foto1
ความงดงามการศึกษาไทย
foto1
เพื่อ?
foto1
ไม่เข้าใจ?
foto1
วิทยากรที่กระทรวงศึกษาธิการ สปป.ลาว
foto1
ท่องทะเลทรายที่ดูไบ UAE


Friendly Links

เรียนรู้ภาษา html
isangate banner
easyhome banner
ipst banner
sakdibhornssup foundation
13 Thai free fonts
speedtest
e mil

Facebook Likebox

No. of Page View

alcohol header

รวบรวมและเรียบเรียงโดย : นพ. สมนึก ศรีวิศาล FRCR, FRCPC, St.Louis, MO, USA

I : "Alcohol" : Thing you want to know but afraid to ask.

อาจจะกล่าวได้ว่า แอลกอฮอล์ (Alcohol) ถือว่าเป็นยาตัวหนึ่งที่ได้ใช้กันมาเป็นเวลานาน นับเป็นพันปีเลยก็ว่าได้ :ซึ่งในปัจจุบันนี้อุตสาหกรรมเครื่องดื่มมึนเมานั้นมีขนาดใหญ่มาก ผลกระทบที่มีต่อสังคมและต่อบุคคลนั้นก็มีมากมาย ส่วนใหญ่เป็นไปในทางลบ บทความนี้หวังจะให้ผู้อ่านได้ความรู้และเผยแพร่แก่บุคคลใกล้ชิดรอบข้างที่จะเป็นพลังของชาติที่มีคุณภาพ เพราะเมื่อเรารู้ธรรมชาติ ความเป็นไปและคุณสมบัติของแอลกอฮอล์ รู้ผลดี (น้อย) และผลเสีย (มาก) ต่อร่างกายและสังคม เราก็จะได้รู้จักประพฤติตนเตรียมตัวรับมือหรือหลีกเลี่ยงเสีย เพื่อให้คุณภาพชีวิตของเราอยูในระดับดี ไม่ตกเป็นเหยื่อหรืออยู่ภายใต้อำนาจของมัน

จริงอยู่แอลกอฮอล์ เป็นสารเครื่องดื่ม ที่สังคมยอมรับไม่ว่าจะเป็นสังคมชั้นไหนๆ เป็นเครื่องดี่มที่ใช้กันทุกระดับชนชั้น เป็นส่วนหนึ่งของยา เป็นส่วนหนึ่งของสารเคมี เช่น ใช้เป็นสารละลาย

บทความนี้จะประกอบไปด้วย ความรู้ทั่วไปทีเกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์ การเปลี่ยนแปลงในร่างกาย ผลที่มีต่อระบบของต่อมระบบต่างๆ ของร่างกาย และผลข้างเคียงที่เราไม่ค่อยจะรู้ (รายละเอียด) กัน

bottleความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ แอลกอฮอล์ (Alcohol)

Alcohol เป็นสารที่ประกอบด้วย Carbon (C) Hydrogen (H) และ ตัว OH (Hydroxy group)

  • หากมีคาร์บอน หนึ่งตัว ก็เรียกว่า Methy Alcohol CH3-OH ซึ่งที่เรารู้จ้กกันดี ก็คือที่เอามาใช้ทำความสะอาดแผล
  • คาร์บอนสองตัว ก็เรียกว่า Ethyl Alcohol C2H5-OH ซึ่งก็คือ ตัวที่เราเอามาใช้ดื่ม

ตัวอื่นๆ ที่มี จำนวนคาร์บอน มากกว่า 2 เราก็จะไม่เอยถึงเพราะเราพบน้อย มาถึงตัวที่เราสนใจ คือ Ethyl Alcohol หรือที่ชาวเราเรียกว่า "สุรา แปลว่า เหล้า" นี่แหละ ในที่นี้ เราจะเรียกรวมว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

