|
| หมวด
ก และ ข | หมวด ค และ ง | หมวด
จ, ช, ซและ ฐ | หมวด , ด, ต, ท,
น และ, บ |
หมวด ป, ผ, พ, ฟ, ภ, ม และ ย |
หมวด ร และ ล | หมวด ว, ส และ ห
| หมวด อ และ ฮ | |
หมวด
อ และ ฮ |
|
|
อาร์ดีแรม
(Rambus Dynamic RAM : RDRAM) |
|
|
เป็นแรมที่ได้รับการออกแบบระบบใหม่ให้แตกต่างจากแรมชนิดอื่นที่ได้กล่าวมาข้างต้น
พัฒนาโดยบริษัทแรมบัส (Rambus Inc.) โดยแรมชนิดนี้ใช้สัญญาณนาฬิกาความถี่ 400
เมกะเฮิรตซ์ และส่งข้อมูลผ่านทางบัสที่มีความเร็วสูง เป็นแรมประเภทที่มีราคาแพงและการใช้งานซับซ้อน
จึงไม่เป็นที่นิยมเท่ากับเอสดีแรม และดีดีอาร์เอสดีแรม |
|
|
อาร์พาเน็ต
(ARPANET) |
|
ข่ายงานบริเวณกว้าง
(WAN) ที่จัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1969 ด้วยเงินทุนของหน่วยงานโครงการวิจัยก้าวหน้า
(Advanced Research Project Agency : ARPA) อาร์พาเนตใช้เป็นที่ทดลองสำหรับพัฒนาการของกฏเกณฑ์ควบคุมการส่งผ่านตามมาตรฐานอินเทอร์เน็ต
(TCP/IP) ซึ่งเป็นกฏเกณฑ์ที่ทำให้อินเทอร์เน็ตใช้ได้เป็นผลสำเร็จ จุดประสงค์ใหญ่ของอาร์พาเน็ต
คือ การเพิมศักยภาพทางการทหารและความสามารถในการควบคุมการสื่อสารด้วยสื่อต่างๆ
รวมถึงการสื่อสารผ่านดาวเทียมด้วย ถึงแม้อาร์พาเน็ตจะสามารถบรรลุถึงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ก็ตาม
แต่ก็ต้องทำให้ผู้ก่อตั้งประหลาดใจเนื่องจากผู้ใช้ในอาร์พาเน็ตส่วนมากจะนิยมใช้เครือข่ายในการสื่อสารติดต่อกันมากกว่า
เช่น การใช้ในรูปแบบของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์และกลุ่มสนทนา ในเริ่มแรกนั้น
อาร์พาเน็ตสามารถใช้ได้แต่เฉพาะสถาบันการค้นคว้าของรัฐบาลและมหาวิทยาลัยที่มีสัญญาทางด้านการค้นคว้ากับกระทรวงกลาโหมเท่านั้น
ในปี ค.ศ. 1983 อาร์พาเน็ตได้แบ่งแยกออกเป็นข่ายงานทางด้านการทหารที่มีระบบรักษาความปลอดภัยในระดับสูงที่เรียกว่า
มิลเนต (Milnet) และอาร์พาเน็ตที่เป็นข่ายงานทางด้านการค้นคว้าวิจัยและพัฒนา |
|
|
อินเทอร์พรีเตอร์
(Interpreter) |
|
เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการแปลโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเช่นเดียวกับคอมไพเลอร์
ความแตกต่างจะอยู่ที่อินเตอร์เพรทเตอร์จะทำการแปลและประมวลผลทีละคำสั่ง ข้อเสียของอินเทอร์พรีเตอร์ก็คือ
ถ้านำโปรแกรมนี้มาใช้งานอีกจะต้องทำการแปลโปรแกรมทุกครั้ง ภาษาบางภาษามีโปรแกรมแปลทั้งสองลักษณะ
เช่น ภาษาเบสิก เป็นต้น |
|
|
อินิแอค (Electronic Number Integrator and Calculator :
ENIAC) |
|
