โดย สุทัศน์ เอกา
“Working with their peers”.. ทำงานกับเพื่อน.. เป็นการเรียนแบบ Play way Methods.. ได้ผลในทางการเรียนเกินคาด..
“เพื่อนสำคัญเป็นอย่างยิ่ง” นี่เป็นความรู้สึก อย่าว่าแต่เด็กเล็กๆ ชั้นอนุบาลเลย โตเป็นหนุ่มสาวขนาดเรียนมหาวิทยาลัยแล้ว เพื่อนก็ยังสำคัญที่สุดอยู่ดีนั่นแหละ ในวิชาครูสมัยใหม่ เรียกความจริงอย่างนี้ว่า “Social Negotiation” หรือ การเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัวนั่นเอง
Social Negotiation คือ สิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนรู้นี้ เห็นได้ง่ายๆ จาก “ภาษาและวัฒนธรรมท้องถิ่น Language and Culture” เช่น สำเนียงเสียงพูดของคนสุพรรณ คนโคราช เพลงอีแซวของภาคกลาง หรือ หมอลำแห่งภาคอิสาน.ฯลฯ..
ความรู้สึกตามธรรมชาติของเด็กๆ จะมีความสุขมากเมื่อได้มี “กิจกรรม” คือ “การเรียน Learning” ... และ “การทำงาน Working” ร่วมกับเพื่อนๆ
คำถามที่ควรอยู่ในใจคุณครูเสมอ "Teachers should always be in mind” นั้นคือคำถามที่ว่า “What engages students..?” คือ ทำอย่างไรหนอ..จึงจะทำให้เด็กๆ มีใจจดจ่ออยู่กับบทเรียนได้? แล้วก็มีคำตอบ ตามหลักจิตวิทยาว่า.. “Working with their peers” เด็กๆ ชอบทำงานร่วมกับเพื่อนๆ..
เมื่อคุณครูได้ “รู้สิ่งที่เด็กๆ ในชั้นของตนชอบ Awareness” ดังนี้แล้ว ก็ใช้การเรียนการสอนตามแบบ Learning by Doing นี้แหละเหมาะสมที่สุด ดังนี้
การเรียนรู้แบบนี้ นอกจากจะทำให้ “ผู้เรียน Learner” สามารถสร้างองค์ความรู้ “จากภายในตนเอง Knowledge from their Own” แล้ว “ยังเป็นการสอนประชาธิปไตยแท้จริง Teaching truly Democratic”
เหนือคุณประโยชน์อื่นใดของการเรียนแบบนี้คือ เป็นการฝึก “การยอมรับคุณค่า และแนวคิดที่แตกต่างของผู้อื่น Recognized the value and ideas of others” อันเป็นคุณค่าสูงสุดของการอยู่ร่วมกัน อย่างมีความสุข สงบ และสันติ ของสังคมมนุษยชาติ
"Learning Cycle วงจรการเรียนรู้” และ “สร้างปัญญา The creation of Intellectual”
คุณครู-อาจารย์ที่เคารพทุกท่านครับ ผมพยายามจะนำเสนอเรื่องนี้ “The Process of Experiential Learning หรือ กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์” อย่างง่ายๆ สั้นๆ แต่ให้ครอบคลุมเนื้อหาให้มากที่สุด และสามารถนำไปใช้ได้ทันที ด้วยวิธีการเรียนรู้แบบ “ลงมือทำจริงๆ หรือ Learning by Doing” นั้นเอง ซึ่งโดยแท้จริงแล้ว “มันเป็นวงจร Cycle” อยู่เพียง 3 ขั้นตอนเท่านั้นเอง และในช่วงเวลาของ “การเรียนการสอนจริง” คุณครู “ควร” ออกแบบการสอนให้ผู้เรียน ได้ “ทำ หรือ มีประสบการณ์” ครบทั้ง 3 ข้อนี้ คือ
เสร็จจากขั้นตอนที่ 3 นี้ คือ “การพัฒนาและปรับปรุง” แล้ว... ก็ไป เริ่มต้น “ทำ Do” สิ่งที่ต้องพัฒนา เข้าสู่ ขั้นตอน ที่ 2. ที่ 3. วนเป็นวงจรอยู่อย่างนี้จนประสบความสำเร็จเป็นที่พอใจ แล้วจึงไปเริ่มต้นที่วงจรใหม่อีกต่อไป...
ใครก็ตามที่ “ดำเนินชีวิต Lifestyle” ตามครรลองที่กล่าวมานี้ เขาย่อมพบกับความสุขความเจริญที่ถาวร และ “ยั่งยืน Sustainable” อันเป็นจุดหมายปลายทางแห่งการศึกษาของศตวรรษที่ 21.
นี่คือหลักการเรียนรู้จากประสบการณ์ Experiential Learning ที่สามารถอธิบายได้ว่า “ความรู้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนได้อย่างไร” ด้วยเหตุผลที่ว่า “ความผิดพลาดเป็นครู.. อุปสรรค์คืออุปกรณ์การสร้างปัญญา” และ ในทางพระพุทธศาสนา สอนว่า “มารไม่มี บารมีไม่เกิด” นั่นแล้ว
สำหรับหลักการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ หรือ Experiential Learning นี้ พระพุทธองค์ ได้ทรงสอนพุทธบริษัทมาก่อน และถือเป็นหลักในการเรียนรู้ ปฏิบัติสมาธิ-วิปัสสนา ด้วยตัวของตนเอง และรู้ได้เฉพาะตน เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง เรียกว่า สันทิฏฐิโก.. เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลไม่จำกัดกาลเวลา เรียกว่า อะกาลิโก... ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ.. เป็นสิ่งที่ผู้รู้ ก็รู้ได้เฉพาะตนฯ ดังที่ทราบกันดีอยู่แล้วในหมู่ชาวพุทธโดยทั่วไป
ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)