foto1
ความงดงามการศึกษาไทย
foto1
เพื่อ?
foto1
ไม่เข้าใจ?
foto1
วิทยากรที่กระทรวงศึกษาธิการ สปป.ลาว
foto1
ท่องทะเลทรายที่ดูไบ UAE


Friendly Links

เรียนรู้ภาษา html
isangate banner
easyhome banner
ipst banner
sakdibhornssup foundation
13 Thai free fonts
speedtest
e mil

Facebook Likebox

No. of Page View

webmaster talk

เมื่อเป้าหมายประเทศไทยอยู่ที่การเป็น e-Government & e-Citizen (2)

ตอนที่แล้วผมได้เกริ่นไปแล้วว่า ความสำเร็จของนโยบายนั้นจะสำเร็จหรือไม่? อยู่ที่กำลังคนในภาครัฐ มีความพร้อมด้านการเป็นผู้ใช้งานไอซีทีอยู่มากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะในภาคการศึกษาที่จะเป็นแม่แบบ หรือผู้ถ่ายทอดไปยังกลุ่มพลเมืองรุ่นใหม่นั้นกลับยิ่งห่างไกลความฝันกว่าที่คิด

ปัญหานี้สะท้อนออกมาจาก "การแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภา" เมื่อสัปดาห์ที่แล้วนี่เอง ขอยกตัวอย่างการอภิปรายของ นายวราวุธ ศิลปอาชา ส.ส.สุพรรณบุรี ที่กล่าวว่า

ในขณะนี้ หน่วยราชการไทย มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที เช่น คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊คและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ เป็นต้น มาประยุกต์ใช้ในการทำงานเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบจำนวนอุปกรณ์ไอทีกับข้าราชการที่เชี่ยวชาญด้านไอทีแล้ว พบว่า สัดส่วนยังแตกต่างกันอยู่มาก เมื่อปีที่ผ่านมา ระหว่างเข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมาธิการพิจารณางบประมาณ ปี 2548 ด้านไอที พบว่า ข้าราชการจากหน่วยราชการต่างๆ ที่เข้าชี้แจงต่อคณะอนุกรรมาธิการฯ ไม่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านไอทีดีพอ ทำให้ไม่สามารถชี้แจงถึงรายละเอียดโครงการด้านไอทีที่เสนอของบประมาณได้ จนบางครั้งทำให้โครงการด้านไอทีที่มีประโยชน์ไม่ผ่านความเห็นชอบ "

computeruser 01ความเห็นนี้สอดคล้องกับสิ่งที่ผมได้กล่าวมาแล้วหลายครั้งว่า "ในบรรดาข้าราชการทั้งหมดนี้ ที่อ่อนด้อยด้านไอทีมากที่สุดคือ หัวขบวนครับ" ไล่กันมาได้เลยตั้งแต่ระดับ ปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้อำนวยการกอง จนถึงระดับหัวหน้าหน่วยในส่วนต่างๆ แทบจะนับตัวคนได้ทีเดียว เพราะความเคยชิน การเป็นเจ้าขุนมูลนาย ชี้นิ้วสั่งการมาตลอด คนที่ต้องเป็นคือ เลขานุการ ที่คอยช่วยแก้หน้าให้ เราจึงได้เห็นและได้ยินบรรดาท่านเหล่านี้ "กล่าวอะไรเปิ่นๆ ในการประชุมสัมมนาด้านไอทีเสมอ"

รัฐบาลควรจัดตั้ง "สถาบันส่งเสริมขีดความสามารถข้าราชการด้านไอที" ขึ้น เพื่อพัฒนา ส่งเสริม ให้ความรู้ และกำหนดหลักสูตรการอบรมด้านไอทีแก่ข้าราชการ นอกจากนี้ ยังต้องกำหนดขั้นตอน และมาตรฐานการใช้งานไอทีในหน่วยราชการต่างๆ เพื่อให้การใช้งาน และนโยบายด้านไอทีของหน่วยราชการ ที่อยู่กันคนละกระทรวงเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