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกได้รับการพัฒนาขึ้นในปี
พ.ศ. 2486 เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประกอบด้วยหลอดสุญญากาศประมาณ 18,000 หลอด
ทำให้มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก สร้างขึ้นโดยจอห์น มอชลีย์ (John Mauchley) และ
เจ.เพลสเตอร์ เอกเคิร์ต (J. Presper Eckert) แห่งมหาวิทยาลัยเพนน์ซิลวาเนีย
(University of Pennsylvania) สหรัฐอเมริกา |
|
|
อีดีโอแรม
(Extended Data Output RAM : EDO RAM) |
|
เป็นแรมที่พัฒนาขึ้นหลังจากเอฟพีเอ็มดีแรม
พัฒนาขึ้นในปี พ.ศ.2538 โดยบริษัทไมครอนในประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับเพนเทียมเอ็มเอ็มเอ็กซ์
เพนเทียมโปร ซึ่งไม่เป็นที่นิยมแล้วในปัจจุบัน หลักการทำงานของแรมชนิดนี้เหมือนกับเอฟพีเอ็มดีแรม
แต่ใช้เวลาในการอ่านข้อมูลแต่ละไบต์เร็วกว่า โดยสามารถส่งสัญญาณระบุตำแหน่งส่วนที่เป็นสดมภ์ของไบต์ถัดไปได้เลยโดยไม่ต้องรอให้การอ่านข้อมูลปัจจุบันเสร็จสิ้นก่อน
ทำให้เข้าถึงข้อมูลได้เร็วกว่าเอฟพีเอ็มดีแรมร้อยละ 5-10 แรมชนิดนี้ทำงานได้เร็วในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ความถี่
66 เมกะเฮิร์ต และส่งถ่ายข้อมูลด้วยความเร็ว 800 เมกะไบต์ต่อวินาที |
|
|
อีพร็อม
(Erasable Programmable Read Only Memory : EPROM) |
|
รอมส่วนใหญ่เป็นหน่วยความจำไม่ลบเลือนแต่อาจยอมให้ผู้พัฒนาระบบลบข้อมูลและเขียนข้อมูลลงไปใหม่ได้
การลบข้อมูลนี้ต้องทำด้วยกรรมวิธีพิเศษ เช่นใช้แสงอุลตราไวโอเล็ตฉายลงบนผิวซิลิกอน
หน่วยความจำประเภทนี้มักจะมีช่องกระจกใสสำหรับฉายแสงขณะลบ และขณะใช้งานจะมีแผ่นกระดาษทึบปิดทับไว้
|
|
|
อีอีพรอม
(Electronically Erasable Programmable Read Only Memory : EEPROM) |
|
เป็นเทคโนโลยีที่นำข้อดีของรอมและแรมมารวมกัน
ทำให้หน่วยความจำชนิดนี้สามารถเก็บข้อมูลได้เหมือนฮาร์ดดิสก์ คือสามารถเขียนและลบข้อมูลได้ตามต้องการและเก็บข้อมูลได้แม้ไม่ได้ต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์
หน่วยความจำชนิดนี้มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา พกพาได้สะดวก มักใช้เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลในอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล
เช่น กล้องดิจิทัล กล้องวิดีทัศน์ที่เก็บข้อมูลแบบดิจิทัล |
|
|
อุปกรณ์จัดเส้นทาง
(router) |
|
ในการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมี
การเชื่อมโยงหลายๆ เครือข่าย หรืออุปกรณ์หลายอย่างเข้าด้วยกัน ดังนั้นจึงมีเส้นทางการเข้าออกของข้อมูลได้หลายเส้นทาง
