foto1
ความงดงามการศึกษาไทย
foto1
เพื่อ?
foto1
ไม่เข้าใจ?
foto1
วิทยากรที่กระทรวงศึกษาธิการ สปป.ลาว
foto1
ท่องทะเลทรายที่ดูไบ UAE


Friendly Links

เรียนรู้ภาษา html
isangate banner
easyhome banner
ipst banner
sakdibhornssup foundation
13 Thai free fonts
speedtest
e mil

Facebook Likebox

No. of Page View

webmaster talk

Capacity Building for Thai Education Reform :

School-based Training Center for ICT in Education

ขึ้นหัวเรื่องเป็นภาษาอังกฤษอย่าพึ่งแปลกใจนะครับ เป็นเรื่องราวที่ผมได้ไปสัมผัสมาตลอดระยะเวลา 4 วัน (23-26 กรกฎาคม 2546) ณ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลออสเตรเลีย (AusAID)

สภาการศึกษาแห่งชาติ (สกศ.) และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ร่วมมือในการพัฒนามาตรฐานการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอน และพัฒนาหลักสูตรและสื่อในการอบรม ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจาก Curriculum Corporation ประเทศออสเตรเลีย และนำหลักสูตรดังกล่าวไปทดลองใช้กับโรงเรียนนำร่องเครือข่าย ICT Navigator School ในลักษณะ School-Based Approach จำนวน 4-6 โรง และขยายผลในโรงเรียนเครือข่าย ICT ต่อไป

ลักษณะการจัดการประชุม จะเป็นการนำเสนอโดยผู้เชี่ยวชาญจากประเทศออสเตรเลียในการเสนอ "สื่อและรูปแบบวิธีการจัดการในการพัฒนาครู" ที่ได้ผลเป็นอย่างดีแล้วในออสเตรเลีย เพื่อนำมาปรับปรุงให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย

ในผู้เข้าร่วมเสวนาครั้งนี้ ส่วนใหญ่ก็เป็นนักวิชาการและคณะทำงานในสภาการศึกษา และ ทาง สสวท. เป็นหลัก มีครูผู้สอนในโรงเรียนที่ได้รับเชิญเข้าร่วมเสนอความคิดเห็นในการพัฒนาหลักสูตร มาใช้กับประเทศไทยอยู่ 2 คน จากภาคอีสานคือ ครูมนตรี (โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช อุบลฯ) จากภาคใต้คือ ครูผาทิพ (สุราษฎร์ธานี) ในเรื่องการดำเนินการต่างๆ ไม่มีปัญหาอะไร พอถึงเรื่องที่ต้องลงลึกในรายละเอียดของการดำเนินการ ดูเหมือนผมจะถูกยกให้เป็นผู้อภิปรายนำเสนออยู่ตลอด ในส่วนหนึ่งก็มีความภูมิใจที่ได้มีโอกาสนี้ แต่ในหัวใจลึกๆ ก็เป็นความเจ็บปวดในการพูดความจริง (ไม่อยากบอกว่า "ประจาน") ของสิ่งที่เกิดและดำรงอยู่ของการศึกษาไทยในวันนี้

วิทยากรนำภาพการจัดการเรียนการสอนในออสเตรเลีย ลักษณะของการจัดห้องเรียน สื่อและอุปกรณ์การเรียน บทบาทของครูและนักเรียน หลังการนำเสนอวิทยากรได้ให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้พูดถึงภาพประทับใจโดยเลือกมา 1 ภาพ พร้อมเหตุผลว่า "ทำไมถึงชอบ" บังเอิญระหว่างการนำเสนอภาพของวิทยากร ผมส่งเสียงประทับใจกับภาพของนักเรียนคนหนึ่ง นอนอยู่กลางห้องใช้โน้ตบุ๊คค้นหาข้อมูลความรู้ในบทเรียน (ดูเหมือนจะเป็นไวร์เลสด้วย) วิทยากรเลยให้ผมพูดถึงความประทับใจที่เห็น ก็ต้องบอกกันตรงๆ ว่า "ผมอิจฉาเด็กในออสเตรเลียมากที่เทคโนโลยีเข้าไปถึงห้องเรียนได้อย่างนั้น" ผมบอกคุณปีเตอร์ไปว่า "คงอีกนานอาจจะหลายสิบปีถึงจะมีภาพนี้ในประเทศไทย" (บอกภูมิหลังกันนิดหนึ่ง ออสเตรเลียจำนวนนักเรียนต่อห้อง 20-25 คนเท่านั้น ขณะที่ของเรา 50 ขึ้นไปทั้งนั้น)

