foto1
ความงดงามการศึกษาไทย
foto1
เพื่อ?
foto1
ไม่เข้าใจ?
foto1
วิทยากรที่กระทรวงศึกษาธิการ สปป.ลาว
foto1
ท่องทะเลทรายที่ดูไบ UAE


Friendly Links

เรียนรู้ภาษา html
isangate banner
easyhome banner
ipst banner
sakdibhornssup foundation
13 Thai free fonts
speedtest
e mil

Facebook Likebox

No. of Page View

webmaster talk

เมื่อสังคมเปลี่ยน เด็กๆ ลูกหลานเราเปลี่ยน แล้วพวกเราจะทำอย่างไร ?

ในช่วงหลายๆ สัปดาห์มานี่ ผมมีความรู้สึกหดหู่อย่างไรชอบกลครับ นึกอะไรไม่ค่อยออก มีความคิดจะเขียน (บ่น) หลายๆ เรื่อง แต่แล้วก็ดับมอดความคิดไปเพราะมีเหตุการณ์ที่วาบความคิดใหม่มาเรื่อยๆ บางเรื่องก็เป็นการย้ำคำที่ผมเคยบ่นมาแล้ว วันนี้ขอรวมหลากเรื่องเล่านั้นมาลำดับให้ฟังกัน (จะเห็นด้วยหรือไม่? ก็ไม่เป็นไรครับ)

นักเรียน นักเลง

tt 1มีข่าวต่อเนื่องตลอดทั้งทาง หนังสือพิมพ์ และโทรทัศน์ ทำให้เกิดคำถามตามมา ชนิดที่ยังไม่มีคำตอบเลยว่า ทำไม? เหตุใด? จึงได้มีความอาฆาตมาดร้ายรุนแรงกันขนาดนั้น

ทำให้นึกย้อนไปถึงเรื่องราวในอดีตเก่าๆ ของครูแก่ๆ คนหนึ่งที่คึกคะนองในสมัยก่อนโน้น (ก็ไม่ได้ดีเด่กว่าเด็กสมัยนี้หรอกครับ) แต่ผมว่าไม่มีความอาฆาตมาดร้ายอย่างสมัยนี้ เราทะเลาะกันกับเพื่อนต่างสถาบัน ก็นัดพบประลองกันด้วยกำปั้นไม่หุ้มนวม หลังจากได้เลือดกลบปากรู้ว่าใครแน่กว่า ก็จับมือเป็นเพื่อนกันแล้ว

tt 2ผมยังมีเพื่อนที่แลกหมัดกันสมัยเรียน และยังรักนับถือกันจนทุกวันนี้อยู่ครับ นั่นคือวิสัยนักเลงสมัยโน้น แต่พวกเรามีสิ่งที่เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่งคือ การเคารพครู-อาจารย์และผู้อาวุโส เรียกว่า ต่อหน้าเพื่อนคุยโว ครูมาเราหงอ (หรือไม่ก็วิ่งป่าราบ) ทำนองนั้นแหละครับ แต่เด็กรุ่นนี้สมัยนี้ผมว่าไม่มีนะ

ก็มีหลายฝ่ายได้ออกมาเสนอแนวคิดที่จะแก้ไข ไม่ว่าจะไม่ให้ใส่เสื้อช็อปออกนอกโรงเรียน จัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ ส่งเข้าค่ายฝึกกับทหาร ซึ่งล้วนแต่เป็นการแก้ที่ปลายเหตุทั้งนั้น ยังไม่มีใครคิดจะแก้กันที่ต้นเหตุก่อนที่จะตีกันเลยสักราย ที่ตีกันก็มีไม่กี่แห่งหรอกครับ รากเหง้าวัฒนธรรมแห่งศักดิ์ศรีผิดๆ นั้นฝังอยู่ตรงนั้นมานานแต่ยังไม่มีใครคิดขุดออกไปทิ้งเสีย ท่านผู้มีอำนาจสั่งการลองไปดูนะครับ

