(ตอนจบ)
โดย สุทัศน์ เอกา
ตอนจบของ ขั้นตอนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21.
Summary and Development of Knowledge
ขั้นตอนที่ 7. สรุปข้อมูล และ ขั้นตอนที่ 8. ต่อยอดองค์ความรู้ของขั้นตอนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21.
ขั้นตอนที่ 7. สรุปข้อมูล Summary
ในระหว่าง “คาบการเรียนการสอน หรือ Periods of Instruction” นั้น นอกจากภาระในการ “ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน Instruction activities” แล้ว คุณครูยังจะต้อง สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน Observe Learning behavior of the Learner ทำการแก้ไขและปรับปรุง หรือ Modify and Improve, และมีการบันทึกข้อมูล Recording Data กันเป็นปกติอยู่แล้ว ทั้งหมดทั้งปวงนั้น เราเรียกว่า Feedback และเรานำ Feedback เหล่านี้ไปใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอน...
บางท่านเรียกการกระทำอย่างนี้ ว่า การวิจัยในชั้นเรียน หรือ Classroom Action Research เพื่อจุดประสงค์ดังต่อไปนี้คือ
- To study the research on effective teaching and learning activities เพื่อศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
- To improve the quality of teaching. เพื่อพัฒนา ปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอน
- To develop curriculum and Innovation เพื่อการพัฒนา ปรับปรุงหลักสูตร และนวัตกรรม
- To develop techniques for measurement and evaluation. เพื่อพัฒนา ปรับปรุงเทคนิคการวัดและประเมินผล
- To develop effective teaching เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการสอนของครู
- To develop teaching techniques เพื่อพัฒนาเทคนิคการเรียนการสอน
หลักของการเรียนการสอนของศตวรรษที่ 21 นั้น “มีหลายสิ่งหลายอย่างที่คุณครูควรถือไว้ในใจ Hold in mind เสมอ” คือ
- ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง, เรียนรู้ด้วยประสบการณ์, เรียนรู้ด้วยการลงมือทำเอง, และ สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง.ฯ.. Learner Centered, Experience Learning, Learning by Doing, and Self Knowledge Construction..ฯ.
- การเรียนการสอน การวัดผล และการประเมินผล เป็นเรื่องเดียวกัน Teaching, Assessment and Evaluation. “Is about The Same”
- Learning by Doing นั้น “ต้องทำให้ครบถ้วนทุกขั้นตอนของกระบวนการ Keep completely all stages of the process” จึงจะได้ผลดี
- การสอบ การวัดผล และการประเมินผล จัดทำขึ้นเพื่อนำผลที่ได้ไป “ปรับปรุงแก้ไขและพัฒนา Improvement and Development” การเรียนรู้
- การแก้ไข การปรับปรุง และการพัฒนา การเรียนรู้ “แก้ไขที่กระบวนการ Revision the Process” และ “วิธีการ methods or How to”
ขั้นตอนที่ 8.การต่อยอดองค์ความรู้ Development of Knowledge
ในขั้นตอนนี้ ควรนำ “ข้อมูลซึ่งได้บันทึกไว้ทุกขั้นตอนของกระบวนการ หรือ Data were recorded every step of the process.” มาทำการ “วิเคราะห์ Analyze” ตลอดกระบวนการ ถึง “ข้อดี และข้อด้อย Advantages and Disadvantages” ดังนี้
