ต่อจากนี้ไป คือช่วงเวลา ของการเรียนการสอนแบบ “ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ขึ้นมาเอง” … From now on “Cnstructivism” will be with you… คุณครูพร้อมแล้วหรือยัง ? ที่จะเปลี่ยนบทบาทของตนเอง ด้วยความมั่นใจ..
ข้อความที่ได้นำมาเป็นหัวข้อของบทความในวันนี้ คือ ความที่จะเป็นไปของศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เนื่องจากสรรพวิทยาการ และข่าวสารไร้พรมแดนได้หลั่งไหล พร่างพรู เข้าสู่การรับรู้ของมนุษย์ จนยากที่ใครคนใดคนหนึ่ง หรือบุคคลคณะใดคณะหนึ่งจะรับไว้ เพื่อนำไป “สั่งสอน” ผู้อื่นได้เหมือนเมื่อก่อน
เพราะ “ต่างคนต่างก็รับรู้ได้เหมือนๆ กัน” ด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์การสื่อสารล้ำยุคต่างๆ เป็นเหตุให้ “บทบาทของครู และ บทบาทของศิษย์” ต้องเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากมาย จาก “ครู..ผู้บอกและสอนความรู้” มาเป็น “ผู้ชี้แนะแนวทางสู่ความสำเร็จ หรือ The guidance to Success” เป็น Coach เป็น Trainer หรือเป็นอะไรก็ได้ ที่ “ทำทุกอย่างเพื่อความสำเร็จของศิษย์.. Trying their best to ensure the success of Learners” และ “คงจิตใจความเป็นครูเอาไว้ Remain a Teacher’s mind and Actions”
ในความพยายามทำทุกอย่างเพื่อความสำเร็จของศิษย์ และ คงจิตใจความเป็นครูเอาไว้ให้ได้ ในความเปลี่ยนแปลทางการศึกษาของศตวรรษที่ 21 นี้ ผมได้เคยนำเสนอบทความไว้ใน Facebook นี้หลายเรื่อง ขอยกเอามาอ้างอิงเพียงบางส่วนสัก 10 ดังนี้
ทั้ง 10 เรื่องนี้ และทั้งหมดในบทความ ล้วนเป็น “Constructivism” คือการให้ผู้เรียน เรียนรู้ด้วยตนเอง สร้างองค์ความรู้ขึ้นมาจากภายในตัวของผู้เรียน “ด้วยการจัด กิจกรรม หรือประสบการณ์ต่างๆ” ให้ผู้เรียนหาทางแก้ปัญหาด้วยวิธีต่างๆ และผลที่ได้จึงเป็น “องค์ความรู้” ที่เกิดขึ้นจากการที่มนุษย์ดิ้นรนอยู่ในประสบการณ์นั้นๆ เป็นความรู้แท้ๆ ของตนโดยธรรมชาติ นั่นคือ ผู้เรียนเรียนรู้โดยการกระทำ Learning by Doing และ คุณครูสอนด้วยวิธีการ Child Centered……
เพื่อทำคุณครูสามารถนำหลักการไป พัฒนาสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ด้วยวิธี Constructivism ที่ได้ผล “Applied Constructivism” to the “Development of Learning Environments” นั้น คุณครูต้องสามารถ “ทำใจ Decision” กับเรื่องต่อไปนี้ให้ได้ก่อน..คือ...
บอกความวันนี้ถือว่า เป็นการทบทวนเรื่องที่ผ่านมาคร่าวๆ... หวังว่าคุณครูจะเอาไปใช้ทุกขั้นตอนนะครับ...
Motivation.. คือการ “สร้างแรงจูงใจ ใฝ่เรียนรู้” สู้กับความไม่อยากเรียน.. ให้เพียรศึกษาและแข่งขันกับตนเอง self Learning ตามแบบ Constructivism Learning….
โจทย์ของเรื่องนี้ก็คือ ทำอย่างไร “นักเรียน” จะยอมเข้าร่วม “กิจกรรม” สร้างความรู้และประสบการณ์ Experience ด้วยความเต็มใจ และกระตือรือร้น เป็น Active Learning.. แต่ด้วยวิสัยเด็กๆ และวัยรุ่น.. ย่อมอยากเที่ยว อยากคบเพื่อนฝูง.. อยากเป็นที่ยอมรับ.. อยากทำอะไรตามใจตนเอง.. อยากเป็นที่สนใจของเพศตรงกันข้าม... ”ความอยาก” เหล่านี้เป็นสิ่งดึงดูดจิตใจของเด็กๆ และวัยรุ่น มากกว่าการเข้าไปถูกบังคับให้เรียนหนังสือในห้องเรียนสี่เหลี่ยม..
