| หมวด ก และ ข | หมวด ค และ ง | หมวด จ, ช, ซและ ฐ | หมวด , ด, ต, ท, น และ, บ |
หมวด ป, ผ, พ, ฟ, ภ, ม และ ย | หมวด ร และ ล | หมวด ว, ส และ ห | หมวด อ และ ฮ |
หมวด ก และ ข
 
กล้องถ่ายภาพดิจิทัล (digital camera)
เป็นอุปกรณ์รับเข้าที่นิยมมากในปัจจุบัน อุปกรณ์ชนิดนี้สามารถนำเข้าข้อมูลที่เป็นรูปภาพหรือกราฟิก มีลักษณะและการใช้งานเหมือนกล้องถ่ายรูปธรรมดาทั่วไป แต่กล้องดิจิทัลไม่ต้องใช้ฟิล์มในการบันทึกภาพ แต่จะเก็บข้อมูลภาพไว้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูลที่เก็บเป็นข้อมูลแบบดิจทัล ที่รูปแต่ละรูปประกอบด้วยจุด (pixel) เล็กๆ จำนวนมาก ความละเอียดของภาพขึ้นอยู่กับจำนวนจุดดังกล่าว
กล้องดิจทัลที่ผลิตได้ในปัจจุบันมีความละเอียดของภาพอยู่ระหว่าง 1 ล้านถึง 5 ล้านจุด และข้อดีอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้กล้องดิจิทัลเป็นที่นิยม คือ ผู้ใช้สามารถดูผลการถ่ายรูปได้หลังจากถ่ายรูปแต่ละรูปเลยโดยใช้จอภาพที่อยู่บนกล้อง หากรูปที่ถ่ายนั้นไม่เป็นที่พอใจก็สามารถถ่ายใหม่ได้เลย
 
ก้านควบคุม (joystick)
อุปกรณ์ชี้แบบหลายทิศทาง ที่นิยมใช้กันในการเล่นเกมคอมพิวเตอร์พอๆ กับใช้ในระบบงานที่มืออาชีพใช้กัน เช่น CAD (Computer Aided Design) มีลักษณะเป็นไม้เล็กๆ ที่หมุนรอบๆฐานได้ การเลื่อนไม้นี้ จะเลื่อนสิ่งที่อยู่บนจอภาพไปมาได้
 
การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ(Object Oriented Programming:OOP)
การโปรแกรมแบบเชิงวัตถุ เป็นเทคนิคการเขียนโปรแกรมที่ได้รับการพัฒนาขึ้นในช่วงปี 1900 แนวคิดและหลักการในการเขียนโปรแกรมแบบนี้แตกต่างจากหลักการเขียนโปรแกรม ในอดีต คือจะเน้นความคิดเชิงวัตถุ (object) ที่สร้างขึ้นใช้งานในโปรแกรม โดยคำว่า “วัตถุ” ในที่นี้คือ ส่วนย่อยๆ ของโปรแกรมที่ผู้พัฒนาโปรแกรมสร้างขึ้นเพื่อทำงานเฉพาะอย่าง แล้วจึงนำวัตถุย่อยๆ เหล่านั้นมาประกอบกันเป็นโปรแกรมใหญ่ อีกทั้งวัตถุที่สร้างขึ้นมาแล้วสามารถนำกลับไปใช้กับโปรแกรมอื่นได้อีก โดยบางครั้งผู้เขียนโปรแกรมไม่จำเป็นต้องสร้างวัตถุเองทุกชิ้น สามารถนำวัตถุที่ผู้อื่นสร้างไว้มาใช้ใหม่ได้ เพียงแค่รู้ว่าวัตถุนั้นทำหน้าที่และเรียกใช้งานอย่างไร ทำให้โปรแกรมเมอร์ที่เขียนโปรแกรมประเภทนี้สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโปรแกรมได้สะดวก การเขียนโปรแกรมแบบนี้จึงเข้ามาแทนที่การเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้างอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับงานที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ การโปรแกรมแบบเชิงวัตถุยังสามารถทำงานกับข้อมูลได้หลายรูปแบบ ทั้งที่เป็นรูปภาพ (image) วีดิทัศน์ (video) หรือเสียง (sound) ตัวอย่าง ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้เทคนิค การโปรแกรมเชิงวัตถุ เช่น ภาษาจาวา ภาษาซีชาร์ป เป็นต้น
 
การค้นหา (search)
การตรวจสอบแฟ้มตามข้อมูลที่กำหนด เช่น คำ ตัวอักขระ หรือสัญลักษณ์ เป็นต้น เวิร์ดโปรเซสเซอร์ให้คุณค้นหาคำ ขณะที่ฐานข้อมูลให้คุณค้นหาเรคอร์ดที่ต้องการ
 