และแต่ละเส้นทางอาจใช้เทคโนโลยีเครือข่ายที่ต่างกัน อุปกรณ์จัดเส้นทางจะทำหน้าที่หาเส้นทางที่เหมาะสมให้
เพื่อให้การส่งข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การที่อุปกรณ์จัดหาเส้นทางเลือกเส้นทางได้ถูกต้องเพราะแต่ละสถานีภายในเครือข่ายมีแอดเดรสกำกับ
อุปกรณ์จัดเส้นทางต้องรับรู้ตำแหน่งและสามารถนำข้อมูลออกทางเส้นทางได้ถูกต้องตามตำแหน่งแอดเดรสที่กำกับอยู่ในเส้นทางนั้น
|
|
|
อุปกรณ์รับเข้าข้อมูล
(input device) |
|
อุปกรณ์รอบข้างใดๆ
ที่ช่วยให้เรานำข้อมูลเข้าไปในคอมพิวเตอร์ เช่น แผงแป้นอักขระ เมาส์ เครื่องกราดตรวจ
และโมเด็ม เป็นต้น |
|
|
อุปกรณ์วิเคราะห์เสียงพูด
(speech recognition device) |
|
ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างนักคอมพิวเตอร์และนักภาษาศาสตร์การใช้อุปกรณ์ชนิดนี้ต้องมีซอฟต์แวร์ที่เก็บฐานข้อมูลของคำศัพท์และความหมายของคำ
นอกจากนี้ยังต้องจดจำและเก็บน้ำเสียงและสำเนียงของผู้ที่จะใช้งานด้วย เนื่องจาก
การพูดของคนแต่ละคนมีความแตกต่างกันในแง่ของน้ำเสียงและสำเนียง ดังนั้น ก่อนการใช้งานอุปกรณ์นิ้วนี้
ต้องทำให้คอมพิวเตอร์เรียนรู้และจดจำน้ำเสียง สำเนียงของผู้ใช้งานระยะหนึ่งก่อนจึงใช้เริ่มงานจริงได้
ส่วนการทำงานของอุปกรณ์ชิ้นนี้จะรับข้อมูลจะรับเข้าทางไมโครโฟน (microphone)
แล้วแปลงข้อมูลเสียงให้เป็นข้อมูลดิจิทัล หลังจากนั้นนำข้อมูลที่แปลงได้ไปเปรียบเทียบกับคำศัพท์ในฐานข้อมูล
หาความหมายของคำนั้นซึ่งอาจเป็นคำสั่ง เมื่อได้ความหมายก็สั่งให้คอมพิวเตอร์กระทำการตามความหมายของคำสั่งดังกล่าว
|
|
|
อุปกรณ์สวิตช์
(Switch) |
|
สวิตช์เป็นอุปกรณ์รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่งหลายสถานีเช่นเดียวกับฮับ
แต่มีข้อแตกต่างจากฮับ กล่าวคือ การรับส่งข้อมูลจากสถานีหรืออุปกรณ์ ตัวหนึ่ง
จะไม่กระจายไปยังทุกสถานีเหมือนฮับ ทั้งนี้เพราะสวิตช์จะรับกลุ่มข้อมูลหรือแพ็กเก็ต
มาตรวจสอบก่อน แล้วมาดูว่าแอดเดรสของสถานีปลายทางไปที่ใด สวิตช์จะนำแพ็กเก็ตหรือกลุ่มข้อมูลนั้นส่งต่อไปยังสถานีเป้าหมายให้อย่างอัตโนมัติ
สวิตช์จะลดปัญหาการชนกันของข้อมูลเพราะไม่ต้องกระจายข้อมูลไปทุกสถานี และยังมีข้อดีในเรื่องการป้องกันการดักจับ
ข้อมูลที่กระจายไปในเครือข่าย |
|
|
เอฟพีเอ็มดีแรม
(Fast Page Mode Dynamic RAM : FPM DRAM) |
|
เป็นแรมที่พัฒนาหลังจากไดนามิกแรมธรรมดาในยุคแรกๆ
ที่ใช้ในเครื่องระดับ 80286 และ 80386 เอฟพีเอ็มดีแรมเป็นแรมชนิดที่เก่าที่สุดที่ยังคงมีขายอยู่ในตลาดคอมพิวเตอร์