กองทุนกู้ยืม ความหวังของคนเรียนดีแต่ยากจนรอความหวัง

student 07ข่าวเรื่องการยืมเงินจาก กองทุนกู้ยืมการศึกษา ที่อลเวงมากมายในปีนี้ เนื่องจากการลดลงของเงินกองทุนที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล และปัญหาการไม่ส่งเงินคืนเข้ากองทุนของรุ่นพี่ก่อนหน้านี้ที่จบการศึกษาไปแล้ว (หรือไม่? ไม่แน่ใจ) รวมทั้งมาตรการ/เงื่อนไขของการกู้ยืมที่เปลี่ยนไปจากเดิม

ผมเคยได้บ่นไปแล้วครั้งหนึ่ง (คลิกอ่านที่นี่) ซึ่งผมมีความเห็นว่า เงื่อนไขการให้กู้ยืมน่าจะปรับเปลี่ยนในทางที่เหมาะสม สำหรับคนที่มีความตั้งใจในการศึกษาเล่าเรียน มีโอกาสที่จะจบการศึกษามีงานทำ แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ (มากกว่าจะกำหนดเพดานรายได้ของผู้ปกครอง เพราะผู้ปกครองที่เป็นมนุษย์เงินเดือนเสียเปรียบพ่อค้าขายส่ง ขายของชำที่ไม่มีสลิปเงินเดือนมากทีเดียว)

tt 3ในปัจจุบันนี้ สังคมของนักเรียนนักศึกษาเปลี่ยนไปจริงๆ เมื่อหลายปีก่อนเรามักจะเห็นวัยรุ่นมักจะรวมกันอยู่ตามแหล่งท่องเที่ยวยามค่ำคืน ไม่ว่าจะเป็นดิสโก้เธค คาราโอเกะ พับ ห้องอาหาร (ตัวอย่างในชุมชนต่างจังหวัดนะครับ กรุงเทพฯ อาจจะแตกต่างออกไป)

แต่ในช่วงหลังนี้แหล่งบันเทิงเหล่านี้กลับซบเซาเงียบเหงา บางแห่งถึงกับปิดตัวเองไป จึงมีคำถามตามมาว่า เด็กวัยรุ่นเหล่านี้หายไปไหนกัน?

คำตอบที่ผมได้รับจากเพื่อนๆ และผู้ปกครองที่มีบ้านพักอยู่ใกล้กับแหล่งที่เป็นหอพักในตัวเมืองอุบลราชธานี ฟังแล้วน่าตกใจครับ "พวกเขามารวมกันมั่วสุมอยู่ในหอพักนี่มากกว่าตามแหล่งอื่นๆ เราถึงได้เห็นพับ เธคปิดตัวเองไปหลายแห่ง"

สิ่งที่น่าตกใจอย่างยิ่งในปัจจุบัน ก็คือการเลื่อนไหลของประชากรวัยเรียนจากหมู่บ้านในท้องถิ่นห่างไกล เข้าสู่เมืองใหญ่ที่มีสังคมวัฒนธรรมความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันแทบจะสิ้นเชิง (บางท่านอาจจะนึกย้อนอยู่ในใจว่า ก็ไหนว่าให้เรียนใกล้บ้านแล้วไง?) แม้เราจะพยายามสร้างโรงเรียน (ใน/นาย) ฝัน กันทุกอำเภอในประเทศ พยายามโปรโมตถึงสิ่งดีๆ ที่มีคุณค่าเท่าเทียมกันของโรงเรียนทุกโรงในประเทศ

แต่ในความเป็นจริง ทุกคนก็รู้ๆ อยู่ว่า ความต้องการ ความนิยมของผู้คนยังคงฝังใจอยู่กับโรงเรียนเด่นดังในตัวเมืองใหญ่ มากกว่าโรงเรียนอื่นๆ ที่ถูกโปรโมตขึ้นมา (เอาง่ายๆ แค่ ผอ.โรงเรียนในฝันยังอยากส่งลูกมาเรียนในโรงเรียนใหญ่ในจังหวัดเลย ทำไมไม่ให้เรียนในโรงเรียนที่ตนเองบริหารจะได้เป็นสิ่งสร้างฝันได้จริงๆ ขอบอก)

