foto1
ความงดงามการศึกษาไทย
foto1
เพื่อ?
foto1
ไม่เข้าใจ?
foto1
วิทยากรที่กระทรวงศึกษาธิการ สปป.ลาว
foto1
ท่องทะเลทรายที่ดูไบ UAE


Friendly Links

เรียนรู้ภาษา html
isangate banner
easyhome banner
ipst banner
sakdibhornssup foundation
13 Thai free fonts
speedtest
e mil

Facebook Likebox

No. of Page View

up pisa test

children 18นไทยเรามีความรู้สึกว่า ตนเองต่ำต้อยด้อยค่าทุกที เมื่อมีการรายงานผลการศึกษาว่า เราอยู่ในอันดับท้ายๆ ทั้งในการประเมินจากบางหน่วยงานของต่างประเทศ จากผลการสอบโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (Programme for International Student Assessment หรือ PISA) เป็นโครงการประเมินผลการศึกษาของประเทศสมาชิก องค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organisation for Economic Co-operation and Development หรือ OECD) มีจุดประสงค์เพื่อสำรวจว่า ระบบการศึกษาของประเทศได้เตรียมเยาวชนของชาติให้พร้อม สำหรับการใช้ชีวิตและการมีส่วนร่วมในสังคมในอนาคตเพียงพอหรือไม่ โดย PISA เน้นการประเมินสมรรถนะของนักเรียนวัย 15 ปี ที่จะใช้ความรู้และทักษะเพื่อเผชิญกับโลกในชีวิตจริง มากกว่าการเรียนรู้ตามหลักสูตรในโรงเรียน ในด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์

แต่... ถ้าเรามองอีกมุม นักเรียนไทยของเราก็ประสบผลสำเร็จในเวทีโลกมากมายอยู่นะ ไม่ว่าจะเป็นโอลิมปิกวิชาการ การแข่งขันด้านทักษะความคิดกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อย่าง การแข่งขันหุ่นยนต์ การคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ช่างฝีมืออุตสาหกรรม การทำอาหาร และอื่นๆ อีกมากมาย แต่นั่น มันเป็นกลุ่ม "หัวกระทิ" หรือเปล่า แล้วหางๆ กระทิล่ะจะทำอย่างไร?

ในทัศนะของผมนั้นเชื่อว่า นักเรียนไทยจำนวนมากนั้นมีคุณภาพเพียงพอและสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล เพียงแต่ระบบการวัดจัดอันดับต่างๆ ไม่สามารถทำให้เด็กกลุ่มนี้เปล่งศักยภาพออกมาได้ จะเหลือแต่นักเรียนกลุ่มหลังเท่านั้นที่เข้าสู่สนามการวัดอย่างเข้มข้น บ่อยครั้ง และถอยหลังลงคลอง อธิบายง่ายๆ "ระบบการศึกษาไทยนิยมใช้ระบบแพ้คัดออก" เช่น แข่งขันกันเปิดรับตรงในการศึกษาต่อเข้าสถาบันอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เริ่มกันตั้งแต่ต้นปีการศึกษาของนักเรียนระดับ ม. 6 ซึ่งแน่นอน ย่อมได้แต่หัวหระทิแนวหน้าไปทั้งนั้น และการรับตรงกลุ่มนี้ก็ไม่สนใจผลการสอบวัดมาตรฐานระดับชาติต่างๆ เสียด้วย เมื่อมีการสอบวัดผลต่างๆ เราจึงไม่ได้รับความร่วมมือจากหัวกระทิกลุ่มนี้ การเข้าสอบคือการไปฟุบหลับหรือกาๆ ไปเพื่อให้จบ

