foto1
ความงดงามการศึกษาไทย
foto1
เพื่อ?
foto1
ไม่เข้าใจ?
foto1
วิทยากรที่กระทรวงศึกษาธิการ สปป.ลาว
foto1
ท่องทะเลทรายที่ดูไบ UAE


Friendly Links

เรียนรู้ภาษา html
isangate banner
easyhome banner
ipst banner
sakdibhornssup foundation
13 Thai free fonts
speedtest
e mil

Facebook Likebox

No. of Page View

read-n-write-header

read-n-writeาร ศึกษาไทยคงจะไม่ขยับไปไหนไกล ถ้าคนไทยไม่รู้หนังสือ อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ปัจจุบันมีคนไทยไม่รู้หนังสืออายุ 15 ปีขึ้นไปอยู่กว่า 2 ล้านคน (ข้อมูลจาก กศน. เมื่อ 8 กันยายน 2555) แต่จริงๆ แล้วน่าจะมีมากกว่านั้น ทั้งที่อยู่ในระบบและนอกระบบการศึกษา ส่วนการอ่านหนังสือยังน้อยมากๆ เฉลี่ยแค่ 8 บรรทัดต่อปี จากจำนวนประชากร 65 ล้านคน ขณะที่ประเทศในกลุ่มอาเซียน สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม อ่านหนังสือ 5 เล่มต่อปี จีนอ่านหนังสือเฉลี่ย 6 เล่มต่อปี อเมริกาและยุโรปอ่านหนังสือเฉลี่ย 16 เล่มต่อปี และกลุ่มยุโรปเหนือ (สวีเดน เดนมาร์ก) อ่านมากถึงปีละ 24 เล่ม แล้วปัญหาเกิดจากอะไรกัน?

ส่วนหนึ่ง มาจากการเรียนการสอนของบ้านเราที่เปลี่ยนแปลงไป ได้ลดการฝึกอ่าน เขียนลงไปมาก ผมยังจำภาพอดีตเมื่อครั้งเรียนประถมศึกษาได้ติดตาตรึงใจ คุณครูท่านเคี่ยวเข็ญในเรื่องการอ่าน การหัดผสมคำอ่าน ท่องศัพท์ ท่องบทอาขยานให้ได้รับรสความงามของภาษาจากวรรณกรรมต่างๆ การหัดเขียนคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด ครึ่งบรรทัด ทำไม่ได้มีบิดไส้ด้วยนะ หรือไม่ก็เขกเสา ขอบวงกบประตู/หน้าต่างให้เสียงดังที่สุด (ถ้าสมัยนี้มีโดนกรรมการสิทธิมนุษยชนเอาตาย ทั้งๆ ที่ท่านทั้งหลายเหล่านั้นได้ดีก็เพราะครูอย่างนี้) ข้อสอบมีอัตนัยเป็นหลัก มีการสอบถามซักไซร้ไล่เรียง ใครอยู่หลังห้องยิ่งโดนหนักเพราะอยู่ในสถานะไกลตา แอบหลบๆ

readเรื่อง คณิตศาสตร์ แม่สูตรคูณต้องได้ถึงแม่ 12 บวกเลข ลบเลข คณิตคิดในใจต้องเฉียบ เรียนสนุกมากในเรื่องที่ต้องเอาไปใช้จริง ช่วยพ่อคิดราคาขายข้าว ขายปอกับเถ้าแก่แบบให้เร็วกว่าลูกคิด แล้วสมัยนี้ล่ะ ถ้าไม่มีเครื่องคิดเลขแย่แน่ๆ มีเรื่องขำๆ (ความจริงที่เอามาพูดเล่นๆ ได้) ผมไปซื้อขนมที่ห้างใหญ่แห่งหนึ่ง เพื่อไปให้หลานๆ จับสลากของขวัญกัน เลือกขนมมา 2 กล่อง กล่องละ 139 บาท พนักงานขายบอกว่าถ้าซื้อเกิน 230 บาทจะได้ของแถม 1 ชิ้น ว่าแล้วเธอก็วิ่งกลับไปจะเอาเครื่องคิดเลขมาคำนวณว่าถึงเกณฑ์หรือยัง ผมบอกไล่หลังเธอไปว่าก็ 278 บาทแล้วนี่ เธอหันกลับมาแบบงงๆ ทำหน้าไม่เชื่อ คว้าเครื่องคิดเลขมาจิ้มๆ แล้วก็ยิ้มอายๆ ว่า คิดเร็วกว่าหนูใช้เครื่องคิดเลขอีก

