foto1
ความงดงามการศึกษาไทย
foto1
เพื่อ?
foto1
ไม่เข้าใจ?
foto1
วิทยากรที่กระทรวงศึกษาธิการ สปป.ลาว
foto1
ท่องทะเลทรายที่ดูไบ UAE


Friendly Links

เรียนรู้ภาษา html
isangate banner
easyhome banner
ipst banner
sakdibhornssup foundation
13 Thai free fonts
speedtest
e mil

Facebook Likebox

No. of Page View

10-technics presentation

presentation 4 จากการที่ได้นำบทความเรื่อง การนำเสนอ ช่วยหรือฉุด มาให้อ่านกัน หลายท่านก็สอบถามกันมาว่า "รู้แล้วว่ามันไม่ดี แต่ถ้าจะทำให้ดีๆ ทำอย่างไร?" คราวนี้ก็เลยขอนำ 10 สุดยอดเทคนิคการนำเสนอ ที่น่าจะเป็นหนทางช่วยเหลือให้ทุกท่านได้สร้างงานนำ เสนอต่อที่ประชุม สัมมนา อย่างมีประสิทธิภาพ ให้ผู้ฟังติดตา ตรึงใจ ประทับใจไปอีกนาน ไม่ใช่ขึ้นไปบนเวทีเพื่อให้ถูกเชือด (เฉือนในใจ) ผู้ฟังเงียบสนิท (เพราะหลับกันถ้วนหน้า) มีวิธีการอย่างไร...?

ขอเสนอด้วยปัญหาที่พบเห็นกันเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นในงานประชุม สัมมนา ในระดับโรงเรียน หรือระดับชาติ และเสริมเพิ่มด้วยเทคนิคที่ควรจะนำไปแก้ไขให้เกิดประโยชน์ ลองติดตามดูว่า คุณเคยสัมผัสประสบการณ์เหล่านี้ ตอนที่นั่งดูการนำเสนองานหรือไม่? เริ่มจากข้อผิดพลาดเบาๆ ไปสู่ข้อผิดพลาดที่ทำให้หน้าแตกกันมากที่สุดกันเลย...

10) เลือกใช้สีสันฉูดฉาดแบบลูกกวาด

คุณผู้สร้างงานนำเสนอคงชอบแบบนี้แน่ (ถึงได้ทำออกมาไง?) แต่ไม่ใช่ในมุมมองของผู้ชมที่นั่งอยู่ตรงหน้า ควรหลีกเลี่ยงการจับคู่สีที่แปลกประหลาด อย่างเช่น จับคู่สีส้มกับสีฟ้า สีเขียวกับสีแดง เอาง่ายๆ สีตรงข้ามในวงล้อของสีที่เราเรียนศิลปะนั่นแหละ

เคล็ดลับข้อที่ 10

ความเข้มสีที่เหมาะสมกับพื้นหลังเป็นสิ่งจำเป็นที่ทำให้อ่านข้อความของคุณได้ง่าย

  • ข้อความสีเข้มบนพื้นสีอ่อน เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด เลือกใช้สีโทนสีเบจหรือสีพื้นหลังแบบอ่อน ซึ่งช่วยให้สายตารับภาพได้ดีกว่าการใช้สีขาวล้วน การใช้พื้นหลังสีเข้มก็เหมาะกับการใช้สีตัวอักษรที่อ่อนเช่นกัน
  • การเลือกใช้พื้นหลังแบบมีลวดลายทำให้อ่านข้อความได้ยาก
  • เลือกโทนสีให้สอดคล้องกัน

9) ซูม ซูม - ใส่แอนิเมชั่นสุดหวือหวา

คุณอาจมองว่า การเลือกใช้ภาพแอนิเมชั่นและเอฟเฟคเลียงนี่มันสุดเจ๋งจริงๆ และคุณก็ใช้ในงานนำเสนอของคุณมากกว่า 85% โดยหวังว่าจะประทับใจผู้ชมงานด้วยความสามารถพิเศษแบบนี้ แต่บางทีมันก็มีข้อยกเว้น เพราะผู้ชมงานของคุณอาจจะไม่รู้ว่าต้องมองไปที่จุดไหนในงานนำเสนอของคุณ และท้ายที่สุดก็ลืมไปว่าคุณกำลังเสนออะไรอยู่ด้วยซ้ำไป

เคล็ดลับข้อที่ 9

ภาพเคลื่อนไหวแอนิเมชั่นและเอฟเฟคเสียง ถ้าใช้ให้ดีก็มีประโยชน์ ช่วยดึงดูดความสนใจได้สุดๆ แต่อย่าใช้มันเพื่อทำให้ผู้ชมของคุณสมาธิหลุดไปจากเนื้อหาซะก่อน เพราะใช้ของดีๆ เหล่านี้มากเกินไป ออกแบบงานนำเสนอของคุณด้วยแนวความคิดที่ว่า “น้อยแต่มาก Less is more” อย่าปล่อยให้ผู้ชมงานของคุณสับสนด้วยการใช้แอนิเมชั่นแบบมากเกินขนาด

8) มีเท่าไหร่ใส่เข้าไปให้หมด...!!!

การไปเที่ยวพักร้อนของคุณช่างสุดวิเศษ คุณเลยถ่ายภาพสวยๆ มาอวดเพื่อนๆ กว่า 500 ภาพ กลับมาทำเป็นอัลบั้มสวยงาม หวังว่าเพื่อนๆ คุณจะประทับใจกับทริปของคุณแน่นอน แต่หลังจากผ่านไป 100 สไลด์แรก คงมีเสียงกรนจากเพื่อนของคุณดังขึ้นมาแน่ๆ

เคล็ดลับข้อที่ 8

ทำให้มั่นใจว่าผู้ชมงานของคุณโฟกัสอยู่ที่งานของคุณด้วยการจำกัดจำนวน สไลด์ให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น ประมาณ 10-12 ไสลด์ (ที่สุดเจ๋ง) ก็เพียงพอแล้ว

7) แม่แบบงานนำเสนอดีเยี่ยม เมื่อใช้อย่างถูกต้อง

ถ้าคุณเคยได้ยินว่าสีฟ้าเป็นสีที่ดีสำหรับแม่แบบงานนำเสนอ บังเอิญเจอแม่แบบงานนำเสนอแสนสวยในอินเตอร์เนตที่เป็นรูปวิวชายหาด น้ำคือสีฟ้าใช่ไหม? โชคร้ายจังเลย ที่งานนำเสนอของคุณกลายเป็นเครื่องมือชิ้นใหม่ชั้นเยี่ยมที่ถูกนำไปแสดงใน งานประชุมช่างไม้แทน

เคล็ดลับข้อที่ 7

เลือกแม่แบบ (Template) งานนำเสนอซึ่งเหมาะสมกับกลุ่มผู้ชม สะอาดและแบบที่ตรงไปตรงมาเหมาะมากสำหรับการนำเสนองานเชิงธุรกิจ สำหรับกลุ่มเด็กๆ ก็เหมาะกับงานนำเสนอที่เป็นสีสันฉูดฉาดและมีรูปร่างที่หลากหลาย

6) เลือกฟอนต์แบบห่วยๆ

นอกจากจะตัวเล็กแล้ว ยังไปเลือกฟอนต์แบบลายมือ เล่นหางซะหยดย้อย คงยอดเยี่ยมแน่ๆ ถ้าผู้ฟังของคุณนั่งห่างจากจอภาพแค่ 18 นิ้ว แต่เพราะนั่นคุณลืมนึกถึงสุภาพสตรีที่นั่งห่างออกไปหลังห้องกว่า 20 เมตร ซึ่งอ่านฟอนต์แบบนี้ไม่ออกเลย