ภาระหนักจึงตกอยู่ที่นักเรียนกลุ่มหลังที่ต้องสอบๆๆๆๆๆ เพื่อให้ได้ผลเอาไปบวกกับการสอบเข้าศึกษาต่อในวันข้างหน้า แต่เราจะหวังผลที่สูงส่งจากการสอบของนักเรียนกลุ่มนี้ได้อย่างไร และเมื่อสอบบ่อยๆ เข้าก็ยิ่งล้าและเหนื่อยใจ จึงเป็นปัญหาว่า "เราจะทำอย่างไรให้นักเรียนทุกคนในสยามประเทศนี้ตั้งใจสอบเพื่อการยกระดับคุณภาพการศึกษาของประเทศให้มีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น ให้คนไทยได้ไชโยโห่ฮิ้วได้บ้าง" เฮ้อ... พูดไปก็เหนื่อยครับ

mathpro v2 01

เมื่อวาน (26 พฤษภาคม 2557) ทางสมาคมครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (สวคท.) ได้เชิญให้ไปร่วมฟังการนำเสนอโปรแกรมประยุกต์ช่วยในการยกระดับการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสอบ PISA ที่ ห้องประชุม Smart Classrom 1 อาคาร 15 ปี ชั้น 5 สสวท. โปรแกรมนี้ชื่อ Math Science Pro เป็นของเกาหลีเอามาแปลเป็นภาษาไทย โดยบริษัท EduPark ทาง สสวท. จะนำไปใช้ในโรงเรียนที่มีห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ม.ต้น จำนวน 175 โรงก่อน และในภาคเรียนนี้จะนำร่องโรงเรียนใน กทม. ก่อน 3 โรงเรียนเพื่อการวิจัยและพัฒนาหาความเหมาะสมต่างๆ ก่อนการขยายผลต่อไป

mathpro v2 02โปรแกรมนี้ทำงานแบบ Web base appliclation มีระบบจัดการข้อมูลของโรงเรียน การจัดการนักเรียน การวินิจฉัยการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นคัดกรอง แยกกลุ่มนักเรียน (อ่อน/ปานกลาง/เก่ง) เพื่อการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพให้ดียิ่งขึ้น โดยการใช้ข้อสอบสำหรับการวินิจฉัย ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี เพราะส่วนใหญ่ครูในโรงเรียนมักจะไม่ค่อยสนใจจุดนี้ ฉันเตรียมมาอย่างไรก็สอนไปอย่างนั้นให้จบๆ จะรู้เรื่อง จะหลับใหล จะเซ็งห่านเซ็งเป็ดยังไงฉันไม่สน เราจึงเห็นเด็กทั้งเก่งและอ่อนต่างก็หนีเรียนพอๆ กัน

mathpro v2 03

มีระบบการจัดการเรียนการสอนให้ เช่น การทำโครงการสอน ช่วยให้สามารถวางแผนการสอนได้ทั้งในระดับรายวันกันเลยทีเดียว ช่วยในการทำแบบทดสอบ เอกสารประกอบการสอน แบบฝึก การบ้าน การวัดและประเมินผลรายหน่วยย่อยของเนื้อหา สามารถพิมพ์เอกสารการสอนและแบบทดสอบประเมินได้ใ นกรณีที่โรงเรียนมีเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอ (แต่ตรงนี้ น่าจะเปลืองเอาการเหมือนกัน เว้นแต่นักเรียนและผู้ปกครองจะช่วยจ่าย โดยไม่ต้องซื้อสมุด/หนังสือเรียนวิชานี้ ใช้ชีทจากระบบแทน)

mathpro v2 04

การทำคอนเซ็ปต์เนื้อหา ทำได้ทั้งให้กับนักเรียนทั้งชั้นหรือเฉพาะรายบุคคล เนื้อหาทั้งหมดนี้ระบบจัดการมาให้แล้วทั้งเนื้อหา แบบฝึก แบบทดสอบ ตามหลักสูตรของประเทศเกาหลี ที่ทาง สสวท. ตรวจสอบแล้วเห็นว่าตรงกันกับประเทศไทย ต่างที่จุดประสงค์ปลีกย่อยที่เราต้องปรับปรุงให้เหมาะสมกันต่อไป