  • เบียร์ ซึงได้มาจากการหมัก พวกข้าว เช่น ข้าวบาร์เล จำนวนน้ำหนักแอลกอฮอล์ประมาณ 3-6 กรัมต่อปริมาณ (100 cc) หรือนิยมเรียกว่า มีแอลกอฮอล์อยู่ 3-6%
  • ไวน์ ได้มาจากการหมักน้ำตาลของผลไม้ จำนวนแอลกอฮอล์มีประมาณ 12-14% มีไวน์ที่ทำให้เข้มข้น โดยเติมแอลกอฮอล์เข้าไปอีก ให้เป็น 18-20% ก็มี ส่วน ไวน์คูลเลอร์ (Wine Cooler) นั้น เขาผสมน้ำตาล ไวน์แดงหรือขาว เข้าไปด้วย มีปริมาณแอลกอฮอล์เท่ากับพวกเบียร์
  • เหล้า กลุ่มสุดท้าย ได้แก่พวกเหล้าดีกรีสูง เช่น whiskey ซึ่งได้จากการต้มกลั่นกันเลย พวกนี้ มีปริมาณแอลกอฮอล์ประมาณ 40-50%

alcohol 05มีศัพท์อยู่อีกคำที่ใช้กันในแวดวงอุตสาหกรรมสุรา คือ proof เช่น บอกว่า เหล้านี้มี 80 % proof อันนี้มีค่าเท่ากับ ให้เอาจำนวน proof หารด้วย 2 จะออกมาเป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์ของแอลกอฮอล์ ฉะนั้น 100% proof ก็จะมีแอลกอฮอล์อยู่ 50%

เพื่อให้ง่ายในการเปรียบเทียบ ระหว่างเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดต่างๆ ที่เขามักจะใช้ในการเปรียบเทียบ โดยใช้เรียกว่า "A drink" หรือ "One drink" นั้นเท่ากับ

  • 12 ounces of beer (4-6%) ~ 360 cc = (5% x 360) / 100 = 18 gm of alcohol
  • 4.5 ounces of wine (12-14%) ~ 140 cc = (13% x 140) /100 = 18.2 gm of alcohol
  • 1.5 ounce of distilled liquor( 40%) ~ 45 cc = (40% x 45) /100 = 18 grm of alcohol
  • (1 ounce ~ 30 cc)

units  unit2

ฉะนั้น จะเห็นว่า ดื่มเบียร์ 360 cc จะเท่ากับ ดื่มไวน์ 140 cc เท่ากับ ดื่มพวกวิสกี้ 45 cc ในแง่ของ จำนวนน้ำหนักของแอลกอฮอล์จริงๆ ที่เข้าไปในร่างกาย 360 cc มีปริมาณ ประมาณ 1 แก้วน้ำดื่ม อย่างน้ำดื่มขวดขนาดเท่ากับ 500 cc เท่าที่เคยเห็น

ส่วน 45 cc นั้น อันนี้ น่าจะเท่ากับ 1 เป็ก (แก้วใบเล็กๆ) ซึ่งสมัยก่อนที่บรรดาคอเหล้าขาวยี่สิบแปดดีกรี (รู้สึกจะเป็นของโรงสุราบางยี่ขัน) ชอบไปซื้อตามร้าน 1 กรึ้บเล็กๆ แล้วมักจะตามด้วยมะขามเปรี้ยว ตอนสมัยเด็กๆ จะเห็นว่าพอเวลาพวกกรรมกรดื่มของพวกนี้ เวลาที่มันผ่านคอ เขาทำหน้าเหยเก ทำให้นึกว่าทำไมเขาต้องกิน มันคงไม่อร่อยเลยในเมื่อกินแล้วมันทำหน้าเป็นอย่างนั้น

II : เกิดอะไรขึ้นเมื่อ Alcohol เข้าสู่ร่างกาย ?

