|
| หมวด
ก และ ข | หมวด ค และ ง | หมวด
จ, ช, ซและ ฐ | หมวด , ด, ต, ท,
น และ, บ |
หมวด ป, ผ, พ, ฟ, ภ, ม และ ย |
หมวด ร และ ล | หมวด ว, ส และ ห
| หมวด อ และ ฮ | |
หมวด
ร และ ล |
|
|
รหัสต้นแบบ
(source code) |
|
ประเภทของคำสั่งโปรแกรมในภาษาการเขียนโปรแกรมระดับสูง
ที่นักเขียนโปรแกรมจะต้องเขียนก่อนที่โปรแกรมจะถูกแปลไปเป็นคำสั่งภาษาเครื่องที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ |
|
|
รหัสแท่ง
(bar code) |
|
|
รหัสแท่งเป็นสัญลักษณ์หรือรหัสที่มีลักษณะเป็นแท่งหรือแถบสีขาวและดำเรียงต่อเนื่องกันในแนวตั้ง
แต่ละแท่งมีความหนาไม่เท่ากัน ความหนาที่แตกต่างกันนี้เองทำให้เราสามารถใช้รหัสแท่งเป็นสัญลักษณ์แทนสินค้าหรือของที่ต่างชนิดกันหรือคนละชิ้นกันได้
สำหรับเครื่องอ่านรหัสแท่งเป็นอุปกรณ์ที่คิดค้นขึ้นเป็นนำเข้าข้อมูลที่เป็นรหัสแท่งโดยเฉพาะ
โดยก่อนที่จะนำระบบการอ่านรหัสแท่งมาใช้ในงานใดๆ ต้องกำหนดมาตรฐานของรหัสแท่งที่ใช้เสียก่อน
เช่น ในซูเปอร์มาร์เก็ตนิยมใช้มาตรฐานยูพีซี (Universal Product Code : UPC)
|
ซึ่งเข้ารหัสโดยใช้ตัวเลขความยาว
12 ตัว โดยตัวเลขแต่ละตัวจะมีความหมายที่สามารถอ้างถึงสินค้าได้ในขณะที่หน่วยงานอื่น
เช่น โรงเรียน โรงงานมักนำมาตรฐานโค้ด 39 (Three of Nine) มาใช้งานเนื่องจากมีความยืดหยุ่นกว่า
เพราะสามารถเข้ารหัสได้ทั้งตัวเลข ตัวอักษรภาษาอังกฤษและอักขระพิเศษ นอกจากนี้ยังสามารถขยายความยาวของรหัสได้ตามต้องการด้วย
|
|
|
รหัสยูนิโค้ด
(Unicode) |
|
เป็นรหัสที่สร้างขึ้นมาในระยะหลังที่มีการสร้างแบบตัวอักษรของภาษาต่างๆ รหัสยูนิโค้ดเป็นรหัสที่ต่างจาก
2 ชนิดที่ได้กล่าวมาข้างต้น คือใช้เลขฐานสอง 16 บิตในการแทนตัวอักษร เนื่องจากที่มาของการคิดค้นรหัสชนิดนี้
คือ เมื่อมีการใช้งานคอมพิวเตอร์ในหลายประเทศและมีการสร้างแบบตัวอักษร (font)
ของภาษาต่างๆ ทั่วโลก ในบางภาษาเช่น ภาษาจีน และภาษาญี่ปุ่น เป็นภาษาที่เรียกว่าภาษารูปภาพซึ่งมีตัวอักษรเป็นหมื่นตัว
หากใช้รหัสที่เป็นเลขฐานสอง 8 บิต เราสามารถแทนรูปแบบตัวอักษรได้เพียง 256
รูปแบบที่ได้อธิบายมาข้างต้น ซึ่งไม่สามารถแทนตัวอักษรได้ครบ จึงสร้างรหัสใหม่ขึ้นมาที่สามารถแทนตัวอักขระได้ถึง
65,536 ตัว ซึ่งมากพอและสามารถแทนสัญลักษณ์กราฟิกและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ได้อีกด้วย |
|
|
รหัสลำลอง
(pseudo code) |
|
การทำงานของโปรแกรมที่นำเสนอเป็นภาษาอังกฤษที่ขาดๆ
หายๆ ซึ่งเป็นส่วนผสมระหว่างภาษาอังกฤษธรรมดากับภาษาโปรแกรม รหัสลำลองนี้มีไว้ให้โปรแกรมเมอร์เห็นภาพคร่าวๆ
โดยไม่ต้องลงไปในรายละเอียด |
|
|
รหัสเอ็บซิดิก
(Extended Binary Coded Decimal Interchange Code : EBCDIC) |
|
พัฒนาโดยบริษัทไอบีเอ็ม รหัสแทนข้อมูลนี้ไม่เป็นที่นิยมใช้แล้วในปัจจุบัน