วันนี้จึงขอเสนอ “เทคนิควิธี Techniques” ในการ “โน้มน้าว Persuade” จิตใจของนักเรียน ให้หันมาสนใจการเรียนมากขึ้นด้วยความ “เต็มใจ With one’s will” เตรียมตัวรับสถานการณ์ Learning by Doing และ Project Based Learningn ได้แล้ว.....
การสร้าง “แรงจูงใจ Motivation” นี้เป็นเทคนิค “อย่างสำคัญ” ของโลกปัจจุบัน มันเป็นเช่นเดียวกันกับ “การโฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อขายสินค้า Advertising and Promotion” ซึ่งถึงเวลาแล้ว ที่คุณครูทุกท่านจำเป็นต้องทำการเรียกร้องหา “ลูกค้า คือนักเรียน >> Customers = Learners” และขอให้ท่านลองจินตนาการให้เห็นภาพความสำคัญของการโฆษณาเปรียบเทียบ..
ถ้าท่านสร้างภาพยนตร์สักเรื่องหนึ่ง ท่านต้องทุ่มงบโฆษณาเกือบเท่ากับเงินลงทุนในการสร้าง มิเช่นนั้น ต่อให้ภาพยนตร์มีคุณภาพมากแค่ไหน ก็ไม่มีคนดู นี้เป็นเรื่องจริงที่ผู้สร้างหลายรายถึงกับต้องม้วนเสื่อมาแล้ว...
Motivation หรือ แรงจูงใจนี้ คุณครูต้องสามารถ “ฉกฉวยโอกาสจากสถานการณ์ Take advantage of the Situation” ซึ่งคำว่า “สถานการณ์ Situation หรือ Events” นี้ หมายถึง เหตุการณ์จากสังคมสิ่งแวดล้อมรอบตัว เรื่องราวจากสื่อต่างๆ จากข่าวสาร... คุณครูก็สามารถหยิบยกขึ้นมา เป็นเนื้อหาสาระในการสอนได้ เพราะการสอนแบบ Constructivism Learning นั้น ยึดถือเอาเรื่องราวจากโลกแห่งความจริง Real World เป็นเนื้อหาในการสร้าง “กิจกรรม” ในการสอน..
เช่นเมื่อจะ “สอนใจ” เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม จะเป็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมที่ดีที่สุด ในเรื่องของการกระทำ “ของมนุษย์” ชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรม การกระทำ และผลที่จะเกิดจากการกระทำนั้นๆ ทางไปของคนทำชั่วที่จะต้องรับผลของกรรมในวันใดวันหนึ่ง โดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และทางไปของคนทำดีที่จะต้องได้รับผลดีในรูปแบบใดๆ ก็ได้ ไม่วันใดก็วันหนึ่ง และโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เช่นกัน ฯลฯ
หรือเมื่อจะสอนในรายวิชาใดๆ คุณครูก็ควรต้อง “สร้างแรงจูงใจ หรือกระตุ้น Inspire, Provoke, Motivate” ให้เห็นคุณค่า ประโยชน์ และความเจริญรุ่งเรือง ของผู้ที่สามารถนำไปปรับใช้อย่างเหมาะสม คุณครูจะต้องทำให้ผู้เรียน “อยาก Want” ที่จะใฝ่หาความรู้ด้วยตนเองให้ได้ ฝึกจนเป็นนิสัย ก็จะเป็นคุณต่อตัวเขาเอง และเป็นกุศลของคุณครู เมื่อใดที่ผู้เรียนตกอยู่ใน “สภาวการณ์” ที่ต้องแสวงหาความรู้ เขาก็สามารถหาความรู้นั้นๆ ได้ด้วยตัวของเขาเอง ทำได้เช่นนี้ ก็แปลว่า คุณครูสร้าง แรงจูงใจหรื อ Motivationได้สำเร็จ..
แรงจูงใจที่เราต้องการสร้างขึ้นให้สำเร็จนี้ เรียกว่า “แรงจูงใจภายใน Intrinsic Motivation” ซึ่งเป็นความ “อยาก” ”ความต้องการ” ”ความปรารถนา” ”ความใฝ่ฝันที่จะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้” ”ทัศนคติที่ดีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง” ซึ่งมัน “โน้มน้าว” ให้ถูกสร้างขึ้นมาในตัวของผู้เรียน โดยฝีมือของคุณครูยุคใหม่ ที่อุทิศตนทำงานแข่งกับเวลา ไม่งอมืองอเท้า เฝ้าแต่รอแรงจูงใจภายในที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ ซึ่งก็มีได้ แต่ก็ไม่ทันการ ต้อง “เร่งปฏิกิริยา” ด้วย “แรงจูงใจ Motivation” ของคุณครูนี้แหละ ได้ผลเร็วกว่า....
