foto1
ความงดงามการศึกษาไทย
foto1
เพื่อ?
foto1
ไม่เข้าใจ?
foto1
วิทยากรที่กระทรวงศึกษาธิการ สปป.ลาว
foto1
ท่องทะเลทรายที่ดูไบ UAE


Friendly Links

เรียนรู้ภาษา html
isangate banner
easyhome banner
ipst banner
sakdibhornssup foundation
13 Thai free fonts
speedtest
e mil

Facebook Likebox

No. of Page View

to sir with love

edgar daleTo Sir with Love... "แด่คุณครูด้วยดวงใจ..." และ “เคล็ดลับ ของความสำเร็จแห่งการเรียนรู้ Tips for successful Learning”

ในบทความวันนี้ ผมมีแอบหวัง “เล็กๆ” ไว้ว่า เมื่อคุณครูได้นำ “กรวยประสบการณ์ หรือ Cone of Experience” ของ Dr.Edgar Dale โปรเฟสเซอร์และนักการศึกษา แห่งมหาวิทยาลัย โอไฮโอ สหรัฐอเมริกา ขึ้นมาพิจารณาโดยละเอียดอีกครั้งหนึ่ง คุณครูจะเกิดแนวคิดใหม่ ในการปฏิรูปการเรียนการสอนของตนเอง เพื่อต้อนรับศตวรรษที่ 21 ด้วยความยินดี

Dr.Edgar Dale ได้ใช้ทฤษฏีการเรียนรู้ต่างๆ มาศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลกระบวนการเรียนรู้ การเก็บรักษาความรู้ให้คงทน เช่น ผู้เรียนจะสามารถเก็บรักษาข้อมูลได้มากและยาวนาน หากผู้เรียน “ได้ลงมือทำเอง Learning by Doing และ Doing by Learning” เมื่อเทียบกับการ “ฟัง หรือ ได้ยิน heard” ”การอ่าน Read” ”..การเห็นด้วยตา หรือ การสังเกต Observed” งานวิจัยของ Dr.Edgar Dale ที่เรียกว่า กรวยประสบการณ์ หรือ Cone of Experience เมื่อปี 1960 นั้น..ได้นำมาใช้ในโลกของการเรียนรู้อย่างแท้จริง โดยนักการศึกษาคนสำคัญของโลJohn Dewey และทฤษฏีอันลือลั่นของเขา Learning by Doing หรือ Doing by Learning เมื่อปี 1963….

“เคล็ดลับ ของความสำเร็จแห่งการเรียนรู้ Tips for successful Learning” อยู่ที่ “การมีส่วนร่วมของผู้เรียน หรือ Active Participation" ซึ่งหมายถึง การมีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้น ตื่นตัว ตื่นตาตื่นใจ และมีจิตใจจดจ่อต่อการกระทำที่กำลังดำเนินอยู่ อย่างที่รู้กันทั่วๆไปว่า “การเรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวา หรือ Active Learning” โดยใช้ “กิจกรรม Activity” ไปสร้างประสบการณ์ Experience ยึดวิธีเรียนแบบ Child Centered เป็นหลัก เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาครบทั้ง 4 ด้านคือ.. ทางร่างกาย ทางสติปัญญา ทางอารมณ์ และทางสังคม... จึงต้องให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมครบทั้ง 4 ด้านด้วย คือ

  1. มีส่วนร่วมทางร่างกาย หรือ Physical Participation
  2. มีส่วนร่วมทางสติปัญญา หรือ Intellectual Participation
  3. มีส่วนร่วมทางอารมณ์ หรือ Emotional Participation และ
  4. การมีส่วนร่วมทางสังคม หรือ Social Participation

To Sir with love 1967

การเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียกว่า Active Learning มีประสิทธิภาพในการสร้างองค์ความรู้ให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนอย่างมาก เป็น Child Centered ซึ่งตรงกันข้ามกับการเรียนโดยวิธีบอกเล่า หรือ Passive Learning ที่ได้ผลในการสร้างองค์ความรู้ในตัวผู้เรียนน้อยกว่า

เมื่อคุณครูได้นำ “กรวยประสบการณ์ หรือ Cone of Experience” ของ Dr.Edgar Dale ขึ้นมาพิจารณา.. จะเห็นว่ามี่การแยก “ประสบการณ์การเรียนรู้ หรือ Learning Experience” ออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

1. กลุ่มการเรียนรู้ทางอ้อม หรือ Passive Learning ได้แก่การเรียนดังต่อไปนี้

  • การอ่าน จะคงความรู้ความจำ ในเรื่องที่ได้อ่านหลังจากเวลาผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ ประมาณ 10 %
  • การฟัง จะคงความรู้ความจำ ในเรื่องที่ได้ฟังหลังจากเวลาผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ ประมาณ 20 %
  • การดูภาพ จะคงความรู้ความจำ ในภาพที่ได้ดูหลังจากเวลาผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ ประมาณ 30 %
  • การชมภาพยนตร์, การเข้าชมนิทรรศการ, ดูการแสดง ดูการสาธิต ดูการทดลอง, ดูเหตุการณ์ต่างๆ สิ่งเหล่าจะคงความรู้ความจำ ในสิ่งที่ได้ดูได้เห็นหลังจากเวลาผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ ประมาณ 50 %