alcoholแอลกอฮอล์ เมื่อเข้าไปในระบบทางเดินอาหาร มันจะถูกดูดซึมผ่านผนังของกระเพาะ หรือลำไส้เล็กโดยไม่ถูกย่อย ที่กระเพาะปริมาณการดูดซึมประมาณ 20% และที่ลำไส้เล็กการดูดซึมจะประมาณ 70 % ส่วนอีก 10% นั้น จะถูกขับออกทางลมหายใจและปัสสาวะ ฉนั้นจะเห็นว่า แอลกอฮอล์นี้ เหมือนกับ VIP คือได้ผ่านได้ไปเลย ถูกดูดซึมโดยไม่ได้มีการย่อยหรือการเปลี่ยนแปลงในกระเพาะหรือหรือลำใส้

ในกระเพาะที่ว่างเปล่า แอลกอฮอล์สามารถไปถึงสมองภายในหนึ่งนาที หลังจากทีได้รับการดูดซึมจากผนังกระเพาะ เมื่อแอลกอฮอล์ออกจากลำไส้ มันก็จะเข้าไปยังตับ และทุกเซลในตับจะถูกชะโลมด้วยแอลกอฮอล์ ดังนั้นตับจึงรับภาระมากที่สุด ผลเสียที่เกิดก็มากที่สุดในร่างกาย

ปกติตับจะทำหน้าที่เป็นโรงงานที่ใหญ่ที่สุดของร่างกาย เช่น สร้างสารพวก triglyceride ที่ได้จาก fatty acid ซึ่งได้จากที่เรารับประทานอาหารต่างๆ เข้าไป แล้วส่งต่อไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ตับยังสร้างอาหารสะสมจากน้ำตาล (Glycogen synthesis) เพื่อเก็บไว้ใช้เป็นพลังงานเวลาที่ร่างกายมีความจำเป็นต้องการจะใช้ นอกเหนือจากนี้ แอลกอฮอล์ส่วนที่ตับสกัดฟอก (metabolize - สกัด ทำลาย แยก) ออกไม่ทัน ก็จะถูกส่งออกผ่านเส้นเลือดต่อไปยังหัวใจ จากนั้นก็จะถูกสูบฉีดไปทั่วร่างกาย รวมทั้งสมองด้วย

โดยเฉลี่ยตับสามารถกำจัดเอาแอลกอฮอล์ ออกได้ประมาณ 8 - 18 กรัมของแอลกอฮอล์ทีดื่มเข้าไปต่อชั่วโมง (ขึ้นอยู่กับ เพศ น้ำหนัก ของผู้ดื่มด้วย) เมื่อแอลกอฮอล์ เข้ามามากเกินที่ตับจะฟอกได้ มันก็จะท้นเข้าระบบใหลเวียน ทำให้แอลกอฮอล์ ซึ่งละลายน้ำได้ดีสามารถไปยังอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย และจะไหลเวียนรอจนกว่าตับจะฟอกออกหมด ดังนั้น จึงพอจะพูดได้ว่า "ไม่ควรดื่มเกิน One drink ต่อ ชั่วโมง" (อ่านคำจำกัดความของ One Drink จากตอนที่ ๑)

bottleการวัดระดับ Alcohol ในร่างกาย

ปริมาณแอลกอฮอล์ ในเลือด BAC (Blood Alcohol Concentration หรือ BAL (Blood Alcohol Level) วัดจำนวนแอลกอฮอล์ เป็น gram (gm) ในเลือด 100 cc และพูดเป็น "เปอร์เซ็นต์" เช่น 0.08 % ก็เท่ากับว่า เลือด 100 cc มีจำนวนแอลกอฮอล์อยู่ 0.08 gm ซึ่งก็เท่ากับ 0.08 x 1000 mg (1 gm = 1000 mg) = 80 mg

ร่างกายย่อยทำลาย (metabolize) แอลกอฮอล์อย่างไร ?

