foto1
ความงดงามการศึกษาไทย
foto1
เพื่อ?
foto1
ไม่เข้าใจ?
foto1
วิทยากรที่กระทรวงศึกษาธิการ สปป.ลาว
foto1
ท่องทะเลทรายที่ดูไบ UAE


Friendly Links

เรียนรู้ภาษา html
isangate banner
easyhome banner
ipst banner
sakdibhornssup foundation
13 Thai free fonts
speedtest
e mil

Facebook Likebox

No. of Page View

webmaster talk

กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาความหวังและเส้นทางอนาคตของคนรักการเรียน จริงหรือ?...!!

ผมนั่งดูรายการโทรทัศน์ในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา จนถึงทุกวันนี้ ได้สะดุดตากับโฆษณาเกี่ยวข้องกับครูและนักเรียน ที่อยากเอามาคุยแสดงความคิดเห็นกันหน่อย ได้ดูกันบ้างไหมครับที่ในโฆษณาเขาพูดถึง "เงินทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา" ที่การ์ตูนพ่อลูกคุยกันว่า มีประโยชน์ที่จะทำให้คนยากจนได้รับการศึกษาเท่าเทียมกันกับคนอื่นๆ ในสังคม อีกชิ้นหนึ่งก็เป็นเสียงอ้อนวอนให้รุ่นพี่ๆ ที่ได้รับทุนไปแล้วนำเงินมาคืนกองทุนเพื่อพวกหนูๆ จะได้เรียนอย่างพี่ๆ บ้าง

student 03ผมดูแล้วก็ได้แต่สะท้อนใจครับ นโยบายดีแต่ทางปฏิบัติแย่ ถ้าให้ประเมินผลโครงการนี้ผมให้แค่ 30 เปอร์เซนต์เท่านั้นเอง ไม่งั้นจะมีโฆษณามาให้เห็นอยู่แทบทุกวันหรือครับ?

ปัญหาของโครงการนี้อยู่ที่ตรงไหน? เงินทุนดังกล่าวได้ลงไปยังการศึกษาจริงๆ หรือไม่? โอกาสที่กองทุนจะได้เงินคืนจากการยืมมีสักกี่เปอร์เซนต์ ถ้าท่านได้ติดตามข่าวมาตลอด โดยเฉพาะท่านที่ชอบอ่านหนังสือพิมพ์หัวสี ถ้าดูตามข่าวย่อยหรือข่าวภูมิภาคจะพบว่า เงินบางส่วนจากนักเรียนนักศึกษารับจ้าง (ไม่อยากจะบอกว่า พวกที่พ่อขายนาส่งควายเรียน) จะนำเงินที่ได้จากการกู้ยืมไปใช้จ่ายในทางสุรุ่ยสุร่าย มั่วสุมตามที่ต่างๆ จนถูกจับขึ้นโรงพักกันบ่อยๆ

ปัญหาอยู่ที่การวางเงื่อนไขให้กู้ยืมเงินนั้น ครอบคลุมรอบคอบมากเพียงใด? ผมมีกรณีศึกษาครับ เอาลูกน้องผมเป็นตัวละครแทนมนุษย์เงินเดือน และเพื่อนผมเป็นตัวละครชาวบ้าน ที่มีสถานะแตกต่างกัน ลูกน้องผมเป็นลูกจ้างประจำตำแหน่งพนักงานขับรถของหน่วยงานราชการ ส่วนเพื่อนเป็นพ่อค้าขายส่งสินค้าของชำในตัวอำเภอแห่งหนึ่ง ทั้งสองมีลูกในวัยเรียนเหมือนกัน ต่างก็ยื่นเรื่องกู้เงินตามโครงการนี้เหมือนกัน แต่ผลที่ได้แตกต่างกัน

