foto1
ความงดงามการศึกษาไทย
foto1
เพื่อ?
foto1
ไม่เข้าใจ?
foto1
วิทยากรที่กระทรวงศึกษาธิการ สปป.ลาว
foto1
ท่องทะเลทรายที่ดูไบ UAE


Friendly Links

เรียนรู้ภาษา html
isangate banner
easyhome banner
ipst banner
sakdibhornssup foundation
13 Thai free fonts
speedtest
e mil

Facebook Likebox

No. of Page View

Exploration

สร้างความรู้ด้วยการสำรวจตรวจสอบ The Exploration Learning

abl 02Hand on,..Mind on,..in Exploration
ถึงเวลาที่ต้องเรียนรู้ด้วย Hand on, …Mind on, .. in Exploration… สู้ด้วยใจ..ไปให้ถึง และเรียนรู้ด้วยตนเอง.. Self Learning….

คุณครูอยู่ไหน.?.... ”ครูอยู่กับเธอเสมอ และมองเห็นความก้าวหน้าตลอดเวลา”

ข้อความนี้แสดงให้เห็นว่า คุณครูไม่มีเวลาว่างมากพอ ที่จะไปทำอย่างอื่นนอกจาก “การร่วมคิดร่วมทำ Active Participation” กับนักเรียนในชั้นเรียนและรายวิชาที่ตนสอน เริ่มตั้งแต่ขั้นแรกของการ “สร้างพันธะ หรือความผูกพัน หรือ Engagement ในเนื้อหาวิชาซึ่งเราเรียกว่าโลกแห่งความจริงที่เป็นปัจจุบัน และความรักความห่วงใยระหว่างครูกับศิษย์”... ส่วนเนื้อหาวิชาที่เป็นโลกแห่ง ความจริงนั้นก็คือ “สิ่งที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้” และต้องเป็น “ปัจจุบัน” คือ “สิ่งที่กำลังเกิดขึ้น” หรือความจริงอันเป็น “กฎธรรมดาทางธรรมชาติ” เช่น น้ำ คือ สารประกอบระหว่าง Hydrogen 2 อะตอม และ Oxygen 1 อะตอม ประกอบกันเป็น 1 โมเลกุลของน้ำ เป็นต้น

เพราะเหตุว่า “การเรียนรู้ของสิ่งที่มีชีวิตทั้งมวลนั้น” เกิดจากการที่ “ร่างกาย และ จิตใจ มีประสบการณ์ตรงกับแหล่งเรียนรู้นั้นๆ นักวิชาการฝรั่งบางคนชอบพูดแบบชาวบ้านว่า.. Hand on..Mind on Experience" ท่านเปรียบเทียบว่า “เหมือนแมวที่จ้องตะครุบหนู มันจะจับหนูได้ ต้องเป็น หนูที่อยู่ตรงหน้ามันเท่านั้น” และผมต้องขออภัยที่ต้องยกตัวอย่างที่ผมเคย ได้กล่าวแล้ว มากล่าวซ้ำในที่นี้อีก ทั้งนี้ก็เพราะความจำเป็นที่อยากให้ คุณครูทุกท่านได้มองเห็นภาพกว้างๆ...

คำว่า “โลกแห่งความเป็นจริง หรือ Real World” ก็คือ “ตัวผู้เรียนเอง และ เนื้อหาสาระในบทเรียนที่เป็นปัจจุบัน หรือ กิจกรรมทางการศึกษาเพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้” อันได้แก่ เนื่อหาสาระที่แยกเป็นรายวิชาโดยชัดเจน ที่เรียกว่า Real world by Subject เช่น วิชา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส นาฏศิลป์ วาดเขียน ลูกเสือ ไวยากรณ์ไทย วรรณคดีไทย เรียงคงาม ย่อความ ฯลฯ เป็นต้น...

thai education 01

หรือ ถ้าจาะแยกเป็นกลุ่มสาระตามที่คณะกรรมการปฏิรูปหลักสูตรกำหนดไว้ เช่น 1. ภาษาและวัฒนธรรม (Language and Culture) 2. กลุ่มสาระเรียนรู้ STEM (วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกร และคณิตศาสตร์) 3. การดำรงชีวิตและโลกของงาน (Work Life) 4. ทักษะสื่อและการสื่อสาร (Media Skill and Communication) 5. สังคมและมนุษยศาสตร์ (Society and Humanity) 6. อาเซียน ภูมิภาคและโลก (Asean Region and World) นี้เป็นกลุ่มสาระที่แสดงให้เห็นภาพกว้างๆ ที่สุดของจุดมุ่งหมาย ทางการศึกษา ในศตวรรษที่ 21. ซึ่งจะต้องแยกออกมา “เป็นรายวิชา Real world by Subject เพื่อเป็น “แกน หรือเป็นแนวทาง Guide” ให้คุณครูผู้สอนได้ยึดเป็นแนวทางในการจัด “กิจกรรมและประสบการณ์”ให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์ด้วยตนเองต่อไป....

