foto1
ความงดงามการศึกษาไทย
foto1
เพื่อ?
foto1
ไม่เข้าใจ?
foto1
วิทยากรที่กระทรวงศึกษาธิการ สปป.ลาว
foto1
ท่องทะเลทรายที่ดูไบ UAE


Friendly Links

เรียนรู้ภาษา html
isangate banner
easyhome banner
ipst banner
sakdibhornssup foundation
13 Thai free fonts
speedtest
e mil

Facebook Likebox

No. of Page View

webmaster talk

พระราชดำรัสของพ่อหลวงของเราที่มีต่อการศึกษาไทย

king 52003นับเป็นบุญบารมีของพวกเราชาวไทยอีกครั้งหนึ่ง ที่ได้รับฟังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสที่ให้คณะบุคคลต่างๆ เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2546 ที่ศาลาดุสิตดาลัย

ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ท่าน และความเอาใจใส่ต่อพสกนิกรของพระองค์ได้เฝ้าติดตามความเป็นไปของบ้านเมือง การพัฒนาประเทศในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะทางด้านการศึกษา พระองค์ท่านได้ตรัสถึงมากเป็นพิเศษในปีนี้ ทรงย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของการศึกษา ทิศทางและวิธีการปฏิรูปการศึกษาให้ประสบผลสำเร็จ สมควรที่พวกเราเหล่าครูบาอาจารย์ทั้งหลายจะได้รับใส่เกล้าใส่กระหม่อม พิจารณาใคร่ครวญการทำงานที่ผ่านมา และปรับปรุงให้สมกับปณิธานของพระองค์ท่าน เพื่อถวายแด่พ่อหลวงของเราในปีนี้ ครูมนตรีก็ขอคัดลอกพระราชดำรัสบางส่วนมาไว้ในเว็บแห่งนี้เพื่อเตือนใจในการทำงาน และเป็นสิริมงคลแก่เว็บไซต์นี้ครับ

ต้องช่วยให้การศึกษาดีขึ้น

"ความรู้การศึกษา อย่างที่กล่าวว่าต้องช่วยให้การศึกษาดีขึ้น เพราะว่าถ้าการศึกษาไม่ดี คนไม่สามารถที่จะทำงาน การศึกษาต้องได้ทุกระดับ ถ้าพูดถึงระดับสูงก็หมายความว่านักวิทยาศาสตร์ขั้นสูง ถ้าไม่มีการเรียนขั้นประถม ขั้นอนุบาลไม่มีทางที่จะให้คนไทยขึ้นไปเรียนในขั้นสูง หรือเรียนขั้นสูงเรียนไม่ดี ซึ่งเดี๋ยวนี้ก็ยังไม่ดี เพราะขั้นสูงต้องมีรากฐานจากขั้นต่ำ ถ้าขั้นต่ำไม่มี เรียนขั้นสูงต่างๆไม่รู้เรื่อง เมื่อไม่รู้เรื่อง ก็จะทำอะไรที่น่ากลัว... "

"... ถ้ามีความคิดแหวกแนวตั้งแต่เด็กก็สนใจที่จะพัฒนาอะไรๆ ได้มาก ถ้ามีความคิดสูงก็จะยิ่งดี ที่ในเมื่อเร็วๆ นี้ พวกนักเรียนไปแข่งขันโอลิมปิกไม่ใช้โอลิมปิกวิ่ง หรือโอลิมปิกกีฬา แต่เป็นโอลิมปิกวิชาการ หลังๆ ไปก็นับว่าดีขึ้น ได้เหรียญทองมาเพิ่มเติม แต่ก่อนนี้ไม่ได้ อันนี้สมเด็จฯกรมหลวงนราธิวาสฯ พี่สาวสนใจมากแล้วมาบ่นบอกว่า คน นักเรียนมีความรู้ไม่พอ มันมีความรู้ไม่พอเพราะว่าฐานรากของการเรียนไม่พอไม่ดี