  • มนุษย์เงินเดือน มีลูกอยู่ในวัยเรียน 3 คน ตั้งแต่มัธยม อาชีวะ และอุดมศึกษา ปีก่อนโน้นคนโตยืมได้ เพราะรายได้ของพ่อคูณด้วยสิบสองเดือนแล้วไม่เกินแสนสอง มาปีนี้ไปเรียนมหาวิทยาลัยราชภัฏยืมไม่ได้ เพราะเปลี่ยนกฏเกณฑ์ใหม่ และเงินเดือนรวมแล้วเกินแสนสอง (ต้องโทษรัฐบาลที่ขึ้นเงินเดือนด้วยหรือเปล่า?) ต้องทำสัญญาใหม่ เขาให้ทำใหม่ไม่ต่อเนื่องสัญญาเดิม (ตอนนี้แหละปวดหมองซิครับลูกกำลังวัยกินวัยนอน)
  • พ่อค้ามีรายได้จากการจัดส่งสินค้าไปตามหมู่บ้านต่างๆ กำไรไม่ต่ำกว่าวันละพันบาท เมื่อคูนด้วยสิบสองเดือนยังไงก็เกินแสนสองหมื่นบาท แต่... เขาไม่มีสลิปเงินเดือน (ในช่องรายได้บิดา-มารดาระบุขายของชำ) ตอนนี้เพื่อนผมยังได้เงินยืมให้ลูกเรียนมหาวิทยาลัยเอกชนชื่อดังในกรุงเทพฯ

เห็นไหมว่ามันมีปัญหา นี่แค่ยกมาสองกรณีสองรายเท่านั้น ยังมีอีกเยอะที่พูดกันได้หลายวัน ต้องพิจารณาเป็นรายๆ ไป ทางออกของการช่วยเหลือน่าจะอยู่ที่ การส่งเสริมให้คนอยากเรียนได้เรียน สมความตั้งใจเพื่อออกมาทำงานช่วยเหลือครอบครัว และประเทศชาติ มีรายได้ชดใช้เงินทุนกลับคืนไปหมุนเวียน

kor yor sor

การพิจารณาน่าจะมองที่ โอกาสในการศึกษาเล่าเรียน สาขาวิชาที่จะจบ ออกมาทำงานได้ในช่วงเวลานั้นๆ มากกว่าการที่จะพิจารณาที่ข้อจำกัดด้านรายได้อย่างเดียว เพราะสังคมทุกวันนี้เป็นสังคมบริโภคนิยม เงินที่ได้จากการให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา อาจจะแปรเปลี่ยนไปเป็นค่าเหล้า ค่าโทรศัพท์มือถือ ค่างวดมอเตอร์ไซค์ สารพันที่นอกเหนือกฏเกณฑ์ แถมยังมีสถานศึกษาเอกชนบางแห่งรู้เห็นเป็นใจ สนับสนุนให้ใครก็ได้เข้ามาเรียน มากู้กันไปโดยไม่ได้รับผิดชอบว่าพวกเขาจะเรียนได้ เรียนจนจบ มีการงานทำที่มั่นคงส่งเงินคืนเข้ากองทุนได้

ผมก็เป็นมนุษย์เงินเดือน อยากจะกู้ยืมเงินกองทุนให้ลูกเรียนเหมือนกัน แต่ไม่อยู่ในกฏเกณฑ์ทั้งๆ ที่ค่าใช้จ่ายสูงมาก (นี่ขนาดมหาวิทยาลัยของรัฐนะครับ ลงทะเบียนแต่ละภาคเรียนเฉียดๆ สี่หมื่นบาท เรียกว่าซีดทุกระยะ 6 เดือนเชียว) ลูกเรียนอยู่ในกรุงเทพฯ พร้อมกันทีเดียว 2 คน ค่าใช้จ่ายเดือนละ 2 หมื่นที่ต้องกัดฟันอดทนสรรหาเพื่อลูก ก็เหนื่อยแล้วครับ

ในช่วงสัปดาห์นี้ผมอยู่ที่กรุงเทพฯ นะครับ เข้าไปช่วยบ่นเรื่องการทำระบบ e-Learning ที่สำนักเทคโนฯ กำลังดำเนินการอยู่ (ไม่ได้ช่วยเท่าไหร่หรอกครับ บ่นซะล่ะมากกว่า) อีกไม่นานเราจะมีระบบการจัดการตัวอย่างให้ทดลองใช้งานกัน (ทั้ง ATutor และ Moodle) โรงเรียนใดพร้อมด้านเครือข่ายและอุปกรณ์ก็อยากให้ดำเนินการเองภายในสถานศึกษานะครับ ถ้ามีบทเรียนดีๆ ก็แจ้งข่าวกันมาเราจะได้ทำลิงก์เชื่อมโยงไปหาท่าน ติดขัดปัญหาว่าจะติดตั้งดำเนินการอย่างไรก็สอบถามกันมาได้กับทีมงาน โดยเฉพาะในเว็บบอร์ด เพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เว็บไซต์กลางจะอยู่ที่นี่ครับ

ครูมนตรี โคตรคันทา
บันทึกไว้เมื่อ : 13 กรกฎาคม 2547

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

Our Policy