การกำหนดรหัสจะใช้ 8 บิต ต่อหนึ่งอักขระ เหมือนกับรหัสแอสกี แต่แบบของรหัสที่กำหนดจะแตกต่างกัน
โดยรหัสเอ็บซิดิกจะเรียงลำดับแต่ละบิตที่ใช้แทนอักขระ |
|
|
รหัสแอสกี
(American Standard Code Information Interchange :ASCII) |
|
เป็นมาตรฐานที่นิยมใช้กันมากในระบบคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารข้อมูล รหัสแทนข้อมูลชนิดนี้ใช้เลขฐานสองจำนวน
8 บิตหรือเท่ากับ 1 ไบต์แทนอักขระหรือสัญลักษณ์แต่ละตัว ซึ่ง หมายความว่าการแทนอักขระแต่ละตัวจะประกอบด้วยตัวเลขฐานสอง
8 บิตเรียงกัน |
|
|
รอม
(Read Only Memory : ROM) |
|
หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว
เป็นหน่วยความจำที่บริษัทผู้ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ได้บรรจุโปรแกรมมาเรียบร้อยแล้ว
โปรแกรมนี้เก็บในลักษณะถาวรคือข้อมูลที่บรรจุในหน่วยความจำแบบนี้จะยังอยู่แม้จะปิดเครื่องไปแล้ว
และเมื่อเปิดเครื่องใหม่หน่วยประมวลผลกลางจะอ่านโปรแกรมหรือข้อมูลในรอมมาใช้ประมวลผลได้เท่านั้นโดยไม่สามารถที่จะนำข้อมูลอื่นใดมาเขียนลงในรอมได้
|
|
|
ระบบเครือข่าย
(network system) |
|
ระบบคอมพิวเตอร์ที่ต่อเข้ากับเครื่องอื่นเพื่อโอนย้ายข้อมูลและสื่อสารข้อมูลได้อัตโนมัติ
เครือข่ายต้องมีคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องขึ้นไป ซอฟแวร์จัดการเครือข่ายมักเรียกว่าระบบปฏิบัติการเครือข่าย
อะแดปเตอร์เครือข่าย และสายเคเบิล ตัวอย่างของเครือข่ายได้แก่ อีเทอร์เน็ต
โทเก็นริงก์ และแอปเปิลทอล์ก ตัวอย่างของระบบปฏิบัติการเครือข่าย ได้แก่ โนเวลล์เน็ตแวร์
และวินโดวส์ฟอร์เวิร์กกรุ๊ป เครือข่ายมีประโยชน์เมื่อมีผู้ใช้หลายคนต้องการใช้ทรัพยากร
จำพวกข้อมูลและเครื่องพิมพ์ร่วมกัน
ระดับของเครือข่ายจะมีตั้งแต่เครือข่ายแบบต่อกันตรงๆ
ภายในสำนักงานที่มีผู้ใช้ไม่มากนัก ไปจนถึงระบบ LAN ที่มีผู้ใช้หลายคนต่อเข้ามาใช้งานโดยเดินสายอย่างถาวรหรือหมุนโทรศัพท์เข้ามา
หรือการเชื่อมต่อระบบ WAN บนเครือข่ายที่ต่างกันและอยู่ในระยะที่ห่างกันมากทางกายภาพ |
|
|
ระบบฐานข้อมูล (database system) |
|
ระบบข้อมูลที่มีแฟ้มข้อมูลหลายแฟ้มเชื่อมสัมพันธ์กัน
และโปรแกรมคอมพิวเตอร์เรียกแฟ้มข้อมูลเหล่านั้นมาจัดการให้เป็นไปตามที่ต้องการ |
|
|
ระบบบัส
(bus) |
|
การส่งข้อมูลผ่านไปยังหน่วยต่างๆ
ภายระบบคอมพิวเตอร์จะผ่านทางระบบบัส ไม่ว่าจะเป็นบัสข้อมูล (data bus) ทำหน้าที่ส่งสัญญาณข้อมูล
บัสที่อยู่ (address bus)ทำหน้าที่ส่งตำแหน่งอ้างอิงในหน่วยความจำหลักไปยังหน่วยความจำหลักในขณะที่มีการสั่งจัดเก็บข้อมูลในหน่วยความจำดังกล่าว
หรือบัสควบคุม (control bus) ที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณควบคุมไปยังอุปกรณ์ต่างๆ