เคล็ดลับข้อที่ 6

จำไว้ว่าควรเลือกใช้ฟอนต์ที่อ่านง่ายอย่าง Arial หรือ Times New Roman สำหรับภาษาอังกฤษ และเลือกฟอนต์อย่าง EucrosiaUPC, FreesiaUPC หรือ LilyUPC หลีกเลี่ยงการใช้ฟอนต์แบบลายมือซึ่งยากที่จะอ่านออกบนจอภาพ และไม่ควรใช้ฟอนต์ประกอบกันในสไลด์เกิน 2 แบบ โดยแบบแรกใช้กับหัวเรื่อง (Title) ส่วนอีกแบบใช้กับข้อความเนื้อเรื่อง และขนาดไม่ควรเล็กกว่า 30 pt เพื่อให้ผู้ชมงานที่นั่งด้านหลังมองเห็นได้ด้วยเช่นกัน

5) รูปภาพและกราฟใช้เพื่อเน้นจุดสำคัญเท่านั้น

คุณอาจเดาว่า เดี๋ยวไม่มีใครสังเกตว่าคุณไม่ได้ทำงานวิจัยเพียงพอในประเด็นที่นำเสนอ ถ้าคุณไม่ได้ใส่รูปภาพกับกราฟที่แสนซับซ้อนลงไปเยอะๆ เพื่อโชว์เพา(เวอร์)

เคล็ดลับข้อที่ 5

เวลาคือเงิน เป็นความจริงในโลกปัจจุบัน ไม่มีใครต้องการมานั่งเสียเวลาฟังการนำเสนอที่ไม่มีแก่นสารอะไร ใช้ภาพ แผนภาพและแผนภูมิเพื่อเน้นย้ำเฉพาะจุดสำคัญของการนำเสนอเท่านั้น ซึ่งช่วยสร้างจังหวะพักที่ดีให้กับการนำเสนอและสื่อที่ใช้นอกเหนือจากตัว อักษร และเมื่อใช้อย่างถูกที่ ถูกเวลา ยังช่วยยกระดับการนำเสนอด้วยการพูดของคุณให้น่าสนใจขึ้นอีก

4) ผู้ฟังมาเพื่อดูคุณ ไม่ใช่ดูสไลด์

หนึ่งในกลุ่มผู้ฟังพูดว่า มองไม่เห็นสไลด์ที่กำลังนำเสนอ คุณก็บอกผู้ฟังว่าคุณจะอ่านสไลด์ให้ฟัง และก็ดันทำอย่างนั้นไปตลอดการนำเสนอสลับกับการเงยหน้าขึ้นมองสไลด์ แต่ละสไลด์เต็มไปด้วยข้อความที่คุณจะพูดทั้งนั้น แล้วผู้ฟังจะมีคุณไว้ทำไม?

เคล็ดลับข้อที่ 4

สร้างเนื้อหาให้ง่าย ด้วยการใส่หัวข้อย่อย (Bullet) หน้าข้อความสำหรับข้อความสำคัญ จัดให้ข้อความสำคัญที่สุดอยู่ด้านบนของสไลด์เพื่อให้ง่ายต่อการอ่านในแถวถัดมา มุ่งไปที่หัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง และไม่ควรใช้หัวข้อย่อยเกินกว่า 4 ข้อต่อหนึ่งสไลด์ และที่สำคัญพูดกับผู้ฟังไม่ใช่พูด (บ่น) กับจอภาพ

3) T.M.I. ข้อมูลมากเกินไป

คุณรู้เรื่องราวมากมายเกี่ยวกับหัวข้อที่คุณจะนำเสนอ จึงใส่ข้อมูลมากเกินขนาด (T.M.I. = Too Much Information) จนพูดกระโดดสลับไปสลับมาอย่างเร็วเพื่อบอกเล่าสิ่งที่คุณรู้ทั้งหมด จนผู้ฟังแทบจะฟังไม่ทัน

เคล็ดลับข้อที่ 3

จงใช้เทคนิค K.I.S.S. (Keep It Silly Simple) หรือ “ทำมันให้ง่ายเข้าไว้” เมื่อออกแบบการนำเสนอของคุณ ยึดอยู่กับประเด็นเพียงสามหรืออย่างมากสี่ประเด็น เกี่ยวกับหัวข้อนั้นและอธิบายขยายความ ผู้ฟังน่าจะจับประเด็นได้มากกว่า

2) อุปกรณ์ไม่ทำงาน

ผู้ฟังนั่งประจำที่ คุณพร้อมที่จะนำเสนอ และทายสิว่าเกิดอะไรขึ้น? โปรเจคเตอร์ไม่ทำงาน และคุณก็ไม่ได้ตรวจสอบมันก่อน ตายละวา...!!!

เคล็ดลับข้อที่ 2

ตรวจอุปกรณ์และเครื่องมือทุกอย่าง และอย่าลืมซักซ้อมการนำเสนอของคุณ โดยการใช้โปรเจคเตอร์มาเป็นระยะเวลาหนึ่งก่อนการเริ่มนำเสนอจริง ถ้าเป็นไปได้ ตรวจสอบแสงสว่างและไฟในห้องนำเสนอก่อนถึงเวลา และทำให้มั่นใจว่าคุณรู้วิธีทำให้ไฟสลัว หากห้องนั้นสว่างเกินไป

และข้อผิดพลาดอันดับหนึ่งของผู้นำเสนอที่มักทำผิดคือ...

1) คุณไม่รู้ว่าคุณพูดเรื่องอะไร?

คุณจำเนื้อหาหรือสิ่งที่คุณจะพูดได้ เพราะมันอยู่บนจอแล้ว แต่มีใครบางคนยกมือถามคุณ ความตกใจสับสนเริ่มย่างกรายเข้ามา คุณไม่ได้เตรียมตัวเพื่อตอบคำถามนี้ และสิ่งที่คุณรู้ทั้งหมดคือสิ่งที่อยู่บนสไลด์เท่านั้น (ว้าว...!!)

เคล็ดลับข้อที่ 1

ไม่มีสิ่งใดจะลดความน่าเชื่อถือของคุณได้ มากเท่ากับ การเป็นผู้นำเสนอที่ไม่รู้รายละเอียดในสิ่งที่คุณต้องพูดอีกแล้ว  การรู้จักเรื่องของคุณอย่างดี จะทำให้คุณสามารถนำเสนอผลงานได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เสริมแบบอิเล็กโทรนิกส์อย่าง PowerPoint ก็ได้ ใช้เฉพาะคำและประเด็นสำคัญ เพื่อให้เกิดความน่าสนใจ และเตรียมพร้อมสำหรับคำถามและคำตอบด้วย

บทส่งท้าย

การเป็นผู้นำเสนอที่ดีนั้นจำเป็นต้องสามารถดึงดูดผู้ฟังได้ และรู้เรื่องเกี่ยวกับสิ่งที่จะพูดได้เป็นอย่างดี พยายามทำให้การนำเสนอสั้น กระชับ และประกอบด้วยข้อมูลที่จำเป็น ใช้อุปกรณ์เสริมอิเล็กทรอนิกส์อย่าง PowerPoint เพื่อเสริมจุดสำคัญของการนำเสนอ ไม่ใช่เป็นสิ่งค้ำยันการนำเสนอ จำไว้ว่า...

สไลด์โชว์ไม่ใช่การนำเสนอ คุณต่างหากคือการนำเสนอ!

การนำเสนอที่ไม่ตอบสนอง | 10 เทคนิคการนำเสนออย่างมืออาชีพ | การนำเสนอให้ได้เกรด A

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

Our Policy