- ข้อด้อย Disadvantages “ต้องปรับปรุงแก้ไข หรือ Improve” ที่กระบวนการ Process พบข้อบกพร่องในขั้นตอนใด ก็แก้ไขที่ขั้นตอนนั้น ยกตัวอย่างเช่น “เท่าที่เป็นมา ได้มีการมอบหมายงานให้นักเรียนไปค้นคว้า ทำรายงาน นักเรียนก็มักไปลอกกัน หรือไม่ก็ไม่ส่งงานเลย” ตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นว่า “การเรียนการสอนไม่ครบกระบวนการ.." ขาดขั้นตอนการนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นตอนการร่วมมือกันตั้งปัญหา ขาดขั้นตอนการ Exploring รายบุคคลซึ่งทุกคนต้องนำเสนอ “ข้อมูลเป็นรายข้อ” ขาดการ Brainstorming ด้วยการเรียนแบบ Group Learning ขาดการเรียนแบบ Cooperative and Collaborative จนได้เป็น “นวัตกรรม หรือ Innovation" และส่วนใหญ่จะทำเพียงมอบหมายงาน ไปทำง่าน นำเสนอ หรือ ส่งรายงานเท่านั้น มันจึงไม่ใช่ การเรียนแบบ Learning by Doing แต่อย่างใด (คุณครูทุกท่านสามารถย้อนกลับไปดู Learning by Doing ที่ถูกวิธี ในบทความตอนที่แล้วครับ)
- ข้อดี Advantages ต้องนำไปพัฒนาต่อยอด หรือ Development of Knowledge ที่กระบวนการ หรือ Process “ของรอบใหม่ Of a New Round” ของขั้นตอนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เรียงลำดับไปตาม 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, นี้เรียกว่า “วงล้อ หรือ PDCA Cycle" ตามแนวทางของ ท่าน Pro. Dr. William Edwards Deming คือแนวทาง “การปฏิบัติ” ในการ “รักษาและพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ Maintain and learning Development” ด้วยวิธีการ ที่ประยุกต์ใช้ตามหลักการของ “Deming's Fourteen Points ..หรือ หลักการสำคัญในเรื่องการจัดการคุณภาพ 14 ข้อ ของเดมมิ่ง” ซึ่ง “เน้นย้ำ เป็นสำคัญ เรื่อง กระบวนการ Emphasized the importance of “The Process” ดังที่ได้นำเสนอไปแล้ว และขอย้ำเป็นความสำคัญยิ่ง..
- ถ้าเห็นว่า “ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน Learning Achievement” เป็นสิ่งที่ต้องแก้ไข “ต้องแก้ไขที่กระบวนการ Modify the Process” ตัวบุคคลนั้น เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ ต้องให้เขาได้เรียนรู้ “วิธีทำงาน How to Works” จึงจะสามารถแก้ไขข้อบกพร่องได้อย่างถูกวิธี
- ถ้าเห็นว่า “ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน Learning Achievement” เป็นความสำเร็จที่ดีงาม ก็ “ต้องพัฒนาที่กระบวนการ The Process Development ตัวบุคคลนั้น เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ ต้องให้เขาได้เรียนรู้ “วิธีทำงาน How to Works” เพื่อการพัฒนา จึงจะสามารถพัฒนาได้อย่าถาวร...
- การให้เกียรติคุณครูในฐานะคนสำคัญขององค์กร "To honor Teachers as a Prominent Person in Organization” เป็นใจความสำคัญ ของ “Deming's Fourteen Points” ไม่น้อยไปกว่า “กระบวนการ Process” ที่กล่าวถึง.. เช่นกัน..
จบแล้วครับ “ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 หรือ The process of learning in the 21st century” แต่ปราชญ์โบราณท่านสอนไว้ว่า “อิฐก้อนเดียว ไม่ทำให้เป็นตึก” ถ้ากระนั้นบทความชุดนี้ จึงเปรียบเสมือน “หนังสือเพียงบรรทัดเดียว” จึงน้อยนิดเกินไปในโลกแห่งการเรียนรู้..ครับ
ขอตั้งความหวังไว้ว่า “คุณครู-อาจารย์ทุกท่าน จะก้าวเข้าสู่การพัฒนา และสามารถยกระดับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างเต็มภาคภูมิ” ทุกท่าน และ ทุกสถาบัน. .นะขอรับกระผม..
สุทัศน์ เอกา... บอกความ
ขั้นตอนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ตอนที่ 1 | ตอนที่ 2 | ตอนที่ 3 | ตอนที่ 4