รายละเอียดของ “โลกแห่งความเป็นจริง หรือ Real World” ที่แยกตามกลุ่มวิชา และ แยกตามรายวิชาให้เห็นทิศทาง และ แนวทาง การเรียนการสอนของครูในศตวรรษที่ 21.นั้น ผมได้กล่าวไว้แล้วอย่างละเอียดในเรื่อง “การทำให้ผู้เรียนเข้าไปมีส่วนร่วมโดยตรง Active Participation ในโลกแห่งความเป็นจริง The Real World” ซึ่งได้ “โพสต์” ใน Facebook แล้ว โปรดย้อนกลับไปอ่าน ทั้ง 3 ตอน นะครับ....

การ “ทำกิจกรรม” หรือ การเรียนรู้ในขั้นนี้เรียกว่า “การสำรวจ Exploration หรือ Investication” นั้น หมายความว่า ทั้งคุณครูประจำรายวิชาและนักเรียน “มีส่วนร่วมกัน Participation” ในการพิจารณา “สิ่งที่จะถูกเรียน What is Learned”  โดยผู้เรียนทำการ “เก็บรวบรวมข้อมูล.จัดระเบียบข้อมูล,ตีความหมายหรือทำความเข้าใจข้อมูล ,จำแนกแยกแยะหรือวิเคราะห์ข้อมูล, และประเมินค่าข้อมูลที่สำรวจมาได้ ...Learner gathers, organizes, interprets, analyzes, evaluates data”...

children ed 04

บทบาทของ “ครูและนักเรียน” ในการสำรวจตรวจสอบหาข้อมูล Roles of teacher and students to explore the data.

ท่านผู้อ่านจะเห็นได้ว่า นอกจากผู้เรียนจะได้รับ ความรู้ความจำ ความเข้าใจ ในขั้นตอนของการสำรวจแล้ว ผู้เรียนจะเกิด “ความคิดวิเคราะห์ หรือ Critical Thinking” ขึ้นมาด้วยตัวเองตามธรรมชาติของการเรียนอีกด้วย

บรรยากาศ และบทบาทของ “ครู กับ นักเรียน” ซึ่งแยกตามกลุ่มสาระ จะมีภาพจำลองประมาณนี้ ซึ่งในความเป็นจริง คุณครูสามารถนำไปดัดแปลงได้ตามความเหมาะสม ครับ

