foto1
ความงดงามการศึกษาไทย
foto1
เพื่อ?
foto1
ไม่เข้าใจ?
foto1
วิทยากรที่กระทรวงศึกษาธิการ สปป.ลาว
foto1
ท่องทะเลทรายที่ดูไบ UAE


Friendly Links

เรียนรู้ภาษา html
isangate banner
easyhome banner
ipst banner
sakdibhornssup foundation
13 Thai free fonts
speedtest
e mil

Facebook Likebox

No. of Page View

director services

director services 01ราได้รับทราบข่าวสาร การศึกษาของประเทศไทย ในทางที่แสดงถึงความตกต่ำ ไม่พัฒนามาโดยตลอดในช่วงนี้ แล้วทุกคนต่างก็ฟันธงลงไปว่า ต้นเหตุแห่งการไม่พัฒนามาจาก "ครู" กันทั้งนั้น ผมก็เคยเป็นครูมาด้วยระยะเวลายาวนานพอสมควร เกือบครึ่งชีวิต ผมไม่เห็นด้วย ในการที่จะกล่าวโทษครูแต่ฝ่ายเดียว เพราะบริบทในการจัดการศึกษานั้น มันมีปัจจัย และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอยู่มากมาย ตั้งแต่เสนาบดีเจ้ากระทรวง อธิบดี (เลขาธิการ) ผู้อำนวยการเขต ศึกษานิเทศก์ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู ผู้ปกครอง และนักเรียน ทำไมทุกฝ่ายลอยตัวไปหมดโยนขี้ให้กับครูแต่ผู้เดียวเล่า

จริงๆ แล้วในระดับโรงเรียน ผู้ที่ควรจะเป็นหลัก เป็นผู้นำ ในการกำกับ ติดตาม นิเทศ เป็นแบบอย่าง คือ "ผู้อำนวยการโรงเรียน" ถ้าโรงเรียนใดได้ผู้อำนวยการโรงเรียนที่มีวิสัยทัศน์ เป็นผู้นำในการพัฒนาการศึกษา โรงเรียนนั้นจะประสบผลสำเร็จในทุกๆ ด้าน แต่หากโรงเรียนใดได้ผู้บริหารโรงเรียนที่ถนัดการเข้าประชุม ตามก้นนักการเมือง วันๆ ระเหเร่ร่อนอยู่ตามสำนักงานเขต สนามกอล์ฟ ห้องอาหาร มอบหมายให้รองผู้อำนวยการทำหน้าที่แทน (ไอ้ผู้ช่วยมันไม่ช่วย) คราวนี้ก็จบเห่กันไป ผมทำงานใกล้ชิดกับผู้บริหารมาหลายท่าน พบเจอมาทุกรูปแบบ ที่สามารถยกมือไหว้ด้วยความเคารพนับถือได้สนิทใจมีไม่กี่คน ส่วนมากถ้าไม่เผชิญหน้าจังๆ ก็ไม่อยากจะยกมือไหว้ เพราะส่วนใหญ่จะเก่งในการเป็นเจ้าหน้าที่การเงินและพัสดุ มากกว่าบริหารการศึกษา (ถากถางทางมาด้วยเงินก็ต้องเอาทุนคืน)

วันนี้ได้อ่านจากหน้าเฟซบุ๊ค ของท่านอาจารย์สุทัศน์ เอกา กล่าวถึงผู้อำนวยการโรงเรียนท่านหนึ่ง อ่านแล้วมีความรู้สึกดีๆ อยากเป็นกำลังใจให้ท่านที่อุทิศตนเพื่อการศึกษาไทย และจะได้เป็นแบบอย่างแก่ท่านอื่นๆ ในการมุ่งมั่นพัฒนาการศึกษาไทยต่อไป...

What Makes a Great Headmaster?..

“ผู้อำนวยการ”.. ผู้สร้างเหตุแห่ง “ความสำเร็จ ความรัก และศรัทธาของประชาชน”.....