เป็นแรมที่พัฒนาขึ้นใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับ 80486 ปัจจุบันยังคงมีการผลิตมาจำหน่ายแต่น้อยมาก
ทำให้เป็นแรมชนิดที่มีราคาแพง |
|
|
เอ็มพีพี
(Massively Parallel Processing : MPP) |
|
การคำนวณแบบขนาน
เป็นการพัฒนาให้มีโครงสร้างการคำนวณพิเศษ ซึ่งเป็นการคำนวณที่กระทำกับข้อมูลหลาย
ๆ ตัวในเวลาเดียวกัน |
|
|
เอสดีแรม
(Synchronous Dynamic RAM : SDRAM) |
|
|
หลังจาก
พ.ศ. 2538 การพัฒนาไมโครโพรเซสเซอร์เป็นไปอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผลิตในยุคต่อมา
คือ เพนเทียมทูร์ (Pentium II) และเพนเทียมทรี (Pentium III) เป็นเครื่องที่มีความถี่สูงกว่า
66 เมกะเฮิร์ต และมีแนวโน้มที่จะพัฒนาต่อมาเรื่อยๆ มีผลใช้อีดีโอแรมทำงานได้ไม่ดีพอ
จึงมีการผลิตแรมที่เรียกว่าเอสดีแรม ที่มีการทำงานเข้าจังหวะของสัญญาณนาฬิกา
(clock) แทน โดยสามารถเข้าถึงข้อมูลและอ่านข้อมูล |
ได้
4 ไบต์ต่อรอบสัญญาณนาฬิกา 1 ครั้ง หรือที่เรียกว่า 1 คล็อก(1 clock) แรมชนิดนี้สามารถทำงานได้ที่ความถี่ตั้งแต่
100 เมกะเฮิรตซ์ขึ้นไป และความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลประมาณ 800 เมกะบิตต่อวินาที
เอสดีแรมเป็นแรมชนิดที่ยังใช้งานอยู่ในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ปัจจุบัน โดยแรมประเภทนี้ที่มีขายในตลาดคอมพิวเตอร์จะทำงานได้ที่ความถี่แตกต่างกัน
การอ้างถึงแรมประเภทนี้จะอ้างตามความถี่ดังกล่าว โดยอ้างเป็น PC-66 หมายถึงเอสดีแรมที่มีมีการส่งถ่ายข้อมูลที่ความถี่
66 เมกะเฮิร์ต ในขณะที่เป็น PC-133 หมายถึงเอสดีแรมที่มีมีการส่งถ่ายข้อมูลที่ความถี่
133 เมกะเฮิรตซ์ |
|
|
แอนะล็อกคอมพิวเตอร์
(analog computer) |
|
|
เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ได้ใช้ค่าตัวเลขเป็นหลักของการคำนวณ
แต่จะใช้ค่าระดับแรงดันไฟฟ้าแทน ไม้บรรทัดคำนวณ อาจถือเป็นตัวอย่างหนึ่งของแอนะล็อกคอมพิวเตอร์
ที่ใช้ค่าตัวเลขตามแนวความยาวไม้บรรทัดเป็นหลักของการคำนวณ โดยไม้บรรทัดจะมีขีดตัวเลขกำกับอยู่
เมื่อไม้บรรทัดหลายอันมาประกบรวมกัน การคำนวณผล เช่น การคูณ จะเป็น การเลื่อนไม้บรรทัดหนึ่งไปตรงตามตัวตั้งและตัวคูณของขีดตัวเลขชุดหนึ่งแล้วไปอ่าน
|
ผลคูณของขีดตัวเลขอีกชุดหนึ่งแอนะล็อกคอมพิวเตอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์จะใช้หลักการทำนองเดียวกัน
โดยแรงดันไฟฟ้าจะแทนขีดตัวเลขตามแนวยาวของไม้บรรทัด แอนะล็อกคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่แยกส่วนทำหน้าที่เป็น
