โดย สุทัศน์ เอกา
Deming's Fourteen Points หลักการสำคัญในเรื่องการจัดการคุณภาพ 14 ข้อ ของเดมมิ่ง
กราบเรียน คุณครู-อาจารย์ ที่เคารพ หลังจากที่ผมได้ลงบทความเรื่อง การควบคุม “คุณภาพและยกระดับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้วยวงจร PDCA” ของ Pro. Dr. William Edwards Deming นักสถิติชาวอเมริกัน ที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาคุณภาพให้กับระบบอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น และกลับมากระตุ้นให้วงการธุรกิจและอุตสาหกรรมของอเมริกาให้ตื่นตัว พัฒนาคุณภาพ และเปิดรับหลักการของการจัดการคุณภาพโดยรวม หรือ Total Quality Management.. ไปแล้วนั้น ท่านอาจารย์ Sirat Suthidara ผู้ซึ่งได้มีความกรุณา “แบ่งปัน” เนื้อหาสาระของ “โลกการศึกษา” ให้ผมได้เรียนรู้เสมอมา ท่านได้ให้ข้อเสนอแนะที่สำคัญอย่างยิ่ง คือก่อนที่จะนำ PDCA ไปใช้ ควรเข้าใจหลักการ 14 ข้อในเรื่องคุณภาพของ Deming หรือ Deming's Fourteen Points ก่อนจะเป็นกรอบความคิดในการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
ผมจึงขอโอกาส “นำเสนอ” เป็น พื้นฐาน เรื่องที่ 4 ก่อน แล้วจึงจะเสนอ “ขั้นตอนในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21" ต่อไป
ท่านได้อธิบายอีกว่า PDCA น่าจะเป็น "วงล้อ (cycle)" มากกว่าที่จะเป็นวงจร เพราะวงจรนั้นเมื่อครบวงจรก็เป็นอันเสร็จสิ้น แต่วงล้อนั้นจะหมุนและเคลื่อนที่ไปไม่มีที่สิ้นสุด การเคลื่อนที่หรือการหมุนของวงล้อจะค่อย ๆ สูงขึ้นด้วย นั่นคือ เมือทำ PDCA พอถึง A แล้วยังไม่จบ คือถ้าได้ผลก็พัฒนาขึ้นอีกถ้าไม่ได้ผลก็ปรับปรุงแล้วไปเริ่มที่ P ใหม่อีก เป็นอย่างนี้ไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด จึงจะตรงกับ "การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง" ซึ่งเป็นหลักสำคัญของ PDCA ตามที่ปรมาจารย์ Deming ท่านประสงค์ครับ
PDCA มีช่องทางให้ประยุกต์พลิกแพลงได้มาก เช่น "ใน PDCA" ก็ยังมี "pdca"ซ้อนอยู่อีก เช่น ในระบบการจัดการเรียนการสอนชองครูในชั้นเรียน ย่อมจะเริ่มต้นด้วย P คือแผนการสอน ซึ่งในการทำ P ตัวนี้ ก็ทำขึ้นโดยหลัก pdca เป็นต้นครับ พอถึงเวลาสอนจริงคือ D ก็มี pdca ในการสอนหน่วยการเรียนหรือในคาบนั้นๆ ครับ
เพื่อการพัฒนาขึ้นไปอย่างไม่หยุดยั้งนี้ จึงขอเสนอ หลักการ ที่เรียกว่า “Deming's Fourteen Points for Management หรือ หลักการ 14 ข้อของ เดมมิ่ง” ดังนี้..
- Create constancy of purpose for improvement of product and services สร้างวัตถุประสงค์แน่วแน่ในการปรับปรุงคุณภาพสินค้าและบริการ ซึ่ง คำว่า “สินค้า และบริการ product and services” นี้ ถ้าเปรียบเทียบกับการเรียนรู้ ก็คือ “คุณภาพทางการศึกษาของผู้เรียน Education Quality of Learners" นั่นเอง
- Adopt the new philosophy นำเอาปรัชญาใหม่ๆ มาใช้ ในการบริหารงาน
- Cease dependence on mass inspection จงยุติการควบคุมคุณภาพโดยอาศัยแต่การตรวจสอบ “ผลผลิตโดยรวม mass> mass production” เท่านั้น จะต้องควบคุมดูแลทั้งกระบวนการ Process ผมเปรียบเทียบกับ “คุณภาพการเรียนรู้ Learning Quality” จะต้องมุ่งที่การควบคุม "กระบวนการเรียนการสอน Learning and Teaching Process" ตั้งแต่ต้นจนจบ ไม่ใช่อาศัยการตรวจสอบที่ตัว “ผู้เรียนที่เรียนจบแล้ว” เท่านั้น เพราะมันไม่ได้ช่วยให้ “คุณภาพทางปัญญา Intellectual Quality” ของเขาพัฒนาขึ้นมาได้.. หลักการ Learning by Doing จึงมีการแก้ไขปรับปรุงตลอดเวลาทุกขั้นตอนระหว่างเรียน เพราะถือว่าการเรียนกับการสอบ เป็นกระบวนการเดียวกัน.. Learning and Exams… “The same process”
- End the practice of awarding business on price tag alone จงยุติวิธีการดำเนินธุรกิจโดยการตัดสินกันด้วย “ราคาขาย” เพียงอย่างเดียว แต่จงดำเนินธุรกิจ “ด้วยการรักษามาตรฐานของกระบวนการ The Standard Treatment of “The Process” เช่นเดียวกับ การจัดการศึกษา “เราต้องรักษามาตรฐานการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นหลัก” นั่นคือ Learning by Doing ครบกระบวนการ ตังแต่ Exploring ไปจนถึงการสร้าง Innovation และ Presentation…
- Constantly and forever improve the systems of production and services เป็นหน้าที่หลักของการจัดการที่จะปรับปรุง กระบวนการทำงาน และการบริการอย่างต่อเนื่อง “ตามหลักการ PDCA Demimg Cycle กงล้อแห่งการพัฒนาคุณภาพยิ่งๆ ขึ้นไป” ซึ่งมีกล่าวย่อๆ ดังนี้
P : Plan คือการวางแผนและการกำหนดวัตถุประสงค์ของการทำงาน
D : Do คือการทำตามแผนนั้นๆ
C : Check คือการตรวจสอบผลการปฏิบัติตามแผน
A : Act คือการดำเนินการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้ผลการปฏิบัติงานเป็นไปตามแผนที่วางไว้ และพัฒนายิ่งๆ ขึ้นไป ตลอดเวลา Constantly and forever
- Institute modern methods of training on the job ทำการฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอในเรื่องของการทำงาน
- Institute modern methods of supervision and leadership จัดให้มีการอบรมพัฒนา “การกำกับดูแลและความเป็นผู้นำ” สร้างภาวะผู้นำด้วยโลกทัศน์ และการเรียนรู้ใหม่ๆ อย่าง “ทันโลก Real world”
- Drive out fear กำจัดความกลัวให้หมดไป สอนให้กล้าถาม กล้าเสนอความเห็น กล้าคิดและกล้าทำ กล้าที่จะสอบถามในสิ่งที่ตัวเองไม่รู้ หรือไม่เข้าใจ ผู้บริหารจะต้องเปิดโอกาส และกระตุ้นให้พนักงานกล้าแสดงออก และเห็นโอกาสที่จะเสนอแนะวิธีการปรับปรุงคุณภาพให้ดีขึ้น
- Break down barriers between departments กำจัดอุปสรรคการทำงานระหว่างส่วนงานต่างๆ ในองค์กร โดยถื่อว่า “ทุกๆ คน ต่างก็เป็นส่วนสำคัญขององค์กร” นั่นคือ Every person is an important part of the organization.
- Eliminate numerical goals for the work force ยกเลิก “เป้าหมายเชิงตัวเลข” สําหรับการทำงาน.. แต่จงใช้ “เป้าหมาเชิงปฏิบัติที่ทำได้แทน Targeted to be practical” แทน วัตถุประสงค์และเป้าหมายอาจจะไม่มีความหมายเลย หากปราศจากแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน
- Eliminate work standards and numerical quotas กำจัดมาตรฐานการทำงานและตัวเลขที่เป็นส่วนแบ่ง โดยใช้กระบวนการทำงาน และความสำเร็จขององค์กรแทน Workflow And Organizational Success แทน
- Remove barriers to pride of workmanship เอาสิ่งกีดขวางความภาคภูมิใจของบุคลากรออกไป ทุกคนคือผู้ร่วมงานที่มีส่วนในการพัฒนาองค์กร
- Institute a vigorous programme of education and training for everyone จงจัดโครงการ การศึกษาที่น่าสนใจ และทำการฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอ ทั้งผู้บริหารและบุคลากร
- Create a structure in top management that will push everyday on the above 13 points. จงลงมือปฏิบัติเพื่อบรรลุผลสำเร็จของการเปลี่ยนแปลง หรือ Achievement of change ตามที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด ซึ่งผู้บริหารจะต้องนำตนเองเข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนแปลง เพื่อการปรับปรุงคุณภาพโดยร่วมลงมือปฏิบัติ Active Participation ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของทีมงาน และเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้บริหารต้องยึดมั่นผูกพันใน “คุณภาพ Quality” อย่างจริงจัง และต้องเป็นการผูกพันในระยะยาว และยั่งยืน Sustainable...
ผู้บริหารจะต้องมีความมุ่งมั่นในเรื่องของการสร้างคุณภาพ ต้องมีการวางแผน ทั้งระยะสั้น และระยะยาวอย่างชัดเจน ต้องผูกพันในเป้าหมายอย่างต่อเนื่องและจริงจัง โดยมีความอดทนเพียงพอที่จะรอผลลัพธ์ให้เกิดขึ้นด้วย การตั้งปณิธานอย่างมุ่งมั่นแน่วแน่นี้ควรจะมุ่งเน้นไปใน 4 เป้าหมายหลัก คือ
- นวัตกรรม หรือ Innovation เพื่อให้ได้ “แนวคิดใหม่” และ “กระบวนการใหม่”ในการสร้างคุณภาพที่ยั่งยืน
- การวิจัยและพัฒนา Research and Development เพื่อเพื่อเป็นแนวทางในการประกันคุณภาพ
- การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง Continuous Improvement
- การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน Preventive Maintenance ทั้งเครื่องมือ คน กระบวนการ และผลผลิต
นอกจาก “หลักการ” ที่เป็นแนวทางในการประกันคุณภาพที่ยั่งยืนแล้ว.. ปัจจัย “ที่สำคัญที่สุด” ในการพัฒนา และรักษาคุณภาพ คือ “คน” ซึ่งต้องมีลักษณะสำคัญของ “กลุ่มคนคุณภาพ” ดังนี้
- มีความสมัครใจ หรือ Voluntarism
- มีการพัฒนาตนเอง หรือ Self-Development
- มีการพัฒนาร่วมกัน หรือ Mutual Development
- มีการมีส่วนร่วมโดยสมาชิกทุกคน Participation by The Members
- มีความต่อเนื่อง หรือ Continuity