โดย สุทัศน์ เอกา

ท่านที่เคารพ นานเกือบสิบปีแล้ว ที่ผมได้อ่านบทความทางการศึกษา เรื่อง “Searching for a Superhero: Can Headmasters Do It All?” ซึ่งตีพิมพ์ ในปี ค.ศ. 2002 โดยสมาคมนักเขียนเพื่อพัฒนาการศึกษา ที่กล่าวถึงความพยายามและความเอาจริงเอาจัง “แบบนักบริหารสถานศึกษามืออาชีพ The school administrators professional” ที่ประสบความสำเร็จ จนใครๆ ในวงการศึกษา ชุมชน และผู้ปกครองต่างยกย่องเขาว่า เป็น “ยอดคน Superhero” ของการพัฒนาการศึกษา แห่งศตวรรษที่ 21.

director services 02

นักเขียนและนักวิจารณ์เพื่อพัฒนาการศึกษา Leslie T. Fenwick and Mildred Collins Blackman in an Education Week commentary. เขียนไว้ในบทความเดียวกันนี้ว่า

“Today the school leader is expected simultaneously to be a servant-leader, an organizational and social architect, an educator, a moral agent, a crisis-negotiator child advocate and social worker, a community activist and a crisis-negotiator—all while raising students’ standardized-test performance, …. ในความคาดหวังของวันนี้.. ผู้นำสถานศึกษา จะเป็นผู้รับใช้สังคม เป็นสถาปนิกขององค์กรและสร้างสรรค์สังคม.. เป็นนักการศึกษา.. เป็นตัวแทนแห่งคุณธรรม.. อุทิศตนเองเพื่อเยาวชน.. เป็นคนงานของชาวบ้าน.. เป็นนักกิจกรรมเพื่อสังคม.. และ นักสมานไมตรี หรือ Crisis-Negotiator.” ในขณะเดียวกัน เขาก็พยายาม “ยกระดับการเรียนรู้ของเยาวชนสู่ระดับมาตรฐาน While raising students’ standardized-test performance”.....

คำว่า “ผู้อำนวยการ” นั้นบ่งบอกความหมายอย่างชัดแจ้งว่า “เป็นผู้อำนวยความสะดวก หรือ The facilitator ในภาษาอังกฤษ” ซึ่งคุณสมบัตินี้อาจมีได้หลายระดับ เนื่องด้วยภูมิหลังของประสบการณ์ การศึกษา และบุคลิกลักษณะเฉพาะตัว อย่างไรก็ตาม เขาย่อมหนีไม่พ้นลักษณะร่วมที่สำคัญ 8 ประการ ดังนี้..

  1. Great Headmasters are instructional leaders. ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีความรู้ดีในเรื่องของหลักสูตร มาตรฐานการศึกษาของศตวรรษที่ 21 และมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการยกระดับการเรียนรู้สู่สากล นั้นคือการศึกษาแห่งศตวรรษที่ 21 ดังกล่าวแล้ว เพราะผู้บริหารสถานศึกษาจะเป็นผู้นำทีม ในการฟันฝ่าอุปสรรคทั้งมวลไปสู่เป้าหมายที่วางไว้แล้วนี้ให้จงได้
  2. Great Headmasters foster collaboration among staff members and the school community. ผู้บริหารสถานศึกษา “ต้องส่งเสริมความร่วมมือร่วมใจ Foster Collaboration” ระหว่างครู อาจารย์ พนักงาน นักเรียน และชุมชน ให้สามารถผลักดันสถานศึกษาไป สู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย “ที่ได้ร่วมกันวางไว้แล้ว” และมีคำกล่าวประทับใจว่า You are the team leader but you are also a member of the team. You have to pitch in and roll up your sleeves.. คุณเป็นผู้นำทีม และคุณยังเป็นสมาชิกของทีม คุณต้องลงสนาม และพับแขนเสื้อของคุณ เพื่อทำงานร่วมกับเขา.. "
  3. Great Headmasters have clear goals for their schools and measure achievement against these goals. ผู้บริหารสถานศึกษา “มีเป้าหมาย และตัวชี้วัดที่ชัดเจน” ในการเดินทางไปสู่เป้าหมาย
  4. Great Headmasters “set clear expectations for discipline” ผู้บริหารสถานศึกษา ต้องวางตัว “อย่างชัดแจ้งในเรื่องของการมีระเบียบวินัย และความเที่ยงธรรม”
  5. Great Headmasters communicate well.. ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นนักสื่อสารสัมพันธ์ที่ยอดเยี่ยม ยอดเยี่ยมอย่างไรนั้น ท่านลองอ่านข้อความต่อไปนี้เอาเองนะครับ.. “They have regular communication with staff and parents. They host parent nights, parent conferences and are available to meet with individual parents. They returns phone calls promptly and respond to parents’ concerns.”... ท่านจะเห็นได้ว่า ไม่มีใครยิ่งใหญ่กว่าใคร ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุด ควรร่วมมือกันยกระดับการเรียนรู้ของเยาวชนไทยสู่สากล นั้นคือ การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 ให้ได้
  6. Great Headmasters support and evaluate the teaching staff. ผู้บริหารสถานศึกษา “สนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน และ ดูแลเรื่องความสัมฤทธิ์ผล” เพื่อปรับปรุง “วิธีการเรียนการสอนอยู่เสมอ" ด้วยการให้ข้อเสนอแนะในการยกระดับการเรียนรู้ ร่วมวิเคราะห์ปัญหา ตัดสินใจ และส่งเสริมให้กำลังใจในการดำเนินงานการเรียนการนสอนที่มีประสิทธิภาพ
  7. Great Headmasters are visible. คุณครู และผู้ปกครองทุกคนสามารถเข้าถึงเขาได้ง่ายๆ ไม่มีพิธีรีตอง และสามารถปรึกษาหารือได้ทุกโอกาส.. Are Visible...
  8. Great Headmasters establish an atmosphere of fairness and trust. ผู้บริหารสถานศึกษาที่ดี “สร้างบรรยากาศของความเป็นธรรม และความไว้เนื้อเชื่อใจ” ให้ปรากฏชัดเสมอ

director services 04

ท่านที่เคารพ ผมนั้นมีความผูกพันในพื้นที่ตั้งของโรงเรียน “ตูมใหญ่วิทยา" ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์... มาตังแต่สมัยผมเป็นเด็กเลี้ยงควายอายุไม่กี่ขวบ พื้นที่ตรงนั้นเรียกว่า ดงน้อย เป็นที่เก็บผักหักฟืนของผม เป็นที่เก็บเห็ดขอน เห็ดละโงก เก็บดอกกะเจียว ผักติ้ว ผักแต้ว..ดักแย้ ดักนกคุ้ม และแหย่ไข่มดแดงในหน้าร้อน.. ดงน้อยนี้เป็นแหล่งอาหาร และต่อมาดงน้อยนี้เสื่อมลง แล้งกันดาร หมดสภาพความเป็นป่าเลี้ยงชุมชน.. และผมก็จากบ้านไป เหลือแต่ความทรงจำดงน้อยไม่รู้ลืม…

ดงน้อยฟื้นคืนชีพอีกครั้งหนึ่ง ด้วยฝีมือการฟื้นคืนป่าดงน้อย ด้วยฝีมือของคณะครูอาจารย์ นักเรียนโรงเรียนตูมใหญ่วิทยา และชาวบ้านแถบถิ่นนี้ร่วมใจกันเต็มกำลัง สนับสนุนโดยโครงการฟื้นคืนผืนป่าในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี....

ผมได้ไปเยือน “ดงน้อย” อีกครั้งเมื่อ สิบปีที่ผ่านมา.. ป่าผืนนี้คืนชีพแล้วจริงๆ รุ่มครึ้ม เย็นสบาย.. ชุ่มฉ่ำ.. หัวอกผมพองโตด้วยความปิติ เหมือนได้พบเพื่อนเก่าที่แสนรักที่จากกันไปนานได้มาเจอกันอีก.. เสียงนกร้อง.. ส่อสำเนียงเสียงหวานมาบอกว่า ความอุดมสมบูรณ์ได้กลับคืนมาแล้ว..

การฟื้นคืนชีพของดงน้อย ทำให้ผมต้องจับตามอง “โรงเรียนตูมใหญ่วิทยา” อยู่เสมอ.. ชื่นชมในความสำเร็จของคุณครู นักเรียน ตลอดจนศิษย์เก่า และประชาชนในแถบถิ่นนี้ เป็น “ผู้นำเกียรติภูมิมาสู่โรงเรียน” ..ผมถือว่าโรงเรียนตูมใหญ่วิทยา และป่าดงน้อยเป็นสิ่งเดียวกัน..