|
|
|
ระบบปฏิบัติการ
(operating system) |
|
ทำหน้าที่ประสานงานหรือกำกับดูแลการทำงานของคอมพิวเตอร์ในการกำหนดว่าจะเอาโปรแกรมหรือข้อมูลเก็บไว้ในส่วนใดของหน่วยความจำ
ดูแลการติดต่อระหว่างส่วนต่างๆ ของคอมพิวเตอร์กับโปรแกรมใช้งานหรือผู้ใช้คอมพิวเตอร์ควบคุม
การส่งสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ขึ้นไปปรากฏบนจอภาพ ควบคุมการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์
ตัวอย่างเช่น ควบคุมการแปลสัญญาณจากแป้นพิมพ์ให้เครื่องรับรู้ ควบคุมการบันทึกหรือการอ่านข้อมูลของเครื่องขับแผ่นบันทึก
|
|
|
ระบบปฏิบัติการดอส
(DOS) |
|
บริษัทไอบีเอ็มผลิตเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ขึ้นมาและให้ชื่อว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
(PC) ได้มอบหมายให้บริษัทไมโครซอฟต์เป็นผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการโดยให้ชื่อว่า
พีซีดอส ต่อมาเมื่อไมโครคอมพิวเตอร์แบบนี้เป็นที่แพร่หลาย จึงมีผู้ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ซึ่งมีการทำงานแบบเดียวกับไมโครคอมพิวเตอร์ของบริษัทไอบีเอ็ม
ไมโครคอมพิวเตอร์เหล่านี้จะใช้ระบบปฏิบัติการของบริษัทไมโครซอฟท์เช่นกันแต่ใช้ชื่อว่าเอ็มเอสดอส
(MSDOS) ซึ่งมีการทำงานคล้าย พีซีดอส แต่ปัจจุบันไม่ได้รับความนิยมแล้ว |
|
|
ระบบปฏิบัติการประเภทใช้งานเดียว
(single-tasking) |
|
ระบบปฏิบัติการประเภทนี้จะกำหนดให้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้ครั้งละหนึ่งงานเท่านั้น
เช่น ระบบปฏิบัติการดอส |
|
|
ระบบปฏิบัติการประเภทใช้งานหลายคน
(multiuser) |
|
ในหน่วยงานบางแห่ง
คอมพิวเตอร์เครื่องเดียวจะมีผู้ใช้พร้อมกันหลายคน แต่ละคนจะมีสถานีงานของตนเองเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์
เช่น ระบบปฏิบัติการวินโดวส์เอ็นที |
|
|
ระบบปฏิบัติประเภทใช้หลายงาน
(multitask, multitask system) |
|
ระบบปฏิบัติการสามารถควบคุมการทำงานพร้อมกันหลายงานในขณะเดียวกัน
เช่น ระบบปฏิบัติการวินโดว์ส95 และ 98 |
|
|
ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์
(Microsoft Windows) |
|
ระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์
เป็นระบบปฏิบัติการที่มีลักษณะการใช้งานแตกต่างจาก 2 ระบบแรกที่กล่าวมา เนื่องจากมีส่วนติดต่อกับผู้ใช้
(user interface) เป็นแบบที่เรียกว่าระบบติดต่อผู้ใช้แบบกราฟิก (Graphic User
Interface : GUI) หรือที่เรียกว่าจียูไอ คือมีการแสดงผลเป็นรูปภาพ และใช้สัญลักษณ์ในรูปรายการเลือก
(menu) หรือไอคอน (icon) ในการสั่งงานคอมพิวเตอร์แทนการพิมพ์คำสั่งทีละบรรทัด
ทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ง่ายขึ้น ทั้งยังมี สีสันทำให้ซอฟต์แวร์น่าใช้งานมากขึ้น