read 3รศ.ดร.สุพักตร์ พิบูลย์ กล่าวว่า "เด็กจบป.6 อ่านหนังสือไม่ออก" ..ยากอย่างยิ่งที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของประเทศไทยจะสูงขึ้น.. เป็นรากปัญหาสำคัญของคุณภาพการศึกษาของประเทศไทยในเวลานี้.. จะต้องปฏิรูปหลักสูตรโดยด่วย โดยเฉพาะ ป.1-3 ให้เน้นเพียง 3 เรื่อง คือ 1) ทักษะการอ่านและนิสัยรักการอ่าน 2) คณิตศาสตร์พื้นฐาน และ 3) ทักษะชีวิต (รวมหลายๆเรื่อง)... พัฒนาแค่ 3 ขอบเขตสมรรถนะสำคัญแค่นี้พอแล้ว (เลิกเรื่อง 8 กลุ่มสาระ) ผมเห็นด้วยเลยนะ จะเยอะกันไปถึงไหน?

รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ให้สัมภาษณ์ว่า คุณภาพการศึกษาไทยมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง กระทรวงศึกษาธิการ จำเป็นต้องเร่งยกระดับคุณภาพการศึกษาของไทย โดยเน้นหัวใจสำคัญใน 2 เรื่อง คือ

  • การปฏิรูปหลักสูตร ที่จะต้องมีการคิดและทบทวนทั้งระบบว่า จะให้เด็กเรียนอะไร เรียนอย่างไร จะต้องปรับวิถีชีวิตที่ ส่งเสริมให้เป็นเด็กมีความคิดสร้างสรรค์ มีจิตสำนึกประชาธิปไตยได้อย่างไร ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะไม่ได้อยู่ในหลักสูตรที่เรียนเป็นรายชั่วโมง แต่ต้องแทรกซึมอยู่ในการเรียนรู้ของเด็กตั้งแต่เล็กจนโต เพราะการที่จะทำให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ สามารถคิดวิเคราะห์ได้ ไม่ได้สอนเฉพาะในห้องเรียนเท่านั้น
  • การพัฒนาครู หากเราได้ครูที่ดีมีคุณภาพ ก็จะสามารถสอนได้ดี ลูกศิษย์ก็จะไปได้ดีด้วย

นอกจากนี้ ขณะนี้โครงสร้างเวลาเรียนของ กระทรวงศึกษาธิการ เน้นใส่เนื้อหาให้เด็กมากเกินไป เด็กเรียนมากจนกระทั่งไม่มีเวลาคิด ได้แต่จำอย่างเดียว ซึ่งก็เป็นส่วนของหลักสูตรที่จะต้องดำเนินการในทันที ส่วนจะลดชั่วโมงเรียนหรือไม่นั้น ต้องมาพิจารณาถึงความเหมาะสมของเวลาที่เด็กควรจะเรียนในห้องเรียนจริงๆ ก่อนว่า ควรจะเรียนกี่ชั่วโมงต่อวันต่อสัปดาห์ รวมทั้งศึกษาเปรียบเทียบกับโรงเรียนในประเทศอื่นว่า ใช้เวลาในการเรียนมากน้อยเพียงใด

read 7ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้ รศ.ภาวิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษา รมว.ศธ. พิจารณาเรื่องหลักสูตรและการพัฒนาครู ซึ่งจะมีการหารือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง แล้วนำเสนอมายัง รมว.ศธ. เพื่อเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งจะมีการประชุมทุกๆ 2 สัปดาห์ และเมื่อได้ข้อสรุปก็จะดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป แต่สิ่งสำคัญที่สุดของการดำเนินการในเรื่องนี้คือ การมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง ซึ่งต้องยอมรับว่าที่ผ่านมาเราปฏิรูปกันหลายเรื่อง หลายครั้งผลไม่ถึงเด็ก แต่สิ่งที่ต้องการจริงๆ ในเรื่องของการศึกษา คือ ผลต้องถึงตัวเด็ก

ทำไมคนไทยไม่ชอบอ่านหนังสือ?

คนไทยอ่านหนังสือน้อยลงเป็นเรื่องที่น่า ตกใจ และนับวันจะสร้างปัญหาในระยะยาวมากขึ้น ถ้าเราไม่ชอบอ่าน องค์ความรู้ที่จะเกิดก็มีน้อยมาก เราจะขาดการคิด วิเคราะห์อย่างมีเหตุผล กลายเป็นคนเชื่อง่าย ใครว่ามาอย่างไรก็เชื่อไปหมด ถูกชักจูงไปในทางเสียหาย เดือดร้อนทั้งแก่ตนเองและครอบครัว

read 6สาเหตุ หนึ่งที่ทำให้คนไทยไม่รักการอ่าน เพราะหนังสือราคาแพง เกินกำลังการซื้อของประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะในหมู่เยาวชน ผมชอบเข้าร้านหนังสือไม่ว่าจะร้านใหญ่ร้านเล็ก บางทีเจอหนังสือถูกใจ น่าสนใจ แต่ไม่กล้าซื้อเพราะราคาแพง ต้องคิดหลายรอบ บางเล่มผมหยิบแล้วหยิบอีก ผ่านไปสองสามอาทิตย์ทนความอยากอ่านไม่ไหวถึงได้กลับไปซื้อ แล้วถ้าเด็กและเยาวชน หรือคนทำงานที่มีรายได้ไม่มากนัก เขาจะกล้าซื้ออ่านหรือเปล่า?