แล้วก็ฐานรากนี้จะมาจากไหน ก็มาจากโรงเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล จนกระทั่งชั้นประถม มัธยม และถึงขั้นอุดมศึกษา ต้องพัฒนาให้ดี และพัฒนาวิธีความคิด ที่คิดให้มีความซุกซนในความรู้ คือซุกซนอย่างเรียนรู้ สิ่งที่เป็นประโยชน์อันนี้เป็นสิ่งที่สำคัญ ข้าพเจ้าเองเรียนในชีวิตที่เรียนเริ่มต้นที่เมืองไทยเข้าอนุบาล อายุ 3-4 ขวบ แล้วก็จนกระทั่งไปเข้าโรงเรียนอายุ 5 ขวบ แต่ก็ไม่ได้เรียนต่อในเมืองไทย เพราะว่าต้องตามเสด็จไปต่างประเทศไปเข้าโรงเรียนก็ตั้งแต่อายุ 6 ขวบ ถึง 17 ก็ไปอยู่โรงเรียนตั้งแต่อนุบาลจนกระทั่งถึงขั้นมัธยม

king 52003 2พยายามศึกษาในหลักสูตรของโรงเรียนที่เขามี ซึ่งก็นับว่าหลักสูตรที่เขามีเพราะเขาทำให้คิด สนับสนุนให้คิด ไม่ใช่สมัยนี้อย่างที่เมืองไทย เขาหาว่า ครูบังคับนักเรียน แต่ว่ามาวิธีที่คิดใหม่ของรัฐบาล ต้องให้นักเรียนสอนครู ซึ่งเป็นไปไม่ได้ เพราะว่าเด็กเพิ่งเกิดเพิ่งเห็นโลก จะสอนครูได้ยังไง แต่จริงครูบางคนสอนไม่เป็น รัฐมนตรีบางคนก็สอนไม่เป็น แต่ว่าถ้าสอนให้ถูกหลัก จะทำให้เด็กสอนครูได้ ซึ่งไม่ใช่ว่าเด็กสอนครู แต่เด็กเกิดมีปัญหาอะไรก็ให้ยอมให้เด็กพูดขึ้นมา เอ๊ะ นี่อะไร? เท่ากับสอนครู คือ ถ้าเด็กร้องขึ้นมาว่า เอ๊ะนี่อะไร โดยมากครูโกรธ ดูถูกครูหรือ ทำโทษ

"หมายความว่า การปฏิรูปการศึกษาจะต้องให้เด็กเกิดสงสัยได้ และอย่าไปนึกว่าสงสัยครู สงสัยอธิบดี สงสัยปลัดกระทรวงฯลฯ ถ้าเด็กร้องขึ้นมาเอ๊ะนี่อะไร ฟังเขา อันนี้ที่หมายถึงฟังเด็ก เพราะว่าความที่เด็กไม่ใช่เขารู้ เรียนรู้มาแต่บางคนเขามีความคิดที่แปลกๆ แหวกแนว เมื่อมีความคิดแหวกแนวเขาร้องเอ๊ะต้องฟังเขา

ที่บอกอย่างนี้เพราะประสบการณ์ของตัวเอง เมื่อเด็กๆ เราไปร้องเอ๊ะทำไมเป็นอย่างนั้น แล้วก็ครูก็ดี ครูฝรั่งที่เขาบอกว่า เขาอธิบายว่าที่เอ๊ะคืออะไร อ้าวเราพอใจก็สนใจต่อไป ที่ร้องเอ๊ะนี่เขาไม่ได้สอนที่โรงเรียน อย่างประวัติศาสตร์เขาสอนเรื่องที่เดี๋ยวนี้เป็นปัญหา เมโสโปตาเมีย เขาสอนแต่สอนเพียงเล็กน้อย เราไปสนใจเมโสโปตาเมีย เมื่อ 40 ปีก่อนนี้ที่ฝรั่งยังไม่ได้ศึกษาดี แล้วก็ไม่ได้สอน มาสมัยนี้เมืองที่เราสนใจ เดี๋ยวนี้เขาถือเป็นเมืองสำคัญกว่าเมืองบาบิโลน แต่ว่าเขาไม่รู้ พอดีได้ไปซื้อหนังสือ ซื้อหนังสือมาแล้วก็ไปเจอเมืองที่เรียกว่า อู ตอนนั้นไม่มีใครรู้จักเลย ครูก็ไม่รู้จัก เราก็ไปร้องเอ๊ะ มันน่าสนใจนะ ลงท้ายไปซื้อหนังสือนั้นมาอ่าน แล้วก็มีคล้ายเป็นผู้เชี่ยวชาญทางประวัติศาสตร์โบราณ... "

เราก็ต้องสอนครู นี่มันก็แปลกอย่างนี้ เราก็ทำตามนโยบายของท่านนายกฯ ตั้งแต่ท่านนายกฯ ยังไม่เกิด เราสอน เราสอนครู และลงท้ายครูก็ยอมรับ ดีอยู่ที่ครูยอมรับ เราก็เลยไม่ถูกดุ

พระชนนีทรงสอนอย่าลืมตัว

"นายกฯ มาพูดเมื่อวานนี้ที่สนามหลวงมาถือธง ถือธงชนะไชโย นี่แหละทราบดีว่านายกฯ ไม่ค่อยชอบให้เตือนเพราะว่า เตือนนี่ใครเตือนเรา มันเคือง แต่เดี๋ยวเล่าให้ฟัง

เตือนนี่ สมเด็จพระบรมราชชนนี แม่ เราอายุ 40-50 แล้ว ท่านมา ท่านชม โหเก่ง ทำไอ้นี่แม่ชอบ แต่ท่านบอกอย่าลืมตัว ท่านว่าอย่างนั้น ทุกครั้ง ท่านเตือน ท่านพูดว่า อย่าลอย คือท่านใช้คำว่า ปอดลอย ลอย ไอ้ขานี่ต้องอยู่กับดินท่านบอกว่า ชื่อลูก ชื่อภูมิพล ต้องเหยียบดิน ไอ้การลอยไม่เหยียบดิน เสร็จ ใช้ไม่ได้ ภูมิพลนี่เหยียบดิน นี่ไม่ใช่ดินแต่ข้างดินพื้นดิน ถึงเดินไปบนภูเขาก็เดินบนดิน เหาะเฮลิคอปเตอร์ลงมาถึงก็เดินบนดิน ท่านเตือนเสมอว่าห้ามไม่ให้ลอยจนอายุเกือบ 60 ท่านหยุด ท่านไม่เตือนแล้ว ท่านบอก แม่ชอบเท่านั้น ท่านบอกว่าทำอะไรดีให้รู้ว่าดีแต่อย่าเหิมมากเกินไป แต่อย่างนี้ขอโทษนายกฯ หาว่าตำหนินายกฯ ไม่ใช่ ต้องระวัง... "

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีกระแสพระราชดำรัสในตอนท้าย ว่า "ความจริงที่พูดนี่เป็นทรัพย์สินทางปัญญา เป็นทรัพย์สินทางปัญญาแล้วคนเอาไปหากิน ก็ยอมให้ไปหากิน คำพูด ถ้าเราถือว่าเราพูดดีก็ไปหากิน ถ้าหากินคนก็จะมีความสุข ขอให้ทุกๆ ท่านที่มาทั่วไปทุกแห่ง ทั้งข้างนอกและข้างใน ให้มีความร่มเย็น ให้มีความเจริญทุกคน งานการอะไรที่ทำให้มีผลสำเร็จที่ดี ก็ขอขอบใจท่านทั้งหลายที่มา "

ครูมนตรี     
บันทึกไว้เมื่อ : 5 ธันวาคม 2546
 
นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

Our Policy