ผมอธิบายต่อไปอีกว่า "จำนวนสัดส่วนของนักเรียนไทยต่อจำนวนคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเรียนการสอน นี่ประมาณ 100 ต่อ 1 (คงไม่เป็นการกล่าวเกินไปนะครับ) และมีเฉพาะในห้องเรียนคอมพิวเตอร์เท่านั้น ในขณะที่ออสเตรเลียการมีคอมพิวเตอร์ในห้องเรียน 5-10 เครื่องต่อห้อง มีสื่ออื่นๆ เช่น โทรทัศน์ วีดิทัศน์ VCD, DVD กล้องจุลทรรศน์ ครบทุกห้อง ห้องเรียนไม่ได้จัดเป็นโต๊ะแถวหน้ากระดานอย่างของเรา แต่จัดให้คล้ายกับการอยู่บ้านที่เรียกกันว่า เรียนปนเล่น นักเรียนสามารถค้นคว้าหาข้อมูลต่างๆ ตามแนวการจัดกิจกรรมที่ครูและนักเรียนได้ช่วยกันกำหนดขึ้น"

คณะวิทยากรถามผมว่า "หากจะมีการเผยแพร่การจัดกิจกรรมในการเรียนการสอนตามรูปแบบที่ออสเตรเลียทำ ด้วยกระบวนการ ICT ครูในประเทศไทยจะมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลในสัดส่วนเท่าใด" ผมตอบไปว่า "ถ้าตามข้อมูลที่มีจากเนคเทค (เครือข่ายสกูลเน็ต) หรือจากกระทรวงศึกษาธิการ จะมีข้อมูลว่าโรงเรียนที่เข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมากกว่า 3,000 โรงเรียน แต่ในความเป็นจริงแล้วมีน้อยกว่านั้น จำนวนรายชื่อที่มีบางโรงเกิดจากมีครูคนหนึ่งในโรงเรียนมีความสนใจ และเข้าร่วมในเครือข่าย สร้างเว็บเพจและการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย ทั้งๆ ที่ในโรงเรียนเองไม่ได้มีอุปกรณ์พื้นฐานสำหรับการเชื่อมต่อเครือข่ายอยู่เลย (ไม่มีคู่สายโทรศัพท์ ไม่มีคอมพิวเตอร์และโมเด็ม)"

สองปีมานี้จะได้ยินการโฆษณาว่า โรงเรียนทุกโรงจะเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ ทั้งๆ ที่ตอนนี้มีสายโทรศัพท์ห้อยต่องแต่งอยู่ริมชายคาหาประโยชน์อันใดมิได้ อุปกรณ์ที่จะเชื่อมต่อไม่ทราบอยู่ที่ไหน (คงต้องรอการปลุกเสกกันอีกนานครับกว่าจะได้มา) ผมยังนึกสงสัยอยู่เหมือนกันว่า รัฐบาลบริหารงานโดยวัดประสิทธิภาพจากผลงาน แล้วทำไมกับการที่ทำอะไรผ่านมาสองปีงบประมาณแล้ว ยังไม่เกิดผลงานนี่ไม่พิจารณาผู้บริหารที่ไร้ฝีมือเหล่านี้เสียบ้างก็ไม่รู้

คุณปีเตอร์ให้ผมฟันธงลงไปว่า "ประมาณสักกี่เปอร์เซนต์ที่ครูสามารถเข้าถึงสื่อ ICT ได้" ผมเลยบอกไปว่า "ไม่น่าจะเกิน 10% ที่สามารถรู้จักและใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แต่ที่เอามาใช้งานเพื่อการจัดการเรียนการสอนจริงๆ น่าจะน้อยกว่า 5% ดังนั้นคงต้องปรับเปลี่ยนหลักสูตรให้มีการนำสื่อแบบ Offline เช่น การบันทึกในแผ่นซีดีรอม เข้ามาช่วยให้มากขึ้น"

ผมได้ร่วมเสวนาเฉพาะในส่วนของ Internet in the Classroom เท่านั้น เพราะยังมีการเสวนาต่อในเรื่องการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์ และการดำเนินการอื่นๆ ไปจนถึงวันที่ 4 สิงหาคม 2546 แต่ผมมีภารกิจรอที่โรงเรียนอีกมากเลยขออนุญาตกลับที่ตั้งก่อน

แล้วผมก็ได้รับหนังสือเชิญให้ร่วมฟังความคิดเห็นที่มีต่อโครงการนี้อีกครั้งในวันที่ 4 สิงหาคม 2546 ครับ มีนักวิชาการทั้งจาก สกศ. สสวท. มหาวิทยาลัย ผู้บริหารโรงเรียน และครูอาจารย์จากโรงเรียนที่ร่วมในโครงการพัฒนาการเรียนการสอนด้วย ICT ของ สกศ. จำนวน 33 โรงเรียน อ่านรายละเอียดได้ครับ

ครูมนตรี     
บันทึกไว้เมื่อ : 5 สิงหาคม 2546
 
นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

Our Policy