  1. คุณครูมีคำถามเพื่อตรวจสอบสภาพความพร้อมในการเรียนรู้ ถ้ายังไม่พร้อมก็พยายามหาทางนำเข้าสู่บทเรียนให้ได้ เพื่อให้สามารถตามนำ และหยั่งเชิงว่า สิ่งที่เห็นอยู่ตรงหน้า วัตถุ สิ่งของ สถานการณ์ เหตุการณ์ ภาพข่าว เรื่องราว..นี้ นักเรียนคิดอย่างไรกับมัน จะเรียนรู้อะไรได้บ้าง จะเข้าไปเรียนรู้ได้อย่างไร ทำไมถึงต้องทำอย่างนั้น ทำแบบนี้แล้วจะได้อะไร นั่นคือสรุปสั้นๆ ว่า ครูตั้งคำถามนำ จนนักเรียนสามารถตั้งสมมุติฐานกับสิ่งที่จะเรียนรู้ และสามารถคาดเดา “ข้อมูล หรือ Data” ที่อาจจะได้มานั่นแหละครับ
  2. คุณครูอาจต้อง “แนะวิธี” หรือ “ยกตัวอย่าง” การหาข้อมูล “จากแหล่งความรู้ประเภทต่างๆ ในรายวิชาที่เรียน Explores resources and materials” หลังจากนี้ คุณครูก็อาจแนะนำแหล่งข้อมูลต่างๆ สถานที่ แหล่งเรียนรู้ วัตถุ ฯลฯ ให้นักเรียนเขียนแผนงานในการสำรวจหาข้อมูลส่ง ครู เรียกว่าให้นักเรียน Build models เพื่อที่คุณครูจะได้เขียนข้อเสนอแนะบางประการส่งคืนนักเรียน Provides Feedback เพื่อดำเนินงานต่อไป
  3. นักเรียนเริ่มการสำรวจตรวจสอบและเก็บข้อมูล "ตามกลุ่มวิชาหรือรายวิชาที่ กำลังทำกิจกรรม" ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้อย่างรอบด้าน ระหว่างนั้น เป็นช่วงโอกาสของคุณครู ที่จะต้องประเมินผลการเรียนรู้ ความเข้าใจ และ ”กระบวนการทำงาน Process ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องการในการเรียนรู้ด้วยเหมือนกัน..”
  4. คุณครู “Guide ให้นักเรียนสามารถทำข้อสรุปความรู้ และความเข้าใจเป็นรายข้อ ก่อนหลัง ให้ได้ครบถ้วน” ในขั้นตอนนี้ นักเรียนแต่ละคนจะตระหนักในตัวเองแล้วว่ารู้มากน้อยแค่ไหน อันเป็นการ “ประเมินผลตนเอง Self Reflects and Evaluates”  เมื่อทุกคนสรุปได้ครบถ้วนแล้ว จึงนำเสนอคุณครู เพื่อรับการ Comments ดันเป็น Feedback เพื่อการเติมเต็มความรู้ และความเข้าใจต่อไป.....
  5. ยังจะต้องมีนักเรียนส่วนหนึ่ง “ตระหนักตนเอง” ว่า “สมควรกลับไปสำรวจตรวจสอบข้อมูลใหม่” และ อีกกลุ่มหนึ่ง “ทำตามข้อแนะนำ หรือ Feedback จากคุณครู” ในขั้นตอนนี้คุณครูมีหน้าที่ในการ "ให้กำลังใจ Encourage” ทุกๆ คนให้ “เห็นข้อดีและประโยชน์ของความรับผิดชอบ The advantages and benefits of Responsibility” เพื่อนำเสนอคุณครูอีกครั้งหนึ่ง และสามารถขอเปลี่ยนผลการประเมินในครั้งก่อนๆ ได้ การทำกิจกรรมโดยตลอดจากข้อ 1-5 ในขั้นตอนของ การหาข้อมูล หรือ Exploration หรือ Investigation นี้ คุณครูจะทำการประเมิน ความรู้ ความเข้าใจ และ กระบวนการทำงานของนักเรียนได้ทุกขั้นตอน เรียกว่า Assessment Knowledge, Understanding and Process….

กระบวนการเรียนโดยการ “เก็บรวบรวมข้อมูล หรือ Exploration Learning ทั้ง 5 ขั้นตอนนี้เป็นเพียงตัวอย่างกลางๆ ซึ่งท่านอาจารย์ประจำวิชาต่างๆ สามารถนำไปดัดแปลงให้เหมาะสมถูกต้องกับการสอนในรายวิชาของตน ซึ่งผมหวังว่า วิธีการนี้อาจสามารถแก้ปัญหาการศึกษาของชาติบ้านเมืองเราให้ลุล่วงไปได้..

std bannok 1

การวัดผล ความรู้ ความเข้าใจ กระบวนการทำงาน และการคิดวิเคราะห์ หรือ Assessment Knowledge, Understanding, Critical Thinking and Process..

เรื่องนี้ นับเป็นเรื่องสำคัญที่ต้อง “ทำ” ทุกขั้นตอนของการเรียนรู้แบบ Constructivist Learning ดังที่ได้เรียนไว้แล้วว่า คุณครูจะไม่ทิ้งนักเรียนคนใดไว้เบื้องหลัง เพราะว่าตลอดเวลาของการสอนนั้น คุณครูได้มีการ “สังเกต Observation” ทุกๆ ขั้นตอนของคาบการเรียน ใครที่บ่งบอกอาการ “ล้าหลัง” คุณครูจะต้องทำการ “เสริมศักยภาพ Scaffold” เพื่อข้าม “สะพานความรู้ Bridge” ไปด้วยกันทั้งชั้นเรียน นี้เรียกว่า “การวัดผล ประเมินผล และการปรับปรุงคุณภาพการเรียนไปในเวลาเดียวกัน” จึงไม่มีการ สอบตกซ้ำชั้น ติด 0, ร, หรือ มส, หรือการตามไปอ้อนวอนเด็กให้มาสอบแก้ตัวแต่ประการใด...

