รวบรวมและเรียบเรียงโดย : นพ. สมนึก ศรีวิศาล FRCR, FRCPC, St.Louis, MO, USA.
ตอนที่ ๓ : ผลของ Alcohol โดยทั่วๆ ไปต่ออวัยวะต่างๆ ในร่างกายจะมีการควบคุมที่คอยปรับระดับความเข้มข้นในร่างกายให้ปกติสม่ำเสมอ เช่น เมื่อมีเหงื่อออกมาก ร่างกายก็จะพยายามเก็บน้ำโดยที่ถ่ายปัสสาวะน้อยลง แต่เมื่ออากาศเย็นเหงื่อออกน้อย ร่างกายจะขับน้ำออกมากขึ้นโดยออกเป็นปัสสาวะ กลไกเหล่านี้
ทั้งนี้เพราะแอลกอฮอล์ไปกดศูนย์สมองบริเวณที่ควบคุมการตัดสินใจความผิดถูก (ความยับยั้งสิ่งถูกผิด) คือไม่ทำอะไรที่ผิดหรือไม่ถูกต้อง เมื่อศูนย์นี้ถูกกดโดยแอลกอฮอล์ทำให้ "ปล่อย" ความยับยั้งหรือสิ่งที่กดเอาไว้ สิ่งที่ไม่เคยทำจึงออกมาทำให้เหมือนว่าไปกระตุ้น แต่แท้จริงแล้วผลที่สำคัญของแอลกอฮอล์ต่อระบบสมอง คือไปกดการทำงานของสมองให้ลดลง เอาไว้เมื่อถึงตอนพูดถึงผลต่อระบบสมอง เราจะเห็นชัดเจนว่า ผลคือการกดการทำงานของระบบประสาททั้งระบบ
ในความเข้มข้นที่สูงๆ แอลกอฮอล์ยังสามารถทำให้กระเพาะระคายเคือง และสามารถทำให้กระเพาะเกร็งตัว หยุดทำงาน ทำให้แอลกอฮอล์อยู่ในกระเพาะนานแทนที่จะส่งไปยังลำใส้เล็ก พบว่า พวกที่ดื่มแอลกอฮอล์ที่ดีกรีสูงก็จะเมาเร็ว เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ร้อนจะถูกดูดซึมได้เร็วกว่าที่ดื่มแบบเย็น ยังพบอีกว่า ชนิดของอาหารในกระเพาะไม่มีผลต่ออัตราการดูดซึมแอลกอฮอล์ เคยได้ยินมาว่า เมื่อมีน้ำตาลในกระเพาะแล้วจะทำให้เมาง่ายเพราะดูดซึมเร็ว อันนี้ไม่เป็นความจริง อย่างที่กล่าวมาข้างต้น อาการต่างๆ ที่ออกมาขึ้นอยู่กับระดับของความเข้มของแอลกอฮอล์ในเลือด คนตัวใหญ่มีน้ำในร่างกายมากทำให้เกิดความเข้มน้อย เมื่อเทียบกับคนน้ำหนักน้อย เพศชายมีกล้ามเนื้อมากกว่าเพศหญิง (เพศหญิงมี ไขมันมากกว่า) กล้ามเนื้อมีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่มาก ฉะนั้น ระดับแอลกอฮอล์ในร่างกายของเพศชาย (เมื่อเทียบ น้ำหนักที่เท่ากันกับเพศหญิง) ก็จะต่ำกว่าเพศหญิง ดังนั้น เพศหญิงจึงมีการตอบสนองต่อแอลกอฮอล์ (เมาง่ายกว่า) มากกว่าเพศชาย |