คุณครูทุกท่านคงสังเกตเห็นแล้วว่า การเรียนในกลุ่มนี้ เป็นเพียงประสบการณ์รอง หรือ Secondary Experience “มันยังเป็นความรู้ของผู้อื่นที่นำมาถ่ายทอดอีกต่อหนึ่ง ยิ่งถ่ายทอดไปหลายชั้น ก็ยิ่งเพี้ยนไปจากต้นกำเนิดเดิมทุกที” คือหมายความว่า “ผู้เรียนไม่ได้มีสว่นร่วมในประสบการณ์นั้นๆ โดยตรง” ความรู้ความจำจึงเกิดขึ้นในตัวผู้เรียนจึงน้อยกว่า การที่ผู้เรียนได้รับประสบการณ์โดยตรง หรือ Direct Experience

lava

น่าเห็นใจที่คุณครูของเรามีข้อจำกัดหลายประการ การเรียนการสอนจึงจำเป็นต้องใช้ประสบการณ์รอง.. เช่น เราไม่สามารถเอาปลาวาฬเป็นๆ หนักสิบตัน เข้ามาให้ผู้เรียน “สัมผัส” ในห้องเรียนได้ หรือ มันอาจเป็นอันตรายเกินไป ถ้าจะให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรงกับภูเขาไฟที่กำลังระเบิดและพ่นลาวาไฟขึ้นไปในอากาศ และไหลทะลักออกมาจากปากปล่อง ฯลฯ

แต่คุณครูสามารถแก้ไข “ข้อด้อย Weaknesses” เหล่านี้ได้ด้วยหลักการให้ผู้เรียน “มีส่วนร่วม หรือ Active Paticipation” ให้ได้มากที่สุดด้วยวิธีการต่างๆ เท่าที่สามารถทำได้ ในการเรียนการสอน คุณครูจะหาสื่อการเรียนการสอนประกอบให้มากๆ เช่น วีดิทัศน์, สื่อ PowerPoint, ถ้าเป็นการเรียนภาษา ก็มี MP3 เสียงเจ้าของภาษามาให้ผู้เรียนฝึกฝนตาม จนเกิดความชำนาญ หรือ Skill หรือให้ผู้เรียนร่วมกันทำข้อสรุป เพื่อความสะดวกในการจดจำ

คุณครูเอาเนื้อหาที่เรียนมาทำเป็นคำถามปลายเปิด Open-ended questions เพื่อให้ผู้เรียนค้นคว้า และแสวงหาความรู้เพิ่มเติม หรือ Inquiry จากแหล่งความรู้ต่างๆ รวมทั้งเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารทางไกลไร้พรมแดนต่างๆ ด้วย เมื่อผู้เรียนแต่ละคนมีข้อมูลจนเป็นที่น่าพอใจแล้ว ก็นำมา “สรุปร่วมกัน Collaborative” เพื่อ “นำเสนอ หรือ Presentation” ต่อไป...ฯลฯ.....

2. กลุ่มการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยตรง หรือ Active Learning การเรียนรู้แบบนี้ ผู้เรียนจะสามารถสร้างองค์ความรู้ “จากภายใน” ตัวผู้เรียนได้เอง เป็น Child Centered เรียกกันติดปากว่า Learning by Doing นั่นเอง.. คือ “ตัวผู้เรียน” เข้าไปมีส่วนร่วม “ในกิจกรรมนั้นๆด้วยตนเอง Self-Learning”

  • การเข้าร่วมคิด ร่วมพูด ร่วมชี้แจง ร่วมโต้ตอบ จะคงความรู้ความจำ ในเรื่องที่ได้พูดหลังจากเวลาผ่านไป 2 สัปดาห์ ประมาณ 70 %
  • การนำเสนอผลงานที่น่าประทับใจ, การลอกเลียนจากประสบการณ์จริงมาถ่ายทอดต่อ, และการลงมือทำจริงๆ จะคงความจำ หลังจากเวลาผ่านไป 2 สัปดาห์ ประมาณ 90 %

นี้แสดงให้เห็นว่า “การมีส่วนร่วมของผู้เรียน หรือ Active Participation" มีความสำคัญต่อการเรียนการสอนอย่างแท้จริง ซึ่งคุณครูสามารถออกแบบการสอน ในเนื้อหาวิชาการ หรือ Academic Content โดยการ “นำเนื้อหานั้น” มาทำเป็น “คำถามปลายเปิด Open-ended questions” เพื่อการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบ สวน หรือ Inquiry ตามวิธีการเรียนรู้แบบ PBL หรือ Problems Based Learning ซึ่งเป็น “กิจกรรม” การเรียนรู้จากประสบการณ์ Experience Learning ที่สอนคนให้เป็นคนที่สมบูรณ์อย่างได้ผล...

learning by doing

มีภาษิต และคำพังเพยของไทยเกี่ยวกับ ประสบการณ์ตรง และประสบการณ์รอง หรือ “Learning by Doing” เช่น ”สิบรู้ไม่เท่าเคย” ”สิบได้ยิน ไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นไม่เท่ามือคลำ สิบมือคลำไม่เท่าทำเอง” ดังนี้เป็นต้น

หวังว่าบอกความชิ้นนี้จะเป็นเพื่อนคู่คิดให้กับคุณครูได้บ้างตามสมควร..นะครับ

สุทัศน์ เอกา................บอกควา

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

Our Policy