|
|
|
ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์
(UNIX) |
|
เป็นระบบปฏิบัติการประเภทใช้หลายคน
และหลายงาน ได้มีผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการให้ใช้กับเครื่องชนิดต่างๆ โดยตั้งชื่อใหม่
เช่น ซีนิกซ์ (Xenix) วีนิกซ์ (Venix) ไมโครนิกซ์(Micronix) เอไอเอ็กซ์ (AIX)
อัลทริกซ์ (Altrix) เป็นต้น ปัจจุบันมีความพยายามจะกำหนดให้ระบบปฏิบัติการที่มีชื่อต่าง
ๆ เหล่านี้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โปรแกรมที่พัฒนาภายใต้ระบบยูนิกซ์นี้มีข้อดีตรงที่ไม่ต้องขึ้นกับเครื่องแบบใดแบบหนึ่งโดยเฉพาะ
|
|
|
ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์
(Linux) |
|
เป็นระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ระบบหนึ่งเช่นเดียวกับซีนิกซ์หรือวีนิกซ์
ได้รับการพัฒนาโดยนักศึกษาภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ในมหาวิทยาลัยเฮลซินกิประเทศฟินแลนด์ชื่อลีนุซ
ทอร์วาลด์ (Linus Torvalds) เขาเริ่มพัฒนาระบบปฏิบัติการดังกล่าวในปี พ.ศ.
2523 ด้วยเขาต้องการพัฒนาระบบปฏิบัติยูนิกซ์ที่มีความสามารถมากกว่าไมนิกซ์ซึ่งเขาใช้งานอยู่
จึงเริ่มต้นพัฒนาระบบปฏิบัติการนี้เอง โดยไม่ได้ลอกเลียนแบบจากระบบยูนิกซ์อื่นเลย
และในปี พ.ศ. 2534 ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์เวอร์ชั่น 0.010 ก็ได้รับการเผยแพร่
โดยมีการแจกให้ใช้งานฟรีรวมทั้งรหัสต้นแบบ (source code) ก็เป็นที่เปิดเผย
จึงเป็นที่นิยมและมีผู้นำไปพัฒนาลีนุกซ์ของตนเองขึ้นใช้งานมากมาย รวมทั้งมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ขึ้นใช้งานบนลีนุกซ์อีกด้วย
ด้วยเหตุที่มีผู้นำรหัสต้นแบบของระบบปฏิบัติการระบบนี้มาพัฒนาเป็นของตนเองมากมายและเนื่องจากในปัจจุบันแนวคิดของจียูไอกำลังเป็นที่นิยม
จึงมีการพัฒนาระบบปฏิบัติลีนุกซ์ให้สามารถทำงานบนระบบเอ็กซ์วินโดวส์ (X Windows)
ซึ่งเป็นระบบที่มี การติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟิก และถือได้ลีนุกซ์ว่าเป็นยูนิกซ์ที่สมบูรณ์แบบ
อีกทั้งเป็นระบบปฏิบัติที่สามารถทำงานได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประสิทธิภาพไม่สูงมากเช่น
เครื่องในตระกูล 80386 ได้และต้องการหน่วยความจำเพียง 2 เมกะไบต์ในการทำงานบนสภาวะ
ตัวอักษร (text mode) หรือ 64 เมกะไบต์ในการทำงานบนเอ็กซ์วินโดวส์ |
|
|
ระบบผู้เชี่ยวชาญ
(expert system) |
|
โปรแกรมที่บรรจุความรู้อย่างมากมายที่ใช้โดยผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาเฉพาะเพื่อช่วยให้บุคคลอื่นๆนำไปใช้ในการแก้ปัญหาได้
ระบบผู้เชี่ยวชาญประกอบด้วยฐานความรู้ที่แสดงอยู่ในชุดกฎของ
