่ยนไปตาม demand ของธุรกิจ หรือปัจจัยความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ดังนั้น ทักษะ ที่เราพัฒนาในวันนี้ ก็อาจจะไม่เป็นที่ต้องการในวันใดวันหนึ่งข้างหน้า จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่แรงงานจะต้องพัฒนาตัวเองต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง การส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต หรือ "Lifelong Learning" อาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือก ที่จะช่วยให้การพัฒนาและยกระดับทักษะสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนำธุรกิจให้อยู่รอดได้ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง
ตำแหน่งงานเริ่มน้อยลงเรื่อยๆ เพราะธุรกิจขยายตัว แต่ขาดแรงงานที่มีทักษะในระดับสูง ธุรกิจจำนวนมากจึงเปลี่ยนจากใช้แรงงานคนไปใช้หุ่นยนต์มาทำงานแทน เพราะหุ่นยนต์มีความแม่นยำในการทำงานซ้ำๆ มากกว่ามนุษย์ สามารถทำงานได้ตลอดเวลาไม่ต้องหยุดพัก ไม่ต้องจ่ายค่าล่วงเวลาหรือ โอที (Over Time) ไม่หยุดงานประท้วงเรียกค่าแรงและโบนัส ที่เห็นชัดเจนคือภาคอุตสาหกรรมการผลิต เช่น ยานยนต์ สิ่งทอ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ตามที่เป็นข่าวปลดคนงานในสื่อต่างๆ ของไทย
และที่กำลังเปลี่ยนพลิกโลกในยุคนี้คือ การใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence) เข้ามาแทนที่คนในหลายๆ งานกันบ้างแล้ว เช่น บริการให้คำปรึกษา (Call Center) ที่นำระบบอัตโนมัติมาช่วยตอบในเรื่องคำถาม/ปัญหาซ้ำๆ ในงานบริการต่างๆ แม้แต่ในทางการแพทย์ รวมทั้งระบบบัญชี ฐานข้อมูลที่มีข้อมูลจำนวนมากๆ นับล้านๆ รายการที่ AI สามารถจะค้นหานำมาตอบได้ในเวลาชั่วพริบตา ได้ข่าวว่าแม้แต่สำนักงานทนายความใหญ่ๆ ในต่างประเทศก็นำเอาเทคโนโลยี AI มาช่วยในการค้นหากระทงความผิด มาตรากฎหมายต่างๆ ทั้งทางแพ่งและอาญา นำมาช่วยวิเคราะห์แนวทางการต่อสู้ให้กับลูกความ ทำให้ตัดสินใจหาแนวทางที่เหมาะสมได้เร็วยิ่งขึ้น คนจะว่างงานมากขึ้นถ้าไม่เรียนรู้ที่จะใช้และควบคุมเทคโนโลยีเหล่านี้ เราจะไม่ตกงานถ้าเราเก่งจนควบคุมหุ่นยนต์และ AI ได้
ปัญหาดังกล่าวนี้ส่วนหนึ่งมาจาก แรงงานไม่สามารถจะใช้โอกาสที่เกิดขึ้นจาก technological disruption ได้อย่างเต็มที่ เพราะขาดการเรียนรู้ ขาดทักษะใหม่ที่มีความจำเป็น เพื่อความสำเร็จในการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคมโลกยุคใหม่ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของโลก ด้วยพลังของเทคโนโลยีและกระแสโลกาภิวัตน์
การเรียนรู้ตลอดชีวิต "Lifelong Learning" จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่จะช่วยให้ทั้งแรงงานและธุรกิจรักษาขีดความสามารถไว้ได้ในโลกยุคใหม่ "Lifelong Learning" ยังเป็นรากฐานของสังคม ธุรกิจ และเศรษฐกิจที่กำลังเปลี่ยนโฉมให้เข้มแข็ง