แรงจูงใจภายในสามารถสร้างขึ้นได้จาก “กลเม็ด Gambit, หรือ Trick หรือ Technique” ได้หลายวิธี ดังตัวอย่างต่อไปนี้...
วิธีที่ 1. สร้างจาก “แรงจูงใจภายนอก Extrinsic Motivation”
ในสังคมของเราเต็มไปด้วย “สิ่งเร้า Stimulations” มากมายนับไม่ถ้วน เช่น การแต่งกาย และการแสดงออกของดารา ความประพฤติ การใช้จ่าย และของใช้ดารา ล้วนเป็นแบบอย่างโน้มนาวใจให้วัยรุ่นเอาเป็นแบบอย่าง สื่อสารมวลชน และหนังละคร สิ่งเหล่านี้เป็นแรงจูงใจภายนอก ที่ทำให้เกิดแรงจูงใจภายในต่อคนวัยเรียนได้อย่างมากมาย และมีอิทธิพลสูงยิ่ง ซึ่งคุณครูต้องรู้ตัวว่า “เรา” ไม่สามารถเอาชนะกระแสแห่งความเป็นไป ที่เป็นผลพวงมาจากลัทธิทุนนิยม แบบมือใครยาว สาวได้สาวเอา และ ”เงิน” เป็นตัวกำหนด “พฤติกรรม” เช่นนี้ได้
ในเมื่อคุณครูไม่สามารถเอาชนะโดยการ “ห้ามปราม” หรือใช้กฎระเบียบของโรงเรียนก็ทัดทานไม่ได้ ในเมื่อเอาชนะไม่ได้ ก็จงเอามันมาเป็นพวกเสียเลย โดยการ ”ใช้กระแสแห่งความฟุ้งเฟ้อ” นี้เป็นอุปกรณ์การสอน เป็นสื่อการเรียนให้รู้จัก “ยั้งคิด..ประมาณตน” ให้มี Critical Thinking คือให้มีความคิดวิเคราะห์ว่า ”ที่เขาต้องแสดงออก และทำตัวอย่างนั้นได้ ก็เพราะเป็นอาชีพของเขา เพราะว่าเขาต้องสวยเสมอในสายตาคนอื่น ถ้าขืนทำตัวซอมซ่อ ก็คงไม่มีใครจ้างไปแสดง"
คุณครูสามารถแนะแนวทางศิษย์ของตน เลือกทางเดินที่เป็นคุณแก่ตน และสามารถสร้างความเจริญก้าวหน้าได้อย่างแน่นอน เช่น หาตัวอย่างผู้ประสบความสำเร็จในชีวิตในแนวทางต่างๆ มาเลียนแบบ เป็นตัวอย่างการก้าวขึ้นสู่ความสำเร็จ ซึ่งมีอยู่มากมายในสังคมของเรา ให้ลูกศิษย์ของเราเรียนรู้จากเขา เพื่อเป็นแนวทางสร้างอนาคตตนเอง...
วิธีที่ 2. สร้างจากเครื่องล่อต่างๆ
เช่น “รางวัล” ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งของ หรือ เงิน หรือ คะแนน เสมอไป สิ่งเหล่านี้แม้จะง่ายๆ ในการจัดหาและดำเนินการ แต่ให้ผลในทาง “สร้างสรรค์” น้อย เราควรนำความรู้ “จิตวิทยาวัยรุ่น หรือ Adolescent Psychology” มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ”วัยรุ่นต้องการ การยอมรับ” หากเรามีการยกย่องเกียรติคุณแห่งความดี เกียรติคุณแห่งความพยายามจนพบความสำเร็จ ยกย่องบ่อยๆ เสมอๆ จะเกิดผลดีในทางจิตวิทยา มากกว่าการให้ของรางวัลเพียงครั้งเดียว....
“การแข่งขัน Competition” ก็เป็นการสร้างแรงจูงใจวิธีหนึ่ง แต่ก็เป็นการเสี่ยงต่อ “ผลลบ Negative Effect” ที่อาจเกิดขึ้น สำหรับนักเรียนที่ขาดการอบรม “น้ำใจนักกีฬา Sportsmanship” มาดีพอ ผมเชื่อมั่นว่าคุณครูไทยของเราสามารถ “โน้มนาว Motivate” ให้ลูกศิษย์ของคุณครูหันมา “แข่งขันกับตนเอง Self–Competition” และ “แข่งขันกันทำความดี Compete for good deeds” นี้ประเสริฐที่สุด และทำได้ไม่ยากนัก นี้คือความเชื่อมั่นในฝีมือของคนที่ได้ชื่อว่า “ครูไทย” ในสังคมแห่งการเรียนรู้ของศตวรรษที่ 21.ครับ...
สุทัศน์ เอกา............บอกความ
ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)