IF/THEN และวิธีการเพื่อนำไปสู่ข้อวินิจฉัยจากฐานความรู้นั้น ระบบนี้จะช่วยบอกข้อมูลที่จำเป็นเพื่อหาทางแก้ปัญหาและนำไปสู่ข้อสรุปในที่สุด
ระบบผู้เชี่ยวชาญส่วนมากจะมีข้อสรุปด้วยปัจจัยที่เชื่อถือได้ ด้วยการพิจารณาจากหลักการทางด้านความรู้การวิเคราะห์ต่างๆ
เพื่อยืนยันข้อสรุปนั้น |
|
|
ระบบแผงข่าว
(Bulletin Board System : BBS) |
|
การติดต่อกันระหว่างสมาชิกเพื่อติดต่อสื่อารกันได้เพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสารความรู้และเพื่อความบันเทิง
โดยศูนย์บริการที่เป็นคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (host computer) จะมีคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับโมเด็มถูกจัดให้ตอบรับโทรศัพท์โดยอัตโนมัติเพื่อเก็บข่าวสารจากสมาชิกที่ส่งเข้ามา
และให้ผู้ที่เรียกเข้ามาสามารถอ่านและแลกเปลี่ยนข่าวสาร แฟ้ม และข้อมูลต่างๆ
ได้ กลุ่มสนใจ องค์กร และบริษัทต่างๆ นิยมที่จะมีศูนย์รวมข่าวเพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกัน |
|
|
ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
(electronic commerce : e-commerce) |
|
การซื้อขายสินค้า
แจ้งความ บริการ และสาระบันเทิงต่างๆ ผ่านทางศูนย์บริการเชื่อมตรงและศูนย์รวมข่าว
ในการใช้บริการต่างๆ เช่น ซื้อผลิตภัณฑ์ หรือจองบัตรชมละคร ผู้ใช้จะต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์
โมเด็ม และสมัครเป็นสมาชิกศูนย์บริการที่ตนสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องมีหมายเลขบัตรเครดิตที่ยังไม่หมดอายุทั้งนี้เนื่องจากการซื้อขายต่างๆ
จะทำกันโดยหักทางบัญชีบัตรเครดิตเท่านั้นโดยไม่รับชำระเป็นเงินสด |
|
|
ระบบเลขฐานสอง
(binary) |
|
การใช้งานคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงาน
แบบ ดิจิทัลและใช้ระดับแรงดันไฟฟ้าแสดงสถานะเพียง 2 สถานะ คือ ปิด (แทนด้วย
0) และเปิด (แทนด้วย 1) หรืออาจกล่าวได้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์รู้จักตัวเลขเพียง
2 ตัวเท่านั้น คือ 0 และ 1 หากมนุษย์ต้องการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือช่วยทำงาน
มนุษย์ต้องเรียนรู้ระบบเลขที่ประกอบด้วยตัวเลขเพียง 2 ตัวเช่นกัน จึงได้มีการคิดค้นระบบเลขฐานสองขึ้นเพื่อช่วยในการสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์
โดยระบบเลขฐานสองเป็นระบบตัวเลขที่ประกอบด้วยตัวเลขเพียง 2 ตัว คือ 0 และ 1
เท่านั้น ตัวอย่างเลขฐานสอง เช่น 1102 , 101102 |
|
|
ระบบเลขฐานสิบ
(decimal) |
|
ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ต้องได้พบเจอกับจำนวนและการคำนวณอยู่ทุกวัน
หากเราสังเกตจะพบว่าจำนวนที่เราคุ้นเคยอยู่ทุกวันนั้นไม่ว่าจะเป็นการซื้อของเป็นเงิน