การจัดเรียง (sort)
การจัดข้อมูลตามรูปแบบหรือกฎเกณฑ์บางอย่าง ปกติจะจัดเรียงตามตัวอักษร แต่สามารถจัดเรียงตามตัวเลข ตามวันที่ และตามเวลาได้ด้วย การเรียงทำจากน้อยไปมาก หรือมากไปน้อยก็ได้ การเรียงจากน้อยไปมากคือเริ่มจากวิ่งที่มาก่อนไปยังสิ่งที่มาสุดท้าย น้อยที่สุดไปมากที่สุด หรือ ก ถึง ฮ ส่วนการเรียงจากมากไปน้อยจะตรงกันข้าม ระบบปฏิบัติการมักจะมีเครื่องอำนวยความสะดวกในการจัดเรียงแฟ้มตามลำดับตัวอักษร โปรแกรมเวิร์ดโปรเซสเซอร์แสดงรายการต่างๆ เรียงตามลำดับตัวอักษรปกติ หรือย้อนกลับ รวมทั้งโปรแกรมสเปรดชีตที่จัดเรียงเซลล์หรือช่วงของเซลล์ได้ ในโปรแกรมฐานข้อมูลการเรียงจะสร้างแฟ้มใหม่ขึ้นมาต่างจากการทำดัชนี
 
การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด (point-to-point)
เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสารสองเครื่อง โดยใช้สื่อกลางหรือช่องทางในการสื่อสารช่องทางเดียวเป็นการจองสายในการส่งข้อมูลระหว่างกันโดยไม่มีการใช้งานสื่อกลางนั้นร่วมกับอุปกรณ์ชิ้นอื่นๆ การเชื่อมต่อลักษณะนี้เป็นการเชื่อมต่อที่ทำให้สิ้นเปลืองช่องทางการสื่อสาร
   
การเชื่อมต่อแบบหลายจุด (multipoint)
เป็นการใช้งานช่องทางการสื่อสารเต็ม ประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการเชื่อมต่อลักษณะนี้จะใช้ช่องทางการสื่อสารหนึ่งช่องทางเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสารหลายชิ้น โดยมีจุดเชื่อมแยกออกมาจากสายหลัก
   
การตรวจสอบด้วยส่วนซ้ำซ้อนแบบวน (Cyclic Redundancy Check:CRC)
เทคนิคการตรวจสอบข้อผิดพลาดโดยอัตโนมัติ ที่ใช้ในดอสเมื่อมีการบันทึกข้อมูลลงในจานแบบแข็งหรือแผ่นบันทึก เมื่อบันทึกข้อมูลแล้วและเมื่อภายหลังเมื่อดอสมีการอ่านข้อมูลจากจานบันทึก ก็จะมีการตรวจสอบข้อผิดพลาดอีกในลักษณะเดียวกัน ผลลัพธ์ของการตรวจสอบทั้ง 2 ครั้งจะนำมาเปรียบเทียบกันเพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลไม่มีการเปลี่ยนแปลง ถ้าเราเห็นข้อความแสดงข้อผิดพลาด เช่น CRC Error Reading Drive C แสดงว่ามีสิ่งผิดพลาดเกิดขึ้นมนจานบันทึกแล้ว
 
การติดต่อสื่อสาร (communication)
คำที่ใช้เรียก telecommunications หรือ data communications อย่างสั้นๆ มักใช้อธิบายการส่งข้อมูลไปมาระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกันผ่านโมเด็ม หรือเครือข่าย
 
การทำงานเป็นกลุ่ม (workgroup)
หมายถึง กลุ่มบุคคลจำนวน 2 คนขึ้นไปที่ร่วมกันทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน โดยทั่วไปบุคลากรในกลุ่มเดียวกันจะรู้จักกันและทำงานร่วมกัน เป้าหมายหลักของการทำงานเป็นกลุ่มคือ การเตรียมสภาวะแวดล้อมที่จะเอื้ออำนวยประโยชน์ใน การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน โดยทำให้เป้าหมายของธุรกิจดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิผล แนวทางหลักก็คือการทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกันโดยเฉพาะข้อมูลและอุปกรณ์เทคโนโลยีพื้นฐาน การนำเอาคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาเชื่อมต่อกันด้วยแลน (Local Area Network : LAN) ทำให้มีการเชื่อมโยงและใช้ทรัพยากรของคอมพิวเตอร์ร่วมกัน
 
การประมวลผลแบบกลุ่ม (batch processing)

การประมวลผลโดยมีการรวบรวมข้อมูลเอาไว้เป็นกลุ่มให้เรียบร้อยก่อน แล้วนำกลุ่มข้อมูลเหล่านั้นไปประมวลผลอย่างต่อเนื่องในคราวเดียวกัน ในระหว่างการประมวลผลนี้ผู้ใช้ต้องปล่อยให้เครื่องดำเนินการประมวลผลไปจนเสร็จได้ผลลัพธ์ออกมาโดยไม่มีการโต้ตอบกันระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แต่อย่างใด ตรงกันข้ามกับการประเมินผลแบบเชื่อมตรง (on-line processing) ซึ่งสามารถป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ตลอดเวลา
 