girl drinkการย่อยทำลายแอลกอฮอล์นั้นเกิดขึ้นที่ตับ มันจะถูกสลาย โดย

  • เอ็นไซม์ Alcohol Dehydrogenase เปลี่ยน (Oxidise) ให้เป็น Acetaldehyde
  • เอ็นไซม์ Acetaldehyde dehydrogenase oxidise (เปลี่ยน) Acetaldehyde ให้เป็น Acetyl CoA ซึ่งทำให้เกิด Hydrogen (H) ขึ้น จากนั้น Hydrogen ก็จะถูก วิตามิน Niacin ซึ่งทำตัวเป็น Coenzyme เข้ามาจับ Hydrogen ตัวนี้ โดยปกติ Niacin จะเป็น ตัวช่วยในกิจกรรมการสร้างอาหารอื่นที่มีประโยชน์

นอกจากนี้ ร่างกายยังขับออกโดยทาง ลมหายใจ ผิวหนัง และทางไต ในรูปที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง (คือ ไม่ได้ผ่านกรรมวิธีสองขั้นอย่างข้างบน) ในจำนวนไม่เกิน 10 % ของปริมาณทั้งหมดที่ดื่มเข้าไป ฉะนั้นในตอนเช้าเราจึงสามารถบอกได้ว่า เมื่อคืนใครไปฉลองมาหนักเกินไปหรือเปล่า โดยสามารถได้กลิ่นแอลกอฮอล์จากลมหายใจ (เรียกกันว่า กลิ่นละมุดเน่า)

 

III : ผลของ Alcohol โดยทั่วๆ ไปต่ออวัยวะต่างๆ

ในร่างกายจะมีการควบคุมที่คอยปรับระดับความเข้มข้นในร่างกายให้ปกติสม่ำเสมอ เช่น เมื่อมีเหงื่อออกมาก ร่างกายก็จะพยายามเก็บน้ำโดยที่ถ่ายปัสสาวะน้อยลง แต่เมื่ออากาศเย็นเหงื่อออกน้อย ร่างกายจะขับน้ำออกมากขึ้นโดยออกเป็นปัสสาวะ กลไกเหล่านี้

alcoholควบคุมโดยบริเวณในสมองที่เราเรียกว่า Hypothalamus เพราะความเข้มข้นของน้ำในร่างกาย เป็นตัวควบคุมการหลั่งสารที่ออกมาควบคุมต่อมใต้สมองให้หลั่งฮอร์โมน ADH ซึ่งเป็นตัวคอยกักน้ำ ความเย็น ก็เป็นตัวทำให้ ADH ออกน้อย ผลก็คือเราไม่เก็บน้ำ จึงถ่ายปัสสาวะบ่อย

แอลกอฮอล์มีผลในทางเดียวกันทำให้ไม่มีการเก็บน้ำ ฉะนั้นจะเห็นว่า พวกคอเหล้าจะไปเข้าห้องน้ำบ่อย เพราะเป็นผลทางสรีรวิทยาของร่างกาย ที่ตอบสนองต่อแอลกอฮอล์นั่นเอง ผลที่ตามมาก็คือพวกคอเหล้าจะขาดน้ำและเกลือในร่างกาย (จะกล่าวถึงเมื่อเราพูดถึง ตอนสร่างเมา - Hangover)

เครื่องดื่มมึนเมาแอลกอฮอล์นี้ มีคุณสมบัติเหมือนยา คือ ไปกดระบบสมองเหมือนเช่นยานอนหลับหรือยาสลบ แอลกอฮอล์ไม่ใช่เป็นสารกระตุ้นอย่างที่คิดกัน แต่ดูคนที่ดื่มแอลกอฮอล์ แล้วมีความรู้สึกเหมือนถูกกระตุ้น ทั้งนี้เพราะเมื่อดื่มแล้วทำให้ผู้คนเป็นคนละคน พูดมากขึ้น กล้า(หน้าด้าน หรือ ความอายลดลง)

