บทที่ 8 > 8.2 พัฒนาการทางเทคโนโลยีสื่อสาร > 8.2.1 การสื่อสารด้วยเส้นใยนำแสง | 8/9 | ||||||
นอกจากนี้ยังสามารถวาง เส้นใยนำแสง เป็นสายเคเบิลควบคู่กันไปกับสายไฟฟ้าแรงสูงโดยที่สนามแม่เหล็กของไฟฟ้าแรงสูงไม่สามารถรบกวนได้เลย
สามารถวางสายเส้นใยนำแสงใต้ดิน ในอุโมงค์ ใต้ท้องทะเล ลอดใต้แม่น้ำ
การประยุกต์จึงกว้างขวาง เช่น ใช้ในงานเคเบิลทีวี ใช้งานการสื่อสารสำหรับควบคุมจราจรทางรถไฟ
และรถยนต์ ใช้ควบคุมในงานอุตสาหกรรม ใช้เชื่อมโยงการสื่อสารข้อมูลภายในอาคารสำนักงาน
ใช้ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบโทรศัพท์ เส้นใยนำแสงยังเหมาะกับการสื่อสารในบริเวณที่เกิดอันตรายได้ง่าย
เช่น คลังเชื้อเพลิง เพราะไม่มีอันตรายจากกระแสไฟฟ้า จากการที่เส้นใยนำแสงมีข้อดีมากมาย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจึงเริ่มดำเนินการวางเส้นใยนำแสงเชื่อมโยงเครือข่ายโทรศัพท์แทนการสื่อสารด้วย สัญญาณไมโครเวฟ นอกจากนี้องค์กรระหว่างประเทศทางด้านการสื่อสารได้ดำเนินการวางเส้นใยนำแสงเป็นเคเบิลใต้น้ำ เพื่อเชื่อมโยงการสื่อสารระหว่างประเทศ การใช้งานสายนำสัญญาณด้วยเส้นใยนำแสงจะเพิ่มขึ้นอีกมากในอนาคต
|
|||||||