การวัดผล ประเมินผลในขั้น “การสร้างความรูด้วยการสำรวจตรวจสอบ The Exploration Learning..” นี้ คุณครูต้องนำสิ่งเหล่านี้มาพิจารณา ด้วยเสมอคือ

  1. ความรู้ Knowledge คือ ความจำ หรือการระลึกได้ถึง ความคิด วัตถุ เรื่องราว หรือปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เริ่มต้นจากสิ่งง่ายๆ ไปจนถึงสิ่งยากๆและมีความสำพันธ์ที่สลับซับซ้อน ความรู้นับเป็นความต้องการพื้นฐานของการเรียนการสอน...
  2. ความเข้าใจ Understanding คือ ความคิดรวบยอด หรือ Comprehension เป็นความสามารถทาง “สติปัญญา Mentality” ที่พัฒนามาจากความรู้ และความจำ ให้กว้างออกไปอย่างสมเหตุสมผล นักเรียนที่มีความเข้าใจ จะแสดงออกในสิ่งต่อไปนี้คือ สามารถอธิบายได้ Can Explain สื่อความหมาย Meaningful และแปลความหมายได้ Can Interpret สามารถประยุกต์ใช้ Can Apply มีมุมมองของตัวเอง Have Perspective เห็นคุณค่าของความคิดต่าง ไม่น่าเชื่อ อันเนื่องมาจากสังคมและสิ่งแวดล้อม เห็นอกเห็นใจผู้อื่น Can Empathize มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ Critical Thinking และมีความรู้ความคิดเป็นของตนเอง Have self-Knowledge
  3. การวัดความคิดวิเคราะห์ Critical Thinking การวัดกระบวนการ Process หรือ การทำงานเป็นขั้นตอนก่อนหลัง เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ในการ “ทำกิจกรรม” ต่างๆ ตระหนักรู้บทบาทและหน้าที่ ตลอดจนความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันระหว่างสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
    ครูผู้สอนสามารถวัด “คุณภาพของผู้เรียน” จากการสังเกต Observation จากการสอบถามด้วยวิธีการต่างๆ ดูการจัดระเบียบและระบบการทำงาน หรือ Process และการที่ได้เสริมศักยภาพการเรียนรายบุคคล และวัดมาตรฐานด้วย “ด้วยการแสดงออกให้เห็น” แล้ว ก็เป็นอัน “เห็นกับตา” ว่าผู้เรียน “มีความรู้จริง คิดเป็น ทำเป็น และสามารถแก้ปัญหาได้” นี่ก็เป็นสิ่งที่พอเพียงแล้วสำหรับคุณภาพของมนุษย์ที่พึงมี
  4. หากจำเป็น ที่คุณครูต้องการจัดลำดับ ก็ย่อมสามารถทำได้ “ด้วยข้อสอบ” ตามหลักการ “สำคัญ” ต่อไปนี้คือ ความรู้ความจำ สามารถวัดได้ด้วยของสอบ แบบเลือกตอบ หรือ Multiple Choices ถ้าต้องการวัดความเข้าใจ understanding วัดกระบวนการ Process วัดความคิดวิเคราะห์ Critical Thinking ให้ใช้ข้อสอบแบบอัตนัย Subjective Test จะทำให้ครูสามารถจัดลำดับได้ “ตรงต่อความเป็นจริงของผู้เรียน” มากกว่าข้อสอบแบบเลือกตอบ หรือ Multiple Choices

ดังได้เคยเรียนชี้แจงกับท่านแล้วว่า การเรียนรู้แบบ Constructivist Learning เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ด้วยตนเอง เป็น Child Centered เรียนโดยการมีส่วนร่วม Participation เรียนด้วยการ “ทำเอง Learning by Doing นั้น ทุกคนสามารถข้ามสะพานความรู้ Bridge Knowledge มาแล้วทุกขั้นตอน จึงไม่มีใครสอบตก ไม่มีใครถูกลงโทษให้เรียนซ้ำชั้น และไม่มีใครต้องถูกตามตัวให้มาแก้ 0, ร, มส. อีกต่อไป

และขอเชิญคุณครูทุกท่านติดตามตอนต่อไป เรื่อง “การอธิบายขยายความ และ การแจกแจงความรู้ความเข้าใจที่ได้เรียนมา หรือ Explain and Clarify” อันเป็นขั้นตอนที่ผู้เรียน “ทำความรู้ที่เกิดขึ้นกับตนเอง” นั้น ถูกต้อง แน่นแฟ้น และมั่นคงยิ่งขึ้นไปอีก.....