ถ้าจะให้แจ๋วจริง ก็จะต้องจับเข้าห้องทดสอบกันจริงๆ เลยว่า ใครที่มีความรู้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำ และใครที่ควรจะต้องเข้าเรียนกันเป็นรุ่นแรก อาจจะมีเซอร์ไพรซ์ถึงขนาดรุ่นที่ 10 แล้ว พวกผู้น้อยอย่างเรายังไม่ถึงคิวอบรมเลยก็เป็นได้ (ผมกลัวจะเป็นรุ่นที่เกินร้อยมากกว่านา)

computeruser 05และก็จากการอภิปรายในครั้งนี้ก็ทำให้ทราบว่า มีการกั๊กเกิดขึ้นอีกเหมือนกัน นายวีระศักดิ์ โค้วสุรัตน์ ได้กล่าวว่า "ในรัฐบาลที่ผ่านมา เคยมอบ CD โปรแกรมเว็บการ์ด ที่สามารถกรองเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม ให้กับผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการทั้งสิ้น 2,000 แผ่น สำหรับนำไปติดตั้งกับคอมพิวเตอร์ในโรงเรียน เพื่อป้องกันเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม เมื่อเวลาผ่านไปกว่า 4 เดือน กลับพบว่า มีการติดตั้งการ์ดดังกล่าว ไม่ถึง 300 แผ่น ที่เหลือไม่ทราบว่าอยู่ที่ใด"

พอประกาศนโยบายไม่ทันไร? ข่าวเรื่องการจัดหาคอมพิวเตอร์เป็นแสนเครื่อง งบประมาณกว่าแปดพันล้านบาท ก็ทำให้บรรดาเหลือบตอมงบประมาณใน ศธ. บินหึ่งกันขึ้นมาเลยเชียว แต่คราวนี้มีหลายฝ่ายจ้องมองโครงการนี้ ทั้งบริษัทผู้ผลิตไทยและเทศ รวมทั้งนักประสานการฮั้วสิบทิศ โปรดติดตามความคืบหน้าต่อไปว่า จะเกิดการเอื้อสเปกแก่ใครบ้างหรือเปล่า? และกว่ากระบวนการจัดซื้อจัดหาจะลงตัว สิ่งที่โรงเรียนได้รับจะกลายเป็นขยะเทคโนโลยีหรือไม่? และเมื่อได้ไปแล้วจะเกิดมรรคผลเพียงใด ถ้าผู้ใช้งานยังไม่ได้ผ่านการพัฒนามาก่อน จะเอาความพร้อมของการพัฒนาคน หรือละลายงบประมาณก่อนดี?

computeruser 06คราวนี้มาด้วยเรื่องราวความเป็นไปของเว็บไซต์นี้บ้างนะครับ หลังจากที่ได้ทำอะไรหลายๆ อย่าง จากวันที่เปิดตัวมาจนถึงวันนี้ 2 ปีกับ 6 เดือน กับชื่อ KruMontree.com ทำให้ผมได้พบกับความเป็นจริง หลากหลายเรื่องในการทำงาน พบว่าแม้เราจะมีความหวัง ความฝันและความตั้งใจ ทุ่มเทพัฒนามากเพียงใดก็ตาม ทุกอย่างก็มีข้อจำกัดของมันอยู่ ที่ทำให้การเดินทางสะดุดหยุดลงบ้าง นอกเหนือจากการควบคุมของเรา

ผมกำลังพูดถึง ระบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ (e-Learning) ที่ยังกลายเป็นอีนิ่งอยู่นี่แหละครับ ไม่เฉพาะภายในเว็บไซต์ผมนะครับ หลายๆ ที่ก็มีปัญหาอย่างเดียวกัน วันนี้ขอพูดถึง 2 ปัญหาหลักครับ