นอกจากผู้เรียนในโรงเรียนและสถาบันการศึกษาจะต้องเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ในอนาคตแล้ว คนในวัยทำงานที่มีงานทำอยู่แล้วก็ต้องเรียนรู้ทักษะทางดิจิทัลเพิ่มเติม เพื่อให้ทันกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ก้าวหน้าขึ้นทุกวัน รวมถึง "ครู" ผู้สอนในโรงเรียนก็เช่นเดียวกัน จะมัวแต่ใช้หนังสือคู่มือเล่มเก่าที่ใช้มาตลอดสิบหรือยี่สิบปีไม่ได้อีกแล้ว เพราะนอกตำราที่เราถืออยู่มันเปลี่ยนทุกวัน มีการค้นพบ เปลี่ยนแปลงและพัฒนาทุกวัน เหลือเพียงแก่นขององค์ความรู้ที่ยังคงอยู่ แต่ผลกระทบนั้นเปลี่ยนทุกวันครับ "ครู" ควรจะเป็นเพียงที่ปรึกษาและพร้อมที่จะเรียนรู้ไปกับผู้เรียนด้วย เอาประสบการณ์ที่มีมาบวกกับความรู้ใหม่ๆ ที่ค้นพบระหว่างการร่วม้รียนรู้กับผู้เรียนมาเป็นแนวทาง เพื่อให้คำปรึกษาต่อกับผู้เรียนรุ่นถัดๆ ไปไม่สิ้นสุด
รัฐบาลที่ขับเคลื่อน "Lifelong Learning" มากที่สุดในภูมิภาคเอเชีย คือ สิงคโปร์ ที่ได้กำหนดเรื่องนี้เป็น "วาระแห่งชาติ" เพื่อเตรียมความพร้อมประชาชนให้สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโลก Dynamic Future ด้วยการเสริมทักษะดิจิทัลให้กับประชาชนผ่านโครงการ SkillsFuture โดยมีเป้าหมายหลักคือ การพัฒนายกระดับความรู้และเสริมทักษะพื้นฐานด้านดิจิทัลให้กับชาวสิงคโปร์มากกว่า 100,000 คน ในระยะเวลา 3 ปี
SkillsFuture Singapore (SSG) คือ คณะกรรมการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่วางนโยบายและจัดงบประมาณพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้กับแรงงานและประชาชนทุกคนในทุกวัย รวมทั้งเด็กนักเรียน ผู้ที่ทำงานในระดับเริ่มต้นถึงระดับกลาง และคนทำงานในระดับสูง โดยโปรแกรมพัฒนาที่รู้จักกันดีคือ SkillsFuture Credit ที่ให้เงินงบประมาณอุดหนุนค่าเล่าเรียนจำนวน 500 เหรียญสิงคโปร์ให้กับพลเมืองทุกคนที่มีวัย 25 ปีขึ้นไป ที่ผ่านการอนุมัติให้เข้าคอร์ส และยังอุดหนุนการเรียนของคนทำงานในระดับกลางของอาชีพด้วย (500$SG นี่ไม่ใช่เงินสดนะ เป็นมูลค่าในการเข้าเรียนเท่านั้น รู้ว่าคนไทยชอบของแจกและเป็นเงินสด ซึ่งไม่ได้เอาไปเรียนแต่เอาไปลงขวดหรือหวยซะมากกว่า)
ในปี 2016 ได้จัดให้มีการเรียนถึง 18,000 คอร์ส มีผู้เข้าเรียนกว่า 126,000 คน โดย SkillsFuture มีการอบรม 8 ด้าน ประกอบด้วย Data Analytics, Finance, Tech-enabled Services, Digital Media, Cyber Security, Entrepreneurship, Urban Solutions และ Advanced Manufacturing โดยมี Institutes of Higher Learning (IHL) เป็นองค์กรที่รับผิดชอบพัฒนาหลักสูตรได้ถึง 800 หลักสูตร
นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการสิงคโปร์ยังได้ขยายโอกาสด้าน reskill และยกระดับทักษะ upskill ไปยังอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจัดหลักสูตรย่อยมากขึ้น หลักสูตรเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนทางการเงินล่วงหน้าแล้ว 70% และมีหลายหลักสูตรที่ได้ปรับให้เป็น Professional Conversion Programmes (PCPs) ซึ่งมีเป้าหมายผู้ที่ต้องการเปลี่ยนอาชีพในช่วงกลางของอาชีพ เพื่อเพิ่มทักษะด้านการสนทนา และขยับขึ้นไปสู่อาชีพใหม่หรือไปอยู่ในภาคธุรกิจใหม่ ที่มีโอกาสมีแนวโน้มที่จะก้าวหน้า