นี้คือ การเรียน การสอนที่พึงปรารถนาของศตวรรษที่ 21.อย่างแท้จริงครับ

kroobannok 01

ในแนวคิด และกรอบการเรียนรู้ของศตวรรษที่ 21. ประกอบด้วย ทักษะและนวัตกรรม 3R และ 4C ซึ่งมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้

  • 3R ได้แก่ Reading การอ่าน, Writing การเขียน, และ Arithmetic คณิตศาสตร์
  • 4C ได้แก่ Critical Thinking การคิดวิเคราะห์, Communication การสื่อสาร, Collaboration การร่วมมือ, Creativity ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงทักษะชีวิตและอาชีพ และทักษะด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี และการบริการจัดการด้านการศึกษาแบบใหม่

ในเรื่อง “Reading การอ่าน, Writing การเขียน” นี้ มันน่าอนาถใจนักที่ผู้บริหารชั้นสูง “ระดับนโยบายของชาติ” คิดแก้ปัญหาอยู่เพียงระดับการ “อ่านออกเขียนได้” ซึ่งเป็น “ทักษะต่ำสุด” ในการจัดการศึกษายุคโบราณ ถึงขนาดจะรื้อระบบการศึกษาซึ่งพัฒนามาดีพอสมควร จนเกือบทันยุคสมัยแล้ว กลับไปตั้งต้นยุคเก่าอีกครั้งหนึ่ง

children smileเด็กอ่านหนังสือไม่ออกนั้น มีวิธีแก้ไข และแก้ไขได้ง่ายอยู่แล้ว ซึ่งคุณครูแต่ละโรงเรียนก็ได้แก้ไขเป็นรายบุคคล อยู่แล้ว เพราะแต่ละโรงเรียนมีไม่กี่คน เอาจริงเอาจังก็อ่านออกเขียนได้ทั้งหมดนั่นแหละ แต่นี่ผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ ทำเหมือนกับว่า “มันเป็นปัญหาระดับชาติ” ประพฤติตัวราวกับอาเสี่ยใจป้ำ ”จุดแบ๊งค์ร้อย หาเหรียญสลึง” อวดแม่ค้าขายอ้อยควั่นในงานวัดยังไงยังงั้น...

Reading การอ่าน- Writing การเขียน ที่ศตวรรษที่ 21. ต้องการ ไม่ใช่เพียงแค่การอ่านออก-เขียนได้เท่านั้น แต่ ”อมความหมายระดับโลก” นั่นคือ พลโลก World Population” ใช้การอ่านในการรับข้อมูลขาวสารสาร Information ของโลก เรียนรู้จากมัน และปรับชีวิตความเป็นอยู่ให้มีความสุขและสอดคล้องต้องกันของโลกยุคโลกาภิวัต น์ Globalization ของการคมนาคมและการสื่อสารไร้พรมแดน และการเขียนของคนไทยก็หมายถึงการส่งสาร ทั้งในระดับบุคคล ระดับชาติ และระดับโลก เช่นเดียวกัน

ส่วนคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์นั้นก็เพื่อพัฒนาการเรื่อง “การคิด และ การคอดวิเคราะห์” ก็เพื่อให้สามารถปรับตนเองให้สอดคล้องกับโลกของความเป็นจริง The Real World นั่นเอง.. นี่ยังไม่ได้พูดถึง ทักษะนวัตกรรม 4C. ด้วยซ้ำไป...

แล้วท่าน รัฐมนตรี และ เลขา สพฐ.จะเอา “ข้อสอบกลาง” อะไรไปวัด และคนออกข้อสอบนี้มือแน่แค่ไหน “จึงกล้า” ออกข้อสอบไปวัดทั่วประเทศ และผลมันจะออกมาเป็นยังไง เอาอะไร..ไปวัดกับอะไร.. และตัดสินสอบตกซ้ำชั้นได้ยังไง....

สุทัศน์ เอกา............บอกความ

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

Our Policy