foto1
ความงดงามการศึกษาไทย
foto1
เพื่อ?
foto1
ไม่เข้าใจ?
foto1
วิทยากรที่กระทรวงศึกษาธิการ สปป.ลาว
foto1
ท่องทะเลทรายที่ดูไบ UAE


Friendly Links

เรียนรู้ภาษา html
isangate banner
easyhome banner
ipst banner
sakdibhornssup foundation
13 Thai free fonts
speedtest
e mil

Facebook Likebox

No. of Page View

teacherอบันทึกไว้เตือนความทรงจำสักหน่อยครับ เคยพูดไปหลายครั้งว่า "หลักสูตรล้มเหลว เพราะนโยบายพายเรือในอ่าง" ทำให้ครูผู้สอนไม่สามารถสอนตามหลักสูตรแกนกลางที่กำหนดได้ หรือไม่เคยสอนตามหลักสูตร แต่สอนตามนโยบายของ... ใครก็ตามที่มุ่งเอาแต่เรื่องการชนะในเกมการแข่งขัน ตามล่ารับใบประกาศนียบัตร เพื่อใช้เป็นหลักฐานยืนยันว่า โรงเรียนประสบผลสำเร็จในทางวิชาการ แม้ผลการวัดตามมาตรฐาน (สอบ O-Net, A-Net และอีกสารพัน จะร่วงกราวรูดพื้นก็ช่าง (หัว) มัน)

วันเสาร์ที่แล้ว (19 พฤศจิกายน 2554) เขาตั้งให้ผมเป็นประธานกรรมการตัดสินการแข่งขันอัจฉริยะไอที (งานศิลปหัตกรรมระดับสหวิทยาเขต) เลยมีเรื่องที่ต้องบันทึกไว้สักหน่อย แม้ข้อมูลที่ได้จะน้อยโรงเรียนเพราะแข่งขันกลุ่มย่อยไม่ใช่ระดับจังหวัดและ ระดับภาค แต่มันก็สะท้อนให้เห็นได้ในระดับหนึ่ง เลยนำมาเสนอเป็นข้อมูลสำหรับการปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอนในโรงเรียนต่างๆ ให้ตรงกับมาตรฐานหลักสูตรแกนกลาง เป็นเพียงความคิดเห็นที่ได้จากการวิเคราะห์ของผู้เขียนเท่านั้น ท่านอาจมีความเห็นต่างได้ครับ

teach4success

ในการแข่งขันกิจกรรมที่เขาตั้งชื่อมาว่า "อัจฉริยะไอที" นี้หลายๆ คนก็งงๆ อยู่ว่าคืออะไร ถ้าไม่ไปอ่านเกณฑ์ก่อนว่า วัดความอัจริยะจากอะไรกัน ในเกณฑ์การแข่งขันเขาแบ่งออกเป็นสองส่วนดังนี้

  • ทักษะความรู้ จากการสอบข้อเขียนซึ่งแบ่งออกเป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก 30 ข้อ 30 คะแนน และแบบอัตนัย 4 ข้อ 20 คะแนน รวมเป็นการสอบวัดความรู้ 50 คะแนน ซึ่งเนื้อหาครอบคลุมตามหลักสูตรรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ม. 1 - 6 อันได้แก่ ประวัติคอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบหลักของคอมพิวเตอร์ ซอฟท์แวร์ การจัดการข้อมูล การโปรแกรมเบื้องต้น การสืบค้นข้อมูล การใช้งานเครือข่าย และคุณธรรมจริยธรรมในการใช้งานคอมพิวเตอร์ รวมทั้งความรู้รอบตัวในเรื่องข่าวสารและความก้าวหน้าด้านไอที
  • ทักษะการปฏิบัติ ได้จากการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี การติดตั้งระบบปฏิบัติการและซอฟท์แวร์ตามที่กำหนดไว้ได้ถูกต้อง พร้อมใช้งานและเสร็จในเวลาที่กำหนด 50 คะแนน

comp 03เรื่อง ทักษะปฏิบัตินี้จะขึ้นอยู่กับครูผู้ควบคุมจะฝึกฝน เตรียมการให้กับนักเรียนซึ่งทักษะตรงนี้ไม่น่าห่วงเท่าไหร่ แต่ละโรงเรียนสามารถทำได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด อาจมีบ้างที่ทำไม่ครบถ้วนทุกขั้นตอน ซึ่งจะมีผลต่างของคะแนนแต่ไม่มากนัก ที่มีผลต่างเห็นชัดเจนคือ ทักษะความรู้ ที่น่าตกใจคือ หลายโรงเรียนมีคะแนนไม่ถึงครึ่ง และที่น่าเป็นห่วงคือ แบบทดสอบอัตนัยที่ให้อธิบายสั้นๆ แต่นักเรียนไม่สามารถเขียนอธิบายได้เลยก็มี