Ong Ye Kung รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (การศึกษาระดับสูงขึ้นและทักษะ) เปิดเผยว่า การสำเร็จการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยด้วยเวลา 3-4 ปี ไม่ใช่เป็นจุดสิ้นสุดของการเรียนการศึกษา เพราะการเทรนนิ่งการเพิ่มทักษะมีความสำคัญมากขึ้นในระบบเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ในอนาคต มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาอื่น จะมีบทบาทมากขึ้นในการศึกษาผู้ใหญ่ เพื่อส่งเสริมศิษย์เก่า SkillsFuture ไม่ใช่เรื่องของการเก็บหน่วยกิต และไม่ใช่เพียงการจัดหลักสูตรของ IHL ให้กับประชากรวัยผู้ใหญ่ แต่เป็นการปฏิรูประบบการศึกษา ที่เปิดให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ค้นหาความสนใจและความชื่นชอบของตัวเขาเอง และมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต และเป็นระบบที่ให้นายจ้างเอกชนที่ให้การเทรน และ IHL ต่างทำหน้าที่ของของตัวเองในการส่งเสริมการเรียนรู้ รวมไปถึงสังคมที่จะตอบรับและตระหนักถึงผลสำเร็จ
นอกจากนี้ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยที่เป็นอิสระก็ได้ขยายขอบเขตของการมอบประกาศนียบัตร เพื่อแสดงถึงการให้ยอมรับตระหนักถึงความสำเร็จในการเรียนรู้ของบุคคล โดยที่ไม่จำเป็นต้องผ่านการเรียนแบบทางการเต็มรูปแบบ อีกทั้ง องค์กรจากภาครัฐและเอกชนก็ได้ส่งเสริม Lifelong Learning โดยมีสถาบันการศึกษา 2 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore: NUS) และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีหนานหยาง (Nanyang Technological University: NTU) ได้พัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้แก่ศิษย์เก่า และประชาชนทั่วไป โดยมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ พัฒนาหลักสูตร NUS Lifelong Learners NUS L3 ให้กับศิษย์เก่าทุกคนไม่ว่าจะเรียนจบไปกี่ปีแล้วก็ตาม ได้มีโอกาสกลับมารื้อฟื้นความรู้ รวมทั้ง upskill และ reskill เพื่อให้มีความสามารถแข่งขันในตลาดแรงงานอยู่ตลอด
ทางด้านมหาวิทยาลัยหนานหยางประกาศอุดหนุนค่าเล่าเรียน 1,600 เหรียญสิงคโปร์ต่อหัวให้กับศิษย์เก่า ผู้ที่กลับเข้ามาเรียนคอร์สเสริมทักษะ ที่มีให้เลือกมากถึง 120 คอร์ส ตั้งแต่การเงินธุรกิจไปจนถึงการกราฟิกดีไซน์, data analytics, cloud computing, nanomaterials และ immunology ในแต่ละปีคอร์สเสริมทักษะจะเปิดรับผู้เรียนราว 5,000 คน ซึ่งศิษย์เก่าสามารเข้ามาเรียนได้ 2 คอร์สต่อปี เลือกจากคอร์สระยะสั้นที่มี 63 คอร์ส ใช้เวลาเรียน 1 วันไปจนถึง 1 สัปดาห์ หรือคอร์สที่ใช้เวลาเรียนกันเป็นเทอม มีตั้งแต่ 13-15 สัปดาห์ต่อเทอมและให้เลือก 55 คอร์ส และยังมี 8 คอร์สระดับปริญญาโทสำหรับผู้ที่สนใจในหัวข้อระดับสูงขึ้นไป บางคอร์สเป็นการสอนแบบออนไลน์