เมื่อผมได้ข่าวว่า โรงเรียนตูมใหญ่วิทยาได้ผู้อำนวยการคนใหม่

“เป็นอย่างไรบ้าง ?” ผมถามออกไป เพราะผู้บริหารสถานศึกษา มีหลายแบบหลายสไตล์ อย่างที่กล่าวแล้ว...

“ติดดิน..เป็นนักพัฒนา” เสียงจากเครือข่ายของผมบอกม“เป็นตัวเอกของ สพม. 32 บุรีรัมย์ ซื่อสัตย์ ทำงานเต็มเวลา.. เต็มความสามารถ.. ทำงานแต่เช้า อยู่โรงเรียนทั้งวัน.. ทำงานได้ทุกหน้าที่.. ตั้งแต่ เป็นผู้ตรวจสอบวินัย ครู และผู้บริหาร เป็นผู้ประเมินครู โรงเรียน และนักเรียน.. จนถึง การนิเทศการสอน.. วิทยากรลูกเสือ.. ผู้นำกิจกรรม.. นักออกแบบการเรียนการสอน.. คนกวาดขยะ.. คนสวนรดน้ำต้นไม้ ..ช่างทาสี.. และคนผสมปูน..ฯ.”

“หา..” ผมร้องบอก “ผมถามถึง ผอ.คนใหม่..ของโรงเรียนตูมใหญ่วิทยา..”

“ก็ ผอ.น่ะซี” เสียงนั้นสวนมา “ทั้งครู และนักเรียนเรียก คุณพ่อกันทั้งนั้น”

ผมนึกถึงข้อเขียนของ Leslie T. Fenwick and Mildred Collins Blackman in an Education Week commentary. ขึ้นมาทันที มันไม่ต่างกันเลยสำหรับ การเป็น “ผู้บริหารสถานศึกษาผู้ยิ่งใหญ่ หรือ The Great Headmaster.” ผมอยากแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากเขา.. เพื่อสมาชิกชาว Facebook ของเรา...

อันที่จริง ผมได้มีโอกาสรู้จักกับคุณครู ผู้อุทิศตนเพื่อ “ความเป็นครู” ชนิดเช่นนี้มาแล้วมากมาย.. แต่คุณครูเหล่านั้น มักถูกมองข้ามความสำคัญ.... ขอขอบพระคุณ สพม. ยุคใหม่แห่งศตวรรษที่ 21 ทุกแห่ง ที่หันมาส่งเสริมคนดีมีความสามารถเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ

director services 05

ผมมีโอกาสพบกับเขาเมื่อสงกรานต์ที่ผ่านมา เราคุยถูกคอกันอย่างที่สุด กับเรื่องการยกระดับการเรียนรู้ของเยาวชน วิธีการ.. จิตวิทยาการศึกษา และความมุ่งหวังอันแรงกล้าของเขา ในการยกระดับการเรียนรู้สู่สากล นั้นคือการศึกษาแห่งศตวรรษที่ 21 ผอ.อุดม วัชรพงศ์ศิริ คนนี้แสดงออกถึงความใฝ่ฝันของเขาในวัย 58 ที่เต็มไปด้วยพลัง.. และความหวังของชาติ...

ผมคุยกับเขาเรื่องโลกของการศึกษา เพลิดเพลิน.. เกินเวลาดึกดื่น.. และเต็มไปด้วยความหวัง จนลืมเรื่องสำคัญ.. ที่ผมตั้งใจไปฝากชีวิตของ “ดงน้อย” ไว้กับ The Great Headmaster อย่างเขา..

เพราะ “ป่าไม้คือชีวิต.. การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 จะช่วยอะไรเราได้.. ในเมื่อเราตายไปแล้ว”

ท่านที่เคารพ.. ท่านเห็นด้วยกับผมหรือไม่ว่า “พ่อแม่ให้กำเนิด..และป่าไม้ให้ชีวิต”... สองสิ่งนี้มีแต่ให้คุณสถานเดียว

สุทัศน์ เอกา ....................... บอกความ

 

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

Our Policy