การประมวลผลแบบเชื่อมตรง (online processing)
ในปัจจุบันการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้งานของประเทศต่างๆ ทั่วโลก อยู่ที่การใช้ สารสนเทศเป็นส่วนใหญ่ แนวโน้มของระบบจัดการข้อมูลของยุคนี้ เริ่มเปลี่ยนจากระบบงานการประมวลผลแบบกลุ่มมาเป็นระบบตอบสนองทันที เช่น การฝากถอนเงินของธนาคารต่าง ๆ ผ่านเครื่องรับ - จ่ายเงินอัตโนมัติ
 
การสืบคืน (retrieval)
กระบวนการทั้งหมดที่รวมถึงการค้นหา การรวบรวม การแสดงผล หรือพิมพ์สารสนเทศที่ได้เก็บบันทึกไว้ในระบบคอมพิวเตอร์เพื่อนำมาใช้ในครั้งต่อไป
 
การเรียกดู (browse)
การเรียกดูข้อมูลเพื่อตรวจสอบรายละเอียดเพื่อให้เห็นสิ่งทั้งหมดที่มีอยู่
 
ข้อความหลายมิติ (hypertext)

วิธีการนำเสนอข้อความที่สามารถเชื่อมโยงไปยังข้อความอื่นๆ ได้จากคำที่แสดงว่าเป็นคำสำคัญในการเชื่อมโยง เช่น เป็นคำขีดเส้นใต้ หรือคำที่เป็นตัวหนา เป็นต้น เมื่อใช้เมาส์คลิกที่คำสำคัญแล้วจะมีช่องข้อความและภาพที่เกี่ยวข้องกับคำนั้นปรากฏขึ้นมาให้อ่าน รูปแบบของข้อความหลายมิติจึงมิใช่เป็นการเสนอเนื้อหาแบบเส้นตรงที่ผู้อ่านจะต้องอ่านตั้งแต่ต้นไปจนจบ แต่สามารถอ่านแทรกข้อความที่เป็นคำสำคัญที่ตนสนใจได้เป็นระยะๆ ตามความต้องการ

โปรแกรมใช้งานในลักษณะข้อความหลายมิตินี้เหมาะในการทำงานที่มีข้อความจำนวนมาก เช่น สารานุกรม และรายงานต่างๆ ที่แบ่งออกเป็นหลายชุดในเรื่องเดียวกันข้อความหลายมิตินี้เป็นเริ่มแรกของการพัฒนาไปสู่สื่อหลายมิติ ในการเตรียมข้อความหลายมิตินี้ เราต้องเริ่มโดยการแบ่งย่อยข้อมูลออกเป็นส่วนเล็กๆ เช่น เป็นช่องข้อความ 1 หน้าเล็กๆ เหล่านี้เรียกว่า จุดต่อ (nodes) แล้วจึงทำคำสำคัญในลักษณะตัวหนาหรือตัวขีดเส้นใต้เรียกว่า ปุ่ม (button) เพื่อใช้เป็นจุดเชื่อมโยงหลายมิติ หรือที่เรียกว่า hyperlink ในข้อความ เมื่อผู้อ่านคลิกที่จุดเชื่อมโยงใดแล้ว โปรแกรมไฮเปอร์เท็กซ์จะแสดงข้อความในแต่ละจุดต่อที่มีข้อมูลเชื่อมโยงกับคำสำคัญนั้นขึ้นมา กระบวนการในการสำรวจจุดต่อต่างๆ ที่เชื่อมโยงกันโดยจุดเชื่อมโยงนี้เรียกว่า การเลือกอ่าน (browsing) จุดต่อต่างๆ ที่รวมกันและมีการเชื่อมโยงระหว่างกันโดยจุดเชื่อมโยงเรียกว่า เว็บ (web) เวิลด์ไวด์เว็บ ก็เป็นระบบข้อความหลายมิติที่เป็นชั้นครอบคลุมทั้งหมด
 
ข้อมูลชนิดจำนวน (numeric data)
หมายถึง ข้อมูลที่สามารถนำไปคำนวณได้ ข้อมูลชนิดนี้เขียนได้หลายรูปแบบ เช่น
(ก) จำนวนเต็ม หมายถึง ตัวเลขที่ไม่มีจุดทศนิยม เช่น 12 , 9 , 137, -46
(ข) จำนวณทศนิยม หมายถึง ตัวเลขที่มีจุดทศนิยม ซึ่งอาจมีค่าเป็นจำนวนเต็ม เช่น 12.0 หรือเป็นจำนวนที่มีทศนิยมก็ได้ เช่น 12.763
 
ข้อมูลชนิดอักขระ (character data)
หมายถึง ข้อมูลที่ไม่สามารถนำไปคำนวณได้แต่อาจนำไปเรียงลำดับได้ ข้อมูลอาจเป็นตัวหนังสือ ตัวเลขหรือเครื่องหมายใดๆ เช่น COMPUTER , ON-LINE , 171101 , &76
 
เขตข้อมูล (field)
หมายถึงหน่วยข้อมูลหน่วยหนึ่งที่กำหนดขึ้นมาแทนความหมายใดความหมายหนึ่ง เขตข้อมูลแต่ละเขตประกอบด้วยตัวอักขระตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไป