foto1
ความงดงามการศึกษาไทย
foto1
เพื่อ?
foto1
ไม่เข้าใจ?
foto1
วิทยากรที่กระทรวงศึกษาธิการ สปป.ลาว
foto1
ท่องทะเลทรายที่ดูไบ UAE


Friendly Links

เรียนรู้ภาษา html
isangate banner
easyhome banner
ipst banner
sakdibhornssup foundation
13 Thai free fonts
speedtest
e mil

Facebook Likebox

No. of Page View

webmaster talk

เมื่อผมต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในโครงการ Mega Project

แต่อยู่ระยะห่างๆ ของการดำเนินงานครับ ได้รับเชิญเข้าไปมีส่วนร่วมเป็น "วิทยากรในโครงการเฉพาะหลักสูตรที่ 3" เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับโรงเรียนที่ได้รับการจัดสรรคอมพิวเตอร์ เป็นการเข้าไปฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ชื่อหลักสูตรคือ การประยุกต์ใช้ ICT เพื่อการเรียนการสอน (Peer Coaching) ซึ่งหลักสูตรนี้จัดดำเนินงานโดยบริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด จะมีการจัดฝึกอบรมทั่วประเทศ 44 จุด ซึ่งมีอยู่ 4 จุด ที่ผมต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในฐานะวิทยากร ก็คือที่ สพท. นครราชสีมา เขต 1, สพท. อุบลราชธานี เขต 1, สพท. อุบลราชธานี เขต 2 และ สพท. สุรินทร์ เขต 1 หลักสูตรทีว่านี้ มีวัตถุประสงค์อะไร? น่าสนใจหรือไม่?

peer coach korat 01วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมหลักสูตร Peer Coaching

หลักสูตรนี้มุ่งให้ครูได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน และมุ่งหวังที่จะช่วยสร้างครูผู้นำหรือครูผู้ฝึก (Peer Coach) ที่จะสามารถช่วยเหลือเพื่อนครู ในการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศ มาประยุกต์ในการสร้างสื่อ และแผนการสอน ที่จะช่วยเสริมสร้างให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนรู้มากขึ้น

หลักสูตรการประยุกต์ใช้ ICT เพื่อการเรียนการสอน (Peer Coaching) จะพัฒนาครูด้านการใช้ ICT จัดการเรียนรู้อย่างไร?

  • เน้นการใช้ ICT ในการจัดการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระวิชา โดยจัดกิจกรรมการอบรมให้ครูได้ปฏิบัติจริง มิใช่เพียงแค่เรียนรู้ทฤษฏี หรือ เขียนไว้เพียงแค่ในแผนการจัดการเรียนรู้ แต่ใช้จริงไม่เป็นหรือไม่ได้ การอบรมไม่ได้เน้นให้ทุกชั่วโมงต้องใช้คอมพิวเตอร์ ใช้อินเทอร์เน็ตในการเรียนรู้ ไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์หนึ่งคนหนึ่งเครื่อง แต่เป็นการเรียนรู้ร่วมกัน โดยใช้คอมพิวเตอร์ 5 คนต่อเครื่อง หรือมากกว่า ตามสภาพความเป็นจริงของโรงเรียนที่จะมีทรัพยากร
  • ตลอด 3 วัน ครูผู้เข้ารับการอบรมจะได้เห็นบทบาทของครูทุกสาระ ในการนำ ICT ไปใช้ในกระบวนการจัดการเรียนรู้อย่างมีเหตุมีผล เหมาะสมกับแต่ละสาระได้อย่างไร? และได้ทดลองทำด้วยตนเองอย่างจริงจัง
  • การอบรม เพื่อการพัฒนาการใช้ ICT จัดการเรียนรู้ได้จริง และสามารถนำไปขยายผลต่อเพื่อนได้ตามกำลังที่จะขยายผล ซึ่งจะขยายทั้งโรงเรียน หรือทีละคนสองคนก็ได้ (กลยุทธน้ำซึมบ่อทราย ไม่ต้องโหมโรงเผาฟางแล้วไร้ขี้เถ้าและควัน)
  • การอบรมเป็นการให้ผู้ที่ได้รับความรู้กลับไปขยายผลแบบเพื่อนสู่เพื่อน อย่างกัลยาณมิตร ซึ่งส่งผลดีต่อทั้งผู้ที่ขยายผล และรับการขยายผลไปพร้อมๆ กัน

peer coachingหลายๆ คนเคยชินกับการอบรมหรือสัมมนาคอมพิวเตอร์ที่จัดกันอยู่โดยทั่วไป เมื่อมาพบกับกระบวนการ หรือรูปแบบที่แตกต่างก็มักจะแสดงหน้าตาผิดหวัง แต่เมื่อได้ฟังคำชี้แจง และฝึกปฏิบัติกันไปอย่างเป็นลำดับขั้น จึงค้นพบได้ว่า สิ่งเหล่านี้เราเคยทำกันอยู่เป็นปกติ เพียงแต่ไม่มีรูปแบบและหลักการที่แน่นอน ในการอบรมสัมมนาที่วิทยากรเล่าถึงประสบการณ์ และอ้างอิงทฤษฎีนั้น ผู้เข้ารับการอบรมอาจจะเข้าใจได้สัก 85% แต่มีทักษะเพิ่มขึ้นอย่างมากก็เพียง 15% ถ้าพูดถึงการนำไปใช้จริงในการจัดการเรียนการสอนยิ่งน้อยลงไปอีกเพียง 5-10%

ถ้าเป็นการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ (อย่างการอบรมคอมพิวเตอร์) ความรู้ที่ได้อาจจะมากถึง 85% ทักษะในการปฏิบัติได้มากถึง 80% แต่การนำเอาไปใช้ในห้องเรียนอาจมีเพียง 10-15% เท่านั้น แต่ถ้าเป็นการใช้วิธีการเพื่อนแนะเพื่อน การทำงานเป็นทีมในรูปแบบของ Coach ความรู้และทักษะที่ได้จะมีมากถึง 90% และการนำความรู้ลงไปสู่ผู้เรียนจะมีมากขึ้นถึง 80-90% เลยทีเดียว

peer coach korat 02กระบวนการ Peer Coaching ไม่ใช่เรื่องใหม่ในเมืองไทย เรามักจะได้ยินคำว่า กัลยาณมิตรนิเทศ ซึ่งน่าจะมีความหมายและการดำเนินการที่คล้ายคลึงกัน เพียงแต่ Peer Coaching จะเน้นที่การนำเอา ICT เข้าไปสู่การจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

เน้นที่การปรึกษาหารือ สรุปประเด็นปัญหา การแสวงหาวิธีการแก้ปัญหาและแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน ไม่เน้นที่ปริมาณของผู้เข้าร่วมโครงการ แต่จะเน้นที่ผลสัมฤทธิ์ที่ได้จากการนำเอา ICT ไปใช้จัดการเรียนการสอน หลายๆ ท่านเป็นห่วงว่า จะเป็นการนำเอาภาระงานพิเศษไปให้เพื่อนครูหรือไม่? คงไม่เป็นเช่นนั้น เพราะนี่คือการนำสิ่งดีๆ ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ระหว่างเพื่อนต่อเพื่อนภายในโรงเรียน หรือองค์กรเดียวกัน

peer coach korat 03จากประสบการณ์ที่ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนครู ในการจัดการฝึกอบรมที่ จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 4-6 กันยายน ที่ผ่านมาทำให้เพื่อนหลายๆ คนได้คิดว่า การทำให้เพื่อนของเราได้ความรู้ในการเปิดปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ พิมพ์เอกสาร ท่องโลกอินเทอร์เน็ตดูข่าวสารไปวันๆ ได้นั้น ถ้าเพื่อนของเราคนนั้นสามารถนำเอา ICT ไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน มากกว่าสิ่งที่เขาเคยทำอยู่ในทุกวันนี้ จะเกิดผลสู่ลูกหลานของเราในการขยายองค์ความรู้ไปได้มากมายเพียงใด และการที่เข้าร่วมกิจกรรมที่แตกต่างจากการประชุมสัมมนาอื่นๆ นี้ก็น่าสนใจมากกว่าที่เคยแล้ว

รูปแบบของการดำเนินงานหลักสูตรนี้อาจจะได้รับการพัฒนา ปรับปรุงให้มีความเหมาะสมกับบริบทของประเทศเรา และหวังว่า ทางกระทรวงศึกษาธิการจะนำไปใช้ในการฝึกอบรมขยายผลต่อไปในวงกว้าง เพื่อการพัฒนา การศึกษาโดยอาศัยพื้นฐานของความเจริญก้าวหน้าในด้าน ICT ให้เป็นประโยชน์ต่อไปในอนาคต คงจะได้พบกันในการอบรมครั้งต่อๆ ไปนะครับ

ครูมนตรี โคตรคันทา
บันทึกไว้เมื่อ : 8 กันยายน 2549

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

Our Policy