foto1
ความงดงามการศึกษาไทย
foto1
เพื่อ?
foto1
ไม่เข้าใจ?
foto1
วิทยากรที่กระทรวงศึกษาธิการ สปป.ลาว
foto1
ท่องทะเลทรายที่ดูไบ UAE


Friendly Links

เรียนรู้ภาษา html
isangate banner
easyhome banner
ipst banner
sakdibhornssup foundation
13 Thai free fonts
speedtest
e mil

Facebook Likebox

No. of Page View

thai return

thai return 01ช่วงหลังๆ นี่ไม่ค่อยได้อัพเดทเว็บเลย ยอมรับในความสับสนของนโยบายรายวันที่มาจากหอคอยงาช้าง แบบว่า "นายว่า ขี้ข้าพลอย" จะตรงตัวมากที่สุด ไม่ใช่ไม่เห็นด้วยกับท่านผู้บริหารสูงสุดที่มาจากทหารนะครับ การเห็นด้วยแล้วแปลงไปสู่วิธีการปฏิบัติต้องใช้เวลาพอสมควร ต้องทบทวนย้อนหลังว่า "สาเหตุ" ที่เป็นปัญหานั้นมาจากอะไร ต้องปรับเปลี่ยนอย่างไร ต้องใช้เวลาเท่าไหร่ จะเริ่มทันทีเลยได้ไหมโดยไม่กระทบส่วนอื่นๆ ถ้าไม่ได้เราควรมีขั้นตอนอย่างไร หนึ่ง สอง สาม ถ้ามีปัญหาในขั้นตอนนั้นจะต้องมีการแก้ไขจัดการอย่างไร ไม่ใช่นายพูด ลูกน้องงับแล้วก็เหวี่ยงต่อใส่ครู เฮ้ย.... แบบนี้ใครก็เป็นผู้บริหารระดับสูงได้สิ ทำไมไม่มีใครที่มีวิญญาณครู(บนหอคอย)ได้อธิบายให้ท่านผู้นำทราบบ้างว่า เราควรจะทำอย่างไรเป็นขั้นเป็นตอน นี่เป็นได้แค่เพียง Repeater เท่านั้นหรือ?

หรือจะเป็นดั่งนิทานอีสปเรื่อง "หนูผูกกระพรวนที่คอแมว" ไม่มีหนูตัวใดกล้าเอาลูกกระพรวนไปผูกคอแมว ทั้งๆ ที่มันจะส่งเสียงเตือนทุกครั้งที่แมวจะเข้ามาใกล้หนู หนีทันไม่โดนจับกิน ความคิดดี แต่หนูตัวไหนจะอาสาทำล่ะ! คงไม่ขนาดนั้นมั๊งครับ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แม้ท่านจะเป็นทหาร ต้องการเห็นผลในทันใด แต่ท่านก็ฟังเหตุผลอยู่ แล้วทำไมท่านถึงได้สั่งการเช่นนั้น ก็เพราะที่ผ่านๆ มา บรรดาหนูทั้งหลายเอาแต่วิ่งรอบเก้าอี้ไม่ทำสักทีนะซิ เลยต้องขึงขังสั่งการให้เก้าอี้ร้อนๆ กันหน่อย แบบว่า "ระบบราชการ ชอบ ไฟลันก้น" จริงไหมล่ะ? ต้นปีงบประมาณก็เรื่อยๆ เฉื่อยๆ แฉะๆ พอเข้าระยะ "มีนา เมษา สิงหา กันยา" นี่กระดี้กระด้ากันจัง แหมขยันขันแข็งกันใหญ่พอผ่านฤดูให้ความดีความชอบละผักลวกเชียว หรือจะเถียงว่าไม่จริง

งบประมาณทั้งหลายก็เหมือนกัน ถ้าไม่สิงหา กันยา นี่ไม่รีบร้อนหรอก เพราะมันใช้วิธีพิเศษไม่ได้ ส่วนต่างตังค์ทอนไม่ค่อยได้ จนผมไม่อยากไปเที่ยวไหนตอนใกล้สิ้นปีงบประมาณ หาที่พักยากหน่วยงานราชการจัดประชุม สัมมนา ใช้งบกันเยอะเหลือเกิน เอ้า... นอกเรื่องอีกแหละ

วันนี้ขอลอกการบ้านหน่อยนะ คือ ท่านผู้รู้อย่างท่าน อาจารย์สุทัศน์ เอกา ท่านว่าไว้ดีแล้ว ชาวครูและผู้บริหารการศึกษาทั้งหลายพึงไตร่ตรอง นำไปใช้ไปปฏิบัติกันนะครับ การศึกษาไทยใช่จะกลับหลังหันตามคำสั่งได้ทันที ต้องใช้เวลาวางแผนทำงานให้เกิดผลกันครับ...

children day 05

ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ต้องทำอย่างไร

กราบเรียน ท่านผู้บริหารโรงเรียน และคณะครู อาจารย์ ที่เคารพทุกท่าน

ปิดภาคเรียนนี้ ท่านต้องทุ่มเทจิตใจและร่างกาย ทำงานหนักที่จำเป็นต้องทำ ให้เสร็จสิ้น และมีคุณภาพทันตามกำหนดเวลา “เปิดภาคเรียนหน้า” ดังนี้ครับ

