|
| หมวด
ก และ ข | หมวด ค และ ง | หมวด
จ, ช, ซและ ฐ | หมวด , ด, ต, ท,
น และ, บ |
หมวด ป, ผ, พ, ฟ, ภ, ม และ ย |
หมวด ร และ ล | หมวด ว, ส และ ห
| หมวด อ และ ฮ | |
หมวด
ว ส และ ห |
|
|
|
|
วงจรรวมความจุสูงหรือแอลเอสไอ
(Large Scale Integrated Circuit : LSI) |
|
|
ถูกคิดขึ้นมาในปี
พ.ศ.2513 ทำให้สามารถบรรจุวงจรทรานซิสเตอร์จำนวนหลายพันตัวลงบนแผ่นซิลิกอนขนาด
1/6 ตารางนิ้ว นับเป็นการเริ่มยุคที่สี่ของคอมพิวเตอร์ซึ่งอยู่ระหว่างพ.ศ.2513
– 2532 |
|
|
วงจรรวมความจุสูงมากหรือวีแอลเอสไอ (Very Large Scale Integrated Circuit : VLSI) |
|
วงจรรวมความจุสูงมากหรือวีแอลเอสไอ
(Very Large Scale Integrated Circuit : VLSI) จากการประดิษฐ์วีแอลเอสไอสามารถนำมา
สร้างเป็นไมโครโพรเซสเซอร์ซึ่งทำหน้าที่เป็นหน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing
Unit : CPU) ของคอมพิวเตอร์ และสามารถลดขนาดของคอมพิวเตอร์ให้เล็กลงจนสามารถตั้งบนโต๊ะทำงานในสำนักงานหรือพกพาไปในที่ต่างๆ
เหมือนกระเป๋าหิ้วได้ เรียกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เกิดในยุคนี้ว่าไมโครคอมพิวเตอร์
(microcomputer) นอกจากนี้ ยังสามารถนำวงจรวีแอลเอสไอมาสร้างเป็นหน่วยความจำรองที่สามารถเก็บข้อมูลในระหว่างที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้
ทำให้ได้หน่วยความจำที่มีความจุมากขึ้น ประสิทธิภาพในการทำงานในคอมพิวเตอร์ในยุคนี้จะมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว
จนคอมพิวเตอร์สามารถทำงานเฉพาะทางอื่นๆ ได้มากกว่าช่วยงานคำนวณ เช่น การนำเสนอข้อมูลแบบสื่อประสม
|
|
|
วงจรไอซี
(Integrated Circuit : IC) |
|
|
มีการพัฒนาระหว่าง
พ.ศ. 2507 – 2512 เป็นยุคที่ซึ่งเป็นการบรรจุวงจรอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากลงบนแผ่นซิลิกอนเล็ก
ๆ เช่น แผ่นซิลิกอน ขนาดเล็กกว่า 1/8 ตารางนิ้วสามารถบรรจุชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ได้หลายร้อยวงจร
ไอซีจึงเข้ามาทำหน้าที่แทนทรานซิสเตอร์ |
|
|
วงรอบของคำสั่ง
(execution cycle) |
|
เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต้องอาศัยหน่วยความจำหลักเพื่อใช้เก็บข้อมูลและคำสั่ง
ซีพียูมีการทำงานเป็นวงรอบโดยการนำคำสั่งจากหน่วยความจำหลักมาแปลความหมายแล้วกระทำตาม
เมื่อทำเสร็จก็จะนำผลลัพธ์มาเก็บในหน่วยความจำหลัก ซีพียูจะกระทำตามขั้นตอนเช่นนี้เรื่อยๆ
ไปอย่างรวดเร็ว |
|
|
เว็บเพจ
(web page) |
|
ชุดของเอกสารที่เกี่ยวข้องกันในเวิลด์ไวด์เว็บหรือในระบบไฮเพอร์เท็กซ์ใดๆ
ที่เอกสารเหล่านั้นมารวมอยู่ด้วยกันและมีการนำเสนอในลักษณะไฮเพอร์เท็กซ์หรือข้อความหลายมิติ
โดยที่เอกสารเหล่านั้นไม่จำเป็นต้องเก็บอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์เดียวกันก็ได้
แต่จะมีการเชื่อมโยงระหว่างกันอย่างเห็นได้ชัดเจน และมีการสำรวจภายในเอกสารด้วยปุ่มสำรวจ
(navigation buttons) |
|
|
เวลาแสวงหาข้อมูล
(seek times) |
|
