|
บทที่ 8 > 8.2 พัฒนาการทางเทคโนโลยีสื่อสาร > 8.2.1 การสื่อสารด้วยเส้นใยนำแสง |
8/8 |
|
|
|
|
|
|
ในการใช้งานจะต้องมีตัวส่งสัญญาณและตัวรับสัญญาณ ข้อมูลจะได้รับการแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าก่อน จากนั้นจึงเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นสัญญาณแสง
อุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งแสงที่นิยมใช้กันได้แก่ ไดโอดเปล่งแสง (Light Emitting Diode : LED) ส่วนรับสัญญาณที่นิยมใช้กันได้แก่ โฟโตไดโอด
(photo diode) การแปลงข้อมูลจะใช้ วิธีแบบผสมทางความถี่ (Frequency Modulation)
|
|
|
|
|
|
|
ข้อเด่นของการสื่อสารข้อมูลด้วย เส้นใยนำแสง มีมากมาย แสงที่ใช้สื่อสารจะมีแถบกว้างทางความถี่มาก
คือใช้แถบกว้างทางความถี่สัญญาณอยู่ระหว่าง 1 – 10 จิกะเฮิรตซ์ จึงทำให้แบ่งช่องสัญญาณข้อมูลได้มาก เส้นใยนำแสงหนึ่งเส้นอาจใช้ส่งสัญญาณโทรศัพท์ได้หลายพันคู่สาย
มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบาสามารถบิดโค้งงอในขณะเดินสายโดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูล
ปราศจากการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีความทนทานต่ออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง ทนทานต่อปฏิกิริยาทางเคมี
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|