  1. จัดทำโครงสร้างเวลาเรียน โครงสร้างหลักสูตรของสถานศึกษา
    เรื่องนี้มีความสำคัญยิ่งที่ต้องดำเนินงานเป็นขั้นตอน เริ่มตั้งแต่คุณครูในแต่ละหมวด/ฝ่าย/งาน พิจารณาเนื้อหาของหลักสูตร ปรับหลักสูตรให้เป็นปัจจุบัน เวลาเรียนที่ต้องการซึ่งสามารถยืดหยุ่นได้ “ตามลักษณะของเนื้อหา กิจกรรม และรูปแบบการเรียนรู้ According to the nature of the content, activity and style of learning” เพื่อนำไปจัดทำตารางเรียน และออกแบบการเรียนการสอน ออกแบบกิจกรรมหรือคัดเลือกกิจกรรมที่เหมาะสม และสอดคล้องต้องกันกับกระบวนการเรียนรู้ Conform to the learning process. คุณภาพของการเรียนการสอนจึงจะสัมฤทธิ์ผลตามวัตถุประสงค์ และตัวชี้วัด
    เพียงแค่นี้ท่านก็อาจมองเห็นภาพของความโกลาหล ของ “การสั่งการ" ในรูปแบบที่อาศัยความเด็ดขาดทางกายภาพ และการสั่งการทางการศึกษาซึ่งเป็นเรื่องของ “จิตวิญญาณ” มันเป็นคนละเรื่อง และการตอบสนองทันทีโดยขาดวิจารณญาณนั้น มันจะส่งผลกระทบต่อการศึกษาไปอีกนาน
  2. จัดทำตารางเรียน, ทำการคัดเลือก “กิจกรรม”ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
    ท่านที่เคารพ คนที่ไม่เคยเป็นครู และคนที่ “ไม่พยายามศึกษาให้ทันโลกของการเรียนรู้ยุคปัจจุบัน” จะไม่มีวันเข้าใจถึง “วิธีการ และเวลา” ที่ต้องใช้ไปในการสร้างคนให้ คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาได้ นั้น ไม่สามารถทำได้ด้วย “คำสั่งให้เป็นไปตามปาก” มันต้องใช้เวลาเตรียมการอย่างรอบคอบในการบริหารการศึกษา.. ดังที่เราเคยขอ ร้องว่า... ”ให้เลื่อนการลดเวลาเรียนออกไปก่อน อย่างน้อยที่สุด ไปดำเนินการในปีการศึกษาหน้า ก็ยังไม่สาย.." แต่ สพฐ ก็ไม่เคยรับฟังและไม่นำไปคิดพิจารณาในช่วงที่มีสติสัมปชัญญะครบบริบูรณ์
  3. ปฏิบัติตามภาระงาน และกิจกรรม
    เรื่องของการปฏิบัติตามภาระงาน และกิจกรรมนี้ คือ “การกระทำ” ปรับวิธีเรียน เปลี่ยนวิธีสอน อันเป็น “หัวใจหลักของการปฏิรูปการศึกษา The core of education reform” เลยทีเดียว เพราะมันคือ “กระบวนการเรียนรู้ Learning process” ที่ครูทั้งโรงเรียนจะต้อง Brainstorming, Cooperative and Collaborative ภายในโรงเรียนของตนอย่างแจ่มแจ้ง แล้วจึงร่วมมือกันเขียนเป็นนวัตกรรม Innovation และทิศทางการเรียนการสอนแบบเดียวกันโดยตลอด.. ซึ่งมันเป็นงานที่ต้องใช้เวลา ในเรื่อง “การออกแบบและวางแผนการเรียนการสอน Design and planning of instruction" ทั้งของโรงเรียนและของคุณครูแต่ละคน
  4. วิจัย ติดตาม และประเมินผลกิจกรรมการเรียนรู้
    ท่านที่เคารพ.. การวิจัยทางการศึกษาของไทย “ไปไม่รอด และไม่เคยนำมาใช้แก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาเพื่อยกระดับการศึกษาของชาติได้อย่างเป็นชิ้นเป็นอัน” เพราะอะไรหรือ ?...ตอบง่ายๆ ก็เพราะว่า “มันได้ข้อมูลที่นำมาวิจัยนั้น ไม่ตรงกับความเป็นจริง” ท่านทั้งหลายคงเคยได้รับ “ซองคำถามเพื่อการวิจัย” มาแล้วคนละหลายๆ ซอง เป็นเรื่องที่น่าสงสารประเทศไทยเป็นที่สุด.. ที่คนบางกลุ่มกล้าใช้ข้อมูล “ยกเมฆ” ในการทำวิจัย
    สำหรับการประเมินผล เป็นเกรด 1, 2, 3, 4 ที่เรียกว่า scoring rubric ที่คุณครูอาจารย์ทุกท่านคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว และเป็นอย่างเดียวกันกับ การวัดผลตามความเป็นจริง หรือ Authentic assessment นั่นเอง