ทั้งนี้เพราะแอลกอฮอล์ไปกดศูนย์สมองบริเวณที่ควบคุมการตัดสินใจความผิดถูก (ความยับยั้งสิ่งถูกผิด) คือไม่ทำอะไรที่ผิดหรือไม่ถูกต้อง เมื่อศูนย์นี้ถูกกดโดยแอลกอฮอล์ทำให้ "ปล่อย" ความยับยั้งหรือสิ่งที่กดเอาไว้ สิ่งที่ไม่เคยทำจึงออกมาทำให้เหมือนว่าไปกระตุ้น แต่แท้จริงแล้วผลที่สำคัญของแอลกอฮอล์ต่อระบบสมอง คือไปกดการทำงานของสมองให้ลดลง เอาไว้เมื่อถึงตอนพูดถึงผลต่อระบบสมอง เราจะเห็นชัดเจนว่า ผลคือการกดการทำงานของระบบประสาททั้งระบบ

alcohol 02ระดับของแอลกอฮอล์ในเลือดก็ขึ้นอยู่กับสภาวะอื่นด้วย เช่น การมีอาหารในกระเพาะก็จะทำให้การดูดซึมของแอลกอฮอล์ช้าลง นอกจากนี้ การที่มีอาหารในกระเพาะยังทำให้แอลกอฮอล์ออกไปยังลำไส้เล็กช้าลงด้วย ทำให้ตับมีโอกาสฟอกเอาแอลกอฮอล์ออกได้ทัน เมื่อเทียบกับเมื่อกระเพาะว่าง แอลกอฮอล์ที่มีความดีกรีสูง เช่น พวกเหล้า จะถูกดูดซึมได้เร็วกว่าพวกเบียร์ เพราะไม่มีน้ำหรือสารอื่น เช่น โซดาหรือน้ำหวานมาทำให้เจือจาง

ในความเข้มข้นที่สูงๆ แอลกอฮอล์ยังสามารถทำให้กระเพาะระคายเคือง และสามารถทำให้กระเพาะเกร็งตัว หยุดทำงาน ทำให้แอลกอฮอล์อยู่ในกระเพาะนานแทนที่จะส่งไปยังลำใส้เล็ก พบว่า พวกที่ดื่มแอลกอฮอล์ที่ดีกรีสูงก็จะเมาเร็ว เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ร้อนจะถูกดูดซึมได้เร็วกว่าที่ดื่มแบบเย็น ยังพบอีกว่า ชนิดของอาหารในกระเพาะไม่มีผลต่ออัตราการดูดซึมแอลกอฮอล์ เคยได้ยินมาว่า เมื่อมีน้ำตาลในกระเพาะแล้วจะทำให้เมาง่ายเพราะดูดซึมเร็ว อันนี้ไม่เป็นความจริง

อย่างที่กล่าวมาข้างต้น อาการต่างๆ ที่ออกมาขึ้นอยู่กับระดับของความเข้มของแอลกอฮอล์ในเลือด คนตัวใหญ่มีน้ำในร่างกายมากทำให้เกิดความเข้มน้อย เมื่อเทียบกับคนน้ำหนักน้อย เพศชายมีกล้ามเนื้อมากกว่าเพศหญิง (เพศหญิงมี ไขมันมากกว่า) กล้ามเนื้อมีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่มาก ฉะนั้น ระดับแอลกอฮอล์ในร่างกายของเพศชาย (เมื่อเทียบ น้ำหนักที่เท่ากันกับเพศหญิง) ก็จะต่ำกว่าเพศหญิง ดังนั้น เพศหญิงจึงมีการตอบสนองต่อแอลกอฮอล์ (เมาง่ายกว่า) มากกว่าเพศชาย