เป็นเวลาของการเคลื่อนย้ายหัวอ่านบันทึกจากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งเพื่อการค้นหาข้อมูล
เวลาแสวงหานี้ฮาร์ดดิสก์แต่ละรุ่นใช้เวลาแสวงหาไม่เท่ากันคืออยู่ในช่วง 20
– 9 มิลลิวินาที |
|
|
สแตติกแรม
(Static RAM : SRAM) |
|
เป็นหน่วยความจำที่สามารถอ่านและเขียนข้อมูลได้เร็วกว่าดีแรม
เนื่องจากไม่ต้องมีการรีเฟรชอยู่ตลอดเวลา แต่หน่วยความจำชนิดนี้มีราคาแพงและจุข้อมูลได้ไม่มาก
จึงนิยมใช้หน่วยความจำชนิดนี้เป็นหน่วยความจำแคชซึ่งเป็นอุปกรณ์ช่วยเพิ่มความเร็วในการทำงานของดีแรม |
|
|
สถานีงานวิศวกรรม
(workststion) |
|
ผู้ใช้สถานีงานวิศวกรรม
ส่วนใหญ่เป็นวิศวกร นักวิทยาศาสตร์ สถาปนิก และนักออกแบบ สถานีงานวิศวกรรมมีจุดเด่นในเรื่องกราฟิก
การสร้างรูปภาพและการทำภาพเคลื่อนไหว การเชื่อมโยงสถานีงานวิศวกรรมรวมกันเป็นเครือข่ายทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและใช้งานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
บริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์หลายบริษัทได้พัฒนาซอฟต์แวร์สำเร็จสำหรับใช้กับสถานีงานวิศวกรรมขึ้น
เช่น โปรแกรมการจัดทำต้นฉบับหนังสือ การออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ งานจำลองและคำนวณทางวิทยาศาสตร์
งานออกแบบทางด้านวิศวกรรมและการควบคุมเครื่องจักร |
|
|
สถาบันมาตรฐานแห่งชาติอเมริกา
(The American National Standard Institute, ANSI) |
|
องค์กรที่ก่อตั้งขึ้นในปี
ค.ศ. 1918 เพื่อพัฒนาภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมให้เป็นมาตรฐาน องค์กรนี้มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศและมาตรฐานอุตสาหกรรมต่างๆ
โดยยึดหลักการว่า มาตรฐานนั้นจะต้องเป็นความเห็นชอบทั้งของผู้ผลิตและผู้ใช้ด้วย
เช่น ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มาตรฐานตัวปรับต่อของอุปกรณ์ต่างๆ และอุปกรณ์ทางด้านการสื่อสารคมนาคม |
|
|
ส่วนคำสั่ง
(statement part) |
|
ส่วนข้อความในภาษาการเขียนโปรแกรมระดับสูงที่สามารถก่อให้เกิดคำสั่งภาษาเครื่องได้เมื่อโปรแกรมได้รับการแปลจากตัวแปลโปรแกรมแล้ว |
|
|
ส่วนประกาศ
(declaration part) |
|
ส่วนข้อความในภาษาการเขียนโปรแกรมที่ใช้ในการกำหนดค่าตัวแปร |
|
|
สัญญาณไมโครเวฟ
(microwave) |
|
|
เป็นสื่อกลางในการสื่อสารที่มีความเร็วสูงส่งข้อมูล
โดยอาศัยสัญญาณไมโครเวฟซึ่งเป็นสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปในอากาศพร้อมกับข้อมูลที่ต้องการส่ง
และจะต้องมีสถานีที่ทำหน้าที่ส่งและรับข้อมูล และเนื่องจากสัญญาณไมโครเวฟจะเดินทางเป็นเส้นตรงไม่สามารถเลี้ยวหรือโค้งตามขอบโลกที่มีความโค้งได้
จึงต้องมีการตั้งสถานีรับ-ส่งข้อมูลเป็นระยะๆ และส่งข้อมูลต่อกันเป็นทอดๆระหว่างสถานีต่อสถานีจนกว่าจะถึงสถานีปลายทาง
|
แต่ละสถานีจะตั้งอยู่ในที่สูง
เช่น ดาดฟ้า ตึกสูง หรือยอดดอยเพื่อหลีกเลี่ยงการชนหากมีสิ่งกีดขวาง เนื่องจากแนวการเดินทางที่เป็นเส้นตรงของสัญญาณดังที่กล่าวมาแล้ว