ข้อสอบปรนัย 30 ข้อ อัตนัย 4 ข้อ ก็เป็นการถามความรู้ทั่วไปตามหลักสูตรแกนกลาง สสวท. นั่นแหละครับ แต่ก็มีโรงเรียนที่ตอบได้สูงสุดคือ 40 คะแนน ต่ำสุด 11 คะแนน เป็นที่น่าสังเกตว่า มีเพียงโรงเรียนเดียวที่สามารถเขียนผังงาน (Flowchart) ได้ แม้จะไม่ถูกทั้งหมดแต่ก็ยังสามารถสื่อด้วยสัญลักษณ์การดำเนินการได้จาก Start > End มีเงื่อนไขชัดเจน ทั้งๆ ที่มีกำหนดให้สอนในหลักสูตรตั้งแต่ ม.ต้น ทีเดียว

มีอยู่ข้อหนึ่งที่ให้นักเรียนบอกชื่อ Browser มา 5 ชื่อ (5 คะแนน) มีตอบได้สูงสุด 4 ชื่อ บางโรงเรียนบอกไม่ได้เลย ใส่ชื่ออะไรมาก็สุดจะคาดเดา (ไม่เข้าใจความหมายของบราวเซอร์) เอ๊ะ... ยังไงกัน ก็เห็นเล่นเฟซบุ๊ค ค้นหาจาก Google กันอยู่ทุกวัน ครูเราไม่ได้บอกหรอกหรือว่าที่เราท่องโลกกว้างนั้นผ่านทางบราวเซอร์ คนใช้วินโดว์ส่วนใหญ่ก็จะมี Internet Explorer (IE) กันเป็นหลักอยู่แล้ว หรือครูจะบอกเพียงว่าคลิกที่สัญรูปตัว e สีน้ำเงินเท่านั้น จริงๆ แล้วมันก็ถูกพูดถึงกันอยู่ทั่วไปนั่นแหละเพราะหลายๆ บราวเซอร์ก็สามารถใช้ได้หลายระบบปฏิบัติการอยู่อย่าง Firefox, Google Chrome, Safari, Opera ก็ใช้บนวินโดว์ได้ด้วย การสอนในหลักสูตรเรื่องประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตก็จะกล่าวถึง Netscape ซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบบราวเซอร์ที่ได้รับการพัฒนาต่อยอดเป็นบราวเซอร์ยอดนิยม อื่นๆ ซึ่งครูผู้สอนสามารถดูเพิ่มเติมได้จากที่นี่ คลิก

boy writing2ที่น่าแปลกใจมากอีกข้อ คือ คำถามที่ให้นักเรียนบอก ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ พร้อมอธิบายหน้าที่ และยกตัวอย่างมาพอสังเขป บางโรงเรียนตอบไม่ได้ (มีอยู่โรงหนึ่งบอกมีหน่วยงานรัฐบาลกลาง อบจ. อบต. ไม่รู้นึกได้ไง) แต่ดันสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีได้ กรรมการถามว่า ชิ้นส่วนนี้คืออะไร ก็ตอบได้ แต่ดันอธิบายในข้อสอบไม่ได้ อาจจะแสดงให้เห็นว่านักเรียนไทยของเรา เขียนตอบอธิบายไม่ได้ เขียนไม่เป็น หรือไม่รู้จะเขียนยังไง ถ้าให้กากบาทเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดละก็พอกาได้บ้าง (ทั้งจากความรู้ที่พอมี และการเดาล้วนๆ ช่วยได้) ตรงนี้มันเป็นจุดอ่อนของระบบการศึกษาไทย ที่ไม่สนับสนุนให้นักเรียน เขียน-อ่านหรือไม่ ? ภาษาในการเขียนก็แปลกๆ มันเป็นภาษาของการสนทนาในสังคมออนไลน์ ที่เพี้ยนกันไปหมดแล้ว ต้องบอกว่าเป็นภาษาและสัญลักษณ์เฉพาะกลุ่มจริงๆ

ก็เลยมีความรู้สึกชักจะเป็นห่วง ต่อการที่เรากำลังจะส่งเสริมให้นักเรียน ใช้อุปกรณ์พกพาในการเรียน (Tablet) มันจะเหนือกว่ากระดานชนวนจริงหรือสำหรับเด็กวัยประถมศึกษา? ผมยังคิดว่า เด็กในวัยนี้น่าจะส่งเสริมการฝึกหัดขีดเขียนให้สวยตามอักขระวิธี อ่านให้ได้ใจความ ท่องสำนวนบทอาขยานให้ขึ้นใจ จะทำให้ภาษาไทยของเราคงอยู่ และฝังในความทรงจำอย่างยั่งยืน การเขียนบรรยายความรู้ บรรยายความรู้สึกของตนเองต่อผู้อื่นจะทำได้ดียิ่งขึ้น ผมยังเชื่อเช่นนี้...