dangerous alcohol

IV : ผลต่อระบบทางเดินอาหาร

กระเพาะและลำไส้

เป็นที่รู้กันดีว่าแอลกอฮอล์ทำให้กรดเพิ่มในกระเพาะ ผลที่ตามมาคือ กระเพาะอักเสบ ซึ่งเกิดได้สองแบบ คือ แบบฉับพลัน หรือ แบบเรื้อรัง ในแบบฉับพลัน อาการที่มีได้คือ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียร และไข้ อาจมีเลือดออกและมีแผลเกิดขึ้นได้ ส่วนอาการในรายเรื้อรังนั้นอาจมีเบื่ออาหาร ปวดท้อง ปวดแถวลิ้นปี่ (Heartburn) น้ำหนักลด คลื่นไส้และอาเจียร แผลอักเสบอาจเกิดในกระเพาะหรือลำไส้เล็กได้ ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุให้ตกเลือดได้

ตับอ่อน (Pancreas)

เป็นอวัยวะที่ผลิตเอ็นไซม์และอินซูลิน (เป็นตัวจัดการกับน้ำตาลในร่างกาย) แอลกอฮอล์มีผลโดยตรงทำให้ระดับน้ำตาลสูง ปฎิกริยาของร่างกายก็คือ ตับอ่อนจะหลั่งอินซูลินออกมามีผลทำให้ระดับน้ำตาลตกลงต่ำ อาการน้ำตาลในเลือดต่ำก็คือ ใจสั่น เวียนหัว เป็นลม เหงื่อออก ชีพจรเร็วได้ ในรายที่คนติดเหล้าหรือดื่มมาเป็นเวลานาน ผลจะทำให้บุคคลเหล่านี้จะมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ อาการคือ ปวดหัว วิงเวียนหัว (dizziness) สมาธิลดลง (lack of ability to concentrate) ซึม ใจสั่น แอลกอฮอล์ยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดตับอ่อนอักเสบชนิดเฉียบพลันได้ พบได้ระหว่าง 3-8 % ตับอ่อนอักเสบจากแอลกอฮอล์มักจะเกิดในรายที่ดื่มอย่างหนัก หากอาการรุนแรงอาจเป็นสาเหตุถึงตายได้อันหนึ่ง อาการของโรคนี้ ได้แก่ ปวดท้องอย่างรุนแรง อาเจียรอย่างมาก ในรายที่ฟื้นหายจากโรคนี้ มีเปอร์เซ็นต์สูงที่อาการปวดท้องจะไม่หายไปสนิท นอกจากนี้ แอลกอฮอล์ยังมีผลให้เกิดเบาหวานได้อีก

กล้ามเนื้อหัวใจ

ก็คล้ายๆ กับที่ทำให้เกิดตับอ่อนอักเสบ แอลกอฮอล์มีผลโดยตรงต่อกล้ามเนื้อหัวใจ มีผลสามารถทำให้หัวใจเกิดการเต้นที่ไม่สม่ำเสมอ มักจะพบในพวกที่ดื่มฉลองกันหลายวันและดื่มกันหนัก กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบก็เกิดขึ้นได้ พบบ่อยมากในคนที่ติดเหล้าระยะนานเป็นปีๆ เพราะทำให้ขาดอาหารและวิตามิน โดยเฉพาะ B1 (Thymine) อาการคือ หายใจลำบาก บวมตามเท้า มีจ้ำเขียวๆ

นอกจากนี้ การดื่มเหล้าทำให้มีความดันสูงพบได้ราว 5-7 % ซึ่งอาจจะมีผลต่อหัวใจและสมอง หากหยุดดื่มพบว่า ความดันจะลดลงสู่ระดับปกติ ผลที่ตามมาอีกอย่างแต่ไม่พบบ่อยก็คือ เหล้าสามารถทำให้ตายอย่างกระทันหันได้ สาเหตุอาจจะเกิดจากที่กล่าวมาข้างต้นคือ การเต้นหัวใจที่ไม่สม่ำเสมอ จนถึงหยุดได้ ระบบกล้ามเนื้อ อาการปวดกล้ามเนื้อก็เกิดขึ้นได้ เป็นจากที่เป็นผลที่พบได้ในระยะสร่างเมา (hangover) คือปวดตามเนื้อตามตัว