ตัวกระทำและเป็นฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ จึงเหมาะสำหรับงานคำนวณทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมที่อยู่ในรูปของสมการคณิตศาสตร์
เช่น การจำลองการบิน การศึกษาการสั่นสะเทือนของตึกเนื่องจากแผ่นดินไหว ข้อมูลตัวแปรนำเข้าอาจเป็นอุณหภูมิความเร็วหรือความดันอากาศ
ซึ่งจะต้องแปลงให้เป็นค่าแรงดันไฟฟ้า เพื่อนำเข้าแอนะล็อกคอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาเป็นแรงดันไฟฟ้ากับเวลาซึ่งต้องแปลงกลับไปเป็นค่าของตัวแปรที่กำลังศึกษา
|
|
|
แอนาไลติคอลเอนจิน
(analytical engine) |
|
|
ถือได้ว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลก
เครื่องคำนวณนี้มีหลักการทำงานใกล้เคียงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน โดยนำบัตรเจาะรูเข้ามาช่วยในการทำงานตั้งแต่ควบคุมกระบวนการทำงานจนกระทั่งใช้เป็นหน่วยความจำ
และมีวงล้อหมุนเรียกว่ามิล (mill) เป็นหน่วยคำนวณเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ |
|
|
แอปเพล็ต
(applet) |
|
เป็นชิ้นงานที่สามารถทำงานบนซอฟต์แวร์ค้นผ่านโดยทำงานร่วมกับภาษา
HTML เป็นโปรแกรมเล็กๆ สำหรับทำงานง่ายๆ ที่แจกหรือแถมให้โดยไม่คิดมูลค่า เช่น
โปรแกรมเครื่องคิดเลข |
|
|
แอสเซมเบลอร์
(assembler) |
|
โปรแกรมพิเศษที่ใช้ในการแปลภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่อง |
|
|
ฮับ
(Hub) |
|
|
เป็นอุปกรณ์ที่รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่งหลายๆ
สถานีเข้าด้วยกัน ฮับเปรียบเสมือนเป็นบัสที่รวมอยู่ที่จุดเดียวกัน ฮับที่ใช้งานอยู่ภายใต้มาตรฐานการรับส่งแบบ
อีเทอร์เน็ต หรือ IEEE802.3 ข้อมูลที่รับส่งผ่านฮับจากเครื่องหนึ่งจะกระจายไปยังทุกสถานีที่ต่ออยู่บนฮับนั้น
ดังนั้นทุกสถานีจะรับสัญญาณข้อมูล ที่กระจายมาได้ทั้งหมด แต่จะเลือกคัดลอกเฉพาะข้อมูลที่ส่งมาถึงตนเท่านั้น
การตรวจสอบ ข้อมูลจึงต้องดูที่แอดเดรส (address) ที่กำกับมาในกลุ่มของข้อมูลหรือแพ็กเก็ต |
|
|
ฮาร์ดแวร์
(hardware) |
|
ส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นอุปกรณ์ทางกายภาพ
เช่น หน่วยขับจานบันทึก จอภาพ เมาส์ แผ่นวงจร อุปกรณ์รอบข้าง และอุปกรณ์ต่างๆ
ที่รวมกันทำงานเป็นระบบคอมพิวเตอร์ โดยแตกต่างจากซอฟแวร์ซึ่งเป็นสิ่งที่บอกให้อุปกรณ์เหล่านี้ทำงาน |
|
|
แฮนดีไดร์ฟ
(handy drive) |
|
|
หน่วยความจำแบบแฟลชชนิดหนึ่ง
สามารถเก็บข้อมูลได้เหมือนแผ่นบันทึก มีขนาดเล็กเท่านิ้วมือ ต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยพอร์ดยูเอสบี |
|
|
|