ตลาดสิ่งพิมพ์ในประเทศไทย ทั่วโลกยอมรับว่า การผลิตหนังสือบ้านเราใช้หรือมีเทคโนโลยีการผลิตอยู่ในระดับแนวหน้า เป็นที่เชื่อถือของนานาประเทศที่สั่งผลิตหนังสือจากสำนักพิมพ์ในบ้านเรา แต่ในมุมกลับกัน หนังสือที่สวยงามมีมาตรฐานสูง ราคาจำหน่ายก็จะสูงตามไปด้วย ทำไมเราไม่ผลิตหนังสือเล่มเดียวกันเป็นสองมาตรฐานล่ะ มาตรฐานกลางไปค่อนข้างต่ำเพื่อให้ราคาถูกลง ทุกคนสัมผัสซื้อหามาอ่านได้ มาตรฐานสูงสำหรับนักสะสมหรือซื้อหาเข้าห้องสมุด นี่เป็นทางออกที่ดีที่สุดและควรเป็นนโยบายภาครัฐเพื่อส่งเสริมให้คนไทยรัก การอ่านให้มากกว่านี้

read 5ผม เคยเดินทางไปในประเทศเพื่อนบ้านใกล้ๆ กันนี่แหละ พบว่า ประชาชนเขานิยมอ่านหนังสือกันมากเลย อย่างเวียดนาม คนขับรถรับจ้างจะมีหนังสือเล่มเล็กวางไว้ข้างที่นั่งคนขับ หรือหลังพนักพิง ในระหว่างที่รอลูกค้าเขาจะหยิบหนังสือมาอ่านเพื่อรอเวลา หนังสือที่อ่านเคยขอดูก็ใช้กระดาษธรรมดา ราคาคิดเทียบเป็นเงินไทยไม่กี่สิบบาท แต่ในร้านขายหนังสือก็มีเล่มที่พิมพ์ปกแข็งสวยงามราคาแพงขายเหมือนกัน คือมีสองมาตรฐานอย่างที่กล่าวมานั่นเอง

การส่งเสริมการอ่าน เพื่อแก้ความไม่สนใจของเด็กๆ คือซื้อหนังสือพวกการ์ตูนเล่มเล็กๆ อย่าง ขายหัวเราะ หนูจ๋า มาอ่านแล้ววางไว้ในบ้านดูซิครับ (ไม่สนับสนุนหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่น เกาหลีนะครับ)

kai huaror maha sanookด้วย เหตุผลว่า การ์ตูนเหล่านี้จะให้ข้อคิด มุมมองแบบไทยๆ ในเรื่องราวปัจจุบัน ที่เด็กๆ รับข่าวสารทางวิทยุโทรทัศน์หรือสื่อดิจิตอลอื่นๆ อยู่แล้วมันเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ที่มีชีวิตชีวา ลองกลับไปหาอ่านเล่มเก่าๆ ย้อนหลังไปสักสี่ห้าปีดูซิครับ ในนั้นคือเหตุการณ์ที่ล้วนอยู่ในความทรงจำ เป็นประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งแต่เล่าเรื่องบันทึกไว้ในแบบขำๆ ทั้งนั้นเลย

การเริ่มต้นด้วยการอ่านเรื่องขำๆ จนเป็นนิสัย เมื่อเติบใหญ่ก็จะพร้อมในการอ่านหนังสือได้ทุกชนิดทุกรูปแบบได้ง่ายขึ้น อย่างผมนี่ว่างเป็นหยิบ หนังสือพิมพ์อ่านแม้กระทั่งโฆษณา เพราะบางทีก็ได้แนวคิดที่แตกต่างจากที่เราคิดตามปกติ ความคิดหักมุมที่น่าสนใจ ตอนนี้ผมอ่านได้ทุกที่ยิ่งในช่วงเช้าๆ ของการปลดทุกข์จะเป็นช่วงสุขของการอ่าน เพราะต่อเนื่องมาจากการละเลียดกาแฟตอนเช้าๆ นั่นแหละครับ

นิสัยรักการอ่านต้องเริ่มจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง

kusang-kusom 2ถ้าเรา จะส่งเสริมการรักการอ่าน ให้กับเด็กและเยาวชน ผู้ใหญ่ที่เป็นพ่อแม่ ผู้ปกครอง ญาติผู้ใหญ่ที่ดูแลใกล้ชิดจะต้องเป็นตัวอย่างในการอ่าน สนับสนุนด้วยการซื้อ หรือจัดหาหนังสือมาไว้ในบ้าน วางในมุมต่างๆ ให้สามารถหยิบอ่านได้ง่ายสะดวก ควรพิจารณาคัดเลือกหนังสือให้เหมาะสมกับวัย มีหลากหลายสาระ ทั้งการ์ตูน บันเทิง สารคดี ความรู้ทั่วไป หนังสือพิมพ์ วารสารรายสัปดาห์ รายเดือน ตามกำลังทรัพย์ และอย่ายัดเยียดให้อ่าน เช่น พ่อแม่ผู้ปกครองสนใจใฝ่ธรรมะ ชนิดนุ่งขาว ห่มขาว ทุกวันพระต้องทำสมาธิถือศีล ก็อย่าไปบังคับลูกหลานให้อ่านพระไตรปิฎก ธรรมะบรรยายของท่านพุทธทาส หลวงปู่หรือเกจิชื่อดัง แต่ให้เลือกที่เป็นสาระบันเทิงสนุกๆ สอดแทรกคติธรรมเปื้อนยิ้มเข้าไปแทน

และอย่าลืมมีหนังสือดีๆ ภาพสวยๆ อย่างศิลปวัฒนธรรมไทย แหล่งท่องเที่ยวในเมืองไทยไว้ด้วยครับ เด็กๆ จะได้ไม่ลืมชาติไทย กลายเป็น J-POP, K-POP ไปเสียหมด บางครั้งหนังสือที่ไม่คาดคิด หรือคาดไม่ถึงก็มีสาระประโยชน์มากกว่าหนังสือภาพสวยราคาแพงมากมาย

ทุกครั้งที่ผมเข้าไปร้านเสริมสวย (ไปตัดเล็บขบครับ อย่าเข้าใจผิดเป็นอย่างอื่น) ผมมักจะหยิบฉวยหนังสือในร้านมาอ่าน (เพื่อปกปิดอาการเจ็บตอนเขาเอากรรไกรตัดเล็บแซะลงไปข้างๆ เล็บที่ขบเนื้อ ไม่อยากให้เห็นคราบน้ำตานั่นแหละ) หนังสือที่ไม่ได้ตั้งใจอ่านอย่าง คู่สร้างคู่สม ของคุณดำรง พุฒตาล (ซึ่งอยู่ในตลาดหนังสือมากว่า 25 ปี) ก็ให้ข้อคิดดีๆ ตัวอย่างชีวิตบางคนไปสอนลูกศิษย์ลูกหาได้เหมือนกัน

kusang-kusom

เราคงต้องช่วยกันครับ เริ่มจากที่บ้านของคุณ ขยายไปสู่ผู้คนและสังคมรอบข้าง คนไทยจะได้มีภูมิรู้เพื่อพัฒนาชาติในอนาคต ถ้าขาดนิสัยการอ่าน การเขียนก็ไม่ดีขึ้น และยังสืบเนื่องไปสู่การสื่อสารไปยังผู้อื่น ไม่กล้าพูดเพราะเราไม่รู้จริง พูดไปได้ข้อมูลผิดๆ จากการฟังอย่างเดียวก็ขายขี้หน้าครับ ต้องศึกษาจากการอ่านหนังสือ สิ่งพิมพ์แม้แต่เว็บไซต์นี่ก็ตามที ความรู้ดีๆ ยังมีอีกมาก...

อีกเรื่อง คือการเขียน การคัดลายมือ เนื่องจากเทคโนโลยีการพิมพ์ต่างๆ พัฒนาไปเร็วมาก เขียนรายงานก็ใช้วิธีการพิมพ์มาทดแทน ความสำคัญจึงลดลงไป แต่อย่างไรก็น่าจะหันกลับมาฝึกฝนอีกครั้งครับ เดี๋ยวนี้ตรวจการบ้านหรือตรวจกระดาษคำตอบของนักเรียนยากมาก และอยากจะบอกนักเรียนทั้งหลายว่า ที่ได้คะแนนน้อย หรือไม่ได้เลย ก็เพราะเรามักง่ายในการเขียน ครูอ่านไม่ออก พยายามแกะอย่างไรก็ไม่เข้าใจ สุดท้ายการลากปากกาเป็นวงกลมมันสะดวกกว่าเขียนตัวเลขคะแนนสองหลักมากนัก ลองอ่านเรื่องเดิมได้ที่นี่ครับ...

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

Our Policy