ส.ค.ส. พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แก่คนไทยทั้งมวล
วันนี้ ผมและทีมงานก็ขออัญเชิญ ส.ค.ส. 2547 พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานแด่คนไทยทั้งมวลได้มีสติ คิดรอบคอบ สามัคคีรวมพลังไทยเป็นหนึ่ง เพื่อความสงบร่มเย็น แม้รอบบ้านเราจะมีระเบิดอยู่ทุกหัวระแหง แต่เราก็เป็นสุขด้วยพระบารมีของพระองค์ท่าน
ก็ขอให้เพื่อนครูทุกท่าน และนักเรียนทุกคนได้มีสมองปลอดโปร่ง โล่งใจ คิดสิ่งใด กระทำสิ่งใดก็ขอให้สมปรารถนา มีความสุขกันถ้วนหน้าตลอดปีใหม่และตลอดไปครับ
วันนี้เปิดไปพบประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง แนวนโยบายในการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 แล้วก็หวนนึกถึงสิ่งที่พวกเราตั้งใจทำไปตลอด 2 ปีที่ผ่านมา (จากกลุ่มนำร่องถึงการประกาศใช้ทั่วประเทศในปีการศึกษานี้) ดูเหมือนมันจะผิดทิศผิดทางไปพอสมควรครับ นับตั้งแต่การรวมกลุ่มสาระการเรียนรู้โน่นแหละที่พลาดมาแล้ว แม้พวกผมจะพูดอย่างไรก็ไม่ฟังเสียง แล้วคราวนี้เป็นไง?
ขอท้าวความสักนิดครับ การแบ่งสาระการเรียนรู้ครั้งแรกสุด "กลุ่มวิชาคอมพิวเตอร์" จะไปรวมกับวิทยาศาสตร์เป็น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แต่ถูกตัดออกเพราะมีนักวิชาการ(มากๆ) ท่านบอกว่า เฉพาะสาระวิทยาศาสตร์ก็มากพอแล้วให้ตัดออก และถูกลืมว่ามีอยู่ในสาระการเรียนรู้ไปเลย ทาง สสวท. และกระทรวงวิทยาศาสตร์เห็นว่า ถ้าตัดออกไปเลยเราจะพัฒนาเทคโนโลยีของประเทศได้อย่างไรเล่า? ก็เลยถูกเรียกกลับคืนมาอีกแต่เอาไปห้อยต่องแต่งกับ "กลุ่มการงานอาชีพ" ซึ่งไม่รู้ว่ามันสัมพันธ์กันอย่างไร? คงคิดว่ามันก็แค่พิมพ์ดีดไฟฟ้า แต่เอาล่ะ ยังดีที่ได้กลับมา เฮ้อ.... แล้ววันนี้เป็นอย่างไร?
จากประกาศฉบับดังกล่าวนี่เองที่ทำให้เห็นว่า "คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ" ไม่ใช่กาฝากที่จะเอาไปแขวนที่ไหนก็ได้เสียแล้ว เพราะเป็นหัวใจของการแข่งขันและพัฒนาทั้งทางด้านการศึกษา การสาธารณสุข การค้าพานิชย์และการลงทุน แข่งกับนานาอารยะประเทศ มาดูกันเลยดีกว่า
กลุ่มที่ 1 ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นพื้นฐานทางวิชาการ และจำเป็นต่อการเรียนรู้ ต้องจัดสอนในแนวลึกและเข้มข้น
กลุ่มที่ 2 ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม และสุขศึกษา ซึ่งเป็นพื้นฐานในการอยู่ร่วมกันในสังคม
กลุ่มที่ 3 กีฬา ดนตรี ศิลปะ การงานอาชีพ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ซึ่งเป็นพื้นฐานในการพัฒนาสุขภาพ บุคลิกภาพ และความถนั
ช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 (ป. 1 - ป. 6) วันละประมาณ 5 ชั่วโมง โดยให้จัดให้เรียน กลุ่มที่ 1 จำนวน 3 ชั่วโมง กลุ่มที่ 2 จำนวน 1 ชั่วโมง และกลุ่มที่ 3 ในชั่วโมงสุดท้ายของวันตามลำดับ
ช่วงชั้นที่ 3 และช่วงชั้นที่ 4 (ม. 1 - ม. 6) วันละประมาณ 6 ชั่วโมง โดยให้จัดให้เรียนกลุ่มที่ 1 จำนวน 4 ชั่วโมง กลุ่มที่ 2 จำนวน 1 ชั่วโมง และกลุ่มที่ 3 ในชั่วโมงสุดท้ายของวันตามลำดับ
ทั้งนี้ในแต่ละสัปดาห์ให้สถานศึกษาออกแบบตารางเรียนให้ครอบคลุมรายละเอียดของทั้ง 3 กลุ่ม
ติดตามกันต่อไปว่า เราจะเอายังไงกันแน่? ก็คงจะเริ่มในปีการศึกษาหน้าเป็นหลักสูตรใหม่ที่ใหม่กว่า ในขณะที่ตัวเก่าก็ยังหาความลงตัวไม่ได้ สับสนอลหม่านทั้งผู้สอนและผู้เรียน (โดยเฉพาะนายทะเบียนที่ทำหน้าที่ออกหนังสือรับรองวุฒิหนักใจที่สุด) เอ... แต่ผมสังเกตุเห็นว่า ไม่สอนพิเศษในสถานศึกษา สอนพิเศษข้างนอกได้อ๊ะเปล่า? ครูอดิศัย...
ครูมนตรี โคตรคันทา
บันทึกไว้เมื่อ : 31 ธันวาคม 2546
ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)