mathpro v2 05

เมื่อทำคอนเซ็ปต์ วางแผนการสอนแล้ว จะได้สื่อการสอนสำหรับครูและนักเรียนได้เรียนรู้ร่วมกัน ทั้งแบบเรียนออนไลน์เฉพาะบุคคล หรือครูจะใช้ฉายออกทางเครื่องฉายภาพหน้าชั้นเรียนก็ทำได้ทันที สะดวกมาก

mathpro v2 06

นอกจากนั้นยังมีแบบทดสอบต่างๆ ที่สามารถใช้งานได้ทั้งแบบออฟไลน์ (พิมพ์ออกมาแจกนักเรียน) ครูตรวจจากเอกสารแล้วนำคะแนนที่ได้ไปกรอกลงในระบบ หรือแบบออนไลน์เรียนและตอบคำถามในตัวระบบโดยตรง

รุปจากการนั่งฟังการบรรยาย/สาธิต และทำการทดลองเป็นครูและนักเรียนในระยะเวลา 1 วัน พบว่าคงต้องมีการปรับปรุงอีกมากทีเดียว เนื่องจากเราเอาเนื้อหาจากเกาหลีมาทั้งดุ้นแล้วนำมาแปลเป็นภาษาไทย (ก็คงจะใช้เครื่องช่วยแปลแบบคำต่อคำเข้ามาช่วย แล้วกำหนดเข้าไปในซอฟท์แวร์ให้ทำการช่วยแปล) ผลที่ได้จึงมีการตกหล่น เข้าใจยาก ความหมายเพี้ยน หรือสื่อความหมายผิดๆ ต้องแก้ไขอีกเยอะ เพราะในวิชาคณิตศาสตร์นี่ตกไปหน่อย สลับที่ไปนิด ตอบผิดกันไปเลยครับ อันนี้ก็เข้าใจได้เพราะเนื้อหาและข้อสอบนับแสนข้อ คงต้องใช้เวลากันอีกมากทีเดียว

ตัวระบบเน้นไปที่การแสดงผลรูปแบบ Text base และภาพประกอบ ไม่มีสื่อแอนิเมชั่นเพื่อช่วยให้ระบบแสดงผลได้รวดเร็ว ใช้งานได้ในทุกอุปกรณ์ (พีซี/แท็ปเล็ต/สมาร์ทโฟน) สามารถเพิ่มเนื้อหา ข้อสอบ เข้าไปในระบบอีกได้

ปัญหาในการนำไปใช้ที่ต้องเตรียมตัวและทำการแก้ไขให้ได้ คือ นักเรียนไทยไม่ชอบอ่าน (อาจเพราะอ่านไม่คล่อง จับใจความไม่ได้) เจอเนื้อหา คำถามอธิบายยาวๆ เกินกว่า 8 บรรทัดนี่พวกเขาจะอ่านและทำความเข้าใจได้ไหม ครูต้องหาวิธีการอย่างไร? และนักเรียนที่จะสอบ PISA คือนักเรียนที่มีอายุ 15  ปี ก็ระดับชั้น ม. 2 ม. 3 นี่แหละครับ คงรู้กันอยู่แล้วว่า นักเรียนระดับนี้กำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงของชีวิตอย่างแรง จากวัยเด็กสู่วัยรุ่น ครูคงต้องเอาไปคิดต่อครับว่าจะแก้ปัญหาและส่งเสริมการเรียนรู้พัฒนาศักยภาพเขาอย่างไร? ด้วยระยะเวลาอันจำกัดก็เรียนรู้มาได้แค่นี้ หนักอกหนักใจที่จะเอาไปขยาย/อบรม/ติดตามผลการใช้งานในวันข้างหน้าพอสมควร ตอนนี้รอคู่มือการใช้งานฉบับสมบูรณ์และตัวเว็บที่ออนไลน์จริงๆ เสียก่อนครับ เฮ้อ...

 

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

Our Policy