เสียงร้องถามตามหลังผมมา ผู้ถามคงนึกว่าผมยังทำงานในโรงเรียนอยู่เลยถามอย่างนั้น หรือคิดว่าผมน่าจะรู้เพราะติดตามข่าวการศึกษามาโดยตลอด จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ผมก็ตอบฟันธงลงไปไม่ได้ในขณะนี้ แม้ว่า... โรงเรียนจะเป็นนิติบุคคล มีคณะกรรมการสถานศึกษา มีชาวบ้าน ผู้ปกครองมาร่วมด้วยช่วยดูแลการศึกษาของลูกหลาน แต่นั่นก็เป็นเพียงในนาม ทุกอย่างยังคงต้องทำตามคำสั่งการของเบื้องบนโดยตลอด ทั้งๆ ที่เรื่องบางเรื่องนั้นโรงเรียนน่าจะสามารถวิเคราะห์ แก้ปัญหา ดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาของตนเองด้วยตนเองได้ก็ตาม ในสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ในครั้งนี้ ต้องแยกโรงเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม เพื่อดำเนินการที่แตกต่างกัน ไม่ควรเหมารวมให้เหมือนกันทั่วประเทศ
การเรียนกับครูให้ผลดีมากกว่าการเรียนกับโทรทัศน์ (ที่ไม่มีใครดูแลแนะนำ) หรือเรียนออนไลน์ผ่านอุปกรณ์เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ที่อาจจะไม่มีให้ใช้ด้วยซ้ำในหลายๆ พื้นที่ในประเทศไทย) การให้นักเรียนเรียนด้วยตนเอง อ่านเอง ทำใบงานที่ครูแจกมาให้ แล้วผู้ปกครองก็ช่วยแนะนำไม่ได้ สิ่งเหล่านี้มีค่าเป็นศูนย์แน่นอน บางทีเราจะโทษผู้ปกครองก็ไม่ได้ด้วยบริบทที่แตกต่างกัน มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ผู้ปกครองมีเวลาเอาใจใส่ลูกหลานในการเรียน บอก สอน แนะนำได้บ้าง แต่ก็มีที่บอกไปแล้วไม่ได้ผล ประเภทคำตอบถูกต้อง แต่วิธีการคิดผิดจากวิธีการที่ครูสอนตามหลักสูตรสมัยใหม่ เด็กไม่เข้าใจเป็นปมด้อยในใจเด็กไปอีก
จะเปิดเมื่อไหร่ก็ตามแต่ต้องปิดเทอมพร้อมกันในวันที่ 15 ตุลาคม 2564 เพื่อไม่ให้กระทบต่อปฎิทินการสอบต่างๆ ของนักเรียนชั้นสุดท้ายในช่วงชั้น (ป. 6, ม. 3, ม. 6) ในการศึกษาต่อในระดับชั้นถัดไป นั่นแสดงว่า ถ้าเปิดเรียนปกติก็จะต้องเร่งสอนเสริม สอนชดเชยกันขนานใหญ่ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ครบถ้วนนี่คือปัญหาใหญ่ ดังนั้น โรงเรียนที่อยู่ในกลุ่มโรงเรียนขนาดเล็ก จึงควรจะเปิดเรียนก่อน เพราะมีความพร้อมมากกว่าโดยครูผู้สอนควรได้รับวัคซีนกันทุกคนโดยเร็ว (เพราะส่วนใหญ่ครูไม่ได้อยู่ในพื้นที่นั้นๆ ประจำ)
ให้กำลังใจเพื่อนครูทุกคนนะครับ แม้จะมีปัญหาอุปสรรคมากมายข้างหน้าเราก็คงจะต้องแก้ไขมันให้ผ่านพ้นไปให้ได้ ไม่ใช่เฉพาะแต่ประเทศไทยเราหรอกครับเป็นกันทั้งโลก เพียงแต่... เมื่อผมฟังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการให้สัมภาษณ์เรื่อง ให้นักเรียนเรียนผ่านออนไลน์ได้ไม่ทั่วถึง แต่เชื่อว่าทุกครอบครัวคงมีโทรทัศน์ทุกบ้านให้นักเรียนได้เรียน แล้วก็ได้แต่อมยิ้มในความคิดนี้นะครับ ถ้ามีโทรทัศน์บ้านละเครื่องแต่มีลูกหลาน 2-3 คนเรียนคนละระดับชั้น ใครควรได้ดูได้เรียนครับ นี่ผมยังไม่ได้คิดถึงการรับสัญญาณด้วยนะว่าจะรับช่องที่ใช้เรียนนั่นได้ไหม รวมทั้งบนดอยที่ไม่มีไฟฟ้าด้วยนะครับ ผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองควรหูตากว้างไกล มองไปให้สุดขอบฟ้า อย่ามัวแต่ฟังพวกบ่างช่างยุที่คอยเป่าหูอยู่ข้างๆ