หันกลับมามองประเทศไทยของเราบ้าง การจะทำให้แรงงานไทยมีทักษะและความรู้ ที่เป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานตลอดเวลา จึงจำเป็นอย่างมากที่ต้องหมั่นเรียนรู้ พัฒนา ทักษะใหม่ๆ ต่อเนื่องตลอดชีวิต แต่โจทย์สำคัญ คือ จะทำอย่างไรให้แรงงานได้พัฒนาทักษะ ใหม่ (reskill) ให้ทันต่อความท้าทายที่กำลังเกิดขึ้น อีกทั้งยังมีความแตกต่างระหว่าง แรงงาน 2 กลุ่มใหญ่คือ กลุ่มที่มีทักษะสูง-รายได้สูง และกลุ่มที่มีทักษะต่ำ-รายได้ต่ำ ปัจจัย ด้านการเงินและพื้นฐานการศึกษาที่แตกต่างกัน จะทำให้แรงงานทั้ง 2 กลุ่ม มีความต้องการและความพร้อมในการเรียนรู้ต่อเนื่องแตกต่างกัน
ดังนั้น "รัฐ" จึงควรมีบทบาทสำคัญในการผลักดัน ให้เกิดรูปแบบการเรียนรู้ต่อเนื่องที่ยืดหยุ่น เหมาะสมกับเงื่อนไขชีวิตแต่ละบุคคล และตรงกับความต้องการของผู้เรียนและตลาดแรงงาน เพราะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง "Lifelong Learning" จะก่อให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรม และปรับตัวเองได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในยุค Disruption เทคโนโลยีอนาคตที่เราจะต้องมีนั้นมีอะไรบ้าง ดูได้จากภาพนี้
มาเตรียมตัวกันให้พร้อมก่อนจะตกงานนะครับ
มีคำถามว่า "จะมีสักกี่คนที่เรียนรู้และสามารถเข้าไปในแวดวงธุรกิจ ลูกชาวบ้านอย่างเราไม่มีทุนขนาดนั้นหรอก" คิดใหม่นะครับ เราคงได้ข่าวคราวในระยะหลังๆ มานี้ มีบัณฑิตจบใหม่ และแรงงานในภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม ที่เรียนจบมาในสายวิทยาศาสตร์ (วิศวกร สถาปนิก บัญชี ฯลฯ) ลาออกจากงานในภาคธุรกิจอุตสาหกรรมเหล่านั้น ทิ้งเงินเดือนหลายหมื่นหลายแสน หวนกลับมาบ้านเกิดเพื่อพลิกฟื้นทุนของบรรพบุรุษ (ที่ไร่ ที่นา) ในบ้านเกิด ทำการเกษตรกรรมแนวใหม่ตามแนวทางพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของล้นเกล้า รัชกาลที่ ๙ ประยุกต์ความรู้ในศาสตร์หลายๆ ด้านมาทำการเกษตรประสบความสำเร็จมากมาย เพราะเรามีทุนเดิมของพ่อแม่ (ที่ไร่ ที่นา) ที่เคยปล่อยรกร้างเพราะทำการเกษตรแบบดั้งเดิมตามยถากรรม ตามการเวทนาของเทวดาฟ้าดินที่จะมีฝนลงมาให้บ้างหรือไม่ เรามีทุนครับ เพียงแต่ต้องการความกล้าและองค์ความรู้ในการบริหารจัดการเท่านั้นเอง
ตัวอย่างของคนที่ทิ้งงานเงินเดือนนับแสนมาทำการเกษตรประสบผลสำเร็จ
เพื่อนครูไม่ลองแนะนำให้ลูกหลาน ลูกศิษย์เราคิดใหม่ ทำใหม่ มาเป็นนายตนเอง นำเอาทุนที่บรรพบุรุษมีมาพัฒนาต่อยอดด้วยการเรียนในแนวทางวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ผสมผสนานศาสตร์หลายๆ สาขามาพลิกฟื้นผืนนาบ้านเกิดดูละครับ ส่งเสริมให้เขารู้จักการทำงานเลี้ยงชีพตั้งแต่วัยเรียน ไม่ฝันจะทำงานเป็นลูกน้องใครในห้องแอร์ นี่คือแนวทางที่จะประสบผลสำเร็จได้ดังหวัง...
ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)