การส่งข้อมูลด้วยสื่อกลางชนิดนี้เหมาะกับการส่งข้อมูลในพื้นที่ห่างไกลมากๆ
และทุรกันดาร |
|
|
สัญรูป
(icon) |
|
รูปเล็กๆ
บนจอภาพที่แสดงสัญลักษณ์ของโปรแกรม แฟ้มข้อมูล และวัตถุอื่นๆ ในลักษณะส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้
(GUI) เช่น สัญรูปของเครื่องพิมพ์จะเป็นรูปเครื่องพิมพ์เล็กๆ และมีชื่อเครื่องพิมพ์อยู่ด้านล่าง
หรือสัญรูปเอกสารก็จะเป็นรูปโปรแกรมนั้นและมีชื่อเอกสารอยู่ด้วยเช่นกัน สัญรูปเหล่านี้จะใช้อยู่ในสิ่งแวดล้อมกราฟิกส์
(graphics environments) เช่น ไมโครซอฟต์วินโดวส์ และแม็กอินทอช ระบบ 7 (system
7) และเปรียบได้เสมือนเป็นปุ่ม (buttons) สำหรับกดเพื่อเข้าถึงสิ่งที่สัญรูปนั้นแทน
เมื่อจะใช้งานใดก็เพียงแต่คลิก 2 ครั้งที่สัญรูปนั้นเพื่อปิดโปรแกรม |
|
|
สายคู่บิดเกลียว
(twisted pair) |
|
ประกอบด้วยเส้นลวดทองแดงที่หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก
2 เส้นพันบิดเป็นเกลียว ทั้งนี้เพื่อลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงภายใน
สายเดียวกันหรือจากภายนอก เนื่องจากสายคู่บิดเกลียวนี้ยอมให้สัญญาณไฟฟ้าความถี่สูงผ่านได้
สำหรับอัตราการส่งข้อมูลผ่านสายคู่บิดเกลียวจะขึ้นอยู่กับความหนาของสายด้วย
กล่าวคือ สายทองแดงที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางกว้าง จะสามารถส่งสัญญาณไฟฟ้ากำลังแรงได้
ทำให้สามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราส่งสูง โดยทั่วไปแล้วสำหรับการส่งข้อมูลแบบดิจิทัล
สัญญาณที่ส่งเป็นลักษณะคลื่นสี่เหลี่ยม สายคู่บิดเกลียวสามารถใช้ส่งข้อมูลได้ถึงร้อยเมกะบิตต่อวินาที
ในระยะทางไม่เกินร้อยเมตร เนื่องจากสายคู่บิดเกลียวมีราคาไม่แพงมาก ใช้ส่งข้อมูลได้ดี
จึงมีการใช้งานอย่างกว้างขวาง |
|
|
สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน
(Unshielded Twisted Pair : UTP) |
|
|
เป็นสายคู่บิดเกลียวมีฉนวนชั้นนอกที่บางอีกชั้น
ทำให้สะดวกในการโค้งงอ แต่สามารถป้องกัน การรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้น้อยกว่าชนิดแรก
แต่ก็มีราคาต่ำกว่า จึงนิยมใช้ใน การเชื่อมต่ออุปกรณ์ในเครือข่าย ตัวอย่างของสายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวนที่เห็นในชีวิตประจำวัน
คือสายโทรศัพท์ที่ใช้อยู่ในบ้าน |
|
|
สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน
(Shielded Twisted Pair : STP) |
|
|
เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยลวดถักชั้นนอกที่หนาอีกชั้น
เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า |
|
|
สื่อสารทางเดียว
(simplex) |
|
ข้อมูลส่งได้ทางเดียวเท่านั้น
บางครั้งก็เรียกว่า การส่ง ทิศทางเดียว (unidirectional data bus) เช่น การส่งข้อมูลไปยังเครื่องพิมพ์
การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ เป็นต้น |
|
|
สื่อสารสองทางครึ่งอัตรา
(half duplex) |
|
ข้อมูลสามารถส่งได้ทั้งสองสถานี
แต่จะต้องผลัดกันส่งและผลัดกันรับ จะส่งและรับพร้อมกันไม่ได้ เช่น วิทยุสื่อสารของตำรวจ
เป็นต้น |
|
|
สื่อสารสองทางเต็มอัตรา
(full duplex) |
|
ทั้งสองสถานีสามารถรับส่งได้ในเวลา
เดียวกัน เช่น การสนทนาทางโทรศัพท์ เป็นต้น |
|
|
เส้นใยนำแสง
(fiber optic) |
|
|
มีแกนกลางของสายซึ่งประกอบด้วยเส้นใยแก้วหรือพลาสติกขนาดเล็กหลายๆ
เส้นอยู่รวมกัน เส้นใยแต่ละเส้นมีขนาดเล็กเท่าเส้นผมและภายในกลวง และเส้นใยเหล่านั้นได้รับการห่อหุ้มด้วยเส้นใยอีกชนิดหนึ่งก่อนจะหุ้มชั้นนอกสุดด้วยฉนวน
การส่งข้อมูลผ่านทางสื่อกลางชนิดนี้จะแตกต่างจากชนิดอื่นๆ ซึ่งใช้สัญญาณไฟฟ้า
ในการส่งแต่การทำงานของสื่อกลางชนิดนี้จะใช้เลเซอร์วิ่งผ่านช่องกลวงของเส้นใยแต่ละเส้นและอาศัยหลักการหักเหของแสงโดยใช้ใยแก้วชั้นนอกเป็นกระจกสะท้อนแสง
การให้แสงเคลื่อนที่ไปในท่อแก้วสามารถ |
ส่งข้อมูลด้วยอัตราความหนาแน่นของสัญญาณข้อมูลสูงมากและไม่มีการก่อกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ปัจจุบันถ้าใช้เส้นใยนำแสงกับระบบอีเทอร์เน็ต จะใช้ได้ด้วยความเร็วหลายร้อยเมกะบิต
และเนื่องจากความสามารถในการส่งข้อมูลด้วยอัตราความหนาแน่นสูง ทำให้สามารถส่งข้อมูลทั้งตัวอักษร
เสียง ภาพกราฟิก หรือวีดิทัศน์ได้ในเวลาเดียวกัน อีกทั้งยังมีความปลอดภัยในการส่งสูง
แต่อย่างไรก็มีข้อเสียเนื่องจากการบิดงอ สายสัญญาณจะทำให้เส้นใยหัก จึงไม่สามารถใช้สื่อกลางนี้ในการเดินทางตามมุมตึกได้
เส้นใยนำแสงมีลักษณะพิเศษที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงแบบจุดไปจุด ดังนั้นจึงเหมาะที่จะใช้กับการเชื่อมโยงระหว่างอาคารกับอาคารหรือระหว่างเมืองกับเมือง
เส้นใยนำแสงจึงถูกนำไปใช้เป็นสายแกนหลัก |
|
|
หน่วยควบคุม
(Control Unit : CU) |
|
เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่ประสานงานและควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์
หน่วยนี้ทำงานคล้ายกับสมองคนซึ่งควบคุมให้ระบบอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายให้ทำงานประสานกัน
นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ควบคุมให้อุปกรณ์รับข้อมูล ส่งข้อมูลไปที่หน่วยความจำ
ติดต่อกับอุปกรณ์แสดงผลเพื่อสั่งให้นำข้อมูลจากหน่วยความจำไปยังอุปกรณ์แสดงผล
โดยหน่วยควบคุมของคอมพิวเตอร์จะแปลความหมายของคำสั่งในโปรแกรมของผู้ใช้ และควบคุมให้อุปกรณ์ต่าง
ๆ ทำงานตามคำสั่งนั้น ๆ |
|
|
หน่วยความจำแคช
(cache memory) |
|
เป็นหน่วยความจำแรมที่นำมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
เนื่องจากหน่วยความจำประเภทนี้สามารถอ่านและเขียนข้อมูลได้เร็วกว่าหน่วยความจำประเภทดีแรม
จึงนิยมนำหน่วยความจำแคชมาช่วยเพิ่มความเร็วในการอ่าน เขียนข้อมูลของหน่วยความจำประเภทดีแรม
โดยทำงานอยู่ตรงกลางระหว่างหน่วยประมวลผลกลางและดีแรม กล่าวคือ ปกติเมื่อหน่วยประมวลผลกลางจะกระทำการใดๆ
ต้องเรียกข้อมูลและคำสั่งจากหน่วยความจำแรมเสมอ และหน่วยความจำแคชทำหน้าที่เก็บข้อมูลและคำสั่งที่มีการใช้งานบ่อย
เมื่อมีการเรียกใช้งานคำสั่งดังกล่าว หน่วยประมวลผลกลางไม่จำเป็นต้องเข้าถึงข้อมูลในแรมแต่สามารถเรียกข้อมูลจากแคชซึ่งเข้าถึงข้อมูลเร็วกว่าได้โดยตรง
ทำให้ลดเวลาในการอ่าน เขียนข้อมูลได้ |
|
|
หน่วยความจำรอง
(secondary memory unit) |
|
ในยุคสังคมสารสนเทศทุกวันนี้
ข้อมูลและโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะมีจำนวนหรือขนาดใหญ่มาก ตามความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีและความซับซ้อนของปัญหาที่พบในงานต่าง
ๆ หน่วยความจำหลักที่ใช้เก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์จึงต้องมีขนาดใหญ่ตามไปด้วย
โดยทั่วไป หน่วยความจำหลักจะมีขนาดจำกัด ทำให้ไม่พอเพียงสำหรับการเก็บข้อมูลจำนวนมาก
เป็นการเพิ่มขีดความสามารถด้านจดจำของคอมพิวเตอร์ให้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้
ถ้ามีการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ในขณะทำงาน ข้อมูลและโปรแกรมที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลักหรือแรมจะสูญหายไปหมด
หากมีข้อมูลส่วนใดที่ต้องการเก็บไว้ใช้งานในภายหลังก็สามารถเก็บไว้ในหน่วยความจำรอง
หน่วยความจำรองที่นิยมใช้กันมากจะเป็นจานแม่เหล็กซึ่งจะมีแผ่นบันทึกและฮาร์ดดิสก์ |
|
|
หน่วยความจำหลัก
(main memory) |
|
คือ
หน่วยความจำที่ต่อกับหน่วยประมวลผลกลางและหน่วยประมวลผลกลางสามารถใช้งานได้โดยตรง
หน่วยความจำชนิดนี้จะเก็บข้อมูลและชุดคำสั่งในระหว่างการประมวลผลและมีกระแสไฟฟ้า
เมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ข้อมูลในหน่วยความจำนี้จะหายไปด้วย หน่วยความจำหลักที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ปัจจุบันเป็นชนิดที่ทำมาจากสารกึ่งตัวนำ
หน่วยความจำชนิดนี้มีขนาดเล็ก ราคาถูก แต่เก็บข้อมูลได้มาก และสามารถให้หน่วยประมวลผลกลางนำข้อมูลมากเก็บและเรียกค้นได้อย่างรวดเร็ว |
|
|
หน่วยคำนวณและตรรกะ
(Arithmetic and Logic Unit : ALU) |
|
เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่คำนวณทางเลขคณิตซึ่งได้แก่การบวก
ลบ คูณ หารและเปรียบเทียบทางตรรกะเพื่อทำการตัดสินใจ เช่น ทำการเปรียบเทียบข้อมูล
เพื่อตรวจสอบว่าปริมาณหนึ่ง น้อยกว่า เท่ากับ หรือมากกว่า อีกปริมาณหนึ่ง แล้วส่งผลจากการเปรียบเทียบว่าจริงหรือเท็จไปยังหน่วยความจำเพื่อทำงานต่อไป
ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในเงื่อนไข การทำงานของเอแอลยูคือรับข้อมูลจากหน่วยความจำมาไว้ยังที่เก็บชั่วคราวของเอแอลยูซึ่งเรียกว่า
เรจิสเตอร์ (registers) เพื่อทำการคำนวณแล้วส่งผลลัพธ์กลับไปยังหน่วยความจำ
ทั้งนี้ในการส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ข้อมูลและคำสั่งจะอยู่ในรูปของสัญญาณไฟฟ้าแล้วส่งไปยังอุปกรณ์ต่างๆ
ผ่านระบบส่งถ่ายข้อมูลผ่านในที่เรียกว่าบัส (bus) |
|
|
หน่วยประมวลผลกลาง
(Central Processing Unit : CPU) |
|
หรือไมโครโพรเซสเซอร์ของไมโครคอมพิวเตอร์มีหน้าที่นำคำสั่งและข้อมูลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำมาแปลความหมายและกระทำตาม
คำสั่งพื้นฐานของไมโครโพรเซสเซอร์แทนได้ด้วยรหัสตัวเลขฐานสอง
การทำงานของหน่วยประมวลผลกลางประกอบด้วยการคำนวณทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน เช่น
การบวก ลบ คูณ หาร การเปรียบเทียบข้อมูลสองจำนวน การควบคุมการเคลื่อนย้ายข้อมูลในส่วนต่างๆ
ของระบบ เช่นเคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่างอุปกรณ์รับข้อมูล อุปกรณ์แสดงผลกับหน่วยความจำ
เป็นต้น
|
|
|
หน่วยรับเข้า
(input unit) |
|
หน่วยรับข้อมูลทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์
โดยข้อมูลอาจส่งผ่านอุปกรณ์รับข้อมูล (input devices) ได้โดยตรง เช่น ผ่านแป้นอักขระ
(keyboard) เมาส์ (mouse) ปากกาแสง (light pen) ก้านควบคุม (joystick) เครื่องอ่านรหัสแท่ง
(bar code reader) หรือโดยใช้อุปกรณ์รับข้อมูลอ่านข้อมูลในสื่อข้อมูล (media)
ซึ่งในกรณีนี้ต้องนำข้อมูลมาบันทึกลงสื่อข้อมูลเสียก่อน ตัวอย่างของอุปกรณ์รับข้อมูลเหล่านี้
ได้แก่ เครื่องขับแผ่นบันทึก (disk drive) เครื่องขับเทปแม่เหล็ก (magnetic
tape drive) สำหรับตัวอย่างสื่อข้อมูลได้แก่ แผ่นบันทึก (floppy disk หรือ
diskette) เทปแม่เหล็ก (magnetic tape) เป็นต้น โดยอุปกรณ์รับข้อมูลจะเปลี่ยนข้อมูลที่รับเข้ามาให้อยู่ในรูปของรหัสแล้วส่งไปยังหน่วยความจำเพื่อเตรียมทำการประมวลผลต่อไป |
|
|
หน่วยส่งออก
(output unit) |
|
คอมพิวเตอร์ติดต่อกับมนุษย์โดยแสดงผลของการทำงานให้มนุษย์รับรู้ทางหน่วยแสดงผล
หน่วยแสดงผลที่สำคัญสำหรับไมโครคอมพิวเตอร์คือ จอภาพ (monitor) ลำโพง (speaker)
และเครื่องพิมพ์ (printer) เครื่องขับแผ่นบันทึกนั้นก็นับว่าเป็นหน่วยแสดงผลเหมือนกัน
เพราะคอมพิวเตอร์อาจจะแสดงผลโดยการบันทึกผลลัพธ์ลงบนแผ่นบันทึกได้ จะเห็นได้ว่าอุปกรณ์บางอย่างเป็นได้ทั้งอุปกรณ์รับข้อมูลและแสดงผล
ซึ่งได้แก่ เครื่องขับแผ่นบันทึก เครื่องขับจานแม่เหล็ก เครื่องขับเทปแม่เหล็ก
เป็นต้น โดยจะเรียกอุปกรณ์เหล่านี้ตามหน้าที่ในขณะที่ทำงานร่วมกับหน่วยความจำหลัก
คือ ถ้าเป็นการนำข้อมูลเข้ามาหน่วยความจำหลัก ก็จะเรียกอุปกรณ์นี้เป็น อุปกรณ์รับข้อมูล
แต่ถ้าเป็นการนำข้อมูลออกจากหน่วยความจำหลักก็จะเรียกว่า อุปกรณ์แสดงผล |
|
|
หลอดสุญญากาศ
(vacuum tube) |
|
|
ซึ่งเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดท่าหลอดไฟฟ้าตามบ้านเป็นองค์ประกอบหลักของวงจรไฟฟ้า
และใช้บัตรเจาะรูในการเก็บข้อมูลและคำสั่งที่ให้คอมพิวเตอร์ทำงาน และใช้ดรัมแม่เหล็ก
(magnetic drum) เป็นหน่วยความจำหลัก ดรัมแม่เหล็กทำด้วยวงแหวนแม่เหล็กขนาดเล็ก
ๆ เท่าหัวเข็มหมุดจำนวนมากมาย วงแหวนเหล่านี้ถูกร้อยด้วยเส้นลวดเล็ก ๆ เหมือนการร้อยลูกปัด
หรือหน้าต่างมุ้งลวดที่มีวงแหวนคล้องอยู่ที่จุดตัดของเส้นลวด หน่วยความจำหลักนี้จะเก็บข้อมูลเฉพาะในขณะที่มีการประมวลผลเท่านั้น
คอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีความเร็วในการทำงานอยู่ในหน่วยหนึ่งในพันวินาที (millisecond) |
|
|
|