ระบบผิวหนัง

ผลทางอ้อมของผลเสียจากเหล้าก็คือ ทำให้ต่อมต่างๆ เสื่อมสมรรถภาพ รวมทั้งต่อมที่สร้างฮอร์โมนทางเพศ นอกจากนี้ เหล้ายังทำให้เม็ดเลือดตกตะกอน (sludging) ซึ่งนำไปยังการแข็งตัวของเลือดทำให้ไปอุดตันเส้นเลือดเล็กๆ ระยะแรกอาจจะไม่เห็นชัด แต่ระยะยาวจะสังเกตุเห็นว่า คนเหล่านี้จะมีเส้นเลือดฝอยเล็กๆ แถวหน้าหรือจมูกเป็นจ้ำๆ นอกจากนี้ ยังพบว่า เหล้ายังเป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็งประมาณ 3 % ของคนไข้มะเร็งทั้งหมด ได้แก่ มะเร็งของช่องปาก กล่องเสียง และหลอดอาหาร นอกเหนือจากที่ทราบกันดี คือ มะเร็งในตับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่มีตับแข็งจะมีโอกาสมาก

ระบบต่อมไร้ท่อ

ต่อมต่างๆ ที่ควบคุมร่างกาย ก็มี ต่อมใต้สมอง ไทรอยด์ รวมทั้งรังไข่และอัณฑะ แอลกอฮอล์มีผลต่อการทำงานของต่อมเหล่านี้ ทำให้การทำงานลดถอยลง (บทความใช้คำว่า sedate) การผลิตฮอร์โมนต่างๆ จากต่อมเหล่านี้จะลดลง ผลในเพศชายทำให้ระดับฮอร์โมนเพศชายลดลง ดังนั้นคนที่ติดเหล้าจะสังเกตุว่า หน้าอกจะโตขึ้น ขนตามตัวจะน้อยลง ทั้งนี้เพราะผลของฮอร์โมนเพศหญิงมันขึ้น (เพศชาย ปกติก็มีฮอร์โมนเพศหญิงอยู่เช่นกัน แต่ไม่แสดงผลเพราะฮอร์โมนเพศชายเด่นกว่า)

นอกจากนี้ แอลกอฮอล์ยังทำให้มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องทางเพศอีกด้วย กล่าวคือ ในระดับต่ำๆ ทำให้รู้สึกคึก (ผลอย่างที่ว่ามาในบทก่อน เพราะปล่อยความกดเก็บ) แต่ในรายที่ระดับในเลือดสูง มันจะลดความสามารถในทางเพศ ในเพศชายพบว่า ทำให้อวัยวะเพศแข็งตัวช้าและแข็งตัวไม่นานเท่าที่ควรจะเป็น มีความลำบากในการที่จะให้อวัยวะเพศแข็งตัว ในเพศหญิงทำให้มีความรู้สึกช้าและลดลงด้วย ผลอย่างอื่นในคนที่ดื่มระยะยาว คือเป็นสาเหตุอันหนึ่งที่ทำให้เป็นหมันได้

หมายเหตุ การตอบสนองต่อแอลกอฮอล์ เช่น ตับอ่อนอักเสบอย่างรุนแรง หรือ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ มีเกิดขึ้นได้แต่ไม่บ่อย ไม่ทุกราย หากรุนแรง อย่างในรายตับอ่อนอักเสบ อาจถึงตายได้ กล้ามเนื่อหัวใจอักเสบก็เช่นกัน อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้หัวใจหยุดอย่างกระทันหัน เหล่านี้มักเกิดในพวกที่ดื่มหนักๆ

arrow bคลิกอ่านเนื้อหา ตอนที่ 2 

 

redline

backled1

 

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

Our Policy