รูปแบบของกิจกรรมการเรียนการสอน ที่ท่านอาจารย์จะได้นำไป “เตรียมการ” ก่อนเปิดภาคเรียนหน้า เป็นดังนี้ครับ

ชั้นประถมศึกษา และชั้นมัธยมศึกษา สพฐ. ให้แนวทาง “การจัดการบริหารการเรียนรู้ School learning management เป็นรูปแบบเดียวกัน” ดังนี้

  • 8.00-8.30 กิจกรรมหน้าเสาธง
  • 8.30-11.30 จัดให้มีการเรียนวิชาพื้นฐาน และรายวิชาเพิ่มเติม 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ หือ เรียนเนื้อหาสาระภาควิชาการ
  • 12.30-14.30 จัดให้มีการเรียนรายวิชาพื้นฐาน และรายวิชาเพิ่มเติม 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และภาคปฏิบัติ และ/หรือ จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน “ที่จัดเป็นกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ภาคบังคับตามหลักสูตร
  • 14.30-15.30 จัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”

thai return 02ท่านที่เคารพ อย่าชะล่าใจ.. ท่านผู้อำนวยการ คณะผู้บริหารโรงเรียน และคุณครูทุกท่าน “โปรดเตรียมการให้รอบคอบ” ในทุกสิ่งทุกประการตามที่ได้กล่าวมานี้ “ให้เสร็จสิ้นก่อนเปิดเทอมหน้า” ..มันเป็นงานหนักที่ต้องทำในเวลาจำกัด.. และ เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำเพื่อไม่ให้การศึกษาของชาติตกต่ำลงไปมากกว่านี้..

>>>การลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้นี้เป็นของดี ถ้ามีเวลาเพียงพอ “ในการออกแบบการเรียนการสอนที่ดีพอ และ คุณครูผู้สอนมองเห็นแนวทางของการเป็นครูแห่งศตวรรษที่ 21 ได้อย่างกระจ่างแจ้งด้วยตนเอง" จะเป็นคุณแก่การศึกษาของชาติอย่างมากมายมหาศาลเลยทีเดียว<<<

*** ขอให้พวกเรา “แอบตั้งความหวังว่า ฟ้าหลังฝนต้องสวยงาม อย่างแน่นอน” เพราะแท้ที่จริงแล้ว.. การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ แทบจะเรียกได้ว่า “เป็นการปฏิวัติ ก้าวกระโดดเข้าสู่การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 แบบสายฟ้าแลบ นั่นเอง” ***

ท่านผู้บริหารสถานศึกษา และ คุณครู อาจารย์ทุกท่าน..การเตรียมการ เพื่อ ”ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” นี้. .ผมขอเสนอหนังสือที่จะช่วยท่าน “เพิ่มศักยภาพความเป็นครูให้ตนเอง” ได้ “เต็มร้อย” ในการเตรียมการ วางแผน ดำเนินงานการเรียนการสอน และพัฒนาการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ.ฯ.. ชื่อหนังสือ “ครูแห่งศตวรรษที่ 21 โดย สุทัศน์ เอกา” ..ลองถามเพื่อนครูที่มีหนังสือเล่มนี้แล้ว.. ท่านสามารถปรึกษาหารือกับ ท่านผู้นั้น หรือ สั่งซื้อเพื่อเป็นคู่มือพัฒนาวิชาชีพของท่านเอง หรือสั่งซื้อเพื่อเป็นคู่มือประกอบการอบรม สัมมนาทำ Workshop  และสร้างความเข้าใจใน “วิชาครู” อย่างแจ่มแจ้ง เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน ซึ่งก็คือคุณภาพของประชาชนไทยในอนาคต.. ประเทศชาติบ้านเมืองของเราจะได้รับ แต่ประโยชน์สถานเดียว นับว่าคุ้มค่าที่สุดที่ได้เกิดมาเป็นครูคนแล้ว

สุทัศน์ เอกา................. .บอกความ

 

วันนี้ (8 ตุลาคม 2558) ได้พบบล็อกบทความดีๆ อยากนำมาเผยแพร่ต่อครับ เราจะ ปะ ติ ลูบ คลำ การศึกษาไทยไปอีกนานนับสิบปีก็คงไม่สำเร็จ ถ้า พ่อ-แม่ ผู้ปกครอง ไม่ปรับเปลี่ยนช่วยกันในการปฏิรูปการเรียนรู้ของบุตรหลาน ลองอ่านดูนะครับ (คลิกที่หัวข้อด้านล่างนี้)

สาเหตุเบื้องต้นที่ทำให้คุณภาพการศึกษาไทยตกต่ำ

สาเหตุเบื้องต้นที่ทำให้คุณภาพการศึกษาไทยตกต่ำ
สาเหตุเบื้องต้นที่ทำให้คุณภาพการศึกษาไทยตกต่ำ
นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

Our Policy