บนความหวังของพ่อแม่ผู้ปกครอง คือ การประสบความสำเร็จของลูก ได้รวบรวมเงินทอง (บางครั้งถึงกับกู้หนี้ยืมสินให้ลูก) ส่งให้ลูกอย่างไม่เคยขัดแม้สักครั้งหนึ่ง แต่ด้วยความที่ต้องไกลจากบ้าน จากอกพ่อแม่ (รวมทั้งความไม่สะดวกในการมาดูแลลูกหลาน) ปล่อยให้ผจญชะตากรรมอยู่อย่างเดียวดายในสังคมเมืองใหญ่ จึงทำให้เกิดความลุ่มหลงกับวัฒนธรรมและสิ่งยั่วเย้าใหม่ๆ กลายเป็นประเด็นปัญหาอย่างที่พบในสื่อต่างๆ ทุกวันนี้

ครู คือ ความหวังของสังคมในวันนี้ได้หรือไม่?

student learningเราน่าจะหวังอะไรได้มากมายจากครูไทยในวันนี้ ถ้าหากครูของเราได้รับการสนับสนุน ส่งเสริมและเกื้อหนุนในด้านต่างๆ มากกว่าที่เป็นอยู่ ไม่ว่าจะเป็น

  • ลดภาระงานธุรการออกไปจากครู ให้เหลือเพียงงานการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาการสอนเพียงอย่างเดียว ไม่ต้องมาห่วงหน้าพะวงหลังอย่างทุกวันนี้ วิธีการก็ไม่ยากเย็นหรอกครับ เพียงแต่หน่วยเหนือขึ้นไปหัดใช้ข้อมูลเดียวกันให้เป็น (ก็อุตส่าห์อดตาหลับขับตานอนป้อนข้อมูลให้แล้ว) ประสานงานกันเองเสียบ้าง อย่ามัวแต่สร้างภาพสร้างผลงานออกโปรแกรมใหม่ๆ ที่ไม่ได้เรื่องมาให้ครูลำบากใจ (จนเดี๋ยวนี้ถามกันให้แซ่ดว่า จะเอายังไงกันแน่!) แค่นี้ก็จะลดภาระงานลงได้โขเลยล่ะ
  • ให้ขวัญกำลังใจกันบ้าง เอาแค่เรื่องส่งเสริมช่วยเหลือในการครองชีพ ให้สามารถพออยู่ได้อย่างไม่ขัดสน เพราะครูก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคม (และมักจะเป็นผู้ที่สังคมนึกถึงเวลาจะเก็บภาษีสังคม ทั้งงานบวช งานแต่ง งานศพ งานขึ้นบ้านใหม่ และอีกจิปาถะงานบุญ) ตัวครูเองก็มีครอบครัวต้องมีภาระรับผิดชอบส่งลูกหลานเรียนเหมือนกับคนอื่นๆ

ยิ่งเจอมาตรการที่ 3 เข้ามาเมื่อเดือนก่อนหน้านี้ ครูหลายท่านก็ออกอาการเจกันเลยทีเดียว เพราะมาตรการดังกล่าวนั้นมันขาดตราชั่งมาตรฐานรองรับ แต่ละแหล่งแห่งที่ก็ใช้มาตรฐานอิงกูเป็นตัวตั้ง (ใครรักใครชอบใครก็เอาไปเยอะๆ หาทางช่วยมันจนได้ ส่วนพวกที่ขวางหูขวางตาก็ส่งมันเข้าตะแลงแกงไปเลย) หลายครั้งที่ผมได้ยินข่าวว่า ผู้บริหารบางคนไม่กล้านอนบ้านเท่าไหร่ เพราะร้อยวันพันปีไม่เคยได้ยินเสียงปืนใกล้บ้าน แต่ตอนหลังๆ ไม่มั่นใจว่าเสียงประทัดหรือเสียงปืนกันแน่ (เลยเสียวไม่กล้านอน)

วันนี้ ก็ขอบ่นไปหลากหลายเรื่องหน่อย พอดีไปอ่านมติชนสุดสัปดาห์มาเรื่องหนึ่ง เห็นภาพอะไรชัดเจนในเรื่องการศึกษาไทยยุคปัจจุบัน ก็เลยนำมาให้อ่านกันที่ตรงนี้เป็นบทความที่เขียนโดยคุณไมเคิล ไรท์ ดูจากลิงก์ข้างล่างได้เลยครับ ขอให้ทุกท่านผ่านการประเมินเป็นเพื่อนร่วมงานกันต่อไปนะครับ

ครูมนตรี โคตรคันทา
บันทึกไว้เมื่อ : 15 กันยายน 2547

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

Our Policy