  • ปัญหาคนสร้างบทเรียน ผมยอมแพ้กับการแสวงหาเพื่อนร่วมงานที่มีไฟจริงๆ มาช่วย ไม่ใช่หาไม่ได้ แต่หาได้แล้วไฟมอดครับ เพราะเพื่อนผมแต่ละคนมีความสามารถแตกต่างกัน บางคนสอนเก่ง แต่คอมพิวเตอร์นี่กลัวยิ่งกว่าเมีย บางคนเขียนเว็บเป็นแต่สอนไม่ค่อยแจ๋ว บางคนนี่อยากช่วยมากๆ แต่ไม่เป็นสักอันประเภทเอ็งไปไหนข้าไปเฮด้วย
    การสร้างบทเรียนออนไลน์ ต้องการกลุ่มคนครับไม่ใช่คนๆ เดียว ต้องมีคนออกแบบการสอน ออกแบบสื่อ ผลิตงานมัลติมีเดีย กราฟิก ออกแบบการแสดงผลเว็บไซต์ นักจิตวิทยาและนักประเมินผล ซึ่งผมยังหาคนๆ เดียวที่มีครบทุกอย่างไม่ได้และคงจะหายากในโลกนี้
  • ปัญหาการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต แม้ว่าประเทศเราจะเข้าสู่ยุคของบรอดแบนด์แล้ว แต่ก็ยังจำกัดอยู่เฉพาะในกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ การสร้างบทเรียน และการเรียนจะต้องกระทำผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก เมื่อเครือข่ายพื้นฐานทั้งหมดยังหาความแน่นอนของการเชื่อมต่อไม่ได้ ก็เป็นการยากแล้วที่จะทำ จะสร้างบทเรียนสำเร็จ มันท้อก่อน
    ต้องเข้าใจนะครับว่า การทำงานของระบบเป็นการทำงานกับฐานข้อมูลกลาง ต้องอาศัยการปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติมลงในระบบฐานข้อมูล ถ้าการเชื่อมต่อล้มเหลวนั่นก็หมายถึงการทำงานสะดุดทันที ตอนนี้ผมยังหาทางออกไม่ได้ว่า จะดำเนินการอย่างไรก็เลยบ่นให้ฟังไปก่อน ยิ่งมองไปยังเพื่อนที่ใช้งานเครือข่าย MoeNet ผมก็ยิ่งเศร้าใจแทนครับ มัน โ ค ต ร ช้าเลยจริงๆ บางคนบอกว่า หลับไปตื่นหนึ่งยังอัพโหลดรูปไม่ขึ้นก็มี

ausie 14ก็มีอยู่ช่วงหนึ่งแหละครับ หลายแห่งหลายที่ก็ระงมเซ็งแซ่คาดหวังกับการจัดทำ e-Learning ระบบโน้นดี ระบบนั้นแจ๋ว พัฒนากันใหญ่ แสวงหา และช่วยกันพัฒนากันมากมาย ในความเป็นจริงระบบการจัดการแต่ละระบบไม่ค่อยแตกต่างกันมากนัก ในเรื่องคุณสมบัติ การทำงาน เพียงแต่ว่าใครถนัดอะไรแบบไหน หรือมีพื้นฐานเดิมอยู่บนระบบปฏิบัติการเดิมอย่างไร ก็ใช้และพัฒนาตามแนวทางนั้น สุดท้ายทุกระบบก็มาตายที่เดียวกันคือ มีระบบดีแต่หาคนสร้างบทเรียนไม่ได้ ที่ได้ตอนนี้ก็ยังไม่ต่างจาก "การนำความรู้จากหนังสือโพสท์ขึ้นไปเป็นหน้าเว็บเท่านั้น" มันยังขาดชีวิตชีวา ขาดปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนดังที่คาดหวังหรือฝันกันไว้

ช่วงนี้จึงเป็นช่วงเวลาแห่งการทบทวน แสวงหาทางออก และช่องทางเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ ใครมีอะไรดีๆ จะช่วยคิด ช่วยแนะนำ ก็เชิญได้ครับผ่านทางกระดานข่าว หรือส่งตรงทางอีเมล์ก็ได้ ช่วงกลางเดือนพฤษภาคมจะมีการสัมมนาใหญ่เรื่องนี้ ที่กรุงเทพฯ ผมถูกจองกฐินให้ไปเสวนาบนเวทีแล้ว ก็เลยอยากได้ข้อมูลมากๆ หน่อยครับ เสนอแนะกันมาได้เลย ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ

เพื่อนครูที่สมัครเป็นสมาชิกเข้ามาผ่านทาง Member Page ก็ต้องขออภัยด้วยนะครับ หากว่าชื่อของท่านยังไม่มีในระบบ จะพยายามเพิ่มเติมให้แต่ขอให้แจ้งรายละเอียดให้ครบถ้วนด้วยครับ คำนำหน้านาม ชื่อ/สกุล ที่อยู่ ที่สำคัญอีเมล์สำหรับการติดต่อ ถ้ามีภาพหล่อ/สวยก็ส่งแนบไปทางอีเมล์นะครับ หากท่านมีความประสงค์จะร่วมทดลองสร้างบทเรียน หรือแบบทดสอบ ให้ส่งอีเมล์ไปถึงผมอีกครั้งเพื่อรับชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านครับ ช่วยๆ กันนะครับ

ครูมนตรี โคตรคันทา
บันทึกไว้เมื่อ : 27 มีนาคม 2548

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

Our Policy