comp room

มีคำถามตามมาว่า สาเหตุที่ไม่มีการสอนตามมาตรฐานหลักสูตรเพราะอะไร? คำตอบมีได้หลายคำตอบ ตามบริบทของโรงเรียน เช่น ไม่มีครูสายตรงในรายวิชานั้นๆ (ขอพูดเฉพาะวิชาคอมพิวเตอร์นะครับ) เอาครูวิชาอื่นๆ ที่มีความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์มาสอน ซึ่งก็จะสอนตามที่ครูถนัด อย่างใช้โปรแกรมประมวลผลคำได้ดี ก็สอนแต่นักเรียน พิมพ์งาน รู้จักการนำเสนอดี ก็สอนแต่สร้างงานนำเสนอ จะโทษครูก็ใช่ที่นะครับ ต้องโทษฝ่ายบริหารที่ไม่ดูแลเรื่องหลักสูตรการศึกษา และโทษศึกษานิเทศก์ด้วยที่ไม่แนะนำเรื่องการจัดการหลักสูตร เอกสาร คู่มือให้กับทางโรงเรียน มีเพื่อนครูในโรงเรียนเล็กๆ ห่างไกลออกไป เมื่อนำนักเรียนมาแข่งขันเจอหนังสือแบบเรียนและคู่มือครูของ สสวท. ยังถามเลยว่า เอามาจากไหน มีขายด้วยหรือ?

เขาขาดโอกาสที่จะมารับความรู้ รับการอบรมในเรื่อง การจัดการเรียนการสอนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียน ผมยังเสียดายที่ สสวท. งดการจัดฝึกอบรมขยายผลการใช้หลักสูตรคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนไปแล้วหลายปี (ผมเคยเป็นหน่วยจัดอบรมให้กับ สสวท. มาตั้งแต่ปี 2538 -2551) ซึ่งมีครูจากโรงเรียนประถมศึกษา มัธยมศึกษา เข้ารับการอบรมปีละประมาณ 100 โรงเรียน/ศูนย์ แต่ก็ยังไม่ทั่วถึงอยู่ดี และที่สำคัญเราขาดแม่ไก่ (ศน.) ที่เข้าใจในการจัดการหลักสูตรไปเสริมเพิ่มเติมให้กับโรงเรียนต่างๆ

หลักสูตรการศึกษาไทยใช้ไม่ได้ผล เพราะกิจกรรมการแข่งขันนานาที่หลายๆ หน่วยงานจัดขึ้นนั้น ไม่ได้จัดเพื่อวัดทักษะกระบวนการเรียนการสอนในโรงเรียน แต่แข่งขันด้วยเรื่องราวนอกหลักสูตรที่กรรมการคิด (เอาเอง) ว่า มันจะวัดความสามารถของนักเรียนได้ หลายๆ โรงเรียนจึงลืมหลักการและมาตรฐานของหลักสูตร มุ่งเน้นแต่จะสอน (ฝึกอย่างเข้มข้น) ในสิ่งที่จะใช้ (ซอฟท์แวร์) ไปร่วมการแข่งขันเท่านั้น

comp 01ไม่ทำก็ไม่ได้เพราะ ผู้บริหารโรงเรียนอยากได้หน้าจากโล่รางวัล ผู้บริหารไม่สั่งให้ครูน้อยทำก็ไม่ได้เพราะผู้อำนวยการเขตพื้นที่ต้องการ อยากได้จำนวนโรงเรียนที่ชนะเลิศในระดับภาค ระดับประเทศ ผู้อำนวยการเขตพื้นที่จะไม่สั่งให้ผู้บริหารโรงเรียนทำไม่ได้เพราะ ต้องรายงานผลสำเร็จของการได้รับรางวัล เกียรติบัตร (ไม่ใช่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนะครับ) ของการจัดการศึกษาในพื้นที่ต่อผู้อยู่เหนือขึ้นไป (จริงๆ ต้องการตัวเลขในรายงาน โดยไม่สนใจว่า ผลได้นั้นมาจากอะไร อย่างไรเสียด้วยซ้ำ)

เห็นไหมล่ะครับมันกระทบกันมาเป็นลูกโซ่ จากระดับนโยบายซัดลงมาเป็นทอดๆ แต่พอผลการสอบวัดผลสัมฤทธิ์ของการจัดการเรียนรู้ระดับชาติออกมา มันตกกราวรูดแล้วจะโทษใครดี... คิดว่าท่านคงจะมีคำตอบในใจแล้วล่ะ แล้วเราจะทำอย่างไรดีล่ะ...

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

Our Policy