39,587 บาท จำนวนเงินฝากในธนาคาร 1,426,000 บาท หรือจำนวนในใบแจ้งหนี้ค่าโทรศัพท์จำนวน
2,560 บาท ล้วนแล้วแต่ประกอบขึ้นจากตัวเลข 10 ตัว คือ 0,1,2,3,4,5,6,7,8 และ9
ทั้งสิ้น ตัวเลขทั้ง 10 ตัวนี้ถือได้ว่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการนับจำนวนของมนุษย์
การที่มนุษย์เลือกเลข 10 ตัวในการแทนการนับ อาจเนื่องจากมนุษย์มีนิ้วมือที่สามารถใช้เป็นอุปกรณ์ช่วยนับได้เพียง
10 นิ้ว จึงกำหนดระบบตัวเลขนี้ขึ้นมา |
|
|
ระบบอีเอสดีไอ
(Enhanced Small Device Interface : ESDI ) |
|
มาตรฐานตัวประสานต่ออุปกรณ์ขนาดเล็กสำหรับเชื่อมโยงหน่วยขับจานบันทึกกับคอมพิวเตอร์
มาตรฐานนี้จะช่วยให้หน่วยขับสามารถส่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์ได้ด้วยความเร็วสูงมาก
โดยส่งข้อมูลได้ถึง 10-15 เมกะบิตต่อวินาที (megabits per second : Mbps) ซึ่งมากเป็น
2-3 เท่าของตัวประสานรุ่น ST-506/ST-412 ที่ใช้กันอยู่เดิม |
|
|
ระบบเอสซีเอสไอ
(Small Computer System Interface : SCSI) |
|
เป็นระบบที่นิยมใช้กันมากในขณะนี้เพราะระบบนี้นอกจากสามารถ
ควบคุมฮาร์ดดิสก์แล้วยังสามารถควบคุมระบบเส้นทางส่งถ่ายข้อมูลกับอุปกรณ์อื่นๆ
ที่มีโพรเซสเซอร์อยู่ในตัวเอง ทำให้เป็นส่วนเพิ่มขยายสำหรับแผงวงจรใหม่ และสามารถใช้ควบคุมอุปกรณ์ต่อเสริมอื่น
ๆ ได้ด้วย เช่น โมเด็ม ซีดีรอม เครื่องกราดตรวจ และเครื่องพิมพ์ แผงวงจรควบคุม
SCSI หนึ่งแผงจะสนับสนุนการต่อได้ 8 อุปกรณ์ ดังนั้นจึงเหลือให้ต่ออุปกรณ์ได้เพิ่มอีก
7 อุปกรณ์ |
|
|
ระบบไอดีอี
(Integrated Drive Electronics : IDE) |
|
ระบบนี้จัดเป็นระบบใหม่ที่มีขนาดความจุใกล้เคียงกับ
SCSI แต่มีราคาต่ำกว่า ปัจจุบันนิยมบรรจุ IDE รวมอยู่ในแผงวงจรซีพียู ทำให้มีช่องติดตั้งว่างให้ใช้งานอื่น
ๆ เพิ่มขึ้น คอมพิวเตอร์รุ่นเก่าก็สามารถใช้ IDE ได้ แต่ต้องเพิ่มแผงวงจรการเชื่อมโยงกับช่องเสียบแผงวงจร
(slot) |
|
ระเบียนข้อมูล
(record) |
|
หมายถึงกลุ่มของเขตข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกัน ระเบียนข้อมูลประกอบด้วยเขตข้อมูลตั้งแต่หนึ่งเขตขึ้นไป |
|
|
ริสก์
(Reduced Instruction Set Computer : RISC) |
|
หน่วยประมวลผลกลางที่จำนวนของคำสั่งที่ไมโครโพรเซสเซอร์สามารถใช้ในการทำงานได้ถูกลดจำนวนลง
เพื่อเพิ่มความเร็วในการประมวลผล แนวความคิดของสถาปัตยกรรมริสก์ คือ การลดชุดคำสั่งให้เหลือจำนวนน้อยที่สุด
โดยเน้นคำสั่งที่ใช้มากที่สุดและทำให้เหมาะสมที่สุดเพื่อสามารถกระทำการได้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
ริสก์จะสามารถทำงานได้เร็วขึ้น 50-75% กว่าการใช้คอมพิวเตอร์คำสั่งซับซ้อน
(complex instruction set computer : CISC) ซึ่งเป็นหน่วยประมวลผลกลางที่จำคำสั่งได้มากกว่าร้อยคำสั่งที่ใช้กันแต่เดิม |
|
|