ดูข่าวท่างช่อง ThaiPBS เมื่อตอนบ่ายวันนี้ จังหวัดศรีสะเกษ มีเพียง โรงเรียนบ้านตูม อำเภอศรีรัตนะ โรงเรียนเดียวเท่านั้น ที่นักเรียนยังต้องเรียนหนังสืออยู่ที่บ้าน เพราะในชุมชนยังพบผู้ติดเชื้อสะสมกว่า 90 คน ในจำนวนนี้ มีนักเรียน 11 คน และครู 1 คน นี่จึงเป็นความท้าทายของ "ครู" ในการจัดการเรียนการสอนท่ามกลางการแพร่ระบาด มาสะดุดใจตอนที่ผู้สื่อข่าวไปสัมภาษณ์ผู้อำนวยการโรงเรียนว่าจัดการอย่างไร? ผู้อำนวยการบอกว่า "ใช้ On hand แจกใบงานอย่างเดียว ใช้วิธีการอื่นไม่ได้เลย เพราะเด็กในพื้นที่บริการครอบครัวยากจน สำรวจแล้วที่บ้านมีทีวีไม่กี่ครอบครัว โทรศัพท์ที่สำรวจมีไม่กี่เครื่องโทรเข้า-ออกได้อย่างเดียว" รัฐมนตรีท่านจะทราบบ้างไหมนี่ว่า ไม่ต้องโรงเรียนชายขอบ บนเขา บนดอย ก็อัตคัตเหลือเกิน
ข่าวต้นฉบับ : https://fb.watch/6772zdeOZW/
ชักง่วง ครั่นเนื้อครั่นตัว เพราะพิษวัคซีนออกอาการจากการฉีดเมื่อเวลา 11 โมงเช้าวันนี้ ขอนอนพักแปร๊บนะครับ ค่อยมาว่ากันต่ออีกที
แก้ไขบรรทัดข้างบนนะครับ อาการที่ว่านั่น คือ หิวกาแฟ (ร่างกายขาดคาเฟอีน ตอนเช้าก่อนไปฉีดวัคซีน ได้ลดปริมาณกาแฟลงนิดหน่อย เลยเกิดอาการหาว-ง่วงดังว่า) ไปนอนก็ไม่หลับ สุดท้ายเติมไปแก้วใหญ่ตาใสเลย อาการต่างๆ ที่เกิดจากการฉีดวัคซีนที่คนอื่นๆ เจอ ผมไม่มีสักอาการนะครับปกติดี ไม่เจ็บไหล่ ไม่บวม ไม่มีไข้ใดๆ ครับ คราวนี้มาว่ากันต่อเรื่อง เปิด-ไม่เปิดเทอมจากโควิด เราจะทำอย่างไรกันดี
ผมขอยกเอาความคิดเห็นของ ดร.ครรชิต มนูญผล มาขยายความต่อนะครับ ท่านให้ข้อคิดว่าในสถานการณ์ฏารระบาดโควิดครั้งนี้ หากโรงเรียนจะเปิดเทอม 14 มิถุนายน แล้วควรดำเนินการ 5 ข้อดังนี้
จากการดำเนินการ 5 ลด ข้างต้นนั้น "ครู" ในฐานะผู้ที่มีบทบาทต่อการเรียนรู้ของเด็กควรปรับเปลี่ยนตัวเองอย่างไร เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของ "ครูแห่งศตวรรษที่ 21" นี้ได้ผลดีตามที่คิด รศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง ได้เสนอ ทักษะที่จำเป็นสำหรับครูไทยในอนาคต (C-Teacher) ไว้อย่างน่าสนใจ ด้วย วิธีการ 8 C อันประกอบด้วย
หวังว่า คงจะเป็นแนวทาง แนวคิด ในการนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในห้วงวิกฤตนี้นะครับ โดยเฉพาะท่านที่ต้องใช้วิธีการสอนแบบออนไลน์ จะได้หาแนวทางปรับประยุกต์ตนเองให้เป็น C-Teacher เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนได้ผล อย่าเอาวิธีการสอนหน้าชั้นเรียนปกติมาใช้แบบออนไลน์ เพราะมันไม่ได้ผล ไม่สนุก ควบคุมชั้นเรียนไม่ได้ ขอให้ทุกท่านผ่านวิกฤตโควิด-19 นี้ไปอย่างราบรื่นนะครับ
ครูมนตรี
13.51 : 11-06-2564
Edit : 10.25 : 12-06-2564
ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)