รีจิสเตอร์
(register) |
|
ตำแหน่งของหน่วยความจำชั่วคราวที่อยู่ภายในไมโครโพรเซสเซอร์ที่ใช้ในการเก็บค่าต่างๆและเลขที่อยู่ของหน่วยความจำภายนอกในขณะที่ไมโครโพรเซสเซอร์ทำงานทางด้านตรรกะและการคิดคำนวณ
หน่วยความจำชั่วคราวนี้สามารถส่งผ่านข้อมูลได้เร็วมาก ยิ่งรีจิสเตอร์มีจำนวนมากเท่าใดก็จะยิ่งทำให้ไมโครโพรเซสเซอร์สามารถส่งข้อมูลได้มากขึ้นเท่านั้นในแต่ละครั้ง |
|
|
รีเฟรช
(refresh) |
|
การย้ำสัญญาณไฟฟ้าให้ตัวเก็บประจุตลอดเวลาเพื่อให้ข้อมูลที่เก็บภายในยังคงอยู่ตลอดการใช้งาน
ซึ่งการรีเฟรชดังกล่าวมีผลให้หน่วยความจำชนิดนี้อ่านและเขียนข้อมูลได้ช้า |
|
|
รูปร่างเครือข่าย
(network topology) |
|
การจัดในลักษณะรูปทรงเรขาคณิตของจุดต่อ
(nodes) และการเชื่อมโยงสายเคเบิลในข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (LAN)
ลักษณะรูปร่างเครือข่ายจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
แบบศูนย์กลาง และแบบกระจายออกจากศูนย์กลาง ในรูปทรงแบบศูนย์กลาง เช่น ข่ายงานแบบดาว
(star network) คอมพิวเตอร์ศูนย์กลางจะเป็นตัวควบคุมการเข้าถึงข่ายงาน การออกแบบเช่นนี้จะเป็นการประกันความปลอดภัยของข้อมูลและการจัดการศูนย์กลางในการควบคุมเหนือการทำงานต่างๆ
ในข่ายงานได้เป็นอย่างดี
ในรูปทรงแบบกระจายออกจากศูนย์กลาง เช่น ข่ายงานแบบบัส
(bus network) หรือข่ายงานแบบวงแหวน (ring network) แต่ละสถานีงานจะสามารถเข้าถึงข่ายงานได้โดยอิสระและสามารถสร้างการเชื่อมต่อกับสถานีงานอื่นๆ
ได้ด้วยตนเอง |
|
|
แรม
(Random Access Memory : RAM) |
|
หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้
เป็นหน่วยความจำหลักที่สามารถนำโปรแกรมและข้อมูลจากอุปกรณ์ภายนอกหรือหน่วยความจำรองมาบรรจุไว้
หน่วยความจำแรมนี้ต่างจากรอมที่สามารถเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีไฟฟ้าเลี้ยงวงจรอยู่เท่านั้น
หากปิดเครื่องข้อมูลจะหายไปหมดสิ้น เมื่อเปิดเคริ่องใหม่อีกครั้งจึงจะนำข้อมูลหรือโปรแกรมมาเขียนใหม่อีกครั้ง
หน่วยความจำชนิดนี้ทำงานเหมือนกระดานดำ คือสามารถลบข้อมูลที่ไม่ใช้งานแล้วออกได้เพื่อเพิ่มพื้นที่ว่างในการเก็บข้อมูลใหม่
ไมโครคอมพิวเตอร์ 16 บิต รุ่น XT มีหน่วยความจำหลักแรมเพียง 640 KB แต่ในยุคหลังนี้ไมโครโพรเซสเซอร์มีหน่วยความจำหลักแรมได้หลายร้อยเมกะไบต์
โดยปกติขนาดของแรมจะใช้ในการกล่าวถึงขนาดความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย |
|
|
ลูกกลมควบคุม (track ball) |
|
|
มีลักษณะเป็นลูกบอลกลมอยู่ภายในเบ้าตรงบริเวณแผงแป้นอักขระของเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊คบุ๊ค
ผู้ใช้สามารถใช้อุปกรณ์ชนิดนี้ควบคุมการเคลื่อนที่ของตัวชี้บนจอภาพโดยการหมุนลูกกลมไปในทิศทางที่ต้องการ |
|
|
|